Monday, 20 May 2024
การประมง

ศรชล. ร่วมสืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบน ครั้งที่ 10 สร้างขวัญกำลังใจพี่น้องชาวประมง!!

นาวาเอก เอกภาพ สายโสภา รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (รอง ผอ.ศรชล.) จังหวัดสมุทรสาคร และกำลังพลศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ประมงจังหวัด ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมกิจกรรม "สืบชะตาทะเลอ่าวไทยตอนบน สมุทรสาคร ครั้งที่ 10" จัดโดยสมาคมการประมงสมุทรสาคร ณ อาคารเอนกประสงค์ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพประมงให้กับพี่น้องชาวประมงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทะเลและทรัพยากรทางทะเลสมุทรสาคร ให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนบำเพ็ญกุศลให้กับชาวประมงผู้วายชนม์ และสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ที่เสียชีวิตเพื่อการบริโภค โดยมี นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร/ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานในพิธี

“บิ๊กโจ๊ก” จับเข่าคุย!! ‘ประมงพื้นบ้าน’ ร่วมต้าน IUU

จากกรณีที่ประเทศไทยได้ถูกลดอันดับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์จากทางการสหรัฐฯ ลงเป็นอันดับประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยมีข้อสังเกตในเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและแรงงานข้ามชาติซึ่งเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการประมง รวมทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามที่ทราบแล้ว นั้นจากกรณีดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ                   รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงานในภาคการประมง โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ              ตำรวจแห่งชาติ / ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./ รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยเร่งด่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้เดินทางมาพบปะและประสานความร่วมมือกับสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นำโดย นายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี, นายเจริญ โต๊ะอิแต และพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านบ้านในถุง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ในการต่อต้าน การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) เพื่อให้การดูแลทรัพยากรทางทะเลมีความยั่งยืน อุดมสมบูรณ์ 

เกี่ยวข้อง

การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตทะเลประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็ก ใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพต่ำในการจับสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ และจำหน่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก มีวิถีการทำประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร สามารถพึ่งพาตนเองได้แม้ในยามวิกฤต จนกระทั่งรัฐบาล นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา IUU โดยสามารถปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปได้ ผลของการทำงานดังกล่าว ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่งกลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยในปีพ.ศ.2561 ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาได้ 140,037 ตัน ปี พ.ศ.2562 ได้ 161,462 ตัน, ปีพ.ศ.2563 ได้ 250,622 ตัน และปีพ.ศ.2564 เพียง 9 เดือนแรก (ถึง ก.ย.) ได้ถึง 164,054 ตัน 

อย่างไรก็ตาม ชาวประมงพื้นบ้านยังคงประสบปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตชายฝั่งจากเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงที่ใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง เช่น อวนลาก คราดหอย อวนลากคู่ ซึ่งเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีพ.ศ.2563 และ 2564 ที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านได้ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่ประการใด นอกจากนั้นยังถูกข่มขู่จากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเป็นนายทุนเบื้องหลังพฤติกรรมทำประมงผิดกฎหมายเหล่านี้ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อถือการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย โดยในรอบปีพ.ศ.2564 ที่ผ่านมา มีเรือประมงขนาดใหญ่ถูกดำเนินคดีความผิดประมงในทะเลเพียง 10 คดีเท่านั้น 

ในการพบปะครั้งนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้ให้ความมั่นใจกับชาวประมงพื้นบ้านว่า “ชาวประมงพื้นบ้าน เป็นผู้พิทักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนและอุดมสมบูรณ์ ผมได้รับข้อมูลและความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมง IUU อย่างดียิ่ง นอกจากเบาะแสของเรือประมงกลุ่มทุนแล้ว ยังรวมถึงการเลือกปฏิบัติ การละเว้นปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อีกด้วย เห็นได้จากในรอบปี 2564 ที่ผ่านมา เรือประมงกลุ่มทุนถูกดำเนินคดีทำการประมงผิดกฎหมายในทะเลเพียง 10 คดี ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้านมาก และได้กำชับให้ผมเข้ามาแก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลในทะเล กลุ่มเรือนายทุน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ “หลับตา” ละเว้นการปฏิบัติ หรือเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อมั่นการทำงานของภาครัฐ ผมได้จัดชุดปฏิบัติการ 4 ชุดระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความชำนาญ มาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พี่น้องเสนอข้อมูลมา ผู้มีอิทธิพล นายทุนประมง เจ้าหน้าที่รัฐที่รู้เห็นเป็นใจ จะต้องไม่มีที่ยืน เบื้องต้นผมได้จัดกำลังลงตรวจเรือประมงที่แจ้งว่า “งดใช้เรือ” ไม่ออกทำประมง และขอปิดเครื่อง VMS จำนวน 620 ลำ แต่มีบางลำลักลอบออกไปทำประมงผิดกฎหมาย หรือขนของเถื่อน ขนของหนีภาษี รวมถึงค้ามนุษย์ เรือประมงเหล่านี้ ลำไหน “จอดไม่ตรงจุดที่แจ้ง ไปตรวจแล้วไม่มีเรือ” ดำเนินคดีทุกลำพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ผมไม่ได้ทำงานเพราะเอาใจ EU แต่ตั้งใจมาทำงานนี้เพราะอยากให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของเราอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนไปชั่วลูกหลาน และขอขอบคุณที่พี่น้องประมงพื้นบ้านที่มาผนึกกำลังกับภาครัฐในการต่อต้านประมง IUU”

​​​​​​​

‘อลงกรณ์’ ชู 10 นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมประมงครบวงจร ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า หวังดันไทย สู่ ‘ผู้นำด้านประมง’

(5 พ.ค. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี เขต 1 ในฐานะทีมเศรษฐกิจกล่าวในเวทีดีเบต ‘อนาคตประมงไทยหลัง
การเลือกตั้ง’ เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 66 ที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ว่า พรรคประชาธิปัตย์เชื่อมั่นในศักยภาพประมงไทยโดยยกระดับนโยบายประมงเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ บนแนวทางการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน สู่เป้าหมายประเทศผู้นำประมงโลกภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีฟ้า (Blue Economy) สร้างมูลค่า 6 แสนล้าน สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ 5 แนวทาง ได้แก่

1. เร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรมประมง กระจายการลงทุน 18 กลุ่มจังหวัด 
2. สร้างฐานใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษประมง อ่าวตัว ก., อันดามัน, อ่าวไทย, 4 จังหวัดใต้สุด และทุกภาค 
3. ส่งเสริมการลงทุนประมงไทยในต่างประเทศ 
4. ฟื้นฟูพัฒนาประมงสู่ศักยภาพใหม่ ทั้งประมงนอกน่านน้ำ ประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน อุตสาหกรรมกุ้งไทย และประมงเพาะเลี้ยงรวมถึงอุตสาหกรรมประมงแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารแห่งอนาคต (สาหร่าย โปรตีนทางเลือกใหม่) ประมงอินทรีย์ ประมงมูลค่าสูง (เวชสำอาง วิตามิน ยา อาหารเสริม) และประมงท่องเที่ยว
5. เดินหน้าการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

‘จีน’ พัฒนา ‘แท่นลอยน้ำ’ ผสมผสานพลังงานลมนอกชายฝั่ง ผันไฟฟ้าได้ 16 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เอื้อฟาร์มเลี้ยงปลาในทะเลลึก

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 66 สำนักข่าวซินหัว, ฝูโจว รายงานข่าวการก่อสร้างแท่นลอยน้ำผสมผสานพลังงานลม-การประมงแห่งแรกของโลก ได้เสร็จสิ้นที่ฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่งเกาะหนานรื่อ เมืองผูเถียน มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีน เมื่อไม่นานนี้

รายงานระบุว่าโครงการแท่นลอยน้ำเชิงบูรณาการนี้ ช่วยแก้ไขความท้าทายทางเทคโนโลยีของการผสมผสานพลังงานลมนอกชายฝั่งและการเลี้ยงปลาในทะเลลึก ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานลมในทะเลหลวงของจีน

ทั้งนี้ แท่นลอยน้ำสามขาแบบกึ่งจมน้ำ (Semi-Submersible) ที่ดำเนินงานอย่างเป็นทางการ จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 16 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top