Wednesday, 1 May 2024
ก๊าซธรรมชาติ

'เยอรมนี' ยอมรับอยู่ไม่รอดฤดูหนาว หากไม่ได้ก๊าซจากรัสเซียเพิ่มเติม

เยอรมนีจำเป็นต้องซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพิ่มเติม เนื่องจากคลังสำรองก๊าซในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะเห็นประเทศแห่งนี้ผ่านพ้นช่วงฤดูหนาวไปได้ จากความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเบอร์ลิน ที่รับผิดชอบงานด้านเครือข่ายไฟฟ้าและก๊าซ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เคลาส์ มุลเลอร์ ประธานสำนักงานเครือข่ายกลาง (Federal Network Agency) กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์กับ Bild am Sonntag สื่อมวลชนท้องถิ่น ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ (17 ก.ค.) เตือนว่าแม้คลังสำรองก๊าซขยับเข้าใกล้ 65% ของความจุและมันดีขึ้นกว่าช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่มันยังคงไม่เพียงพอที่จะผ่านพ้นฤดูหนาวหากปราศจากก๊าซของรัสเซีย

มุลเลอร์ ระบุว่า เยอรมนีจำเป็นต้องซื้อก๊าซธรรมชาติของรัสเซียเพิ่มเติมมากน้อยแค่ไหน เวลานี้ขึ้นอยู่กับว่างานซ่อมบำรุงท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 จะแล้วเสร็จตามความคาดหมายในวันพฤหัสบดี (21 ก.ค.) หรือไม่

เมื่อถามว่าในกรณีที่รัสเซียหยุดส่งมอบก๊าซโดยสิ้นเชิง มันจะใช้เวลานานแค่ไหนก่อนที่ราคาพลังงานสำหรับผู้บริโภคในเยอรมนีจะปรับขึ้น มุลเลอร์ตอบว่ายังไม่มีการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม เขาพยายามสร้างความอุ่นใจ ด้วยเน้นว่า "ราคาในสัปดาห์นี้ไม่ได้ดีดตัวขึ้นมากนัก แม้มีการปิดซ่อมบำรุงนอร์ดสตรีม 1" พร้อมบอกมันอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า "ตลาดอาจซึมซับกับภาวะสูญเสียอุปทานก๊าซรัสเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเรามาถึงจุดสูงสุดของราคาก๊าซแล้ว"

ประธานของหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบด้านพลังงานแห่งนี้ เน้นย้ำว่าชาวเยอรมนี ไม่ควรตื่นตระหนก และให้คำรับประกันว่าบ้านเรือนประชาชนเป็นกลุ่มที่จะมีความกังวลน้อยที่สุด โดยจะได้รับการป้อนก๊าซนานกว่าภาคอุตสาหกรรมมากๆ

ยิ่งไปกว่านั้น "จะไม่มีเหตุการณ์ที่เราต้องอยู่โดยปราศจากก๊าซโดยสิ้นเชิง" มุลเลอร์ย้ำ โดยบอกว่าหากแม้รัสเซียตัดอุปทานอย่างเด็ดขาด ประเทศอื่นๆ อย่างเช่นนอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม จะยังคงขายเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เยอรมนี และในอนาคต สถานีก๊าซธรรมชาติเหลวของประเทศเองจะช่วยสร้างความแตกต่าง ประธานสำนักงานเครือข่ายกลางระบุ

มุลเลอร์ กล่าวว่า ถ้าภาวะปันส่วนก๊าซเกิดขึ้น หน่วยงานของเขาจะพิจารณาว่าการหยุดจ่ายก๊าซป้อนภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนโดยเฉพาะจะก่อความเสียหายต่อเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ เขาเชื่อว่าแม้หากเกิดปัญหาขาดแคลน แต่มันน่าจะส่งผลกระทบเฉพาะพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในส่วนท้ายของโครงข่ายก๊าซเท่านั้น

ขณะเดียวกัน มุลเลอร์ ได้ปฏิเสธทำตามคำแนะนำที่ชี้แนะว่า เบอร์ลิน ควรห้ามส่งออกก๊าซไปยังบรรดาประเทศเพื่อนบ้านยุโรป โดยเขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหนึ่งเดียวกัน "ก็เหมือนกับเราในตอนนี้ที่กำลังได้ประโยชน์จากท่าเรือก๊าซธรรมชาติเหลวในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ เยอรมนีจะให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านหากพวกเขาเผชิญปัญหาขาดแคลนก๊าซรุนแรง"

อย่างไรก็ตาม มุลเลอร์ ยอมรับว่าเยอรมนีคงต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่ยากลำบาก 2 ปีติด จากความเสี่ยงก๊าซธรรมชาติขาดแคลน แต่พอถึงช่วงฤดูร้อนปี 2024 ประเทศของเขาจะเป็นอิสระจากก๊าซของรัสเซีย "แต่สิ่งที่เป็นความจริงเช่นกัน คือ ราคาจะไม่มีทางกลับมาอยู่ในระดับต่ำเหมือนในอดีตอีกแล้ว"

หนาวนี้สะท้าน!! หลังราคาก๊าซในยุโรปพุ่ง 30% เหตุรัสเซียปิดท่อ 'นอร์ดสตรีม 1' อย่างไม่มึกำหนด

ราคาก๊าซในสหภาพยุโรปพุ่งกระฉูด ภายหลังรัสเซียปิดท่อส่ง ‘นอร์ดสตรีม 1’ อย่างไม่มีกำหนด หลังรัสเซียแจ้งว่า เกิดการรั่วไหล่ในอุปกรณ์ท่อส่ง

ราคาก๊าซในอียูพุ่งขึ้นอีก 30% หลังรัสเซียบอกว่า ท่อส่งก๊าซหลักไปยุโรปตัวหนึ่งจะต้องปิดอย่างไม่มีกำหนด ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนและการปันส่วนก๊าซในสหภาพยุโรปช่วงฤดูหนาว โดยราคาก๊าซพุ่งขึ้นเป็น 272 ยูโร หรือราว 9,881 บาทต่อ 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง ภายหลังรัสเซียแจ้งว่า เกิดการรั่วไหล่ในอุปกรณ์ท่อส่งนอร์ดสตรีม 1 ทำให้ต้องปิดท่อต่อไป หลังหยุดบำรุงรักษา 3 วันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ก่อนหน้านี้ ยุโรปกล่าวหารัสเซียใช้การส่งพลังงานเป็นอาวุธ ตอบโต้ชาติตะวันตกที่คว่ำบาตรรัสเซีย กรณีบุกยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่รัสเซียบอกว่าชาติตะวันตกทำสงครามเศรษฐกิจและคว่ำบาตร เป็นตัวการขัดขวางปฏิบัติการท่อส่งก๊าซ

ทั้งนี้ ท่อส่งนอร์ดสตรีม 1 ซึ่งส่งก๊าซไปเยอรมนี ในปริมาณก๊าซแค่ 20% ก่อนที่รัสเซียหยุดส่งชั่วคราว เพื่อบำรุงรักษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การที่รัสเซียส่งก๊าซไปยุโรปลดลงทำให้อียูต้องแสวงหาแหล่งพลังงานทางเลือก เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว ส่งผลให้หลายประเทศในสหภาพยุโรปมีแผนฉุกเฉิน เพื่อนำไปสู่การปันส่วนพลังงาน และมีโอกาสสูงที่เข้าสู่ภาวะถดถอย

'เยอรมัน' ควบคุมกิจการบริษัทน้ำมันของรัสเซีย เพื่อเป็นหลักประกันว่าประเทศจะไม่ขาดแคลนพลังงาน

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2565 กล่าวว่า รัฐบาลเยอรมันนำโดยนายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ ตัดสินใจเข้ายึดและควบคุมกิจการในเครือของ Rosneft (รอสเนฟต์) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัสเซียที่ดำเนินกิจการอยู่ในเยอรมนี

โดยบริษัทในเครือของ Rosneft ในเยอรมนี มีสัดส่วนของกำลังการกลั่นน้ำมันในประเทศ ประมาณ 12% และจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเครือข่ายรัฐบาลกลาง (Federal Network Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเศรษฐกิจและสภาพอากาศของเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านแหล่งพลังงาน รัฐบาลจำเป็นจะต้องดำเนินการเช่นนี้ แม้จะเป็นการไม่สุภาพซักเท่าไหร่ แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ บนพื้นฐานของการปกป้องประเทศของเรา"

การเข้าควบคุมกิจการของรัสเซียในครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่เยอรมนีกำลังดิ้นรนที่จะเลิกพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมันดิบ) ของรัสเซีย โดยมีเป้าหมายที่จะหยุดการนำเข้าน้ำมันทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ในขณะที่รัสเซียเองก็ตอบโต้ด้วยการหยุดการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังเยอรมนีผ่านท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1

โดยบริษัทรัสเซียที่จะถูกควบคุม ได้แก่ Rosneft Deutschland GmbH (RDG) และ RN Refining & Marketing GmbH (RNRM) รวมถึงสัดส่วนการถือครองหุ้นในโรงกลั่น 3 แห่ง ได้แก่ PCK Schwedt, MiRo และ Bayernoil

‘วรภพ’ จี้!! 3 ประเด็น รัฐเข็นค่าไฟแพงรับปีใหม่ แม้ความผิดพลาดจะมาจากการบริหารของรัฐล้วน ๆ

วันที่ (16 ธ.ค. 65) ที่รัฐสภา วรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีค่าไฟแพง หลังจากรัฐบาลมีมติขึ้นค่าไฟ โดยให้คงค่าไฟเฉพาะครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน ส่วนผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นรวมถึงประชาชนที่ใช้ไฟเกิน 500 หน่วย/เดือน จะต้องเจอค่าไฟที่แพงขึ้น 1 บาท/หน่วย จากเดิม 4.72 บาท/หน่วย เพิ่มเป็น 5.7 บาท/หน่วย เริ่มต้นเดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป

วรภพ กล่าวว่า ของขวัญปีใหม่ของคนไทยไม่ควรเป็นค่าไฟที่แพงขึ้น ตนเคยท้วงติงรัฐบาลหลายครั้ง ว่าต้นตอเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยมี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง มีโรงไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น เพราะรัฐบาลอนุญาตให้เอกชนสร้างโรงไฟฟ้ามากเกินไป ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟให้กลุ่มทุนเหล่านี้ผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,400 ล้านบาท/เดือน ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งเจรจากับเอกชน ให้ลดค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) โดยอาจแลกกับการขยายสัญญาออกไป ทำให้ในอนาคตไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงในการเจรจาเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน

ท่าเรือ 'มาบตาพุด' ระยะ 3 คืบ!! คาดปี 70 เปิดใช้ท่าเรือก๊าซ ช่วยรองรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติได้ 31 ล้านตันต่อปี

(8 ก.พ. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ว่า เป็นการรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนทั้งโครงการ 6.4 หมื่นล้านบาท เป็นการลงทุนของภาคเอกชน 5.2 หมื่นล้านบาท ภาครัฐ 1.2 หมื่นล้านบาท แบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เป็นการร่วมทุนระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับเอกชน เพื่อขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นพื้นที่ถมทะเล 1,000 ไร่ (พื้นที่หลังท่าและหน้าท่าพร้อมใช้งาน 550 ไร่ และพื้นที่กักเก็บตะกอนดิน 450 ไร่)
ช่วงที่ 2 เพื่อก่อสร้างท่าเรือสินค้าเหลว (แปลง A) และพื้นที่คลังสินค้าธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (แปลง C)

โดยในช่วงที่ 1 ได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและงานออกแบบรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ส่วนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น การถมทะเลคืบหน้า ร้อยละ 35.88 เร็วกว่าแผน ร้อยละ 2.91 ขณะที่การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกันทราย (Revetment) ก่อสร้างได้ระยะทาง 5,410 เมตร มีการใช้หินสะสม 1.17 ล้านลบ.ม. และได้เริ่มงานลงหิน Toe Rock & Rock Underlayer ก่อสร้างได้ระยะทาง 240/5,410 เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดดำเนินการท่าเรือก๊าซได้ในปี 2570

'ภูมิใจไทย' ชูนโยบาย 'แก้วิกฤติปุ๋ยแพง' ช่วยเหลือเกษตรกร ดันสร้างโรงงาน - ใช้ก๊าซในอ่าวไทยผลิตปุ๋ยยูเรียราคาถูก

'ภูมิใจไทย' ปิ๊งไอเดียใช้ก๊าซฯ อ่าวไทยผลิตปุ๋ยราคาถูก ฝ่าวิกฤตต้นทุนเกษตรกรพุ่ง 'วีระกร' ห่วงชาวนาจมทุกข์-แบกหนี้บาน เหตุถูกปล้นค่าปุ๋ยเพิ่มไร่ละ 1.1 พันบาท ชงนโยบายแก้วิกฤตปุ๋ยแพง ดันสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยราคาถูก กระสอบละไม่เกิน 600 บาท แค่แบ่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยวันละ 2% มาผลิต มั่นใจไม่กระทบกำลังผลิตไฟฟ้า

นายวีระกร คำประกอบ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขต 2 นครสวรรค์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการ 'พรรคภูมิใจไทย พูดแล้วทำ' เผยแพร่ทางเฟซบุ๊ก และยูทูบพรรคภูมิใจไทย ถึงนโยบายด้านการเกษตรของพรรคภูมิใจไทยว่า ชาวนา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นาลุ่ม หรือนาในเขตชลประทาน กับ นาดอน 

โดย นาลุ่ม หรือนาในเขตชลประทานจะให้ผลผลิตที่สูงกว่า ได้ประมาณ ไร่ละ 1 ตัน หรือ 1 เกวียน ขณะที่พี่น้องชาวนาดอนอาศัยแต่น้ำฝน ปีหนึ่งจะทำนาได้เพียงครั้งเดียว ผลผลิตได้เพียง 600 กิโลกรัมต่อไร่ ก็จะมีรายได้น้อยกว่า ปัจจุบันราคาข้าวเปลือก อยู่ที่ 8,000 บาทต่อตัน เพราะฉะนั้นพี่น้องชาวนาลุ่มจะมีรายได้ไร่ละ 8,000 บาท ต้นทุนอยู่ที่ 5,000 บาท ก็จะมีกำไร ไร่ละ 3,000 บาท แต่ในปีที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาราคาปุ๋ยที่สูงจากกระสอบ 50 กิโลลกรัมละ 600 กว่าบาท ขึ้นไปเป็น 1,700 บาทต่อกระสอบ โดยชาวนาจะใช้ปุ๋ย 1 ลูกต่อ 1 ไร่ ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นไร่ละประมาณ 1,100 บาท

“นาข้าว 1 ไร่ ใช้ปุ๋ยประมาณ 1 ลูก แปลว่า 1 ไร่ของพี่น้องชาวนา จะมีค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น มาถูกปล้นค่าปุ๋ยไป ไร่ละ 1,100 บาท จะเห็นได้ว่า ชาวนา ไม่ว่าจะเป็นนาลุ่ม หรือชาวนาดอน ที่ทำนาทั้งประเทศ 65 ล้านไร่ ไม่มีใครมีความสุข มีแต่ความทุกข์ตลอด” นายวีระกร ระบุ

‘จีน’ พบ ‘แหล่งน้ำมัน-ก๊าซ’ ขนาดใหญ่ในทะเลโป๋ไห่ คาด มีปริมาณกักเก็บสำรองมากกว่า 1 พันล้านตัน!!

เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, เทียนจิน รายงานว่า บริษัทน้ำมันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน (CNOOC) ประกาศการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ปริมาณสำรองประมาณ 300 ล้านตัน ในทะเลโป๋ไห่ของจีน ในปี 2022

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขดังกล่าว พุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ คือการค้นพบบ่อน้ำมัน 2 แห่งเมื่อปีที่แล้ว ได้แก่ โป๋จง 19-2 (Bozhong 19-2) และโป๋จง 26-6 (Bozhong 26-6) ซึ่งโป๋จง 26-6 เป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติกว่า 100 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบบ่อน้ำมันรวม 5 แห่ง ที่มีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซมากกว่า 100 ล้านตัน บริเวณทะเลโป๋ไห่ ขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซที่ค้นพบใหม่ในพื้นที่ทะเลดังกล่าวสะสมมากกว่า 1 พันล้านตัน


ที่มา : https://www.xinhuathai.com/china/348797_20230331

‘ปตท.’ ยึดมั่นในนโยบายรัฐ ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก มุ่งสร้างสมดุลทุกภาคส่วน

นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีการพาดพิงการดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ที่จำหน่ายให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในราคาที่ถูกกว่าโรงไฟฟ้าเป็นสาเหตุให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ดังนี้

การจัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นสัดส่วนเพียง 20% ใช้ในภาคอุตสาหกรรมขนส่งและครัวเรือนประมาณ 30% และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า 50% ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาปริมาณความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ดำเนินการมากว่า 40 ปี ปริมาณสำรอง และปริมาณการผลิตลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จำเป็นต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ต้นทุนราคาเนื้อก๊าซเดียวกัน สำหรับในส่วนที่ต้องจัดหาเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า หรือวัตถุดิบเพิ่มเติมในแต่ละผลิตภัณฑ์จะเป็นไปตามปัจจัยสถานการณ์ตลาดพลังงานโลก และตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

‘BCPG’ บริษัทย่อยเครือบางจาก ทุ่มเงิน 8.9 พันล้าน ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ 2 แห่ง

วันที่ (24 พ.ค. 66) บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ ‘BCPG’ เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ 2 แห่ง โดยใช้เงินลงทุนไม่เกิน 260 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า 8,919.30 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนดังกล่าว ทำให้บริษัทได้มาซึ่งกำลังการผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมทั้งสิ้น 426 เมกะวัตต์

โดยเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2566 คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 BCPG USA Inc. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น (Purchase and Sale Agreement) กับ Frankin Power Holdings LLC (ผู้ขาย)

เพื่อทำรายการซื้อหุ้นในสัดส่วน 25.00% ของหุ้นทั้งหมดใน Hamilton Holdings I LLC (บริษัทเป้าหมาย) ในจำนวนเงินไม่เกิน 260,000,000 เหรียญสหรัฐฯ (หรือเทียบเท่า 8,919,300,000 บาท) ซึ่งบริษัทเป้าหมายถือหุ้น 100% 

มีโครงการดังต่อไปนี้

1.) โครงการโรงไฟฟ้าก๊ซธรรมชาติ Hamilton Liberty LLC (Liberty) มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 848 เมกะวัตต์ตั้งอยู่ในเขตอไซลัม (Asylum) รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วน 25% คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งตามสัดส่วนเทียบเท่ากับ 212 เมกะวัตต์

2.) โครงการโรงไฟฟ้าก๊ซธรรมชาติ Hamiton Patriot LLC (Patriot) มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 857 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในเขตคลินตัน (Cinton) รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วน 25% คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งตามสัดส่วนเทียบเท่ากับ 214 เมกะวัตต์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top