Tuesday, 21 May 2024
การบิน

การบินค่อนโลก ดันแผนเหลือนักบินเดียว เพื่อลดต้นทุน ‘เยอรมนี-อังกฤษ-นิวซีแลนด์’ ถกแล้ว หวังทำจริง 2027

(21 พ.ย. 65) เพจ ‘เดือดทะลักจุดแตก’ โพสต์ข้อความกรณีการบินค่อนโลก ดันแผนเหลือนักบินคนเดียว ระบุว่า...

นี่เป็นสิ่งที่จินตนาการไม่เคยออกว่าจะมีอะไรแบบนี้

เราน่าจะคุ้นเคยกับหนังฝรั่งนะครับ เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน นักบิน 2 คนในห้องบังคับจะช่วยกันกู้สถานการณ์  ปกติเครื่องบินจะเป็นระบบขับขี่อัตโนมัติเสมอ นักบินนั่งไว้ป้องกันกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็จะเข้าควบคุมในทันใด ... ซึ่งในหนัง นักบินหลักคนเดียวมักจะเอาไม่อยู่ ต้องให้ผู้ช่วยเข้ามาแก้ไขสถานการณ์เสมอ ย้ำว่า ‘เสมอ’

เอ๊ะ แต่ว่ามันในหนังนะ ... แต่หนังพวกนี้ ส่วนใหญ่ก็ชอบสร้าง ‘อิงจากเหตุการณ์จริง’ นะครับ
 

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวเร็ว หลังยอดเที่ยวบินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 105%

(24 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ที่เปิดเผยถึงปริมาณการจราจรทางอากาศของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ของ AOT มีจำนวนเที่ยวบินรวม 150,378 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 105.04%

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 66,829 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 83,549 เที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสารรวมทั้งหมด 23.01 ล้านคน เพิ่มขึ้น 232.93% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 10.98 ล้านคน และผู้โดยสารภายในประเทศ 12.03 ล้านคน

‘นักข่าวอาวุโส’ โวย!! ราคาจริงตั๋วเครื่องบินวันนี้ ‘สุดแพง’ วอน!! รัฐอย่าชี้ราคาผิดเพี้ยน โปรดเอาความจริงมาพูดกัน

(8 เม.ย. 66) นายเฉลียว คงตุก นักข่าวอาวุโส ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

นายกฯ สั่งแก้ไขด่วน ‘ตั๋วเครื่องบินแพง’ หลังผู้โดยสารร้องเรียนเข้ามาเพียบ กระทบ ปชช. - การท่องเที่ยวในประเทศ จี้ปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากขึ้น

นายอธิรัช รัตนเศรษฐ์ รมช.คมนาคม รายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า อัตราค่าโดยสาร (ต่อเที่ยว) ในเส้นทางบินกรุงเทพฯ-ภูเก็ต เป็นเส้นทางที่ได้รับการร้องเรียนว่าค่าโดยสารราคาแพงมากที่สุด พบว่าอัตราค่าโดยสารเฉลี่ย ซึ่งต่ำกว่าราคา 2,500 บาท คิดเป็น 82.5% ของตั๋วโดยสารทั้งหมด ในขณะที่ราคาสูงกว่า 2,500 บาท คิดเป็น 17.5% โดยราคาบัตรโดยสาร จะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเทศกาล

‘AOT’ เปิดงบรวมปี 66 โชว์ผลกำไร 8,790 ล้านบาท โต 179% อานิสงส์ธุรกิจการบิน-ฟรีวีซ่าช่วยหนุนแรง

(21 พ.ย. 66) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) เผย งบรวมปี 2566 พลิกทำกำไรสุทธิ 8,790 ล้านบาท เติบโต 179.28% จากงวดปี 65 ที่ขาดทุน 11,088 ล้านบาท แรงหนุนจากธุรกิจการบินที่ทำรายได้ 22,266 ล้านบาท โตทะลุ 205%

บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) และบริษัทย่อย รายงานงบการเงินรวมงวดปี 2566 (สิ้นสุด 30 ก.ย.66) มีกำไรสุทธิ 8,790.87ล้านบาท เพิ่มขึ้น 179.28% กำไรต่อหุ้น 0.62 บาทต่อหุ้น  เทียบกับงวดปี 2565 ที่ขาดทุนสุทธิ -11,087.86 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.78 บาท

โดยงบรวมงวดปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายหรือการให้บริการอยู่ที่ 48,140.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31,580.90 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 190.71% จากปี 2565 ที่มีรายได้ 16,560.02 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

- รายได้เกี่ยวกับกิจการการบิน 22,265.83 ล้านบาท เพิ่ม 14,975.78 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 205.43%เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสาร
- รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน 25,875.09 ล้านบาท เพิ่ม 16,605.12 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 179.13%
- รายได้อื่น 304.58 ล้านบาท ลดลง 1,027.26 ล้านบาท หรือลดลง 77.13%

ด้านค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 5,422.70 ล้านบาท หรือเพิ่ม 18.81% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ค่าจ้างภายนอก ค่าสาธารณูปโภค และค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ในขณะที่ขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ และค่าใช้จ่ายอื่นลดลง รวมทั้งต้นทุนทางการเงินลดลง 39.31 ล้านบาทหรือลดลง 1.34% สำหรับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 5,122.60 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 177.40% สอดคล้องกับผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ แนะ ‘แอร์ไลน์’ เร่งใช้ SAF ลดปริมาณคาร์บอน หลังการบินทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว ชี้!! เป็นทางเลือกที่ทำได้เร็วที่สุด

(24 พ.ย.66) เมื่อวานนี้ (23 พ.ย.) หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS ได้กล่าวในเวทีเสวนาหัวข้อ ‘Pioneering Sustainable Aerospace: พลิกโฉมน่านฟ้า สู่การบินยั่งยืน’ ในงานสัมมนา Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13 ‘Regenerative Fuels: Sustainable Mobility’ จัดโดยกลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า…

ธุรกิจการบินเป็นธุรกิจสำคัญต่อเศรษฐกิจและการเติบโตของโลก ถึงแม้ว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมา การบินชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งพอโควิดคลี่คลายกลับเติบโตขึ้นมาอีกครั้ง แม้ว่าจะยังไม่ฟื้น หรือเติบโตเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด แต่จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาอินเดียมีการสั่งเครื่องบินไปแล้วกว่า 500 ลำ ซึ่งจะส่งมอบประมาณปี 2030

“ผมมองว่าทิศทางของธุรกิจการบินจะเติบโตไปเรื่อย ๆ และมากกว่าที่เราเห็นในปัจจุบัน แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้ธุรกิจการบินมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง ซึ่งทางออกที่น่าจะเป็นไปได้และทำได้ทันทีคือการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF)”

ด้านนายยงยุทธ ลุจินตานนท์ Area Manager IATA Thailand, Laos, Cambodia and Myanmar กล่าวเสริมว่า “IATA เราทำงานร่วมกับสายการบินในการพัฒนาธุรกิจการบินให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งเรามีสมาชิกกว่า 318 การบิน การเดินทางของผู้คนในปี 2023 เมื่อเทียบกับช่วงที่เกิดโควิดเมื่อปี 2019 มีการเติบโตถึง 80% แม้จำนวนการเดินทางจะยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด แต่จากการคาดการณ์พบว่าตัวเลขการเดินทางจะกลับมาเป็นปกติก่อนช่วงเกิดโควิดจะอยู่ที่ปี 2025 และหากเทียบสัดส่วนอีก 20 ปีข้างหน้า การเดินทางไปยุโรปจะโตระดับ 700 ล้านคน ขณะที่สหรัฐโต 500 ล้านคน

“ส่วนเอเชีย-แปซิฟิกตัวเลขอาจจะโตขึ้นมีจำนวนมากถึง 2,800 ล้านคน แปลว่าจะเห็นจำนวนประชากรที่เดินทางอย่างมากมายมหาศาล และหากมีการเดินทางมากขึ้น ความท้าทายคือ ธุรกิจการบินจะเพิ่มเที่ยวบินอย่างไร และจะผลิตเครื่องบินทันหรือไม่ รวมถึงการบริหารจัดการทางอากาศจะทำอย่างไรบ้าง

“นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึง AI จะมีบทบาทสำคัญกับภาคการบิน เพราะเมื่อการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ความปลอดภัยจึงต้องมาควบคู่กัน ขณะเดียวกัน ก็ต้องคำนึงถึงการปลดปล่อยคาร์บอน ถึงแม้ว่าธุรกิจการบินจะมีการปลดปล่อยคาร์บอนคิดเป็น 2% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่เมื่อดูปริมาณการปลดปล่อยก็ถือว่ามีปริมาณมหาศาล ดังนั้น ผมมองว่าการที่ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการใช้ SAF จะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดในเวลานี้”

ด้านนายปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญนอกจากการบินจะนำ SAF มาใช้แล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันคือ ผู้ใช้บริการรับรู้ และทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเรียกร้องว่า ทำอย่างไรให้สายการบินมีเที่ยวบินที่รักโลก และมีราคาที่สมเหตุสมผล เป็นธรรม

ขณะเดียวกัน การเดินทางแบบยั่งยืนถือเป็นเรื่องไก่กับไข่ที่กฎหมายจะนำหรือความต้องการจะนำ ดังนั้น ทั้งผู้ออกกฎเกณฑ์ นักธุรกิจ และผู้บริโภคจะต้องวิน-วินด้วยกัน เพราะคนทำธุรกิจจะต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนประชาชนจะต้องได้รับความปลอดภัยและราคาที่เป็นธรรม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top