Thursday, 2 May 2024
ต่างชาติซื้อที่ดิน

‘ปวิน’ ไม่เห็นด้วย ข้ออ้างต่างชาติซื้อที่ดินของไทย คือ การขายชาติ เสียอำนาจอธิปไตย ซัด เอาอะไรคิด ปัญญาอ่อน 

นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต และผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Pavin Chachavalpongpun ว่า

“มันจะอะไรกันนักหนาเรื่องต่างชาติซื้อที่ดินของไทย อะไรคือการขายชาติ คือ เอาอะไรคิดว่า ต่างชาติถือครองที่ดินในไทยคือเราเสียอำนาจอธิปไตย ถ้าจะถึงขั้นนั้น คือแม่งต้องซื้อพื้นที่ขนาดใหญ่ เหมือนที่อเมริกาซื้ออลาสก้าจากรัสเซีย

'สุพัฒนพงษ์' ยัน ไม่ทบทวนเรื่องต่างชาติซื้อที่ดิน ชี้!! หากขายชาติจริง ก็ทำมาตั้งแต่ปี 2542

สุพัฒนพงษ์ย้ำให้ต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ไม่ใช่กฎหมายขายชาติ ชี้หากทำจริงก็เริ่มตั้งแต่ปี 2542 โวระเบียบยุคนี้ 'เข้ม-เหนือกว่า' ในอดีต ยกนานาประเทศ ก็เปิดให้ครอบครองในลักษณะเดียวกัน

(3 พ.ย. 65) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ต่างชาติซื้อที่ดินในประเทศไทยเป็นกฎหมายขายชาติ ว่าเรื่องนี้ไม่มีประเด็น เพราะการดำเนินการไม่ต่างไปจากหลักเกณฑ์เดิม เพียงแค่ระยะเวลาเท่านั้นเอง โดยคนที่เราอยากให้ได้รับสิทธิเพื่อให้เข้ามาพำนักในประเทศมี 4 กลุ่ม ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของหลักเกณฑ์โดยจะแก้ไขเมื่อไหร่ก็ได้ เราก็ทดลองนำร่องไปก่อน ซึ่งดูแล้วว่าไม่มีอะไร เพราะประเทศอื่นเขาก็ซื้อและครอบครองกันได้ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป

ส่อง!! 5 ประเทศในเอเชีย ที่ต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ พร้อมชั่งน้ำหนัก ‘ผลดี-ผลเสีย’ หากต่างชาติครองที่ดินในไทย

จากการที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแบบระยะยาว พร้อมกับสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นผู้พำนักอาศัยในไทยระยะยาว 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.) กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen) 2.) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner) 3.) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work from Thailand Professional) 4.) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (Highly Skilled Professional)    

โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่ามาตรการนี้จะช่วยดึงดูดชาวต่างชาติกลุ่มมั่งคั่งจำนวน 1 ล้านคน ให้ย้ายถิ่นฐานมาพำนักอาศัยในประเทศไทยภายในระยะเวลา 5 ปีงบประมาณ (พ.ศ. 2565-2569) ของการดำเนินมาตรการ และหากเป็นไปตามเป้าหมายจะช่วยเพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ 1-2.5 แสนล้านบาท (สมมติฐานการใช้จ่ายในประเทศเฉลี่ย 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี)   

ต่อมาวันที่ 25 ต.ค. คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งร่างกฎกระทรวงนี้ จะมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา  

‘ไตรรัตน์ จารุทัศน์’ นักวิชาการ อาจารย์ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เขียนบทความลง TerraBKK ไว้ว่า ข้อเท็จจริง มีเกือบ 100 ประเทศทั่วโลกที่อนุญาตให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

1.) สำหรับประเทศอื่นๆ แบ่งเป็น 
- ประเทศที่ไม่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สำหรับชาวต่างชาติ เช่น สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี คอสตาริกา 

- ประเทศที่มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่น โครเอเชีย ตุรกี และเกาหลีใต้ เปิดให้เฉพาะบางสัญชาติที่มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อียิปต์อนุญาตสิทธิการเช่า 99 ปี 

2.) มีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น หรือเพื่อเหตุผลความมั่นคง เช่น สวิส มีการจำกัดจำนวนชาวต่างชาติที่สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในแต่ละปี สหราชอาณาจักร เก็บภาษีกำไรจากการขายที่สูงกว่ามากซึ่งเรียกเก็บจากกำไรที่ได้จากการขายบ้านในสหราชอาณาจักรโดยชาวต่างชาติ ออสเตรเลีย

ปัจจุบันจำกัดเฉพาะประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นโครงการก่อสร้างใหม่เท่านั้น ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายสามารถถูกตัดสินจำคุกหรือปรับจำนวนมาก

>> ศรีลังกา ให้ชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดิน แต่มีภาษีการโอน 100% สำหรับชาวต่างชาติในศรีลังกา 

>>  แคนาดา จังหวัดชายฝั่งตะวันออกอื่นๆ รวมถึงจังหวัดควิเบก ออนแทรีโอ และบริติชโคลัมเบียไม่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของในต่างประเทศ

>> ออสเตรเลีย ชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียและบริษัทต่างๆ สามารถซื้อการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ถึง 50% และได้รับอนุญาตให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินใหม่เพื่อสร้างอาคารได้ตราบเท่าที่การก่อสร้างเริ่มขึ้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ซื้อ สามารถซื้อทรัพย์สินที่เก่ากว่าได้โดยมีเงื่อนไขว่าอย่างน้อย 50% ของราคาซื้อจะใช้ในการปรับปรุง

3.) ข้อจำกัดอื่นๆ ในการซื้อที่ดินของต่างชาติ ประมาณ 40% ของ 195 ประเทศ มีข้อจำกัด ในการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น (1) ที่ดินอยู่ห่างจากพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ปานามา ที่ดินอยู่ห่างจากพรมแดนระหว่างประเทศไม่เกิน 6 ไมล์ เม็กซิโก ชาวต่างชาติ ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ภายใน 62 ไมล์จากชายแดนระหว่างประเทศหรือ 31 ไมล์จากชายฝั่ง สเปน ที่ดินทางทหารและที่ดินใกล้พรมแดนระหว่างประเทศ (2) ทรัพย์สินริมน้ำบางแห่ง นิวซีแลนด์ ที่ดิน ‘อ่อนไหว’ รวมถึงเขตสงวน เกาะที่ระบุ และที่ดินและทะเลสาบทางประวัติศาสตร์หรือมรดก ปานามา การจำกัดที่ดินบนเกาะ ริมชายหาด

>> 5 ประเทศที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ในเอเชีย  

1.) มาเลเซีย มาเลเซียเป็นที่เดียวที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ อสังหาริมทรัพย์ประเภทเดียวที่ชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อได้คือ ‘อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก’ หรืออสังหาริมทรัพย์เก่าแก่ในยุคอาณานิคม ชาวต่างชาติสามารถขอที่พักอาศัยในมาเลเซียได้โดยการลงทุนผ่าน My Second Home Program (MM2H) ซึ่งช่วยให้ชาวต่างชาติได้รับวีซ่า 10 ปีโดยฝากเงินประมาณ 70,000 เหรียญสหรัฐ และเก็บไว้ในธนาคาร

2.) เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ไม่มีข้อจำกัดมากมายในการถือครองที่ดิน การเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศนี้ค่อนข้างสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาถึงความเป็นสากลของเกาหลี ชาวต่างชาติเหล่านี้มักต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของตนเอง สาธารณรัฐเกาหลีนั้นพิถีพิถันในการออกวีซ่าระยะยาว ยกเว้นที่ เกาะเชจู เกาะเล็กๆ แห่งนี้ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี เป็นเขตปกครองพิเศษที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า ในทำนองเดียวกัน เชจูยังมีใบอนุญาตผู้พำนักสำหรับนักลงทุนทุกคนที่ต้องการลงทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่าประมาณ 430,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ บนเกาะนี้ ใบอนุญาตผู้พำนักดังกล่าวสามารถนำไปสู่การถือสัญชาติเกาหลีได้

3.) ไต้หวัน ไต้หวันเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีข้อจำกัดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในต่างประเทศเพียงเล็กน้อย การซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไต้หวันไม่ได้ให้สิทธิ์ชาวต่างชาติในการพักอาศัยที่นั่นโดยอัตโนมัติ ต่างจากประเทศมาเลเซียและเกาหลีใต้ โดยมีโปรแกรมการอยู่อาศัยสำหรับนักลงทุนบางรูปแบบสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ชาวต่างชาติจะต้องผ่านช่องทางการย้ายถิ่นฐานปกติเพื่ออาศัยอยู่ในไต้หวันอย่างถาวร ชาวต่างชาติสามารถซื้อบ้านหรือที่ดินที่ยังไม่พัฒนาในไต้หวันได้ 

4.) ญี่ปุ่น ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับประเภทของอสังหาริมทรัพย์ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในชื่อตนเองได้ ทั้งนี้ชาวต่างชาตินั้นจะต้องมีงานทำ หรือทำธุรกิจ หรือใช้วีซ่าประเภทใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแบบเต็มเวลา 

5.) สิงคโปร์ ในสิงคโปร์ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของคอนโด บ้าน และที่ดินได้ตามกฎหมาย สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ง่ายที่สุดในเอเชียในการซื้อคอนโด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชาวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของบ้านหรือที่ดินในทางทฤษฎี แต่จริงๆ แล้วการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้อาจเป็นเรื่องยากและมีราคาแพงอย่างเหลือเชื่อในทางปฏิบัติ การจะถือครองที่ดินเป็นคนต่างด้าวนั้นต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการเสียก่อน การอนุมัติดังกล่าวต้องมีการซื้อจำนวนมาก (คิดมูลค่าที่ดินมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์) และพิสูจน์ว่าการซื้อดังกล่าว ‘เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์’

'บิ๊กป๊อก' เสนอ ถอน กม.ต่างชาติซื้อที่ดิน หลังกระแสคัดค้านรุนแรง

(7 พ.ย. 65) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ได้รับหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งลงนามโดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ขอถอนเรื่องร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. … ออกจากมติ ครม.ซึ่งได้มีการอนุมัติหลักการไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 หลังมีเสียงค้านจำนวนมากทั้งประชาชนและฝ่ายการเมืองว่าเป็นการขายชาติ

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวงกลาโหม ก็มีความกังวลต่อเรื่องนี้เป็นอย่างมากเช่นกัน คาดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะยกเลิกร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้

ชวนต่างด้าวซื้อที่ดินในไทย กลยุทธ์ ‘ยิงปืนนัดเดียว’ ได้นก 2 ตัว

‘ต่างด้าวซื้อที่ดิน’ มาตรการเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง เป็นมาตรการกระตุ้นชั่วคราว ระยะ 5 ปี เพื่อจูงใจกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ มีความมั่งคั่งสูง และกลุ่มผู้มีทักษะสูง-ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านคน ให้มาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย สามารถถือครองที่ดินได้ ไม่เกินคนละ 1 ไร่ เพื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น 

ทั้งนี้ ก็มีเงื่อนไขด้วยว่าจะต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจ หรือกิจการที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ถือเป็นการ ‘ยิงปืนนัดเดียว ได้นก 2 ตัว’ คือ 

(1) การยกระดับอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว โดย ‘สมองไหลเข้าไทย’ เพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ของไทย ด้วยการสอนงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างคน-สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศไทย 

(2) การใช้จ่าย-การลงทุน เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมหาศาล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top