Friday, 3 May 2024
ถูกหลอก

'ดีอีเอส' แนะ 3 ช่องทางช่วยประชาชน หากถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างโซเชียลปลอม 

กระทรวงดิจิทัลฯ แนะประชาชน-คนดัง พบถูกแอบอ้างชื่อ/รูปภาพไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม รีบแจ้งด่วนผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ กดรายงานไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม แจ้งผ่านโทร. 1212 และแจ้งความได้ทั้งเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์/ตำรวจ ยืนยันดีอีเอส พร้อมประสานทุกภาคส่วนเร่งปิดบัญชีปลอม และติดตามผู้กระทำผิดเข้ามาดำเนินคดี  

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ผ่านมายังพบแนวโน้มปัญหามิจฉาชีพแอบอ้างนำชื่อและรูปภาพคนอื่น ไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอมทั้งเฟซบุ๊ก เพจปลอม ไลน์ปลอม และ IG เพื่อนำไปหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง โดยเฉพาะยิ่งถ้าผู้ที่ถูกแอบอ้างชื่อและโปรไฟล์เป็นดารา หรือคนมีชื่อเสียง ความเสียหายก็จะยิ่งขยายวงกว้าง เนื่องจากมักมีแฟนคลับหรือผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสที่จะมีเหยี่อหลงเชื่อก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเช่นกัน ขณะที่เจ้าตัวก็เสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง

สำหรับรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยจากบัญชีโซเชียลสวมรอยเหล่านี้ ได้แก่ หลอกยืมเงิน หลอกขายของ หลอกลงทุน หลอกร่วมทุน โดยเหยื่อที่หลงเชื่อจะสูญเงินโดยไม่ได้รับสินค้าหรือผลตอบแทนใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงที่เป็น Romance Scam หรือหลอกให้หลงรักและสูบเงินเหยื่อผ่านทางออนไลน์ ขณะที่ บางกรณีจะเป็นการแอบอ้างตัวตนคนดัง สร้างเฟซบุ๊กปลอมเพื่อใช้เป็นพื้นที่โพสต์เนื้อหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น 

นางสาว นพวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายซึ่งถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม เข้าถึงช่องทางความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งยุติการขยายวงของความเสียหาย เร่งประสานงานเพื่อปิดบัญชีปลอม และติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ ขอให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างตั้งสติ และดำเนินการผ่าน 3 ช่องทางดังต่อไปนี้ประกอบกัน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการประสานการปิดบัญชีโซเชียลที่แอบอ้าง ได้แก่ 

1.) แจ้งรายงานไปที่แพลตฟอร์มโซเชียล โดยการ report ไปยังเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Social Network ที่ถูกแอบอ้าง ซึ่งทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และ IG มีเมนูให้รายงานบัญชีปลอมโดยตรงอยู่แล้ว จากนั้นรอขั้นตอนการตรวจสอบของทางแพลตฟอร์ม

2.) ช่องทางของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่สายด่วน โทร.1212 OCC ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในสังกัดดีอีเอส + ช่องทางอื่นๆ ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ 

และ 3.) แจ้งตำรวจ ทั้งการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) โดยให้รวบรวมหลักฐานไว้ เช่น capture จับภาพหน้าจอสนทนา หรือหน้ารูป Profile ที่ถูกปลอมขึ้นมา 

ทำ 3 สิ่งนี้ทันที!! หากพบมิจฉาชีพ

'ดีอีเอส' แนะ 'ประชาชน-คนดัง' พบถูกแอบอ้างชื่อ-รูปภาพ ไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม ต้องรีบแจ้งด่วนผ่าน 3 ช่องทางนี้ ได้แก่ กดรายงานไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม / แจ้งผ่านโทร. 1212 / แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งเว็บไซต์และสถานีท้องที่ ยืนยัน 'ดีอีเอส' พร้อมประสานทุกภาคส่วนเร่งปิดบัญชีปลอม และติดตามผู้กระทำผิดเข้ามาดำเนินคดี  

ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ยังพบแนวโน้มปัญหามิจฉาชีพแอบอ้างนำชื่อและรูปภาพคนอื่น ไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอมทั้งเฟซบุ๊ก เพจปลอม ไลน์ปลอม และ IG เพื่อนำไปหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง โดยเฉพาะยิ่งถ้าผู้ที่ถูกแอบอ้างชื่อและโปรไฟล์เป็นดารา หรือคนมีชื่อเสียง ความเสียหายก็จะยิ่งขยายวงกว้าง เนื่องจากมักมีแฟนคลับหรือผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสที่จะมีเหยี่อหลงเชื่อก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเช่นกัน ขณะที่เจ้าตัวก็เสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง

สำหรับรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยจากบัญชีโซเชียลสวมรอยเหล่านี้ ได้แก่ หลอกยืมเงิน หลอกขายของ หลอกลงทุน หลอกร่วมทุน โดยเหยื่อที่หลงเชื่อจะสูญเงินโดยไม่ได้รับสินค้าหรือผลตอบแทนใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงที่เป็น Romance Scam หรือหลอกให้หลงรักและสูบเงินเหยื่อผ่านทางออนไลน์ ขณะที่ บางกรณีจะเป็นการแอบอ้างตัวตนคนดัง สร้างเฟซบุ๊กปลอมเพื่อใช้เป็นพื้นที่โพสต์เนื้อหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น 

ปัจจุบันกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่านการเมือง (ดีอีเอส) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายซึ่งถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม เข้าถึงช่องทางความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งยุติการขยายวงของความเสียหาย เร่งประสานงานเพื่อปิดบัญชีปลอม และติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ ขอให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างตั้งสติ และดำเนินการผ่าน 3 ช่องทางดังต่อไปนี้ประกอบกัน เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการประสานการปิดบัญชีโซเชียลที่แอบอ้าง ได้แก่ 

1.) แจ้งรายงานไปที่แพลตฟอร์มโซเชียล โดยการ report ไปยังเว็บไซต์ผู้ให้บริการ Social Network ที่ถูกแอบอ้าง ซึ่งทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ และ IG มีเมนูให้รายงานบัญชีปลอมโดยตรงอยู่แล้ว จากนั้นรอขั้นตอนการตรวจสอบของทางแพลตฟอร์ม

2.) ช่องทางของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่สายด่วน โทร.1212 OCC ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในสังกัดดีอีเอส + ช่องทางอื่นๆ ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ 

ตายทิพย์!! ‘2 แม่ลูก’ แจ้งความ ถูกญาติฝั่งพ่อหลอกว่า ‘พ่อเสียชีวิต’ หวังลวงเอาค่าทำศพ ตร. เร่งสอบปากคำผู้ร่วมขบวนการ

(8 มี.ค. 66) ทีมข่าวลงพื้นที่วัดบ้านร่อม ต.บ้านร่อม อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้พูดคุยกับนางสุกัญญา สิงห์ทอง อายุ 47 ปี เมียหลวงของหนุ่มตายทิพย์ และนางสาวอภิชญาดาร์ สิงห์ทอง อายุ 22 ปี ลูกสาว เล่าว่าเมื่อ 28 ปีที่แล้วนางสุกัญญาได้อยู่กินกับนายวิรัตน์ ได้ 6 ปีจนมีลูกสาว 1 คน โดยทั้งคู่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จากนั้นได้แยกกันอยู่แต่ไม่ได้ทำการหย่า โดยฝ่ายชายมีเมียน้อย เลิกไป 3 คน เหลือ 2 คน คนที่อยู่ปัจจุบันชื่อติ๋ม มีลูกชายชื่อเต้ อายุประมาณ 13 ปี อาศัยกันอยู่ที่ อ.บ้านหมอ ต.ตลาดน้อย จ.สระบุรี ฝ่ายชายประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท แห่งหนึ่ง ตั้งแต่เลิกกันมา 22 ปี ฝ่ายชายเคยส่งเสียเงินมาแค่ 1 หมื่นบาท จากนั้นประมาณเดือนเมษายน ปี 2564 ได้เคยมาขอหย่ากับนางสุกัญญา แต่ทางนี้ไม่ได้ไปหย่า และเดือนธันวาคม ปี 2565 ได้ส่งหลานสาวมาเจรจาขอหย่าอีกครั้ง โดยเสนอเงินค่าหย่าให้ 6 แสนบาท โดยนัดเจอที่อำเภอท่าเรือในวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมาแต่ไม่มา จากนั้นได้มีการเจราขอหย่าอีกครั้งในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้

นางสาวอภิชญาดาร์ สิงห์ทอง ลูกสาว เล่าว่าวันที่ 4 มีนาคม เวลา 4 โมงเย็น เหลนของฝ่ายชายชื่อบอลโทร มาบอกกับตน ว่า พ่อของเธอถูกรถพ่วงชนเสียชีวิตที่ถนนเส้นสี่แยกบ้านครัว อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ซึ่งตนก็ได้ถามย้ำไปว่าเป็นเรื่องจริงใช่ไหม ก็ได้รับการยืนยันว่าจริงจากนั้นตัวลูกสาวก็ได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลพระพุทธบาท เมื่อเจอพยาบาลก็ได้สอบถาม และยืนยันว่าพ่อตัวเองเสียชีวิตแล้วแต่ถูกส่งต่อไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์รังสิต จ.ปทุมธานี โดยศพได้ออกไปก่อนหน้าที่เธอมาประมาณ 15 นาที ตนเองจึงตัดสินใจกลับบ้านและมาพูดคุยกันเรื่องการจัดเตรียมงานศพของพ่อ โดยได้พูดคุยกับญาติฝ่ายพ่อซึ่งเป็นพี่สาวของพ่อชื่อป้าอร เกี่ยวกับเรื่องเงินประกันต่างๆโดยมีการบอกว่า ให้ฝั่งของเธอนั้นรอเอกสารและเรื่องงานศพพ่อนั้นก็จะให้ทางฝั่งของเธอเป็นคนจัดเตรียมงาน

จากนั้นเช้าวันที่ 5 มี.ค.ให้มีการนัดกันที่วัดโคกงามซึ่งอยู่ใกล้บ้านพ่อ เพื่อจะนัดพูดคุยกันเรื่องค่าประกันต่างๆที่พอจะได้จากการเสียชีวิตประมาณ รวมๆกันได้ประมาณ 1,000,000 กว่าบาท แต่เมื่อถึงเวลาทางญาติของพ่อได้อ้างว่า พ่อได้บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลจึงไม่มีศพกลับมาให้ได้ โดยจะให้ตนเองไปเอาผมกับเล็บของพ่อเท่านั้น และมีการยืนยันอีกครั้งว่าให้ทั้งแม่ของตนเองจัดงานศพได้เลย โดยเส้นผมและเล็บของพ่อนั้น คนชื่อบอลซึ่งเป็นเหลนของพ่อก็ได้ขี่รถจักรยานยนต์เอามาให้ถึงหน้าบ้านของตน ส่วนเอกสารใบมรณะบัตรต่างๆก็บอกว่าจะเอามาให้ตอนเย็นของวันที่ 5 มี.ค.
.
และได้บอกว่าพ่อของตนเองนั้นได้ทำการเปลี่ยนชื่อจากวิรัตน์หรือนายตั้ม สิงห์ทอง เป็นชื่อใหม่คือนายนิวัฒน์ สิงห์ทอง ซึ่งตนเองก็ได้ถามหาถึงเอกสารการเปลี่ยนชื่อของพ่อ ซึ่งทางฝั่งญาติของพ่อก็บ่ายเบี่ยง ที่จะเอามาให้โดยญาติของฝั่งของพ่อนั้น ก็ไม่มีใครเดินทางมางานศพเลย ซึ่งในวันที่ 5 มี.ค. นั้นตนก็ได้โทรเช็กทางโรงพยาบาลพระพุทธบาท ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า พ่อของตนนั้นเสียชีวิตจริงๆหรือไม่ ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพระพุทธบาท และสถานีตำรวจภูธรบ้านหมอ และได้ติดต่อสอบถามกู้ภัยต่างๆ ก็ไม่พบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในพื้นที่จึงรู้ว่าตน และครอบครัวโดนหลอกจริงๆ
.
ด้านนายสรรพสิทธิ์ ช่างกลึง อายุ 33 ปี เจ้าของร้าน ป.ผ้าสวยดอกไม้ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านหมอ จ.สระบุรี เล่าว่า ได้ถูกว่าจ้างจากนางสาวอภิชญาดาร์(พลอย) สิงห์ทอง อายุ 22 ปี ลูกสาวมาให้จัดดอกไม้และโลงศพภายในงาน จนนางสาวอภิชญาดาร์ ได้โทรมาปรึกษาว่า เกิดการผิดพลาดด้านเอกสาร ตนให้นางสาวอภิชญาดาร์ ไปตามเอกสารที่บ้านของญาติพ่อในเขตอำเภอบ้านหมอ จนนางสาวอภิชญาดาร์ ยอมรับกับตนว่าพ่อของตนยังไม่ได้ตาย โดยว่าจ้างดอกไม้และโลงศพในราคา 4 หมื่นกว่าบาท ตนจึงพาน้องพลอยไปสืบหาตามโรงพักๆว่ามีอุบัติเหตุจริงหรือไม ได้รับคำตอบว่าไม่มีการเกิดอุบัติเหตุขึ้น ตนและน้องพลอยจึงรู้ว่าโดนหลอก ซึ่งตนเองก็ยังไม่รู้ว่าจะได้รับเงินค่าจ้างหรือไม่ โดยมีการสวดพระอภิธรรมไปแล้ว 1 คืน เมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา ภายในโลงมีเพียงเส้นผมเท่านั้น มีแขกมาร่วมงานประมาณ 20 กว่าคนเท่านั้น แขกมาร่วมงานก็ไม่รู้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าตายจริงหรือไม่จริง

ด้านนางสุกัญญา อดีตเมียอยากให้ฝั่งสามีมารับผิดชอบ เพราะว่าตนเองก็ไม่มีเงินไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนจ่ายค่าทำศพ ซึ่งตนก็ต้องอับอาย ถ้าความจริงเป็นแบบนี้ตนจะยังไม่ยอมหย่า ตายเมื่อไหร่ค่อยเจอกันและเงินประกันที่ได้ตนเองก็จะไม่ให้ญาติพี่น้องของอดีตสามีเลยสักบาท ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าทั้งหมดทำแบบนี้ไปเพื่ออะไรโดยตัวเองนั้นก็ไม่มีเงินซ้ำ ตอนนี้ก็ยังมาเป็นหนี้ค่าจัดงานศพอีก ซึ่งตนเองที่จัดงานก็หวังว่าจะได้เงินประกันจากบริษัทจำนวน 200,000 บาท เอามาใช้จ่ายในงานศพของอดีตสามี ที่ผ่านมาเลิกกันฝ่ายสามีก็ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงลูก มีเงินเท่าไหร่ก็ให้แต่เมียใหม่ ตนก็ไม่เคยไปเรียกร้องอะไร ซึ่งตนยืนยันว่าถ้าอดีตสามีตายจริงๆตนเองจะไม่ทำศพอดีตสามี

ทำกันได้ลง!! ‘สืบสวนนครบาล’ รวบสาวนายหน้า หลอกขายประกันโควิด-19 คนหลงซื้อเพียบ ตร.เตือน ตรวจสอบข้อมูลก่อนตกเป็นเหยื่อ

(9 มี.ค. 66) ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี PCT ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรม ที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ ซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก

โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น.ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้เสียหายว่าถูกคนร้ายขายประกันชีวิต โควิด-19 ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เป็นที่นิยม ราคาถูก จึงอาศัยโอกาสโพสต์ขายอ้างตนเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิตในส่วนของโควิด-19 ที่มีชื่อต่าง ๆ ในลักษณะเงื่อนไขแบบเจอจ่ายจบผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ Facebook กรมธรรม์ 590 บาท จ่าย 10,000 บาท ผู้เสียหายเป็นโควิด-19 นำกรมธรรม์ไปเบิกเงิน ทราบว่าเป็นกรมธรรม์ปลอมซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน

พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส. บช.น. หัวหน้าชุด PCT ชุดปฏิบัติการ 5 พ.ต.อ.อิสเรศ ปาลาพงศ์ รอง ผบก.สส. บช.น. พ.ต.อ.สมบูรณ์ สุขศรีดาวเดือน ผกก.สส.3 บก.สส. บช.น. พ.ต.ท.ชนะชัย ศิริสว.กก.สส.3 บก.สส.บช.น. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.3 บก.สส. บช.น. จับกุมนางริญญภัสร์ ผสมทรัพย์ อายุ 32 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลแขวงชลบุรี ที่ 292/2565 วันที่ 2 พ.ย.2565 ข้อหา “ฉ้อโกง โดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ละโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง” จับกุมได้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ จับกุมได้ที่หน้าบ้านเลขที่ 8/6 หมู่ที่ 9 ตลาดนัดสังกะสี ต.เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 มี.ค. เวลาประมาณ 10.30 น. ที่ผ่านมา

หลังคนร้ายประกอบอาชีพนายหน้าขายประกันชีวิต เนื่องจากสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประกันโควิด-19 เป็นที่นิยม ราคาถูก และมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก คนร้ายจึงอาศัยโอกาสโพสต์ขาย อ้างตนเป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิตในส่วนของโควิด-19 ที่มีชื่อต่าง ๆ ในลักษณะเงื่อนไขแบบ ‘เจอจ่ายจบ’ ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ Facebook และเมื่อมีผู้สนใจ จะทำการติดต่อดำเนินเอกสารกรมธรรม์ให้ แต่เมื่อผู้เสียหายมีสิทธิ์ใช้ประกันดังกล่าว และต้องการเบิกเงินประกันที่ผู้เสียหายต้องได้รับ พบว่า เอกสารกรมธรรม์ดังกล่าว เป็นเอกสารที่คนร้ายจัดทำขึ้นด้วยตนเอง ไม่ผ่านขั้นตอนของบริษัทประกัน ทำให้ไม่สามารถใช้การได้ ผู้เสียหายทราบว่า ตนเองนั้นถูกหลอกลวง จึงได้เดินทางแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดี

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยออนไลน์ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ถูกหลอกสูญเงินไป 3.2 ล้าน

เนื่องจากในรอบสัปดาห์ มีข่าวแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลอกลวง นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  ให้โอนเงิน  สูญเงินไป  3.2 ล้านบาทเศษ   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพดังกล่าว จึงมอบหมายให้ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพร้อมด้วยคณะทำงาน แถลงข่าวเตือนภัย เมื่อวันที่ 23 พ.ค.2566   เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

พล.ต.อ.สมพงษ์  ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.กล่าวว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-20 พ.ค.2566)  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ  5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ   2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ  3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) และ 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์  สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวง   นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม  หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  สูญเงินไป 3.2 ล้านบาทเศษ  ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ จึงได้เชิญนายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย  มาร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย

พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา  กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี      บช.สอท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ข่มขู่นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและฟอกเงิน  โดยมิจฉาชีพคนที่ 1 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย โทรศัพท์หานายวัฒนาฯ แจ้งว่าค้างชำระบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย หากไม่ได้ใช้บัตรเครดิต แสดงว่ามีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตไปใช้ และแนะนำให้ไปแจ้งความที่ สภ.เมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุ และต่อสายโทรศัพท์ให้คุยกับมิจฉาชีพคนที่ 2 ซึ่งอ้างตนเป็น พ.ต.อ.เสฎฐวุฒิ รอดจันทร์  เนื่องจากเห็นว่าไม่สะดวกเดินทางไปแจ้งความ ระหว่างนั้น  มิจฉาชีพคนที่ 3 ใช้บัญชีไลน์     ชื่อ “สภ.เมืองนครสวรรค์” ส่งบัตรประจำตัว พ.ต.อ.เสฎฐวุฒิ รอดจันทร์  มาให้ดูและแจ้งด้วยว่า นายวัฒนาฯ เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดและฟอกเงินพร้อมส่งบัญชีธนาคารของนายวัฒนาฯ มาให้ตรวจสอบและแจ้งว่าได้ขายสมุดบัญชีธนาคารที่ไม่ได้ใช้แล้วให้บุคคลอื่นในราคา 50,000 บาท  และมีเงินจำนวน 850,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการขายยาเสพติดโอนเข้ามาในสมุดบัญชี หากต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ต้องโอนเงินมาตรวจสอบเส้นทางการเงิน หากตรวจสอบแล้วไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดใดๆ  จะโอนเงินคืน   นายวัฒนาฯ   หลงเชื่อจึงโอนเงินจากบัญชีธนาคาร  5  บัญชี  จำนวน  10  ครั้ง   เข้าบัญชี   น.ส.สุดารัตน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ น.ส.ชนกานต์ (ขอสงวนนามสกุล)  รวมเป็นเงิน 3,202,380.7 บาท ให้มิจฉาชีพไป

จุดสังเกต  
1.โทรศัพท์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต่างๆ     แล้วเริ่มบทสนทนาพูดคุยโน้มน้าวให้
หลงเชื่อ 
2.อ้างสถานที่เกิดเหตุไกลจากบ้านหรือที่อยู่ผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายไม่อยากเดินทางไปสถานี
ตำรวจ และต้องการความสะดวกในการติดต่อทางโทรศัพท์ไลน์ หรือทางอื่น
3.แอบอ้างเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ส่งบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ หรือหนังสือ
ของทางราชการ ข่มขู่เพื่อให้เกิดความกลัว  แล้วให้โอนเงินให้คนร้ายตรวจสอบ
4.มิจฉาชีพใช้บัญชีไลน์ส่วนบุคคล  แต่ส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐใช้บัญชีทางการ (Line 
Official)
5.บัญชีรับโอนเงินของมิจฉาชีพเป็นบัญชีส่วนบุคคล  แต่บัญชีส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
เอกชน เป็นบัญชีหน่วยงานหรือองค์กร
    
วิธีป้องกัน   
1)ให้ติดต่อ call center ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง  เพราะธนาคารไม่มีนโยบายในการ
โทรศัพท์แจ้งให้ประชาชนโอนเงินไปตรวจสอบ หรือโหลดแอพพลิเคชั่น
2)กรณีอ้างหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย  ให้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจาก
หน่วยงานนั้นๆ  โดยตรง
3)ให้นัดหมายไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งความ  สอบสวนปากคำ  ชี้แจง  หรือยื่นพยานเอกสาร
พยานวัตถุ ณ สถานที่เกิดเหตุหรือสถานที่ราชการด้วยตนเอง 
4)ถ้ามีการสนทนาทาง Video call ให้มีสติและสังเกตปากกับเสียงตรงกันหรือไม่ หรือ ภาพและ
ท่าทางมีความผิดปกติหรือไม่(คนร้ายสามารถใช้โปรแกรมปลอมใบหน้าขณะสนทนาได้)

พล.ต.ต.สุระพรรณ นาทวรทัต ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 4  เปิดเผยว่าได้รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม และข้อมูลทางการสืบสวนเส้นทางการเงินของผู้ต้องหา จากกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ จนสามารถออกหมายจับผู้ต้องหา บัญชีม้าแถวแรกได้แล้ว และออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพิ่มเติม  พร้อมทั้งอายัดเงินในบัญชีม้าแถวที่  2 - 4   รวมทั้งหมดจำนวน 11 ราย โดยนัดหมายให้มารายงานตัว ในวันจันทร์ที่  29 พ.ค.66  เวลา  10.00  น.   และสอบปากคำ พ.ต.อ.เสฏฐวุฒิ รอดจันทร์ ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ จว.นครสวรรค์ ซึ่งถูกแก็งค์คอลเซนเตอร์นำไปกล่าวอ้างในการหลอกลวงต๋อง ศิษย์ฉ่อย โดยยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ติดต่อโทรศัพท์พูดคุยกับผู้เสียหายแต่อย่างใด

พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา  กิตติถิระพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังใช้วิธีส่ง sms หลอกให้กดเพิ่มเพื่อนไลน์แล้วให้โหลดแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โดยมิจฉาชีพแอบอ้างการไฟฟ้า  การประปา ธนาคาร หน่วยงานรัฐ  หรือเอกชน ส่ง sms ให้ผู้เสียหายกดลิงค์เพิ่มเพื่อนไลน์ แล้วหลอกให้หลงเชื่อและกดลิงก์ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแอบอ้างการไฟฟ้านครหลวง ดังนี้
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหลอกโอนเงิน โดยส่ง sms แจ้งว่าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจดเลขมิเตอร์เกิน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเพื่อนในไลน์ กับมิจฉาชีพซึ่งใช้ชื่อสำนักงานการไฟฟ้า และอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงแล้วส่งลิงก์มาให้หลงเชื่อและกดลิงก์ เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย         

จุดสังเกต  การเปรียบเทียบของปลอม-ของจริง 
ของปลอม 
1) เวบไซต์ชื่อ www.xk-line.cc นามสกุลของโดเมนไม่ถูกต้อง 
2) ไลน์เป็นบัญชีส่วนบุคคล สามารถโทรหากันได้ 
3) ใช้โลโก้ กฟน. เหมือนของจริง แต่ใช้ชื่อบัญชี “สำนักงานการไฟฟ้า” 

ของจริง
1) เวบไซต์ชื่อ www.mea.or.th นามสกุลของโดเมนคือ .or.th
2) ไลน์เป็นบัญชีทางการ ไม่สามารถโทรหากันได้
3) ใช้ชื่อบัญชี “การไฟฟ้านครหลวง” 

วิธีป้องกัน 
1) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง 
2)กรณีมีการส่ง SMS ที่ผิดปกติ  ควรโทรศัพท์ตรวจสอบกับการไฟฟ้านครหลวง MEA call center 
โทร. 1130 โดยตรง 
3)หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple 
Store เท่านั้น ไม่ควรดาวน์โหลดจากลิ้งค์หรือข้อความที่มีคนส่งให้

พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  แถลงว่าการระงับการทำธุรกรรมและอายัดบัญชีตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  พ.ศ.2566     ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 – 5 พ.ค.66 มีรายละเอียด ดังนี้
Case ID ในความรับผิดชอบ  30,439 (Case ID)
พงส.แจ้งธนาคารทราบถึงการรับคำร้องทุกข์  988 (Case ID)
พงส.แจ้งให้อายัดการทำธุรกรรม/อายัดบัญชี  762 (Case ID)
จำนวนบัญชีที่ขอระงับ/อายัด 16,597 (บัญชี)
จำนวนเงินที่ขออายัด 685,310,290 (บาท)
จำนวนเงินที่อายัดได้  92,132,049 (บาท) (14%)
    
การดำเนินการตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี   พ.ศ.2566 (บัญชีม้า) ห้วงวันที่ 17 มี.ค.66 - 17 เม.ย.66  มี ดังนี้
ออกหมายจับ จำนวน 264 คดี/268 หมาย
จับกุม จำนวน 170 คดี/137 คน
เจ้าของไปขอปิดบัญชี  จำนวน  118 บัญชี

การดำเนินการตรวจค้น จับกุม การจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือแบบลงทะเบียนพร้อมใช้  แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้   (ซิมเถื่อน)  ได้ทำการตรวจค้นสถานที่ที่ต้องสงสัยรวมการตรวจค้นทั่วประเทศทั้งหมด จำนวน 40 จุด   พบการกระทำผิด จำนวน 4 จุด จับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งสิ้น  จำนวน 6 ราย   พร้อมตรวจยึดของกลางซิมโทรศัพท์ทั้งหมด  จำนวน 108,789 ซิม นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีในฐานความผิด “เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อหรือขายเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้”

กรณีเปิดหรือยอมให้คนอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตร หรือ e-wallet เป็นบัญชีม้า  ให้รีบนำบัตรประชาชนไปปิดบัญชีกับธนาคารโดยเร็ว  เนื่องจากเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ซึ่งมีอัตราโทษสูง  คือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

เด็กๆ เศร้า!! ซ้อมเต้นรอเก้อ ถูกหลอกจะมาเลี้ยง 'ไก่ทอด-มอบทุน' แต่ยังดี!! มีผู้ใหญ่ใจดีตัวจริงมาช่วยเยียวยาแทน หลังโพสต์แพร่สะพัด

(7 พ.ย.66) จิตใจทำด้วยอะไร…เมื่อเฟซบุ๊กโรงเรียนบ้านป่าหัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้โพสต์ข้อความต้อนรับ เภสัชกรหญิงรายหนึ่งและคณะ โดยระบุไว้ว่า…

“โครงการ #อุ่นน้องท้องอิ่ม ในปี 2566 นี้ วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน เป็นโครงการที่ ภกญ.xxxx และเพื่อนๆ กลุ่มเภสัชกร & เพื่อนๆ กลุ่มรร.มัธยมศึกษา 1-6 ได้จัดทำขึ้น ให้กับน้องๆ ตามรร.ต่างๆ ทุกๆ จังหวัดได้รับความอบอุ่น & อิ่มท้อง รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความสุข ซึ่งโครงการนี้เริ่มต้นที่ จ.น่าน เป็น รร.แรก คือ โรงเรียนบ้านป่าหัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน 

ทางคณะเราขอส่งมอบเสื้อวอร์ม คนละ 1 ชุด ให้กับน้องๆ ทุกคน รวม 117 ชุด เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว น้องๆ จะได้รับทุนการศึกษาคนละ 1,000 บาท ทุกคนรวม 117 คน เพื่อใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การเรียน น้องๆ ได้รับความอบอุ่นแล้ว ท้องก็ต้อง อิ่มด้วย ขอขอบคุณ เคเอฟซี ป.ต.ท ปัว ในด้านบริการ อาหารกลางวันให้กับน้องๆ ทั้งหมด 117 ชุด พร้อมคณะอาจารย์ทุกท่านและคณะทางเรา ได้อิ่มท้องแล้วพบกันค่ะ” 

ขณะที่ทางโรงเรียนและนักเรียนก็จัดสถานที่ จัดทำป้ายต้อนรับคณะผู้ใหญ่ใจดีพร้อมทั้งเด็กๆ นักเรียนก็ซ้อมทำการแสดงไว้รอต้อนรับอย่างมีความหวังและตื่นเต้นกันสุดๆ แต่แล้วเมื่อถึงเวลานัดหมายคือวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มเภสัชกร ไม่สามารถติดต่อได้และปิดเฟซบุ๊กไป คณะครูจึงได้ทำการตรวจสอบจึงพบว่าเป็น มิจฉาชีพ สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียน ทางผู้บริหารได้ดำเนินการแจ้งความไว้เป็นคดีความเรียบร้อยแล้ว

หลังจากที่โพสต์นี้ถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ ได้มีผู้ใหญ่ใจดีเข้ามาเยียวยาจิตใจเด็กๆ ด้วยการสมทบทุนกันซื้อไก่ทอด KFC ให้เด็กๆ ได้กินกันอย่างมีความสุข 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top