Monday, 29 April 2024
คนรวย

รัฐประหารเงียบในพรรครัฐบาลอังกฤษ เมื่อ 'ลิซ ทรัสส์' กำลังจะโดนยึดอำนาจ

ดูเหมือนว่า รัฐบาลอังกฤษจะยังอยู่ในสภาพง่อนแง่น หาหลักยึดยังไม่ได้จริง ๆ เมื่อมีกระแสข่าวลือที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ภายในพรรคอนุรักษ์ แกนหลักของรัฐบาลอังกฤษว่า ลูกพรรคอนุรักษ์เริ่มจับกลุ่มกดดัน ลิซ ทรัสส์ หัวหน้าพรรคหญิงคนใหม่ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในแผ่นดินพระเจ้าชาลส์ที่ 3 จนถึงขั้นวางแผนยึดอำนาจของเธอ หากจำเป็น!!

สาเหตุเกิดจากความไม่ลงรอยกันในนโยบายของลิซ ทรัสส์ ที่เธอเคยสัญญาไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งภายในพรรค หนึ่งในนั้นคือนโยบาย "45p rate" หรือการลดอัตราภาษี 45% ในกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งนโยบายนี้ของเธอกลับถูกต่อต้านจากทีมรัฐบาลของเธอเองจนเสียงแตก ที่อาจขั้นจะโหวตคว่ำในสภาเลยทีเดียว 

ข่าวการแตกแยกของรัฐบาลลิซ ทรัสส์ ที่ยังไม่ทันได้เริ่มทำงานอะไรเลย ยิ่งชัดเจนขึ้นอีก หลังงานประชุมพรรคอนุรักษ์ที่เมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่ข่าววงในบอกว่าเสียงแตกหนักมาก จน ซูเอลลา เบรฟเวอแมน รัฐมนตรีมหาดไทยหญิง พันธมิตรคนสนิทของลิซ ทรัสส์ ถึงกับออกมาบ่นว่า เธอผิดหวังมาก ๆ ที่ทีมรัฐบาลบางคนมากลับลำกับนโยบายที่คุยกันไว้แล้ว และยังบอกด้วยว่า มีกลุ่ม สส.ของพรรคอนุรักษ์หลายคน วางแผนจะโค่น ลิซ ทรัสส์ ให้ได้

และยังบอกถึงลูกพรรคอนุรักษ์ ที่คิดจะก่อหวอดเพื่อล้มนโยบาย 45p rate นั้นไม่ต่างจากการก่อรัฐประหารเงียบภายในรัฐบาล ซึ่งนโยบายเจ้าปัญหาที่อาจกลายเป็นประเด็นรัฐนาวาแตก คือ 45p Rate หรืองดภาษี 45% สำหรับบุคคล หรือองค์กรที่มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี 

โดยปกติ อังกฤษจะมีอัตราภาษีระดับขั้นบันได โดยคำนวนจากรายได้ต่อปี ในอัตราเรทดังนี้...

- รายได้ต่ำกว่า 12,570 ปอนด์/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
- รายได้ตั้งแต่ 12,571 - 50,270 ปอนด์ต่อปี จะเริ่มเก็บภาษีที่ 20%
- รายได้ตั้งแต่ 50,271 - 15,000 ปอนด์ต่อปี เก็บภาษีที่ 40%

แต่ถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี เมื่อไหร่ จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 45% ซึ่งเป็นเรทสูงสุด

สื่ออังกฤษได้ไปหาข้อมูลพบว่ามีชาวอังกฤษราวๆ 5 แสนคนทั่วประเทศที่มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ต่อปี คิดเป็น 1% ของประชากรอังกฤษทั้งประเทศ

และหากรัฐบาลอังกฤษตัดสินใจไม่เก็บภาษีเพิ่ม 45% จากรายได้ที่เกินมาของคนกลุ่มนี้ เท่ากับรัฐจะเสียรายได้จากภาษีถึง 6 พันล้านปอนด์ต่อปี และเมื่อรายได้หายไป หมายถึงต้องการลดรายจ่ายของภาครัฐลงด้วย ซึ่งก็คือแผนค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการสังคมบางส่วนอาจต้องถูกตัดไป 

แต่ทั้งนี้ ลิซ ทรัสส์ มองว่า นโยบายการลดภาษี 45p Rate จะช่วยกระตุ้นการลงทุนของกลุ่มคนที่มีศักยภาพในสังคม ที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ และการแก้ปัญหาด้วยการแจก จ่าย ในรูปแบบสวัสดิการก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป ซ้ำยังเป็นเหมือนกับดักประชานิยม ที่ทำให้ผู้คนคาดหวังแต่สวัสดิการช่วยเหลือจากรัฐ

ซึ่งลิซ ทรัสส์ เคยบอกว่านโยบายนี้ อาจเป็นเหมือนยาขม และเป็นหนทางที่ยาก แต่อังกฤษต้องลองหาทางแก้ปัญหาที่ต่างไปจากเดิม ถ้าต้องการที่จะ "change" เธอเชื่อว่าสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน 

แต่ต่อมา นโยบายนี้ของเธอ ถูกโจมตีอย่างหนักจากพรรคฝ่ายค้าน ว่าเป็นการอุ้มคนรวยเพียงแค่ 1% ของประเทศ แต่กลับรีดเลือดกับปูจากประชาชนส่วนใหญ่อีก 99% ที่ยังต้องจ่ายภาษีในอัตราเกือบเท่าเดิม โดยเฉพาะกลุ่มคนเกือบจะรวย ในระดับฐานรายได้ 50,271 - 150,000 ปอนด์ คือโดนเต็มๆ 40% โดยไม่มีการลดหย่อน

28 มหาเศรษฐี รวยสุดในไทย ปี 2023

นิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) สื่อชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ประกาศการจัดอันดับอภิมหาเศรษฐีโลก หรือ 'The World’s Billionaires' หรือผู้มีทรัพย์สินมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประจำปี 2023

โดยอันดับที่ 1 ได้แก่ มหาเศรษฐีชาวฝรั่งเศส 'เบอร์นาร์ด อาโนลด์' เจ้าของอาณาจักร LVMH ขึ้นแท่นเป็นบุคคลที่ 'รวยที่สุดในโลก' ปี 2023 แทนที่แชมป์เก่าอย่าง 'อีลอน มัสก์' เจ้าของ Tesla และ SpaceX

ในส่วนของประเทศไทยมี 28 มหาเศรษฐีไทยที่ติดอันดับมหาเศรษฐีโลก ในปี 2023 ดังนี้

>>อันดับ 1
'เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์' ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) หรือ ซีพี ติดอันดับที่ 116 ของโลก มีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด 1.49 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 137 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

>>อันดับ 2
'เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี' ไทยเบฟเวอเรจ มีทรัพย์สิน รวมทั้งหมด 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับ 118 ของโลก รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 156 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

>>อันดับ 3
'สารัชถ์ รัตนาวะดี' กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ มีทรัพย์สิน รวม 1.23 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับที่ 141 ของโลก รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 161 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

>>อันดับ 4 
'สุเมธ เจียรวนนท์' เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ทรัพย์สิน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับที่ 425 ของโลก

>>อันดับ 5
'จรัญ เจียรวนนท์' เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มูลค่าทรัพย์สิน 5.9 พันล้านดอลลาร์ ติดอันดับที่ 437 ของโลก

>>อันดับ 6 มี 2 คน
'วานิช ไชยวรรณ' ไทยประกันชีวิต ติดอันดับที่ 721 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

'สมอุไร จารุพนิช' ลูกสาวคุณมนตรี เจียรวนนท์ ติดอันดับที่ 721 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 7
'นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ' กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ติดอันดับที่ 818 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 8
'สมโภชน์ อาหุนัย' พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ติดอันดับที่ 852 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 9
'ประยุทธ์ มหากิจศิริ' เจ้าพ่อเนสกาแฟ กลุ่มธุรกิจแบรนด์ P 80 และการขนส่งสินค้าทางเรือ ติดอันดับที่ 1,217 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 10 
'ฮาราลด์ ลิงค์' ผู้บริหารบี.กริม. ประเทศไทย ติดอันดับที่ 1,368 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 11 
'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ติดอันดับที่ 1,434 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 1,512 มูลค่าทรัพย์สิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

เจ้าของธุรกิจส่งออกปลา กล่าวผ่านช่องยูทูบ ‘CK Cheong’ เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 66

เมื่อไม่นานนี้ จากช่องยูทูบ ‘CK Cheong’ ได้เชิญ คุณวีรวัฒน์ วลัยเสถียร หรือ ‘คุณดิว’ เจ้าของธุรกิจส่งออกปลา ให้สัมภาษณ์ถึงมุมมองธุรกิจ ซึ่งช่วงหนึ่งของรายการ คุณดิว ได้แชร์มุมมองต่อ ‘เงื่อนไข 2 ข้อ ที่คนรวยใช้ตัดสินใจ ก่อนซื้อจะซื้ออะไรก็ตาม’ โดยระบุว่า…

คนรวย เวลาจะใช้เงินออกจากกระเป๋า จะมี 2 อย่างที่เขาต้องคิด ข้อแรกคือ ‘จําเป็น’ ข้อ 2 คือ ‘เร่งด่วน’ อันนี้จําเป็นไหม? เร่งด่วนหรือเปล่า? ถ้าจำเป็นและเร่งด่วน ก็ซื้อ เช่น ถ้าหิวข้าว ข้าวจําเป็น เร่งด่วนไหม? ก็หิวแล้ว แปลว่าเร่งด่วน ก็ซื้อข้าวกิน หรืออย่างเช่น นาฬิกา จําเป็นไหม? นาฬิกาก็ม่ความจําเป็น แต่เร่งด่วนไหม? ก็ไม่เร่งด่วน เพราะดูเวลาจากโทรศัพท์มือถือได้ ไม่เป็นไร ก็ไม่ซื้อ เป็นต้น

ดังนั้น คนรวยจะมีความคิดนี้เสมอก่อนจะตัดสินใจซื้ออะไร คือ ‘ความจําเป็น’ กับ ‘เร่งด่วน’

ส่อง 'คนรวย' ใน 8 ประเทศ เริ่มเฟดตัวไปโกยทรัพย์ใน 'ต่างแดน'

รายงานจาก Ranking Royals เผยว่า ในปี 2023 จีนเป็นประเทศที่มีการย้ายออกสุทธิ (ส่วนต่างของการย้ายออกและย้ายเข้า) ของเศรษฐีระดับ HNWI (High Net Worth Individual) หรือบุคคลมั่งคั่งสูงที่มีการลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวน 13,500 ราย ตามมาด้วยอินเดียที่มีการย้ายออกสุทธิ 6,500 ราย และสหราชอาณาจักร มีการย้ายออกสุทธิ 3,200 ราย

สำหรับเหตุผลดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ จีน จะพบว่า...

การใช้นโยบาย 'เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน' (common prosperity) ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ของจีน กำลังบั่นทอนความมั่งคั่งของเหล่าเศรษฐีลง เป็นปัจจัยขับดันให้ผู้ลงทุนในจีนแห่ออกไปประเทศที่เป็นมิตรต่อการลงทุนมากกว่า เช่น สิงคโปร์ หรือมีการวางแผนสำรองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อจำกัดเรื่องโควิด-19 ที่ยืดเยื้อก็เป็นเหตุผลเพิ่มเติมที่คนเหล่าคนร่ำรวยจะเลือกออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ 

ส่วน อินเดีย แม้ว่าการย้ายออกสุทธิปี 2023 จะอยู่อันดับที่ 2 แต่ถือว่าจำนวนน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีการย้ายออกสุทธิ 7,500 ราย โดยเหตุผลของการย้ายออกจากอินเดียมาจาก 'กฎหมายภาษีต้องห้าม' ประกอบกับกฎที่ซับซ้อนและซับซ้อนเกี่ยวกับการโอนเงินขาออกที่เปิดให้ตีความผิดและใช้ในทางที่ผิด เป็นเพียงประเด็นเล็กน้อยที่กระตุ้นให้เกิดกระแสการโยกย้ายการลงทุนจากอินเดียด้าน การอพยพย้ายถิ่นฐานของเหล่า HNWI ในสหราชอาณาจักร เหตุผลสำคัญ คือ Brexit และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อยกเลิกสถานะผู้เสียภาษีที่ไม่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร โดยสถิติชี้ชัดว่าการลงทุนขาเข้าในสหราชอาณาจักรลดลงนับตั้งแต่ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสได้รับประโยชน์ไปแทน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top