Friday, 3 May 2024
ข่าวปลอม

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ เตือนภัย!! ช่วงเทศกาลหยุดยาว อาจมีมิจฉาชีพฉวยโอกาส “สร้างข่าวปลอม – เว็บไซต์ปลอม” เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน!!

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ เตือนภัย!! ช่วงเทศกาลหยุดยาว อาจมีมิจฉาชีพฉวยโอกาส “สร้างข่าวปลอม – เว็บไซต์ปลอม” เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน!!

​พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยห้วงเทศกาลหยุดยาว อาจมีมิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างข่าวปลอมหรือจัดเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัวของประชาชน

​เนื่องด้วยปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ประชาชนเข้าถึงโลกออนไลน์รวมถึง Application ต่าง ๆ ประกอบกับห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนใช้บริการผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น โดยเหล่ามิจฉาชีพก็ได้อาศัยช่องว่างดังกล่าวสร้างกลอุบายในการหลอกลวงข้อมูลส่วนตัว หลอกให้โอนเงิน ดังกรณีในห้วงที่ผ่านจะพบว่ามีข่าวปลอมหลายเรื่องเกี่ยวกับการจัดโปรโมชั่นของขวัญสำหรับห้วงเทศกาลหยุดยาวปีใหม่ อาทิ รัฐบาลโอน 1,000 บาท ให้บัตรคนจนเป็นของขวัญขวัญปีใหม่กดจากตู้ใช้ได้ทันที , กรณีปรับเบี้ยยังชีพแจกเพิ่ม 2,000 บาท เป็นต้น โดยมิจฉาชีพสร้าง Link หลอกลวงให้คลิกเข้าไปเพื่อลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือในบางครั้งก็ทำการติดต่อให้โอนเงินสำหรับค่าดำเนินการไปก่อน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายในวงกว้างให้กับประชาชนก็เป็นได้

​พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักถึงพิษภัยภัยจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว อันเป็นการสร้างความเสียหายซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนในห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19 จึงได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรการและดำเนินการป้องกันปราบปรามตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างจริงจัง

​พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมาโดยตลอด จึงได้สั่งการให้ บช.น.,ภ1-9,บช.ก.,บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งดำเนินการสืบสวน ปราบปรามจับกุมและขยายผล ผู้กระทำความผิดในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งเร่งทำการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงพิษภัยบนโลกออนไลน์พร้อมแนวทางการป้องกันให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป

​การกระทำลักษณะดังกล่าวนอกจากจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกันอยู่แล้วและยังเข้าข่ายความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในฐานความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะต้องเข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนในท้องที่ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด รวมถึงเตรียมหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานการโอนเงิน บันทึกการสนทนา รายการเดินบัญชีธนาคาร เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดี

 

 

ดีอีเอส เผยศาลสั่งปิด 50 ยูอาร์แอล ประเดิมปีเสือ หลังพบกระทบความมั่นคง

6 มกราคม 2565 น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากแนวโน้มปัญหาการโพสต์ข้อความเท็จที่ยังมีการแพร่กระจายบนช่องทางโซเชียลต่างๆ จำนวนมาก สร้างความตื่นตระหนก ความสับสนให้กับประชาชน และกระทบต่อความมั่นคงของชาติ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้เร่งติดตามปัญหาเชิงรุก มีการมอนิเตอร์สถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศทุกวัน

ทั้งนี้ สถานการณ์ข่าวปลอมและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 64 - 2 ม.ค. 65 พบว่า มีการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำนวน 19 ยูอาร์แอล แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 11 ยูอาร์แอล ยูทูบ 6 ยูอาร์แอล และทวิตเตอร์ 2 ยูอาร์แอล

'นักวิชาการอิสระ' ชี้ ไม่มีคำสั่งจับตาชาวอิหร่าน ย้ำ!! 'ไทย-อิหร่าน' เป็นมิตรที่ดีต่อกัน

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.โญธิน มานะบุญ นักวิชาการอิสระ ด้านความมั่นคง และประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่ ครับ ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า...

กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า คำสั่งลับ สตช. ให้ตร.เฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของชาวอิหร่านเป็นข่าวปลอม (Fake news)

ตามที่มีรายงานข่าวเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งลับ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของบุคคลสัญชาติอิหร่านนั้น 

กระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจสอบกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย และขอชี้แจงว่ารายงานข่าวดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติมิได้ให้ข้อมูลข่าวดังกล่าว

กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอิหร่านเป็นความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ดียิ่งมาตลอดเวลาช้านาน และเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความเคารพซึ่งอธิปไตยและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน 

รัฐบาลอิหร่านได้ให้คำมั่นกับประเทศไทยว่า จะดูแลอย่างดียิ่งที่จะไม่ให้มีสิ่งใดมาเป็นปัจจัยทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันได้ทั้งสิ้น ข่าวที่มีการนำเสนอโดยมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบ และนำไปสู่ความเสียหายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ที่มา นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (โฆษกกระทรางการต่างประเทศ)

ส่อง 10 อันดับข่าวปลอมที่คนสนใจมากที่สุด 9 ใน 10 เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับเรื่องเงิน

กระทรวงดิจิทัลฯ วอนประชาชนหยุดหลงเชื่อเฟกนิวส์ตอบแบบสอบถามแลกเงินหมื่น ส่องสถานการณ์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ล่าสุด พบติด 2 อันดับในท็อป 10 ข่าวปลอมที่คนสนใจมากสุด

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 12-18 ส.ค. 65 จากการประสานงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข่าวที่ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 67 เรื่อง ในจำนวนนี้พบว่าข่าวปลอมที่ติดกระแสความสนใจของคนส่วนใหญ่ เกาะกลุ่มอยู่ที่เรื่องการเงินถึง 9 เรื่อง จากการจัดอันดับข่าวคนสนใจมากสุด 

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับ ในรอบสัปดาห์ล่าสุดนี้ ได้แก่ 

อันดับ 1 เรื่อง PTT Company Limited เชิญชวนให้ตอบแบบสอบถามเพื่อได้รับเงินจำนวน 10,000 บาท 
อันดับ 2 เพจปล่อยเงินกู้ธนาคารกรุงไทย 
อันดับ 3 ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน พร้อมอีก 6 ธนาคารไทย ร่วมมือปล่อยสินเชื่อ Piggybank ให้กู้ 10,000 บาท ผ่อน 660 บาท/เดือน 
อันดับ 4 ไปรษณีย์ไทยเชิญชวนตอบแบบสอบถามเพื่อได้รับเงินจำนวน 10,000 บาท 
อันดับ 5 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดลงทุนเทรนหุ้น เริ่มต้น 1,000 บาท ได้รับผลตอบแทนสูง 18,000 บาท/เดือน 
อันดับ 6 ธ. กรุงไทย ธ. ออมสิน ปล่อยสินเชื่อเพื่อคุณ สูงสุด 500,000 บาท ผ่าน WWW .สินเชื่อเพื่อคุณ. NET และไลน์ 
อันดับ 7 แอปพลิเคชันเป๋าตัง ให้ยืม 45,000 บาท ติดต่อผ่านไลน์ 
อันดับ 8 เพจบน Facebook และ Line เชิญชวนเปิดพอร์ตลงทุน รับปันผลสูง เกี่ยวข้องกับ ก.ล.ต. 
อันดับ 9 ข้าวสุกที่แช่ตู้เย็นส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าข้าวหุงสุกใหม่ 
และอันดับ 10 ออมสินเปิดให้กู้สินเชื่อไทรทองอเนกประสงค์ ผ่านไลน์ วงเงิน 5,000 - 300,000 บาท ได้ทุกอาชีพ

'ดีอีเอส' วอน ประชาชนชัวร์ก่อนแชร์ 'ข่าวปลอม' หลังข่าวปลอม นโยบายรัฐพุ่ง สวนกระแสข่าวปลอมโควิด

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมนโยบายรัฐบาล เกินครึ่ง จำนวน 55 เรื่อง ขณะที่ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติมีเพียง 9 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14- 20 ตุลาคม 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 10,638,847 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 256 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 109 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นเรื่องโควิด-19 จำนวน 2 เรื่อง

ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย...

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 55 เรื่อง อาทิ ทำใบขับขี่แบบเร่งด่วนจากขนส่ง กทม. ผ่านช่องทางออนไลน์ และ กรมการจัดหางาน รับสมัครพนักงานออนไลน์ ตำแหน่งแจกจ่ายสินค้าทั่วประเทศ เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 34 เรื่อง อาทิ ผลิตภัณฑ์กัญชา จากกระทรวงสาธารณสุข และ เลือดเป็นกรด ทำให้ร่ายกายเซื่องซึม​ เหนื่อยง่าย ปวดหัว และอาจเป็นลมได้ เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องเศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง อาทิ เกาหลี เปิดรับแรงงาน 5 อาชีพ ไม่ใช้วุฒิการศึกษา เงินเดือนสูงสุด 70,000 บาท และ ธกส.แจ้งเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา 16 ต.ค 65 รับทั้งหมด 4.68 ล้านคน เป็นต้น

และกลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 9 เรื่อง อาทิ บริเวณทะเลจีนใต้ จะมีพายุก่อตัวหลายลูก ในช่วงปลายเดือนตุลาคม และเส้นทางพายุที่คาดว่าจะใช้ชื่อ ไห่ถาง จะเข้าภาคอีสาน ทางจ.มุกดาหาร และจ.อำนาจเจริญ ในอีก 10 วัน เป็นต้น

ทั้งนี้ข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิด-19 จำนวน 2 เรื่อง

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านเศรษฐกิจ

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2565 มีดังนี้...

อันดับที่ 1 เรื่อง เสพกัญชาทำให้เชื้อโควิด 19 ฝังตัวไม่ได้

อันดับที่ 2 เรื่อง เคี้ยวเม็ดมะละกอสุกแล้วกลืนโดยไม่ต้องกินน้ำตาม วันละ 3 เม็ด รักษามะเร็งระยะสุดท้าย เห็นผลใน 1 เดือน

อันดับ 3 เรื่อง เพจธนาคารออมสินจำกัดเชื่อมต่อกับธนาคารออมสินโดยตรง

อันดับที่ 4 เรื่อง เพจบน Facebook และ Line เชิญชวนลงทุนหุ้นยักษ์ใหญ่ระดับโลกเพียง 1,000 สำหรับมือใหม่ รับปันผล 20,XXX / เดือน ใช้โลโก้และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายทำตามหลักของสำนักงาน ก.ล.ต.

อันดับที่ 5 เรื่อง ทำใบขับขี่แบบเร่งด่วนจากขนส่ง กทม. ผ่านช่องทางออนไลน์

อันดับที่ 6 เรื่อง ออมสินส่ง SMS ให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ยื่นขอสินเชื่อ GSB จำนวน 65,000 บาท ผ่านลิงก์

อันดับที่ 7 เรื่อง ดื่มน้ำเปล่า 1-2 แก้ว เป็นตัวช่วยลดการเกิดอาการหัวใจล้มเหลว

อันดับที่ 8 เรื่อง เกาหลีเปิดรับแรงงาน 5 อาชีพ ไม่ใช้วุฒิการศึกษา เงินเดือนสูงสุด 70,000 บาท

อันดับที่ 9 เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดลงทุนหุ้นด้วยพอร์ต 1,000 บาท รับปันผล 5,000 บาท

อันดับที่ 10 เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดลงทุนเพื่อหาค่าข้าว วันละ 1,000 บาท ด้วยบิทคอยน์

FAKE NEWS!! สยามโบราณถึงคณะราษฎร | THE STATES TIMES STORY EP.90

ในอดีตเรียก Fake News ว่า ‘บัตรสนเท่ห์’ หมายถึง จดหมายฟ้องหรือกล่าวโทษผู้อื่น นำมาทิ้งไว้โดยมิได้ลงชื่อจริงของผู้เขียน เมื่อใครพบเจอก็จะลือต่อๆ กันไป เป็นเครื่องมือสร้างความแตกแยก หรือหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

.

ตั้งแต่โบราณมา มีตัวอย่างเหตุการณ์สร้างข่าวปลอมที่สำคัญๆ อะไรบ้าง ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

10 อันดับข่าวปลอม จาก SOCIAL MEDIA

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด ข่าวปลอมจาก Social listening ครองแชมป์ ขณะที่ ข่าวปลอมนโยบายรัฐมีมากสุด สอดรับกระแสการเมือง

น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (DES) สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 5,213,861 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 238 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 222 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 16 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 104 เรื่อง

ทั้งนี้ DES ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 67 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 19 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 13 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 5 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 1 เรื่อง

นส.นพวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวปลอมด้านเศรษฐกิจ สำหรับข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน ดังนี้

อันดับ 1 เรื่อง ปตท. ให้ลงทุนหุ้นระดับโลก ด้วยเงิน 1,000 บาท และซื้อหุ้นปตท. ได้รับสิทธิ์จอง OR

อันดับที่ 2 เรื่อง กรุงไทยส่ง SMS ให้ประชาชนรับสิทธิ์ยื่นกู้เงินผ่านลิงก์

อันดับที่ 3 เรื่อง ขนส่งฯ เปิดเพจเฟซบุ๊ก DLT e-eairning รับทำใบขับขี่ทุกชนิด

อันดับที่ 4 เรื่อง สมุนไพรจมูกปลาหลดใช้รักษาโรคมะเร็ง

'ดีอีเอส' เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ 'ข่าวปลอม' หลังข่าวปลอมกรมสรรพากรเรียกชำระหนี้ พุ่งอันดับ 1

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) สรุปสถานการณ์ข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด พบว่าข่าวปลอมกรมสรรพากรโทรศัพท์เรียกจ่ายหนี้ภาษีอากรค้างชำระมาอันดับหนึ่ง ขณะที่กระแสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนระบาดและทำให้การติดโควิด-19 ง่ายขึ้น ส่งผลมีข่าวปลอม 7 เรื่อง

น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (DES) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 2-8 ธันวาคม 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามาจำนวน 5,131,164 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 222 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 184 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 38 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 103 เรื่อง

ทั้งนี้ DES ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 49 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 39 เรื่อง

กลุ่มที่ 3  ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 11 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 4 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิค-19 จำนวน 7 เรื่อง

เกาหลีใต้ ยัน ไม่มีแบล็กลิสต์คนไทยจากบางภาค แนะ ให้ระมัดระวังรับข่าวเท็จ ก่อนเกิดความเสียหาย

โฆษกรัฐบาล ย้ำ สถานทูตเกาหลีใต้ ยืนยัน ไม่มีการขึ้นบัญชีดำคนไทยจากบางภาค

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.66 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความว่า สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) ขึ้นบัญชีดำคนไทยที่มีภูมิลำเนาจากบางภูมิภาคในไทย ในการเดินทางเข้าเกาหลีใต้นั้น ไม่เป็นความจริง 

ทั้งนี้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ได้ออกประเทศเตือนว่าข้อความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ดังนี้ “เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการแพร่กระจายข่าวลงสื่อในบางช่องทาง เกี่ยวกับการขึ้นบัญชีดำคนไทยที่มีภูมิลำเนาจากบางภูมิภาค โดยรัฐบาลเกาหลีนั้น เราขอแจ้งว่าข่าวนั้นไม่เป็นจริง จึงขอความร่วมมือทุกท่านให้ระมัดระวังการรับข่าวเท็จ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายใด ๆ ขอบคุณค่ะ”

นายอนุชา กล่าวว่า ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการรับทราบข่าวสาร โดยขอให้รับข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากข่าวสารก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสีย ความสับสน และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ 

‘รองโฆษกฯ’ วอนปชช.อย่าแชร์ ข่าวลือ ‘กองทุนประกันสังคม’ เสี่ยงล้ม ยัน!! สถานะยังแกร่ง เงินสะสม 2.3 ล้านล้านบาท ไม่ล้มละลายแน่นอน

(2 ส.ค. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีมีข่าวปลอมแพร่ระบาดโดยอ้างว่ากองทุนประกันสังคม เสี่ยงล้มละลายภายใน 30 ปี เนื่องจากค้างจ่าย 7 หมื่นล้านบาท ว่า สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง กองทุนประกันสังคม มีเสถียรภาพมั่นคง สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่อง และเพียงพอ มีการบริหารสภาพคล่องโดยใช้กลยุทธ์การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการถือครองหลักทรัพย์ในระยะยาว เพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่กองทุน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนประกันสังคม มีเงินสะสม 2.3 ล้านล้านบาท สถานะของกองทุนมีเม็ดเงินที่เพียงพอสำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์ในทุกกรณี ไม่ได้เสี่ยงล้มละลายหรือค้างจ่าย จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งต่อ หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานประกันสังคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้ความสำคัญและห่วงใยผู้ประกันตน ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการใช้เงินกองทุนประกันสังคมให้เกิดประโยชน์ ตอบสนองผู้ประกันตน และปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน โดยปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน 3 รูปแบบ ขอเลือก ขอคืน และขอกู้ และยังเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีอื่น เช่น เพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้จากการทุพพลภาพ เพิ่มการจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร และขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้าง จากเดิมอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เป็น 65 ปีบริบูรณ์ เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ตอบโจทย์ของทุกกลุ่ม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนให้ดีขึ้น 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top