Monday, 29 April 2024
คิงส์เกต

ก.อุตฯ รับเลื่อนคำชี้ขาดคดีเหมืองทองเป็น 31 ม.ค. 65 เหตุต้องเจรจาระงับข้อพิพาท ยันไทยยังไม่แพ้

กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันอนุญาโตตุลาการในคดีข้อพิพาทเหมืองทอง เลื่อนการออกคำชี้ขาดจากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคม 2564 ออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 เนื่องจากการเจรจาระงับข้อพิพาทของทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มและทิศทางที่ดี 

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานคณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า กรณีข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ และโดยที่ปรากฏเป็นข่าวว่า บริษัท คิงส์เกตฯ ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการพิจารณาข้อพิพาท และการขอเลื่อนการออกคำชี้ขาดจากกำหนดการเดิม 31 ตุลาคม 2564 ออกไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2565 นั้น

ย้อนไทม์ไลน์เหมืองทองอัครา กับ คำถามน่าคิด!! หาก ‘คิงส์เกต’ มั่นใจ ชนะคดี รับค่าชดเชย 30,000 ล้านบาท เหตุใดทางบริษัทยังคิดจะมาเจรจากับรัฐบาลไทยต่อ?

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 65 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ได้ลุกขึ้นชี้แจงกรณีเหมืองทองอัครา จากข้อท้วงถามของ ‘จิราพร สินธุไพร’ ส.ส.เพื่อไทย ที่จี้ถามถึงความเสียหายที่ประเทศต้องจ่าย หากแพ้คดีเหมืองทองอัครา ว่า…

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฝ่ายไทยไม่ได้เป็นผู้เริ่มขอเจรจาเกี่ยวกับคดีเหมืองทองอัครา แต่คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ให้คำแนะนำให้ไทยเจรจากับบริษัทคิงส์เกต ซึ่งที่ผ่านมามีการเลื่อนการเจรจามาแล้ว 3 ครั้ง เนื่องจาก COVID-19 โดยเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย แต่การเจรจามีความคืบหน้า และมีทิศทางในทางบวก ซึ่งจะมีประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย

“ประเด็นเลื่อนออกคำชี้ขาดที่ถูกกล่าวหาว่า การเลื่อนแต่ละครั้งจะมีการให้สิทธิประโยชน์เหมืองทองอัคราทุกครั้ง ยืนยันว่า เป็นความเท็จ การเลื่อนออกคำชี้ขาดไม่เกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์หรือการอนุญาตใดๆ”

ส่วนกรณีบริษัทคิงส์เกต เปิดเผยข้อมูลได้ แต่ฝ่ายไทยไม่เปิดเผยข้อมูล ขอชี้แจงว่า ตราบใดที่ยังไม่ออกคำชี้ขาด ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการได้ ส่วนข้อมูลที่บริษัทคิงส์เกตนำมาเปิดเผย มาจากข้อมูลการเจรจายุติข้อพิพาทที่ฝ่ายบริษัทคิงส์เกตอยากจะได้ และเรียกร้อง ไม่ใช่การตกลงจากทั้ง 2 ฝ่าย

สำหรับข้อกล่าวหาว่า ฝ่ายไทยจะแพ้และต้องเสียค่าโง่กว่า 30,000 ล้านบาทนั้น จากข้อมูลงบการเงินของบริษัทอัครา ซึ่งได้ประกอบกิจการเหมืองทองในประเทศตั้งแต่ 2543 จนถึง 2558 หรือ 15 ปี พบว่า มีกำไรตกปีละ 800 ล้านบาท เมื่อเทียบกับค่าเสียหายที่ ส.ส.จิราพรอ้างมา บริษัทจะต้องประกอบกิจการถึง 38 ปี

“หากบริษัทมั่นใจว่าจะชนะคดีแน่ๆ และได้รับเงิน 30,000 ล้านบาท บริษัทจะมาเจรจากับรัฐบาลไทยได้อย่างไร”

>> ไล่ไทม์ไลน์อาชญาบัตรสำรวจแร่ 44 แปลง
ส่วนการอนุญาตต่างๆ ทั้งให้สิทธิสำรวจแร่ และให้ขนผงทองคำออกไปขาย เป็นการประนีประนอมเพื่อขอถอนฟ้องคดี โดยกรณีการให้ประทานบัตร 4 แปลงนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เมื่อบริษัทเริ่มเปิดเหมืองและผลิตทองคำเชิงพาณิชย์ ตรงกับสมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการยื่นคำขออาชญาบัตรสำรวจแร่ 44 แปลง

บริษัทได้ทยอยยื่นมาตั้งแต่ 2546-2548 และในปี 2549 คำขออยู่ระหว่างการพิจารณามาตามลำดับ เตรียมเสนอขออนุมัติ แต่เกิดรัฐประหารก่อน จนมาปี 2550 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มี ครม. ให้ชะลอการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำไว้ก่อน เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายทองคำที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำนโยบายทองคำให้แล้วเสร็จ

จากนั้นผ่านมาหลายรัฐบาลมีการปรับปรุงนโยบายทองคำอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี 2557 มีการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองว่า ประสบปัญหาสุขภาพจากการทำเหมือง อีกทั้งความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ มีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุน 

พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงส่งเจ้าหน้าที่ส่งไปตรวจสอบ และมีข้อเสนอให้ยุติการทำเหมืองไว้ก่อน โดยพล.อ.ประยุทธ์ มีคำสั่ง คสช. ให้ยุติการขออนุญาตอาชญาบัตรพิเศษ และการทำเหมืองชั่วคราว และให้ไปปรับปรุงนโยบายทำเหมืองใหม่ โดยให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เพื่อให้มีมาตรการป้องกันปัญหาสุขภาพในประชาชนที่รัดกุม

1 ส.ค. 60 ครม. มีมติรับทราบนโยบายทองคำ มีผลให้บริษัทอัคราสามารถยื่นขออาชญาบัตรพิเศษได้ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ไม่ได้มาเดินเรื่องต่อเพราะกลัวจะกระทบต่อรูปคดีนั้น และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นเป็น 2 เท่า ทำให้บริษัทอัคราตัดสินใจมายื่นขออาชญาบัตรสำรวจแร่ ก่อนจะนำไปสู่การอนุมัติตามขั้นตอน

ทั้งนี้ หากบริษัทอัคราสำรวจแร่และสามารถประกอบการทำเหมืองทองคำได้ รัฐจะได้รับประโยชน์จากค่าภาคหลวงแร่ และค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจากข้อมูลการประกอบการของบริษัทอัครา ในอดีต 2546-2559 รัฐได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีทั้งหมด 5,596 ล้านบาท รวมทั้งมีการจ้างงานในพื้นที่กว่า 2,000 คน

‘สุริยะ’ มั่นใจเจรจาคิงส์เกตจะเป็นไปด้วยดี แจง ครม.ไม่ได้อนุมัติงบเพิ่มสู้คดีคิงส์เกต

'สุริยะ' แจง ครม.ไม่ได้อนุมัติงบเพิ่มสู้คดีคิงส์เกต ชี้ เป็นเพียงการขยายกรอบเวลา รับหารือแนวทาง 'วิษณุ' เน้นการเจรจา พร้อมเตรียมบินออสเตรเลียพรุ่งนี้

เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ (22 ก.ย. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 20 ก.ย. 65 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้คดีกับบริษัทคิงส์เกต ในคดีเหมืองทองอัครา โดยชี้แจงว่า ในที่ประชุมครม.ไม่มีการอนุมัติงบเพิ่มเติมแต่อย่างใด เป็นข้อมูลที่คาดเคลื่อน เป็นเพียงงบเดิมที่มีการขยายกรอบระยะเวลาการสู้คดี เนื่องจากการเจรจายังไม่สิ้นสุด จึงขอชี้แจ้งว่า ไม่ได้มีการเพิ่มงบในการสู้คดีแต่อย่างใด

คณะอนุญาโตฯ เลื่อนตัดสินคดีเหมืองทองไป 6 เดือน  เปิดทางให้ ‘ไทย-คิงส์เกต’ เจรจาต่อเพื่อยุติข้อพิพาท 

‘กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่’ ชี้แจงความคืบหน้าของคดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ซึ่งในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาท โดยคณะอนุญาโตตุลาการได้อนุญาตให้เลื่อนการออกคำชี้ขาดออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่กำหนดออกคำชี้ขาดในช่วงสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายยังมีแนวโน้มที่ดีในการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาทตามคำแนะนำของคณะอนุญาโตตุลาการ  

(10 ม.ค.67) นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยว่า จากกรณีข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) คณะอนุญาโตตุลาการได้เลื่อนการออกคำชี้ขาดหรือคำตัดสินออกไปอีก 6 เดือนจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ตามที่ทั้งสองฝ่ายร้องขอ ซึ่งเป็นกรอบระยะเวลาที่เชื่อว่าจะสามารถเจรจาให้ข้อพิพาทยุติลงได้ และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายมากกว่า

สำหรับการกลับมาประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำอีกครั้งของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น เป็นผลมาจาก บริษัท อัคราฯ ได้เริ่มกลับมาดำเนินการคำขอต่างๆ โดยเฉพาะคำขอต่ออายุประทานบัตรในพื้นที่เดิม และใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่ค้างอยู่ ตั้งแต่ปี 2563 ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแร่และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้ดำเนินการตามกรอบนโยบายทองคำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่บริษัท อัคราฯ ได้กลับมาประกอบการอีกครั้ง ก็ได้มีการติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA สำหรับการทำเหมืองแร่ และ EHIA สำหรับการประกอบโลหกรรมอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบควบคุมและเฝ้าระวังการทำเหมืองแร่ทองคำ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น  

“กรณีที่มีข่าวเรื่องการสั่งฟ้องเหมืองทองอัคราฯ ในความผิดฐาน ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวงนั้น เห็นว่าเป็นกระบวนการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ไม่เคยแทรกแซงและไม่สามารถก้าวล่วงได้ ซึ่งหมายความว่า การดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายของไทยในกรณีดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหรือกระบวนการอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งคณะอนุญาโตตุลาการยังไม่ได้มีการออกคำชี้ขาดหรือคำตัดสินแต่อย่างใด” นายอดิทัต กล่าวปิดท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top