Thursday, 9 May 2024
ณัฐพล_ใจจริง

'อ.ไชยันต์' ตามชำแหละวิทยานิพนธ์ 'ณัฐพล'  อ้างอิงนสพ.ฉบับ 10 พ.ย. 2490 ที่ก่อตั้งปี 2500

'อ.ไชยันต์' ตามชำแหละวิทยานิพนธ์ 'ณัฐพล ใจจริง' ประเด็น 'ในหลวง ร.9 ทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน' อ้างอิงนสพ.เอกราชวันที่ 10 พ.ย. 2490 แต่นสพ.เอกราชก่อตั้ง 24 มิ.ย. 2500

10 พ.ย. 64 - ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้ 

“ทุ่นดำ-ทุ่นแดง”

กรณีการกล่าวว่า "ในหลวงทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน" ของ ณัฐพล ใจจริง

ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ “ในหลวง ร.9 ทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน” ซึ่ง ณัฐพล กล่าวว่า “โดยหนังสือพิมพ์ไทยร่วมสมัยได้พาดหัวข่าวขณะนั้นว่า 'ในหลวงรู้ปฏิวัติ 2 เดือนแล้ว' ทั้งนี้ พล.ท.กาจ กาจสงคราม ให้คำสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ต่อมาว่า เขาได้เคยส่งโทรเลขลับรายงานแผนรัฐประหารให้พระองค์ทรงทราบล่วงหน้า 2 เดือนก่อนลงมือรัฐประหาร”

โดย ณัฐพล อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์เอกราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 1947

อย่างไรก็ดี สิ่งที่พวกเราต้องการบอกทุกท่านเป็นอย่างแรกคือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่หนังสือพิมพ์เอกราชจะลงข่าวในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ?

เนื่องจากว่า “หนังสือพิมพ์เอกราชถือกำเนิดขึ้นโดยโรงพิมพ์เอกราชได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2500” !

กล่าวคือ หนังสือพิมพ์ที่ก่อตั้งปี พ.ศ. 2500 จะนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปลงข่าว 10 ปีที่แล้วก่อนการก่อตั้งได้อย่างไร!?

(ดูประวัติการก่อตั้งจาก พัชราภรณ์ ครุฑเมือง, การดำรงอยู่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอกราช ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ ภาควิชาสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552)

มิหนำซ้ำ เรายังรู้สึกแปลกใจที่ ณัฐพล ใช้ปี ค.ศ. 1947 ในการระบุปี ขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เขากลับใช้ พ.ศ. ทั้งหมด

ดังนั้น การอ้างถึง “หนังสือพิมพ์เอกราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 1947” ของ ณัฐพลจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีที่มาจากไหนกันแน่?

เพราะข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่เคยปรากฏหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ขึ้นในบรรณพิภพในเวลานั้น

ประกอบทั้งการใช้ปี ค.ศ. ที่ไม่ปรากฏความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (consistency) กับการเขียนวิทยานิพนธ์ในส่วนอื่น ๆ ของณัฐพล

เราจึงสงสัยว่าณัฐพลเอาข้อมูลในส่วนนี้มาจากไหนกันแน่ ?

หรือถ้ามีจริงทำไมเขาไม่อ้างจากหลักฐานชั้นต้นเช่นในจุดอื่น ๆ ?

นอกจากนี้ ก่อนการรัฐประหาร 2490 บรรยากาศขณะนั้นก็เป็นที่รับรู้ทั่วไป ดังปรากฏข่าวลือว่าจะต้องมีการรัฐประหารเกิดขึ้นแน่ ๆ ไม่ว่าวันใดวันหนึ่ง

'ศิษย์เก่าจุฬาฯ' ถามหามาตรฐานจุฬาฯ ปม 'ณัฐพล ใจจริง' ยังเชื่อ 'จุฬาฯ' เป็นเลิศด้านวิชาการ เคียงคู่คุณธรรม-จริยธรรม

(8 มี.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Sompob Pordi’ หรือ ‘สมภพ พอดี’ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า…

“ผมเป็นนิสิตเก่าธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ไม่ได้เป็นครูอาจารย์ ไม่ได้เป็นนักวิชาการ ไม่ได้เป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษา และไม่มีคุณสมบัติใด ๆ ที่จะเป็นครูอาจารย์ นักวิชาการ หรือผู้บริหารสถาบันการศึกษาได้แน่นอน

แต่ผมรู้ว่า หน้าที่และความรับผิดชอบคืออะไร ผมสามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ เช่นเดียวกับมนุษย์ปกติทั่วไป

แล้วผมก็รู้ด้วยว่า จุฬาฯ ไม่ได้มีนโยบายผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในด้านวิชาการเท่านั้น หากจุฬาฯ ยังได้ให้ความสําคัญในด้านคุณธรรม จริยธรรมของบัณฑิตที่จบจากจุฬาฯ

จุฬาฯ โดยสํานักบริหารกิจการนิสิตจึงได้ดําเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ด้านต่าง ๆ ให้แก่นิสิต เพื่อที่นิสิตจะได้ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับส่วนรวมและสําเร็จการศึกษาออกไปเป็นบัณฑิตที่เปี่ยมคุณภาพทั้งความรู้และคุณธรรม 

ที่ผมรู้เพราะผมคัดลอกข้อความนี้มาจากหน้าแรกของคู่มือนิสิตจุฬาฯ พ.ศ.2564 

ถึงตรงนี้ จุฬาฯ ช่วยตอบนิสิตเก่าอย่างผม ตอบนิสิตเก่าคนอื่น ๆ ตอบสังคมไทยที่อุดหนุนกิจการของจุฬาฯ ผ่านภาษีของชาติด้วยว่า 

นิสิตจุฬาฯ ในระดับปริญญาเอกที่ใช้การโกหก ใช้ข้อมูลเท็จ ใช้การแต่งเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ทำวิทยานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษา มีคุณธรรม มีจริยธรรม ตามเจตนารมณ์ของจุฬาฯ หรือไม่? วิทยานิพนธ์ดังกล่าวมีคุณภาพทางวิชาการตามมาตรฐานของจุฬาฯ หรือไม่?

และหากพฤติกรรมดังกล่าวไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ วิทยานิพนธ์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของจุฬาฯ จุฬาฯ จะปล่อยผ่าน จะวางเฉย จะไม่เพิกถอนปริญญาเอกที่ว่า หรือไม่? เพราะอะไร?

หากจุฬาฯ ตอบว่าไม่สามารถเพิกถอนปริญญาเอกนั้นได้ ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ตาม ผมขอให้จุฬาฯ เปิดคู่มือนิสิตจุฬาฯ พ.ศ. 2564 อ่านให้ดี ๆ ดูที่ข้อ 2) การสอบของนิสิต จะพบข้อความต่อไปนี้

2.2) แนวทางในการพิจารณาการกระทำผิดเกี่ยวกับการศึกษา
1. ทุจริต และส่อทุจริตในการสอบ
 2. การคัดลอกผลงานทางวิชาการโดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา
 3. การให้ข้อมูลเท็จ การปลอมแปลงเอกสาร
 4. การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

การโกหก การใช้ข้อมูลเท็จ การแต่งเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกที่เป็นคดีความเป็นข่าวนั้น เป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับการศึกษาตามข้อ 3 อย่างชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัย

ถึงตรงนี้ จุฬาฯ ช่วยตอบนิสิตเก่ารวมทั้งผมด้วย นิสิตปัจจุบัน และสังคมไทยด้วยว่า 

จะเพิกถอนปริญญาเอกของผู้ที่กระความผิดทางการศึกษา ตามกฎ กติกา ของจุฬาฯ เอง หรือไม่? เมื่อไหร่? และหากไม่เพิกถอนปริญญาเอกดังกล่าว ทำไมถึงไม่เพิกถอน? ทำไมถึงไม่ปฏิบัติไม่บังคับใช้กฎกติกาที่จุฬาฯ กำหนดขึ้นมาเอง? และจะรับผิดชอบต่อความเสียหายของเกียรติภูมิ ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของจุฬาฯ อย่างไร?

ผมแน่ใจและมั่นใจว่า คำถามของผมไม่ยากเกินความรู้ ความสามารถ และสติปัญญาของครูอาจารย์ ของนักวิชาการ ของผู้บริหารจุฬาฯ ที่มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อจุฬาฯ อย่างแน่นอน

‘อ.ไชยันต์’ กล่าวถึง ‘ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์’ คนแรกที่สะดุดตา ปม ‘ผู้สำเร็จราชการฯ’

จากจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยเรื่อง ‘การเมืองในรัชสมัย ร.9’ เพื่อบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วง 70 ปีแห่งการครองราชย์ ทำให้ อาจารย์ไชยันต์ กับ คณะต้องสำรวจวรรณกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เมื่อปี 2560 ณ ห้อง 102 อาคาร 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถูกใช้เป็นประชุม-อ่านหนังสือของ 3 นักวิจัย ประกอบด้วย ศ.ดร.ไชยันต์, ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ และ รศ.ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ รวมถึงผู้ช่วยวิจัย

ในระหว่างที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกัน ศาสตราจารย์ผู้มีอาวุโสสูงสุดด้วยวัย 70 ปีเศษ ต้องสะดุดตา-สะดุดใจกับข้อความ 6 บรรทัดที่ปรากฏในหน้า 124 ของหนังสือ ‘ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ’ เขียนโดย ผศ.ดร. ณัฐพล ใจจริง (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556)

ข้อความตอนหนึ่งระบุว่า…

“ผู้สำเร็จราชการฯ ได้เสด็จเข้ามานั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ประหนึ่งกษัตริย์เป็นประธานประชุมคณะเสนาบดีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์...”

ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวในครั้งนั้นว่า “อาจารย์สมบัติเป็นคนปิ๊ง ท่านก็สงสัย มันไม่น่า ในฐานะที่ท่านอายุเยอะ ท่านไม่เคยได้ยิน พอไม่เคยได้ยิน ผมก็เลยมีหน้าที่ต้องรับไปสืบค้น” 

และจากวันนั้นถึงวันนี้ก็นำมาสู่ปฏิบัติการพิสูจน์ความจริง-สืบสาวความผิดพลาด ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าสื่อในปัจจุบัน

ย้อนทำเนียบ 279 'นักวิชาการ-ภาคประชาชน' ผู้ข้องใจในวิทยานิพนธ์ล้มเจ้า 'ณัฐพล ใจจริง'

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 5 มี.ค.67 ศาลอาญายกฟ้อง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีนายณัฐพล ใจจริง ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องที่ ศ.ดร.ไชยันต์ ได้วิพากษ์วิจารณ์นายณัฐพล ว่าใช้ข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์

คณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญและเป็นกลาง ขึ้นมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ดังกล่าวตั้งแต่เดือน มี.ค.64 โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ส่งผลการสอบสวนให้ท่านประธานคณะกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว เรื่องดังกล่าวได้ถูกนำเข้าสู่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาฯ ได้มีมติรับรองผลการสอบสวนวิทยานิพนธ์แล้ว

แต่จนแล้วจนรอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังไม่มีการประกาศผลการสอบสวนออกมาเพื่อเปิดเผยให้สังคม

หลายคนอาจจะคิดว่า เพราะเรื่องนี้เพิ่งมีการเรียกร้องกันหรือไม่? หรือมีเพียงแค่ผู้สันทัดกรณีด้านประวัติศาสตร์การเมืองเฉพาะกลุ่มออกมาตีแผ่ ดูเหมือนไม่ใช่ประเด็นสำคัญแต่อย่างไร? ทำให้อะไรๆ ก็ดูล่าช้าไปเสียหมด โดยเฉพาะจากทางฟากฝั่ง จุฬาฯ

ต้องบอกเลยว่า ไม่ใช่!!

เพราะอันที่จริงเรื่องนี้ ใช่ว่าจะไม่มีใครหรือภาคส่วนใดออกมาทักท้วง หากแต่เสียงทักท้วงนั้น ดูจะไม่ดังพอให้นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งใจและใส่ใจในการออกมาเผยผลสอบสวนนายณัฐพล ใจจริง เพื่อปกป้องเสรีภาพและมาตรฐานทางวิชาการอย่างจริงจัง จนเลยเถิดมาถึงศาลฯ ที่มีคำยกฟ้อง อ.ไชยันต์ ที่เซซัดให้สังคมในวันนี้ เริ่มรวมตัวกันกดดันทั้ง จุฬาฯ และ ณัฐพล แบบยกใหญ่ ว่าเจตนาแห่งการบิดเบือนที่สร้างความแปดเปื้อนไปสู่สถาบันฯ ผ่านวิทยานิพนธ์นี้ คืออะไรกันแน่?

...ว่าแล้ว THE STATES TIMES ก็ขอพาย้อนไปช่วงปี 2564 ซึ่งตอนนั้นมี 279 'นักวิชาการ-ภาคประชาชน' ออกมาร่วมคัดค้านในวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ซึ่งหากพหากพิจารณารายชื่อแล้ว แต่ละท่านก็ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคมทั้งสิ้น โดยทั้งหมดได้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง จุฬาฯ ความว่า…

เรียน นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง ปีการศึกษา 2552 เรื่อง ‘การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)’ โดยเริ่มต้นจากการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งได้ตรวจสอบการอ้างอิงในเล่มวิทยานิพนธ์ดังกล่าว จนร้องเรียนมายังบัณฑิตวิทยาลัย และนำไปสู่การออกคำสั่งระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ การดำเนินการเพื่อถอดถอนปริญญา การตั้งกรรมการสอบแบบปิดลับ การเคลื่อนไหวโจมตีของสมาคมและเครือข่ายต่างๆ อาทิ สถาบันทิศทางไทย กลุ่มจุฬาฯพิทักษ์ธรรม มาจนกระทั่งการฟ้องร้องคดีแพ่งของตัวแทนราชสกุลรังสิตต่อนายณัฐพลผู้เขียน รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันผู้ตีพิมพ์เผยแพร่

นักวิชาการ 239 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 25 คน และบุคคลในสาขาอาชีพอื่นอีก 15 คน ดังมีรายชื่อข้างท้ายจดหมายฉบับนี้รู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งกับการดำเนินการตั้งแต่ต้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอเสนอข้อคิดเห็นประกอบการพิจารณาและตัดสินใจของผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้มีอำนาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. ความบริสุทธิ์ใจและจรรยาบรรณทางวิชาการของผู้เขียน - นับตั้งแต่ที่ศาสตราจารย์ไชยันต์ ไชยพร ได้ทำหนังสือถึงบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งปัญหาความคลาดเคลื่อนของข้อเท็จจริงในวิทยานิพนธ์ในปี 2561 นายณัฐพล ผู้เขียนมิได้นิ่งนอนใจหรือบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยง แต่ได้ตรวจสอบเอกสาร ทำหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และขอปรับแก้ข้อความที่ผิดพลาดดังกล่าวในทันที แต่ตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแก้ไขวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติแล้วจะกระทำมิได้ กระนั้นเมื่อสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันตีพิมพ์หนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี ซึ่งนายณัฐพลเรียบเรียงปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ของตน นายณัฐพลก็ได้แก้ไขจุดผิดพลาดที่ศาสตราจารย์ไชยันต์ท้วงติงด้วย   

ข้อเท็จจริงตามลำดับข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจและความรับผิดชอบทางวิชาการของผู้เขียนที่จะแก้ไขความผิดพลาดทั้งในวิทยานิพนธ์และหนังสือที่ตีพิมพ์ในภายหลัง ฉะนั้น การตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล จึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิดพลาดที่นายณัฐพลได้แก้ไขตามข้อท้วงติงแล้ว 

2. น้ำหนักของความผิด และผลกระทบต่อข้อเสนอของงานวิจัย - ในการให้สัมภาษณ์หลายกรรมหลายวาระของศาสตราจารย์ไชยันต์ รวมถึงในข้อเขียนของบุคคลต่าง ๆ และล่าสุดคือคำฟ้องของตัวแทนราชสกุลรังสิต ล้วนกล่าวไปในทางเดียวกันว่านายณัฐพลปั้นแต่งความเท็จในวิทยานิพนธ์ของตนว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร แทรกแซงการเมืองโดยเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี อันเป็นการหยิบยกความผิดพลาดเพียงประเด็นเดียวมาโจมตีและขยายผลเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ซ้ำร้ายยังเป็นความผิดพลาดที่นายณัฐพลได้ยอมรับและแก้ไขแล้วในหนังสือ ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ แล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ในวิทยานิพนธ์  

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือความผิดพลาดในการอ้างอิงและการตีความไม่ได้ผันแปรโดยตรงกับสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล อันที่จริงแล้วกระทั่งงานวิชาการจำนวนมากของนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากลก็พบข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนเช่นกัน เช่น งานของ Fernand Braudel และ Edward Said ทว่าตราบเท่าที่ข้อผิดพลาดเหล่านั้นไม่ได้กระทบต่อข้อเสนอหลักของงานวิชาการ งานเหล่านั้นก็ยังทรงพลังทางปัญญาอยู่จนถึงปัจจุบัน 

นอกจากนี้การประเมินสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของงานทางวิชาการไม่สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงเท่านั้น เพราะข้อความในวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลเป็นผลของการตีความหลักฐานและการใช้เหตุผล การพิจารณาว่าข้อความในวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลในกรณีนี้ผิดพลาดหรือไม่จึงไม่สามารถใช้วิธีการเทียบคำต่อคำในระหว่างวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลและหลักฐานที่นายณัฐพลอ้างอิง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่าการประเมินสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของงานทางวิชาการต้องการความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของงานเขียนทางวิชาการ รวมถึงความเข้าใจที่ว่าความรู้ทางวิชาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งที่เป็นผลมาจากแสวงหาและการสั่งสมความรู้ผ่านกระบวนการค้นคว้า พิสูจน์ตรวจสอบ ยืนยันและหักล้างข้อเท็จจริง และเป็นผลมาจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางวิชาการ   

การโยงเรื่องวิชาการกับการล้มล้างสถาบันและกล่าวหาว่านายณัฐพลว่ามีเจตนาบิดเบือนหลักฐาน จึงเป็นผลของอคติส่วนตัวและความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้ตรวจสอบ ทั้ง ๆ ที่วิทยานิพนธ์และหนังสือของนายณัฐพลไม่ได้เสนอหรือแม้แต่ชี้นำให้มีการยกเลิกหรือล้มล้างสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด การโจมตีและโฆษณาขยายผลเช่นนี้จึงไม่เป็นธรรมต่อนายณัฐพลอย่างยิ่ง 

3. เสรีภาพทางวิชาการ - การดำเนินการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านมาหาได้ทำให้การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการรัดกุมยิ่งขึ้นไม่ ในทางตรงกันข้ามสิ่งนี้สร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ โดยเฉพาะในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ซึ่งจะกระทบต่อการวิจัยด้านไทยศึกษาทั้งในและต่างประเทศ  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรมีจุดยืนที่แน่วแน่และชัดเจนในการรักษาและส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการของสมาชิกประชาคมทางวิชาการในระดับอุดมศึกษาทั้งของอาจารย์และนิสิต อันได้แก่เสรีภาพในการเรียนการสอนและการอภิปรายถกเถียง เสรีภาพในการดำเนินการวิจัยและการเผยแพร่และการตีพิมพ์ผลการวิจัย เสรีภาพในการแสดงความเห็นอย่างอิสระเกี่ยวกับสถาบันหรือระบบที่ตนทำงานและศึกษาอยู่ และเสรีภาพจากการเซ็นเซอร์เชิงสถาบัน ไม่โอนอ่อนไปตามกระแสสังคมและแรงกดดันจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด  

ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2564 ของ Quacquarelli Symonds (QS) หรือ QS World University Rankings 2021 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 208 แต่หากนำดัชนีเสรีภาพทางวิชาการ (Academic Freedom Index, AFi) ประจำปี 2564 ของไทยที่จัดทำโดย Global Public Policy Institute (GPPI) และ Scholars at Risk Network มาร่วมคำนวณด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยไทยโดยรวมจะมีคะแนนรวมลดลงอย่างแน่นอน 

นักวิชาการที่ดีต่างรู้ดีว่าความผิดพลาดในงานวิชาการเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และไม่ถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการหากไม่ใช่ความผิดร้ายแรงอย่างเช่นการโจรกรรมหรือลักลอกงานวิชาการ (plagiarism) การสร้างข้อมูลหรือผลการทดลองที่ไม่มีอยู่จริง หรือการบิดเบือนแก้ไขผลการทดลองเพื่อสนับสนุนสมมุติฐานของงานวิจัย ด้วยเหตุนี้ ความผิดพลาดอื่นใดในการอ้างอิง การอ่านตีความหลักฐาน หรือการใช้เหตุผล จึงต้องไม่นำไปสู่ความผิดทางวินัยและอาญาใด ๆ การตรวจสอบความผิดพลาดดังกล่าวพึงกระทำด้วยมาตรการทางวิชาการ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์และการโต้เถียงทักท้วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ควรละเมิดมาตรฐานและจรรยาบรรณนี้ เพราะนั่นจะนำความเสื่อมเสียมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสายตาประชาคมทางวิชาการไทยและสากล  

อาศัยเหตุอันได้แสดงมาโดยลำดับ พวกเราจึงขอเรียนมายังท่านเพื่อโปรดพิจารณายุติการสอบสวนกรณีวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง เพื่อธำรงเกียรติภูมิแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ 

ขอแสดงความนับถือ

รายชื่อนักวิชาการ
1.  ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.  ศ. (พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
3. ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
4. ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ Graduate school  Cornell University
5. ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ  อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ 
8. ศ.บาหยัน  อิ่มสำราญ นักวิชาการอิสระ 
9. ศ.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. ศ. (เกียรติคุณ) ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. รศ.ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. รศ. ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. รศ.ฉลอง สุนทราวณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการ 
17. รศ.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักประวัติศาสตร์ 
19. รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21. รศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
22. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
23. รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
24. รศ.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
25. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รศ.ดร.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
30. รศ.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

31. รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา ภาควิชาภาษาอังกฤษ 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
33. รศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34. รศ.ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. รศ.ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. รศ.ดร. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

40. รศ.ดร.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. รศ.อภิญญา เวชยชัย อดีตอาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44. รศ.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
45. รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ 
46. ผศ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
47. ผศ.กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ผศ.กุสุมา กูใหญ่ วิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
49. ผศ.ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

51. ผศ.คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
53. ผศ.ดร.คารินา โชติรวี นักวิชาการ 
54. ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร อดีตอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
55. ผศ.ดร.ชาญณรงค์  บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
57. ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
58. ผศ.ดร.ซัมซู สาอุ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
59. ผศ.ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์ สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
60. ผศ.ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

61. ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
62. ผศ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63. ผศ.ดร. วิลลา วิลัยทอง อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64. ผศ.ดร.เดโชพล เหมนาไล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
65. ผศ.ดร.โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
66. ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
67. ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
68. ผศ.ดร.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
69. ผศ.ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
70. ผศ.ดร. ธนเดช เวชสุรักษ์ University of Rhode Island

71. ผศ.ดร.ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
72. ผศ.ธนิต โตอดิเทพย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
73. ผศ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
74. ผศ.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
75. ผศ.นวัต เลิศแสวงกิจ ทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
76. ผศ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
77. ผศ.นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
78. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
79. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
80. ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

81. ผศ.ดร. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82. ผศ.ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
83. ผศ.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
84. ผศ.ดร.พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
85. ผศ.ดร.พงษ์ธร วราศัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
86. ผศ.พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87. ผศ.ดร.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88. ผศ.ดร.พรใจ ลี่ทองอิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
89. ผศ.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง School of Social Sciences  Waseda University
90. ผศ.พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

91. ผศ.ดร.พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
92. ผศ.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
93. ผศ.พุฑฒจักร สิทธิ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
94. ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. ผศ.ดร.มาลินี  คุ้มสุภา การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
96. ผศ.มูนีเราะฮ์ ยีดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
97. ผศ.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
98. ผศ.ยอดพล เทพสิทธา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
99. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล การจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
100. ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  

101. ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102. ผศ.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
103. ผศ.วราภรณ์ เรืองศรี สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
104. ผศ.วิทยา อาภรณ์ สาขาวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
105. ผศ.ดร.วิทัศน์ ฝักเจริญผล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
106. ผศ.ดร.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
107. ผศ.วิระพงศ์ จันทร์สนาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
108. ผศ.วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล การพัฒนาชุมชน / มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
109. ผศ.วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
110. ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

111. ผศ.ดร.ศรันย์  สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
112. ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
113. ผศ.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
114. ผศ.ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115. ผศ.ดร.สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
116. ผศ.สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
117. ผศ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
118. ผศ.สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
119. ผศ.สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
120. ผศ.สุวิมล รุ่งเจริญ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

121. ผศ.ดร.เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
122. ผศ.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
123. ผศ.หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
124. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
125. ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
126. ผศ.อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
127. ผศ.อัครยา สังขจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
128. ผศ.ดร.อัมพร หมาดเด็น สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
129. ผศ.อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ สาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
130. ผศ.อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

131. ผศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
132. ผศ.ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133. Assistant Professor Connie Carter Social sciences California University
134. Assistant Professor Penchan Phoborisut Communication 
 California State University-Fullerton
135. อาจารย์ ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
136. อาจารย์กริช ภูญียามา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. อาจารย์กรวิทย์ ออกผล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา
138. อาจารย์ ดร.กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. อาจารย์ ดร.กัลยา เจริญยิ่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
140. อาจารย์กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

141. อาจารย์ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
142. อาจารย์ ดร.จักรพันธ์ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
143. อาจารย์คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
144. อาจารย์คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
145. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
146. อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 
147. อาจารย์จิรธร สกุลวัฒนะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
148. อาจารย์จิรายุทธ์ สีม่วง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
149. อาจารย์จีรพล เกตุจุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
150. อาจารย์ชัชวาล บุญปัน อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

151. อาจารย์ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง เทคโนโลยีภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 
152. อาจารย์ ดร. ชัยพงษ์ สำเนียง ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
153. อาจารย์ฑภิพร สุพร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
154. อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี คณะศิลปศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนครพนม
155. อาจารย์ ดร.ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
156. อาจารย์ณัฐพล พินทุโยธิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
157. อาจารย์ ดร.ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์ สาขาการเมืองการปกครอง ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
158. อาจารย์ณิชภัทร์ กิจเจริญ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
159. อาจารย์ ดร.ณีรนุช แมลงภู่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
160. อาจารย์ ดร.ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการ New York University-Abu Dhabi                                                                                
161. อาจารย์ ดร.ตฤณ ไอยะรา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
162. อาจารย์ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
163. อาจารย์ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
164. อาจารย์ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
165. อาจารย์ทวีป มหาสิงห์ รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
166. อาจารย์ธนพงศ์ จิตต์สง่า ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
167. อาจารย์ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
168. อาจารย์ธนสักก์ เจนมานะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
169. อาจารย์ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
170. อาจารย์ ดร.ธนาพล ลิ่มอภิชาต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top