Sunday, 12 May 2024
ค่าครองชีพ

โฆษกรัฐบาล โชว์ตัวเลข 4 มาตรการรัฐ ลดค่าครองชีพ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากผลกระทบ โควิด-19 บอก บิ๊กตู่ ปลื้ม

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความยินดีที่กระแสตอบรับจากประชาชนพอใจ และชื่นชอบมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19 ปี 2564 ของรัฐบาล โดยทั้ง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สิ้นสุดระยะเวลาการใช้จ่ายไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 

นายธนกร กล่าวว่า ซึ่งกระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้รายงานตัวเลขยอดการใช้จ่ายมีผู้ใช้สิทธิสะสมทั้ง 4 โครงการรวม 41.5 ล้านราย ยอดใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 254,281.7 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้ 1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมประมาณ 13.55 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 24,010 ล้านบาท 2) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ผู้ใช้สิทธิสะสมประมาณ 1.51 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 2,183.3 ล้านบาท 

นายธนกร กล่าวว่า 3) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 26.35 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวน 27.98 ล้านราย และมีจำนวนผู้ใช้สิทธิครบ 4,500 บาท แล้วกว่า 10.87 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 223,921.8 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 113,936 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 109,985.8 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 88,712.9 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 36,037 ล้านบาท ร้าน OTOP 10,843.2 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 84,160.7 ล้านบาท ร้านบริการ 3,900.1 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 267.9 ล้านบาท 

นายธนกร กล่าวว่า และ 4) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 91,952 ราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวนกว่า 4.9 แสนราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชน 3,827.4 ล้านบาท มีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher 3,064 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 353.8 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายสะสมส่วน e-Voucher 339.2 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมรวมส่วนประชาชนและ e-Voucher แบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 197.6 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 214.4 ล้านบาท ร้าน OTOP 441 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 3,167.6 ล้านบาท และร้านบริการ 146 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีมาตรการช้อปดีมีคืน 2565 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า และค่าบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หนังสือ e-Book และสินค้า OTOP ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 ซึ่งจะยื่นแบบและชำระภาษีในช่วงต้นปี 2566 โดยผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ที่เพิ่งสิ้นสุดโครงการไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.64 สามารถไปใช้โครงการสิทธิ์ช้อปดีมีคืนได้  

โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ห่วงสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น กระทบค่าครองชีพของประชาชน มอบ พาณิชย์-พลังงาน หารือผู้ประกอบการ ตรึงราคาสินค้าจำเป็นเร่งด่วน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์การปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะนี้ โดยเฉพาะในหมวดอาหารสดหลายประเภทที่มีการทยอยปรับราคาสูงขึ้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความห่วงกังวล และได้เร่งให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน เร่งติดตาม หารือกับผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อตรึงราคาสินค้าในการช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามมาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนนั้น หลายหน่วยงานได้เร่งดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดย กระทรวงพาณิชย์ได้มีการหารือกับบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตรา “มาม่า”  เพื่อไม่ให้มีการปรับขึ้นราคามาม่าซองประเภทที่เป็นสินค้ามวลชน และเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดทั้งประเทศ เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน

ขณะที่ กระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ต่ออีก 2 เดือนที่ราคา 318 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2565 เป็นวันที่ 31 มีนาคม 2565 พร้อมทั้งขอความร่วมมือ บมจ.ปตท. (PTT) พิจารณาช่วยเหลือส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ ปตท. ดำเนินการต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 อีกทั้ง ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม และคงราคาขายปลีกก๊าซ NGV โครงการ “เอ็นจีวี เพื่อลมหายใจเดียวกัน” ให้กับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ 13.62 บาท/กิโลกรัม ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565

รัฐบาลเปิดมาตรการลดค่าครองชีพ 3 เดือน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน แถลงมาตรการลดค่าครองชีพ ช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน – รัสเซีย วันนี้ ว่า มาตรการที่รัฐบาลออกมาครั้งนี้ จะช่วยดูแลผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น 3 เดือนจากนี้ ครอบคลุมประชาชนหลายกลุ่มที่จะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงนี้ไปได้

สำหรับมาตรการลดค่าครองชีพ อัพเดทล่าสุดวันที่ 24 มี.ค.2565 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีวงเงินและแหล่งเงินที่ใช้ในการดำเนินมาตรการทั้งหมด 80,247 ล้านบาท แยกเป็นดังนี้ เงินกู้จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 39,520 ล้านบาท สัดส่วน 49% เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 35,224 ล้านบาท สัดส่วน 44% งบกลาง สำนักงบประมาณ 3,740 ล้านบาท 5% และเงินจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1,763 ล้านบาท สัดส่วน 2%

ส่วนมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วย จำนวน 20 ล้านหลังคาเรือน ได้รับส่วนลดค่า FT ลง 22 สตางค์ เป็นเวลา 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค.2565) 2.นายจ้างและผู้ประกันตนในมาตรา 33 ได้รับการลดเงินนำส่งจาก 5% เหลือ 1% งวดค่าจ้าง พ.ค. – ก.ค. ครอบคลุมนายจ้าง 4.9 ล้านคน และผู้ประกันตน 11.2 ล้านคน 3.ผู้ประกันตนในมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน ลดเงินนำส่งจาก 9% เหลือ 1.9% งวดค่าจ้าง เดือนพ.ค. – ก.ค. 2565หรือจ่ายเงินสมทบลดลงจาก 432 บาทต่อเดือน เหลือ 91 บาทต่อเดือน 

ครึ่งปีแรก แรงงานไทย ไปทำงานประเทศไหนมากที่สุด

ตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศที่จำนวนคนไทยไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน จำนวน 12,238 คน โดยไต้หวันมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 25,250 เหรียญไต้หวัน/เดือน หรือประมาณ 30,497 บาท 

แต่เนื่องจากค่าเงินและค่าครองชีพของไต้หวันกับไทยไม่แตกต่างกันนัก และส่วนใหญ่เป็นงานใช้แรงงาน อาทิ คนทำงานทั่วไป ช่างทั่วไป ช่างฝีมือ โดยภาพรวมแล้ว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แรงงานไทยบางกลุ่มเลือกไปประเทศนี้มากสุดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565

‘สาวไทย’ โพสต์ติ๊กต๊อก โต้!! ข่าวเที่ยวเมืองไทยแพง หลังโลกออนไลน์ของจีนวิจารณ์ค่าครองชีพในไทยสนั่น

(2 เม.ย. 66) เมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการมาเที่ยวที่ประเทศไทย ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่ ณ ขณะนี้ โดยชาวเน็ตจีนได้ออกาแสดงความคิดเห็นเชิงลบเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวกับค่าครองชีพในไทยที่สูงขึ้น ทำให้มีผู้ใช้ติ๊กต็อก ชื่อ ‘chinbebe’ ได้โพสต์วิดีโอพูดความในใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า…

“ประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีค่าครองชีพสูง ซึ่งช่วงนี้ทางอินฟลูเอนเซอร์จีนหลายคน ได้ออกมาพูดว่า “ไทยไม่ใช่ไทยเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ในตอนนี้เงิน 100 หยวน ไม่สามารถกินได้แบบตามใจอย่างเมื่อก่อน” ซึ่งตัวฉันเอง ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงขอพูดทวงความยุติธรรมให้กับเมืองไทย ขอฝากถึงชาวจีนที่คิดว่าประเทศไทยที่คุณมาเที่ยวนั้น เที่ยวไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเสีย ฉันคิดว่าถ้าอย่างนั้น คุณก็ไม่ต้องไปเที่ยวที่อื่นแล้วค่ะ เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะต้องหนักใจแน่นอน”

 

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานติ๊กต็อกรายนี้ยังกล่าวถึงเรื่องของการใช้เงินซื้ออาหาร หรือเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยอีกว่า…

“ที่ประเทศไทยคุณสามารถใช้เงินไม่ถึง 100 หยวน เพื่อซื้อของในร้านสะดวกซื้อ คุณจะสามารถได้ของกินอร่อย ๆ เต็มถุงใหญ่ ๆ เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าได้ของเยอะกว่า แถมเสียเงินน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการที่คุณไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศเกาหลี ไม่ต้องพูดถึงยุโรปเลย”

นิวยอร์ก ครองแชมป์!!

นิวยอร์ก ครองแชมป์!! 

จากการสำรวจ ‘ค่าครองชีพ’ ครั้งล่าสุดของ ‘ECA International’ ที่ทำการจัดอันดับ 207 เมือง ใน 120 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก ผลปรากฏว่า ฮ่องกงหลุดจากอันดับ 1 ในการเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ

หลังจากติดอันดับ 1 ติดต่อกัน 4 ปี โดยถูกนิวยอร์กแซงหน้าขึ้นแท่นมาเป็นอันดับ 1 ในปีนี้ เนื่องจากเงินดอลลาร์แข็งค่าและค่าเช่าที่ที่สูงขึ้นอย่างมากนั่นเอง
 

5 เมืองแห่งอาเซียนที่ค่าครองชีพ 'ถูก' นักลงทุน-ชาวต่างชาติ 'อยากมาอยู่-ทำธุรกิจ' ไปยาวๆ

ค่าครองชีพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ปัจจุบัน กำลังเป็นแรงดึงดูดต่อนักลงทุนและชาวต่างชาติที่วาดอนาคตในการอยู่อาศัยระยะยาวและมองหาการลงทุนทางธุรกิจมากขึ้น

โดย 5 เมืองใหญ่ในอาเซียนเหล่านี้ มีค่าครองชีพ อาหารการกินไม่แพง แหล่งเที่ยวหลากหลาย สาธารณูปโภคพื้นฐานพร้อมสรรพ และวัฒนธรรมอันดีงาม ที่ดึงดูดต่างชาติได้มากจริง ๆ โดยเฉพาะกับประเทศไทย ที่หลากเสียงจากนักลงทุนและชาวต่างชาติ หวังที่จใช้ประเทศนี้เป็นบ้านหลังที่ 2 กันเลยทีเดียว

‘บิ๊กอ้วน’ จ่อหารือผู้ประกอบการ ปรับราคา ‘ข้าว ไข่ ไก่ หมู’ หวังสร้างสมดุล ‘ผู้ซื้อ-ผู้ขาย’ คาด!! ตุลาคมนี้ชัดเจน

(20 ก.ย. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงมาตรการลดราคาสินค้า หลังจากที่รัฐบาลประกาศลดราคาน้ำมันดีเซล ว่า การลดราคาน้ำมันของรัฐบาลเนื่องจากเป็นปัญหาต่อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน ซึ่งมีปัญหาเรื่องต้นทุนสินค้าตามมา เพราะในต้นทุนสินค้า มีค่าโลจิสติกส์และค่าผลิต เรื่องนี้ได้มอบหมายนโยบายเร่งด่วนให้กรมการค้าภายใน ดูเรื่องการลดราคาสินค้า ภายใน 15 วัน โดยให้ดูรายการสินค้าทั้งหมดที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน สินค้าตัวไหนมีต้นทุนอย่างไร และจะลดราคาได้แค่ไหน คาดว่าต้นเดือนตุลาคมนี้น่าจะมีความชัดเจน

นายภูมิธรรม กล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญคือภายในสัปดาห์หน้า ตนจะไปพูดคุยกับผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อหารือกันเรื่องนี้ด้วย คนตัวใหญ่ต้องช่วยคนตัวเล็กให้ขึ้นไปด้วยกัน แก้ปัญหา สร้างจุดสมดุลให้กับผู้ผลิตผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ไม่กระทบกับทุกฝ่าย หาจุดที่ประนีประนอมกันได้ โดยคาดว่าสินค้าที่จะได้รับการพิจารณา จะเป็นสินค้าที่อยู่ในชีวิตประจำวันประมาณ 20 ตัว เช่น ข้าว ไก่ หมู ไข่ เราจะลดต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้นโยบายหาจุดสมดุลและอยู่ร่วมกันได้กับทุกฝ่าย น่าจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา

‘มนุษย์เงินเดือน’ โอด ‘ข้าวของแพง-ค่าครองชีพพุ่ง’ แถมรายรับสวนทางกับรายจ่าย วอนภาครัฐช่วยดูแลด่วน

(27 ก.ย.66) ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นมนุษย์เงินเดือนบอกว่าค่าใช้จ่ายทุกวันนี้ส่วนใหญ่หมดไปกับค่าเดินทาง รวมๆ แล้ววันละ 200-300 บาท รวมถึงค่าอาหารที่แพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ราคาต้นทุนจะลดลงบ้าง แต่ราคาที่ปรับขึ้นไปแล้วไม่ได้ปรับลดลง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ก็ยังแพงเช่นเดียวกัน อยากให้ภาครัฐออกมาตรการดูแลประชาชนให้มากกว่านี้โดยเร็ว

ผลสำรวจ นีลเส็น ล่าสุดระบุว่า คนไทยยังกังวลกับภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และยังพบว่าคนไทย 57% กังวลเรื่องรายรับที่ไม่เพียงพอกับรายจ่ายด้วย ซึ่งตัวแปรที่กระทบต่อค่าครองชีพพุ่ง มาจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

เปิด 20 อันดับ 'ชาติเอเชีย' ที่มีรายได้น้อยที่สุด

📍 เช็กลิสต์ 20 อันดับประเทศในเอเชียที่มีรายได้ต่ำที่สุด โดยอ้างอิงตามรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว PPP (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top