Wednesday, 1 May 2024
ตะวันออกกลาง

ยุทธศาสตร์คานงัดเศรษฐกิจไทย 10 ล้านล้าน โอกาสที่ 'อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง' พร้อมเสิร์ฟ

“...ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย...”

“…เราทำเงินจากโอกาสการค้าของไทยกว่า 10 ล้านล้านบาท ในตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง...”

นี่คือคำกล่าวโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ และอดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อ (ติดตามตอนแรก >> https://thestatestimes.com/post/2023031438) ในการฉายภาพเศรษฐกิจไทยที่กำลังพุ่งทะยาน โดยมีประชาธิปัตย์ทันสมัยเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านกระทรวงเกษตรฯ 

สำหรับในตอนล่าสุดนี้ นายอลงกรณ์ ได้พา THE STATES TIMES ไปโฟกัสถึงโอกาสขนาดใหญ่ที่ไทยกำลังปั้นให้เกิดเป็นผลลัพธ์จาก ตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของภาคเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้...

ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก รวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น 'ลมส่งท้าย' ถึงปีนี้ ซึ่งจะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทยทางด้านการค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว

เริ่มต้นปีด้วยข่าวดี เมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ ศาสตร์พระราชาภูมิปัญญาไทยโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ AIC ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) อีก 23 ศูนย์ เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า...

>> '8 ลมใต้ปีก' ช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าสู่ความสำเร็จ ได้แก่...

1. การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย 
- สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Corridor) ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย อาเซียนและตะวันออกกลาง

2. รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
- การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋างเปิดเส้นทางสู่แปซิฟิก

3. 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP:Regional Comprehensive Economic Partnership)
- เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญคือรองนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4. มินิ-เอฟทีเอ (Mini-FTA)
- เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆ ปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศ เช่น ไห่หนาน, กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน / เมืองโคฟุของญี่ปุ่น / เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5. FTA และการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
- ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTA และ UAE

6. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
- เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)

จีน แนะ ซาอุฯ - อิหร่าน - อิรัก - UAE - กาตาร์ - บาห์เรน ผนึกกำลัง สร้างพันธมิตรกองทัพเรือร่วมกัน เพื่อความมั่นคง

อัล จาดีด สำนักข่าวตะวันออกกลางรายงานว่า ประเทศในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตท์ (UAE) กาตาร์ และ บาห์เรน กำลังวางแผนที่จะสร้างพันธมิตรกองทัพเรือร่วมกัน เพื่อความมั่นคงในการคมนาคมขนส่งในตะวันออกกลาง โดยมีจีนทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาครั้งนี้ 

ข่าวนี้ ได้รับการยืนยันจากกองทัพเรืออิหร่าน เมื่อ พลเรือตรี ผบ.ทร ชาห์ราม อิรานี ได้กล่าวออกสื่อโทรทัศน์ในอิหร่านเมื่อวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า อิหร่านยินดิที่จะเข้าร่วมพันธมิตรกองทัพเรือกับชาติอื่นในตะวันออกลาง และหากทำสำเร็จ อาจมีการรวมกองทัพเรือของอินเดีย และ ปากีสถาน มาร่วมด้วย

พลเรือตรี ชาห์ราม อิรานี ได้กล่าวเสริมว่า ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้เล็งเห็นแล้วว่า การผนึกกำลังร่วมมือกันเท่านั้นจึงจะสามารถสร้างความมั่นคงในดินแดนแถบนี้ได้ 

และนับเป็นความสำเร็จอีกขั้นของจีน ในฐานะคนกลางในการเจรจาสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือนมีนาคม จีนสามารถพาคู่พิพาทระหว่างซาอุดิอารเบีย และ อิหร่าน กลับมาจับมือ และ สานสัมพันธ์ทางการทูตได้อีกครั้งหลังจากที่บาดหมางกันมานานหลายสิบปี 

ทำให้นักวิเคราะห์ที่เฝ้าสังเกตการในตะวันออกกลางมองว่า จากการที่จีนประสบความสำเร็จในการจัดการกับข้อพิพาทระหว่างชาติในตะวันออกกลางด้วยแผนการร่วมมือในเชิงเศรษฐกิจ และ ความมั่นคงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียอย่างชัดเจน ในขณะที่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาเริ่มอ่อนจางไป 

และเห็นได้ชัดเจนยิ่งขี้น จากการที่ UAE ได้ถอนตัวออกจากกลุ่มกองกำลังร่วมทางทะเลที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ที่มีไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยในย่านอ่าวเปอร์เซียที่เป็นเส้นทางการค้าน้ำมันที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งโลก ก่อนที่จะมีข่าวว่าเข้าร่วมในพันธมิตรกองทัพเรือที่เป็นแผนการของจีนในอีก 2 วันต่อมา 

แต่การประกาศร่วมมือกันในการสร้างกองทัพเรือของประเทศพันธมิตรในตะวันออกกลาง ที่มีอิหร่านร่วมด้วย สร้างความไม่พอใจแก่อิสราเอล ที่เคยพยายามกดให้ชาติพันธมิตรตะวันออกลางร่วมโดดเดี่ยวอิหร่าน ด้วยข้อกล่าวหาว่าอิหร่านแทรกซึม และสนับสนุนองค์กรก่อการร้าย อย่างกลุ่ม ฮิซบอลลาห์ ในเลบานอน หรือกลุ่มกบฎฮูตี ในเยเมน และอาจมีปัญหากับสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน เนื่องจาก กลุ่ม  Iranian Revolutionary Guard Corps หรือ กองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอิหร่านถูกขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา

อีกทั้งยังเป็นการท้าทายอำนาจของสหรัฐอเมริกาโดยตรง อันเนื่องจากสหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรทางการค้ากับอิหร่าน และกดดันประเทศพันธมิตรในการซื้อ-ขายน้ำมันจากอิหร่าน แต่เมื่อจีนได้พาอิหร่านมาจับมือกับชาติมหาอำนาจในตะวันออกกลางได้ ก็จะเปิดช่องทางการค้าให้กับอิหร่านอย่างเปิดเผย รวมถึงการสร้างความมั่นคงปลอดภัยในเส้นทางขนส่งทางทะเลผ่านแผนการสร้างพันธมิตรกองทัพเรือ ก็จะยิ่งลดบทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้ลงไปเรื่อยๆ 

แต่ถึงแม้กลิ่นสันติภาพจะแรงในตะวันออกกลาง แต่บรรยากาศในทะเลจีนใต้ยังคงคุกรุ่น เมื่อจีนพยายามที่จะสร้างอิทธิพลในตะวันออกกลาง แต่กับไต้หวัน ดินแดนใกล้ตัว กำลังอ่อนไหวพร้อมระเบิดได้ทุกเมื่อ อันเนื่องจากเขตพื้นที่ในตะวันออกกลาง สหรัฐฯ อาจยอมที่จะหลับตาข้างหนึ่งไปก่อน เพราะกำลังเปลี่ยนเป้าสายตามาลงที่ย่านอินโด-แปซิฟิค นั่นเอง 

บทสรุปราคาน้ำมันอาเซียน ใต้ ‘อุณหภูมิโลก-ตะวันออกกลาง’ เดือด ราคาเบนซินไทยเกาะกลุ่มกลางตาราง ส่วนดีเซลราคายังรั้งท้าย

เดือดปุดทั้งอาเซียน สมกับเป็นหน้าร้อนจริง ๆ เมื่อราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเร็วและแรงไปทั่วโลก จากความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ผสานเข้ากับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่พุ่งไม่แพ้กัน จากโลกที่ร้อนเข้าขั้นเดือด เพราะดวงอาทิตย์มาอยู่แถวนี้พอดี ซึ่งโดยรวม ๆ แล้วทั้งโลก และหมายรวมถึงอาเซียนบ้านเรา ก็คงได้รับผลกระทบจากราคาที่ปรับขึ้นนี้ไปตาม ๆ กัน

ว่าแล้ว วันนี้เลยขอถือโอกาสมาเช็กราคาน้ำมันเชิงเปรียบเทียบ เอาแค่ในประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนดูกันสักเล็กน้อย ว่า ณ ตอนนี้ ที่ไหน ถูก- แพง กันบ้าง? เผื่อคนไทยเราจะสบายใจกันขึ้นเล็ก ๆ

อย่างไรก็ตาม อยากให้เข้าใจก่อนว่า ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันถูกหรือแพงนั้น จะขึ้นอยู่กับ…

1. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประเทศไหนสามารถผลิตเองได้ ก็นับว่าโชคดีไป ที่บรรพบุรุษหามาให้เป็นทรัพย์สมบัติ
2. ค่าขนส่งน้ำมัน ถ้าประเทศที่ต้องนำเข้าคงไม่ต่างกันมากนัก แต่ประเทศที่ผลิตเองได้ ก็จะทำให้ค่าขนส่งถูกลง
3. ประเทศที่มีโรงกลั่นน้ำมันเอง ซึ่งในอาเซียน มีอยู่ 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์, ไทย, มาเลเซีย และ เวียดนาม 
4. ภาษีต่าง ๆ ที่ในแต่ละประเทศเรียกเก็บ

ทั้งนี้ หากในส่วนของอาเซียน ก็มีประเทศที่สามารถขุดน้ำมันมาใช้เองได้ โดยแทบไม่ต้องนำเข้าด้วย ได้แก่... 
1. มาเลเซีย
2. บรูไน
3. อินโดนีเซีย

ส่วน ประเทศไทย และ เวียดนาม ผลิตใช้เองได้เล็กน้อย คิดเป็นสัดส่วนราว 10% ของปริมาณความต้องการเท่านั้น

คราวนี้ ก็ได้เวลาพามาดูราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในกลุ่มอาเซียน ที่รายงานอยู่บนเว็บไซต์ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 พบว่า…

>> ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ในสิงคโปร์ แพงที่สุด คือ 80.29 บาทต่อลิตร ตามมาด้วย ลาว 57.57 บาทต่อลิตร, กัมพูชา 48.33 บาทต่อลิตร, เมียนมา 43.32 บาทต่อลิตร, ไทย 40.35 บาทต่อลิตร, ฟิลิปปินส์ 40.23 บาทต่อลิตร, เวียดนาม 36.61 บาทต่อลิตร, อินโดนีเซีย 33.23 บาทต่อลิตร, มาเลเซีย 15.79 บาทต่อลิตร และ บรูไน 14.33 บาทต่อลิตร

>> ส่วนราคาน้ำมันดีเซล แพงสุดก็ยังเป็น สิงคโปร์ 72.99 บาทต่อลิตร, กัมพูชา 45.59 บาทต่อลิตร, เมียนมา 43.32 บาทต่อลิตร, ลาว 36.62 บาทต่อลิตร, ฟิลิปปินส์ 36.61 บาทต่อลิตร, อินโดนีเซีย 35.85 บาทต่อลิตร, เวียดนาม 31.11 บาทต่อลิตร, ไทย 30.94 บาทต่อลิตร, มาเลเซีย 16.56 บาทต่อลิตร และ บรูไน 8.38 บาทต่อลิตร

ทั้งนี้ ต้องบอกให้ทราบกันก่อนว่า ราคาจากประเทศที่มีเห็นว่าน้ำมันถูกนั้น ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลแต่ละประเทศจะมีการอุดหนุนทั้งสิ้น โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซียและบรูไน ที่แม้จะเป็นประเทศที่สามารถผลิตน้ำมันใช้เองได้ก็ตาม

แต่จากภาวะสงครามความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้แต่ละประเทศเริ่มอุ้มไม่ไหวแล้ว จะเริ่มลอยตัวราคาน้ำมันตามกลไกตลาดกันแล้ว เพราะการอุ้มนาน ๆ จะทำให้เศรษฐกิจส่วนอื่นไม่รู้ต้นทุนจริง สุดท้ายประเทศจะไม่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

อย่างเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายราฟิซี รามลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจมาเลเซีย ก็ได้ออกมาระบุว่า มาเลเซียเตรียม ‘ลดการอุดหนุน’ ราคาน้ำมันเบนซินในปีนี้ เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งสาเหตุที่รัฐบาลมาเลเซีย เตรียมลดการอุ้มราคาน้ำมันนั้น เป็นเพราะผลจากการอุ้ม ทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณประเทศที่มีตัวเลขพุ่งไปแตะ 5% ของ GDP ในปี 2566 จนกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน และไม่เพียงเท่านั้น ยังส่งผลให้สกุลเงินริงกิตของมาเลเซียใกล้แตะระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติการเงินในเอเชียเมื่อปี 2541 อีกด้วย

ดังนั้น รัฐบาลมาเลเซีย จึงตั้งเป้าหมายในปีนี้ว่า จะลดภาวะขาดดุลงบประมาณจาก 5% ของ GDP ลงเหลือ 4.3% ของ GDP โดยเริ่มจากลดการอุดหนุนน้ำมันเบนซิน RON95 ซึ่งเป็นประเภทเบนซินราคาถูกที่สุด และชาวมาเลเซียใช้มากที่สุดด้วย โดยในปีที่แล้วรัฐบาลใช้งบประมาณไปกับการอุดหนุนเหล่านี้มากถึง 81,000 ล้านริงกิต หรือราว 622,000 ล้านบาท

*** ขนาดประเทศที่ผลิตน้ำมันใช้ได้เองอย่างมาเลเซียยังวิกฤต ก็เลยไม่อยากให้คิดว่าเมืองไทยไม่ทำอะไร ปล่อยแพงเอา ๆ

เพราะถ้าลองหันกลับมาดูประเทศไทยเราดี ๆ จะพบว่าราคาน้ำมันของไทย อยู่ในระดับกลาง ๆ ค่อนไปทางราคาถูกด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล เพราะมีการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเข้าไปอุ้มอยู่ แต่ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป หรืออุ้มน้ำมันดีเซลนาน ๆ ประเทศก็จะสูญเสียการแข่งขันเช่นกัน 

เนื่องจากตอนนี้ กองทุนน้ำมันบ้านเรา ได้เข้าอุ้มน้ำมันดีเซลอย่างเดียวก็ร่วม 60,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งถ้าจะให้พูดเชิงสำนึกกันสักหน่อย ก็น่าจะหมายถึงว่า “เวลาที่ภาคประชาชนต้องช่วยกันประหยัดน้ำมันกัน มันมาถึงแล้ว” เพราะต้องตระหนักรู้ด้วยว่า ประชาชนทุกคนที่ไม่ได้ใช้น้ำมันดีเซลก็มีเยอะ และเขาก็ต้องมาช่วยอุ้มน้ำมันดีเซลด้วยเช่นกันในตอนนี้

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกสาเหตุที่ประเทศไทย ราคาน้ำมันไม่แพงพุ่งกระฉูด เพราะเรามีโรงกลั่นน้ำมันของเราเอง อยู่ที่จังหวัดระยอง, ชลบุรี และกรุงเทพฯ ที่มีความสามารถในการกลั่นเองมาใช้เองภายในประเทศได้หมด แถมส่งออกได้อีกต่างหาก เรียกว่าประเทศไทยแทบไม่ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป แต่ทว่าก็ยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบอยู่

อีกเรื่องที่จะมองข้ามไม่ได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้ราคาน้ำมันพุ่งหรือไม่ คือ สงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง อันมีจุดเริ่มต้นจาก ‘อิสราเอล’ กับ ‘กลุ่มฮามาส’ ที่กำลังลุกลามยกระดับไปเป็น ‘อิสราเอล’ กับ ‘อิหร่าน’ แล้วนั่นเอง!!

ทำไมต้องจับตามอง? เพราะนอกจากจะส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบพุ่งแล้ว โดยภูมิศาสตร์ภูมิภาคแถบนั้น การขนส่งน้ำมัน 30 %ของโลกต้องผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ของอิหร่านทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าเกิดสงครามลุกลามขึ้นมา แล้วอิหร่านคิดจะกดดันด้วยการปิดช่องแคบฮอร์มุซแบบเบ็ดเสร็จ ก็ต้องมีการขนอ้อมไปทางอื่น ซึ่งจะทำให้ค่าขนส่งพุ่งกระฉูดอีกทางหนึ่ง เมื่อถึงตอนนั้นคงไม่ต้องคิดว่าคนไทยและชาวโลกจะเดือดร้อนขนาดไหน

อย่างไรก็ตาม เห็นข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ท่านพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กำลังเร่งจัดทำระบบสำรองน้ำมันและก๊าซเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SPR เพื่อสำรองน้ำมัน เตรียมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เป็นเวลา 90 วัน ซึ่งจะทำให้ราคาในประเทศไม่ผันผวนตามตลาดโลกแม้มีภาวะสงคราม ซึ่งเรื่องนี้อยากให้ได้รับความสนใจจากทุกหน้าสื่อสักหน่อย 

ส่วน THE STATES TIMES เองก็สนใจเรื่องนี้พอสมควร ไว้ขอไปศึกษาและคราวหน้าจะเอารายละเอียดมาฝาก...

เรื่อง: กองบรรณาธิการ THE STATES TIMES


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top