Sunday, 19 May 2024
ชาติตะวันตก

ความหน้าด้านของตะวันตก เมื่อ 'ผู้นำอังกฤษ' กดดัน 'อินเดีย' ต้านรัสเซีย แต่เมื่อถูกทวงคำขอโทษสังหารหมู่ 'จลิยานวาลาบาค' กลับเพิกเฉย

'ครูแพท-พัฒนพงศ์ แสงธรรม' อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ความหน้าด้านของตะวันตก ท้้งเยอรมนี, อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่มนุษยชาติจะได้จดจำไปตลอดกาล เป็นการยืนยันความเห็นแก่ตัวและกักขฬะที่ไม่ได้ต่างจากสัตว์ที่ชัดเจนที่สุดในประวัติศาสตร์

อินเดียซึ่งนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียและเป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก งดออกเสียงในการลงคะแนนเสียงของสหประชาชาติที่ประณามรัสเซียสำหรับการบุกรุกยูเครน และไม่ได้ร่วมมือกับชาติตะวันตกในการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ซึ่งแม้ว่าอินเดียจะใกล้ชิดกับตะวันตกมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังต้องพึ่งพาอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากจากรัสเซีย ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนและปากีสถาน

บอริส จอห์ฺนสัน ไปเยือนอินเดีย เพื่อพูดคุยเรื่องการให้อินเดียงดซื้อพลังงานจากรัสเซีย และคว่ำบาตรรัสเซีย หลังจากที่สหรัฐฯ ได้พยายามมาแล้ว และยังกดดันอินเดียตลอดมา

อินเดียจึงทวงคำขอโทษจากอังกฤษสำหรับเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาคเมื่อกว่า 100 ปีก่อนอีกครั้ง เพราะตลอดมาอังกฤษเพิกเฉย

แผนตะวันตกโดดเดี่ยว 'รัสเซีย' ใน UN เริ่มกร่อย หลายชาติถอดใจไม่อยากเป็นศัตรูกับรัสเซีย

นับวันความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียในยูเอ็นก็อยู่ในอาการกร่อยลงเรื่อย ๆ หลายประเทศกำลังตั้งคำถามว่า การร่วมมือต่อต้านรัสเซียเป็นการกระทำที่ฉลาดจริงหรือ รวมทั้งยังสงสัยว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีสาระสำคัญอย่างแท้จริงถึงขั้นที่ต้องให้การสนับสนุนแบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยที่ตะวันตกจัดหาอาวุธให้เคียฟ ขณะที่ไม่มีการเจรจาอย่างสันติที่แท้จริงเพื่อยุติความขัดแย้งกระนั้นหรือ

รอยเตอร์รายงานว่า คืนหนึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ภายใต้โคมระย้าของรัสเซียในที่ประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในนิวยอร์ก เอกอัครราชทูตนับสิบคนจากแอฟริกา ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และเอเชีย ร่วมงานสังสรรค์เนื่องในโอกาสวันชาติของรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกองทัพแดนหมีขาวบุกยูเครนไม่ถึง 4 เดือน

วาสสิลี เนเบนเซีย เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำยูเอ็น กล่าวขอบคุณทูตเหล่านั้นสำหรับการสนับสนุนและจุดยืนในการคัดค้านสงครามที่มุ่งต่อต้านรัสเซีย หลังจากกล่าวหาหลายประเทศโดยไม่เอ่ยชื่อว่าพยายาม 'ล้มล้าง' รัสเซียและวัฒนธรรมรัสเซีย

การไปร่วมงานเลี้ยงคราวนี้ของเอกอัครราชทูตเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นความยากลำบากที่พวกนักการทูตตะวันตกต้องเผชิญ ในการพยายามธำรงรักษามาตรการแข็งกร้าวของนานาชาติมุ่งโดดเดี่ยวรัสเซียเอาไว้ หลังจากที่ระยะแรก ๆ สามารถผลักดันยูเอ็นออกมาประณามการรุกรานยูเครนได้หลายครั้ง

ขณะที่รับรู้ถึงความสับสนและความกังวลของบางชาติที่ว่า สงครามยูเครนเรียกร้องต้องการความสนใจของทั่วโลกมากเกินไป เป็นระยะเวลาเกือบ 6 เดือนแล้ว โดยยังไม่มีแนวโน้มว่ายูเอ็นจะทำอะไรได้นั้น พวกนักการทูตตะวันตกก็ยอมรับว่า นอกเหนือจากการพยายยามเรียกประชุมนานาชาติแล้ว วิธีการอื่น ๆ ซึ่งสามารถพุ่งเป้าจัดการกับรัสเซียก็ดูจำกัดเหลือเกิน

ริชาร์ด โกแวน ผู้อำนวยการฝ่ายยูเอ็นของกลุ่มคลังสมอง อินเตอร์เนชันแนล ไครซิส กรุ๊ป เป็นผู้หนึ่งซึ่งยอมรับว่า การหาวิธีที่มีความหมายในการลงโทษรัสเซีย กำลังทำได้ยากขึ้นทุกที ขณะที่สงครามยังคงยืดเยื้อต่อไป

พวกนักการทูตและผู้สังเกตการณ์หลายคนสำทับว่า ในบางกรณีชาติตะวันตกต้องหลีกเลี่ยงการดำเนินการเฉพาะเจาะจงบางอย่าง เนื่องจากกลัวว่า จะได้รับการตอบรับอย่างเฉยชา ขณะที่มีประเทศมากขึ้นงดออกเสียงในการลงมติซึ่งส่งสัญญาณถึงความไม่ยินดีต่อต้านมอสโกอย่างเปิดเผย

เมื่อเดือนมิถุนายน สหภาพยุโรป (อียู) ต้องพิจารณาทบทวนแผนการที่จะให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นทำหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัสเซีย และสุดท้ายก็ตัดสินใจระงับเพราะกลัวว่า สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเกือบครึ่งจากทั้งหมด 47 ชาติอาจคัดค้าน

โอลาฟ วินต์เซค ผู้อำนวยการมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ของเยอรมนีประจำเจนีวา ชี้ว่า หลายประเทศกำลังตั้งคำถามว่า การร่วมมือกันต่อต้านรัสเซียเป็นการกระทำที่ฉลาดจริงหรือ

ด้านนักการทูตรัสเซียประจำยูเอ็นในเจนีวา สำทับว่า ประเทศตะวันตกรู้ดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะโดดเดี่ยวรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลก

'ปูติน' พบปะหารือ 'สี จิ้นผิง' กระชับความร่วมมือต่อต้านชาติตะวันตก

'ปูติน' พบหารือ 'สี จิ้นผิง' วันพฤหัสบดี (15 ก.ย. 65) ในเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน พร้อมกันนั้น กองทัพเรือ 2 ประเทศยังร่วมซ้อมรบทางยุทธวิธีในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางด้าน 'เซเลนสกี' ครวญเมืองและหมู่บ้านมากมายที่ชิงกลับมาได้ถูกกองกำลังรัสเซียทำลายเสียหายหนัก ขณะที่เมืองใหญ่เมืองหนึ่งกำลังเร่งซ่อมระบบประปาและเขื่อนที่ถูกขีปนาวุธมอสโกโจมตี

ทั้งนี้ ครีวีริห์ เมืองใหญ่ที่สุดในภาคกลางของยูเครนที่มีประชากรราว 650,000 คนช่วงก่อนสงคราม รวมทั้งเป็นเมืองเกิดของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนด้วย ถูกโจมตีด้วยจรวดร่อน 8 ลูกเมื่อวันพุธ (14 ก.ย. 65)

เซเลนสกี กล่าวระหว่างปราศรัยทางวิดีโอว่า หนึ่งในเป้าหมายที่ถูกโจมตีคือเขื่อนคาราชูนอฟ ซึ่งไม่มีความสำคัญทางทหาร แต่เป็นที่พึ่งพิงในชีวิตประจำวันของพลเรือนนับแสน

ด้าน โอเลคซานดร์ วิลกุล ผู้บัญชาการคณะบริหารทางทหารเมืองครีวีริห์ โพสต์บนเทเลแกรมว่า บ้านเรือน 112 หลังถูกน้ำท่วม แต่เจ้าหน้าที่กำลังเร่งซ่อมแซมเขื่อนบนแม่น้ำอินฮูเล็ตส์ และน้ำที่ท่วมลดลงแล้ว

ในวันพุธ เซเลนสกียังเดินทางไปยังเมืองอีเซียม โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า เมืองนี้เคยเป็นที่มั่นสำคัญของทหารรัสเซียในแตว้นคาร์คิฟ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน จนกระทั่งเมื่อ 4 วันก่อนหน้านั้นที่กองทัพรัสเซียถูกเคียฟตอบโต้กลับสายฟ้าแลบจนต้องถอยร่นออกไป

ผู้นำยูเครนเผยว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้รับหลักฐานการฆาตกรรม ทรมาน และลักพาตัวชาวยูเครนโดยทหารรัสเซีย รวมถึงหลักฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยูเครน

ทั้งนี้ รัสเซียยืนกรานปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้พุ่งเป้าทำร้ายพลเรือน

วิดีโอการปราศรัยของเซเลนสกีเผยแพร่ออกมา หลังจากที่เจ้าตัวเดินทางกลับถึงกรุงเคียฟ และมีรายงานข่าวว่ารถยนต์ที่นั่งมาชนกับรถของพลเรือน กระนั้น เซียร์ฮี นิกิโฟรอฟ โฆษกประธานาธิบดี โพสต์บนเฟซบุ๊กว่า เซเลนสกีไม่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงแต่อย่างใด

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย พบหารือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ที่เมืองซามาร์กันด์ ประเทศอุซเบกิสถาน ระหว่างที่ผู้นำทั้งสองต่างเข้าร่วมการประชุมซัมมิตขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) ในวันพฤหัสฯ และวันศุกร์ ทั้งนี้เครมลินระบุว่า การพบหารือระหว่าง ปูติน กับ สี ครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ก่อนการพบกันดังกล่าว กองทัพเรือของ 2 ประเทศ เข้าร่วมซ้อมรบทางยุทธวิธีที่มีการใช้จรวดและเฮลิคอปเตอร์ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ระหว่างการพบปะกันของ ปูติน กับ สี เมื่อตอนเดือนกุมภาพันธ์ ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่รัสเซียจะ 'ปฏิบัติการพิเศษทางการทหาร' ในยูเครน ทั้งสองฝ่ายประกาศความร่วมมือกันแบบ 'ไร้ขีดจำกัด' และหลายเดือนที่ผ่านมา ต่างฝ่ายต่างแสดงความสนับสนุนกันและกันในการเผชิญหน้ากับตะวันตกนำโดยสหรัฐฯ ในกรณียูเครนและไต้หวัน พร้อมคำมั่นในการยกระดับความร่วมมือเพื่อต่อต้านฝ่ายตะวันตก

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวทางการทูตคือ ในวันศุกร์ (16 ก.ย.) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ จะพิจารณาข้อเสนอของเซเลนสกี้ที่ต้องการร่วมปราศรัยในการประชุมสุดยอดประจำปีในสัปดาห์หน้าโดยจะส่งเป็นวิดีโอที่บันทึกล่วงหน้า ซึ่งทางฝ่ายรัสเซียไม่เห็นด้วย

'ปูติน' ชำแหละ!! ทุกความขัดแย้งและความปั่นป่วนเพราะชาติตะวันตกหวังควบคุมโลก ซึ่งมันจะไม่เป็นผล

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียได้ใช้เวลากว่าสามชั่วโมงบรรยายและตอบคำถามจากสื่อในเรื่องต่าง ๆ ในงาน Valdai Discussion Club ที่รัสเซีย

คำพูดและคำตอบหลาย ๆ เรื่องน่าสนใจ ถ้าใครมีเวลา 3 ชั่วโมงครึ่งอยากดู/ฟังทั้งหมด เชิญที่ Link >> https://www.youtube.com/watch?v=p5UUN6Y-KbY
(ปธน.ปูตินใช้ภาษารัสเซียเกือบทั้งหมด แต่มีผู้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ)

>> เรื่องแรก โลกกำลังเข้าสู่ยุคของความชุลมุนวุ่นวาย อันเป็นผลมาจากการดิ้นรนของชาติตะวันตกในการรักษาอำนาจและอิทธิพลของตนแต่ฝ่ายเดียวในการครอบงำโลกในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม ค่านิยม และอื่น ๆ 

ความขัดแย้งในยูเครน การยั่วยุในไต้หวัน ความปั่นป่วนของตลาดพลังงาน และอาหาร ล้วนเป็นผลจากความพยายามของชาติตะวันตกในการควบคุมโลก ซึ่งจะไม่เป็นผล 

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาติตะวันตกนำโดยสหรัฐฯ สถาปนาตนเองเป็นผู้ตั้งกฏกติกาของโลกโดยเอาประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง แต่พวกตนเองกลับไม่ปฏิบัติตามกฏกติกาเหล่านั้น โดยเฉพาะเมื่อเสียประโยชน์ อย่างเช่น การค้า การเงินและการลงทุนเสรีที่ชาติตะวันตกข่มขู่และบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเปิดประเทศ เพราะพวกตนก้าวหน้ากว่าใครทั้งเรื่องของทุน เทคโนโลยี แต่เมื่อมีคนอื่นขึ้นมานำบ้าง ก็ละทิ้งหลักการการค้าเสรีอย่างกรณีของหัวเว่ย และการบังคับผู้ผลิตไม่ให้ขายไมโครชิปให้กับธุรกิจของจีน

สิ่งเหล่านี้ เป็นที่ชัดเจนมากขึ้น ๆ ในสายตาของชาวโลก และนับจากนี้ไป จะไม่มีชาติที่เป็นเอกราช ที่คิดถึงประโยชน์ของตนเองและประชาชนของตน ยอมตกเป็นเหยื่อทางความคิดของชาติตะวันตกอีกต่อไป จะไม่มีใครนั่งเฉยอีกต่อไป แต่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ของการเริ่มต้นของกติกาโลกใหม่ที่เป็นธรรมต่อทุกชาติ และปฏิบัติต่อทุกชาติอย่างสมฐานะ ไม่ใช่ผู้ฟังคำสั่งที่ต้องเชื่อฟังอีกต่อไป

>> เรื่องต่อไป ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก โดย ปูติน กล่าวว่า รัสเซียเป็นชาติเอกราชที่มีอารยธรรมแบบของตนเอง และไม่คิดว่าโลกตะวันตกเป็นศัตรู รวมทั้งไม่คิดตั้งตัวเป็นศัตรูของชาติตะวันตกด้วย

แต่ปัจจุบัน ชาติตะวันตกถูกปกครองโดยชนชั้นนำที่มีความเชื่อเรื่องเสรีนิยมสุดขั้ว ที่เห็นว่าใครก็ตามที่มีความเชื่อต่างจากตนจะต้องเป็นศัตรูไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย, จีน หรืออิหร่าน หรือใครก็ตามที่ปฏิเสธ ดื้อดึง แข็งขืน ต่อต้านแนวคิดเสรีนิยมของพวกเขาจะถูกกำหนดให้เป็นศัตรูของพวกตนทันที

ปูติน ขยายความว่า ในขณะที่ชาติตะวันตกมีรากฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนา ซึ่งใกล้เคียงกับรากฐานทางวัฒนธรรมของรัสเซีย ลัทธิเสรีนิยมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาหลังชาติตะวันตกชนะสงครามโลกครั้งที่สอง และสำคัญตนผิดว่าเหนือกว่าชาวโลก กลับนิยมความรุนแรง ก้าวร้าว และไม่อดทนต่อใครก็ตามที่ต่างจากตนเอง ไม่เชื่อฟังตนเอง ไม่ต่างจากลัทธิจักรวรรดินิยม หรือ 'เจ้าอาณานิคมยุคใหม่'

ลัทธิเสรีนิยมของชาติตะวันตก เชื่อว่าตนเองมีสิทธิที่จะกำหนดให้คนทั้งโลกรับเอาความเชื่อและค่านิยมของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เสรีภาพของการแสดงออกโดยไม่มีขอบเขต สิทธิมนุษยชน สิทธิของสัตว์ รวมถึงเพศสภาพ ทั้งที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

>> เรื่องต่อไป สงครามในยูเครน ปูตินกล่าวว่า เขาแน่ใจว่าเขาตัดสินใจเรื่องของยูเครนได้ถูกต้อง และการตัดสินใจของเขาสามารถรักษาชีวิตของชาวยูเครนเชื้อสายรัสเซียนับแสนคนเอาไว้ได้

ปูตินเปรียบว่าการสู้รบในยูเครนเป็นเสมือนสงครามกลางเมืองเพราะคนรัสเซียและยูเครนต่างมีที่มาจากชนชาติสลาฟ ดินแดนที่เป็นประเทศยูเครนก็เป็นสิ่งที่สหภาพโซเวียตยกให้ไปอย่างสันติเมื่อสิ้นสุดยุคของสหภาพโซเวียต เช่นเดียวกับประเทศอื่นที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

>> เรื่องต่อไป สหรัฐอเมริกา ปธน.ปูตินประกาศว่าสหรัฐฯ ได้มาถึงจุดที่ไม่สามารถนำเสนอสิ่งดีๆ หรือความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อโลกแล้ว แม้กระทั่งพันธมิตรฯ ชาติตะวันตกของตน สหรัฐฯ ยังนำความพินาศมาให้อย่างเรื่องของอียูและพลังงานจากรัสเซีย ที่สหรัฐฯ เข้ามาบงการ บ่อนทำลายจนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของอียูอยู่บนขอบเหวของความล่มสลาย 

ส่อง ‘เมียนมา’ ในวันที่ชาติตะวันตกเข้ามาเผือก กองทัพไม่กระทบ-คนป่วนนั่งชิล-ปชช.รับบาป

เพิ่งจะผ่านวันครบรอบการรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้ปัจจุบันในเมียนมายังมีหลายพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่สีแดงและห้ามคนต่างชาติเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวแม้จะมีการเปิดประเทศแล้ว รวมถึงการแซงชันจากชาติตะวันตก ซึ่งทั้งหมดนี้กระทบถึงฝ่ายกองทัพหรือไม่ เอย่ากล่าวได้เลยว่า กองทัพเมียนมาแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่คนที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ นั่นคือประชาชนที่หลายคนไม่ได้สนับสนุนกองทัพ แต่ต้องมารับผลโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ประเด็นการแซงชันในเมียนมานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า เมียนมาโดนชาติตะวันตกแซงชันมานับสิบๆ ปีก่อนจะมาเปิดประเทศ ซึ่งนั่นเหมือนเป็นวัคซีนชั้นดีที่ทำให้เมียนมาปรับตัวได้ โดยผ่านระบบเอเย่นต์

ส่วนการก่อความไม่สงบในเมียนมาดังที่ปรากฎในข่าวไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิดถนน สะพาน รถไฟ หรือลอบสังหารผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐก็ดี ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเปรียบได้กับโมเดลของโจรใต้ในประเทศไทย แต่ส่งผลซ้ำร้ายกว่าตรงที่ผลเหล่านั้นกระทบกับผู้คนในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม

สะพัด!! 'คนไทย-สส.' นัดรับเงินอุดหนุนต่างชาติที่ฝรั่งเศส สานต่อปฏิบัติการล้มล้างการปกครองของชาติตะวันตก

(25 ก.ค.66) จากเพจ 'สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา' ได้โพสต์ข้อความถึงกรณี 'รายการอีเมลของกลุ่มคน ที่ได้ไปนัดพบปะเพื่อรับเงินอุดหนุนต่างชาติที่ฝรั่งเศส' ไว้ดังนี้...

จะเห็นว่ามีรายชื่อคนไทยมากที่สุด มีแม้แต่ สส. 

ตามมาด้วยคนเมียนมา

มีฟิลิปปินส์กับอินโดอีกนิดหน่อย

ไม่มีคนมาเลฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา

---------------------------

แสดงให้เห็นว่าประเทศในย่านนี้ ที่เป็นเป้าหมายหลักการแทรกแซง การล้มล้างการปกครองของชาติตะวันตก

คือ ไทย และ เมียนมา

>> ก่อให้เกิดพรรคการเมืองโปรสหรัฐฯ ที่มุ่งทำลายเสาหลักความมั่นคงของประเทศไทยทุกด้าน

>> และการสู้รบหนัก ต่อเนื่อง โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในเมียนมา

---------------------------

โดยมีสื่อต่างชาติ และโซเชียลมีเดีย เป็นแนวรบหลักทางสื่อ 

ยิงแอดกันทั้งวัน รู้วิธีใช้ประโยชน์สูงสุดจากอัลกอริทึมของเฟซบุ๊ก ราวกับมีผู้ชี้แนะ

นักข่าวสื่อหลักไทยได้ไปทริปดูงาน ในยุโรปกับสหรัฐฯ แทบทุกปี ตามแผนงานของฝ่าย Press สถานทูต

ม็อบเด็กในฮ่องกงเมื่อ 5-6 ปีก่อน ที่ร้องเพลงชาติสหรัฐฯ ก็แนวเดียวกันนี้แหละ

อาหรับสปริงเมื่อ 10 กว่าปีก่อนก็เหมือนกัน 

---------------------------

จะเห็นว่าช่วงนี้ตัวแทนพรรคเดโมแครต และ think tank สายการเมืองอย่าง Council on Foreign Relations เดือดร้อนกับการเมืองไทยเป็นพิเศษ

แสดงว่าประเทศไทยแก้ไขสถานการณ์มาถูกทางแล้ว

พรรคได้คะแนนอันดับ 2 อันดับ 3 ตั้งรัฐบาล มีให้เห็นทั่วยุโรป

นี่คือเรื่องปกติในการเมืองโลก 

ช็อคมินต์ถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์ครับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top