Wednesday, 8 May 2024
กอบศักดิ์_ภูตระกูล

'กอบศักดิ์' โพสต์เตือน อย่าเชื่อผู้แอบอ้างชื่อชวนลงทุน ยัน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หากพบเจอรีบแจ้งเบาะแส

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL / นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประเทศ การเงิน และตลาดทุน / อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีมีผู้แอบอ้างใช้ชื่อไปหลอกลวงผู้อื่นให้ลงทุน โดยระบุว่า...

ช่วงนี้ มิจฉาชีพมีมากมายครับ 

ตามที่ได้มีการแอบอ้างนำรูปของผม (กอบศักดิ์ ภูตระกูล) ไปใช้ประกอบ เพื่อเชิญชวนเปิดพอร์ตลงทุน และชักชวนมาสมัครลงทะเบียนหลักสูตรการลงทุน ผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางอื่นๆ นั้น

‘กอบศักดิ์’ นั่งแท่น “ประธานสภาตลาดทุน” คนใหม่ วาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี เริ่ม 1 มิ.ย.65- 31 พ.ค.67

บอร์ดคณะกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มีมติเลือก ‘ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล] ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คนใหม่ แทนนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง มีวาระ 2 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มิ.ย.65- 31 พ.ค.67

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รายงานว่า บอร์ดคณะกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) วันนี้ได้มีมติเลือก “ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คนใหม่ แทนนายไพบูลย์ นลินทรางกูร ที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง มีวาระ 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.65- 31 พ.ค.67

ทั้งนี้ปัจจุบัน ดร.กอบศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และอุปนายก สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งเศรษฐศาสตร์ การเงิน และตลาดทุน เคยดำรงตำแหน่งทั้งในภาครัฐและเอกชน อาทิ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการทำงานด้านนโยบายการเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายสถาบันการเงิน และแผนพัฒนาตลาดทุน ในช่วงที่ร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้เป็นยังนักเศรษฐศาสตร์ที่มีผลงานวิชาการคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง เคยได้รับรางวัล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2552

‘กอบศักดิ์’ เตือน!! วิกฤติ ‘ศรีลังกา’ แค่หนังตัวอย่าง อาจเกิดแบบนี้กับอีกหลายประเทศใน 2 ปีข้างหน้า

วิกฤติเศรษฐกิจในศรีลังกา ดูท่าจะเป็นหนังตัวอย่างให้อีกหลายประเทศที่เริ่มแสดงอาการในลักษณะคล้ายคลึงกันต้องวางแผนให้รัดกุมขึ้น โดยล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Kobsak Pootrakool หัวข้อ ‘บทเรียนจากศรีลังกา’ ระบว่า...

บทเรียนจากศรีลังกา 

สิ่งที่เกิดที่ศรีลังกา อาจเกิดได้กับอีกหลายๆ ประเทศในช่วง 2 ปีข้างหน้า

บ่อยครั้งที่วิกฤตเศรษฐกิจ ลุกลามเป็นวิกฤตทางสังคมและการเมือง

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ 

เมื่อคนอดอยาก ตกงาน ไม่มีรายได้ อย่างกว้างขวาง

ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสังคมต่างๆ จะตามมา

ยิ่งไปกว่านั้น 

ด้วยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ลำบากขึ้นเรื่อยๆ 

จากราคาอาหาร พลังงาน น้ำมัน สิ่งของต่างๆ ที่พุ่งขึ้นสูง 

 จะนำไปสู่ความไม่พอใจในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ และความไม่พอใจในรัฐบาลในที่สุด

ยิ่งประเทศไหนมีเงินสำรองระหว่างประเทศน้อย 

ปัญหาก็สามารถลุกลามรุนแรงขึ้นไปอีกขั้น 

เพราะเงินสำรองระหว่างประเทศที่น้อย หมายความว่าประเทศจะไม่สามารถดูแลค่าเงินของตนเองได้ 

ทำให้ค่าเงินอ่อนฮวบลง 

ยิ่งหากเป็นเป้าของการถูกโจมตีเก็งกำไรค่าเงินด้วยแล้ว ก็จะยิ่งลำบากมากขึ้นเท่าทวีคูณ เพราะประเทศในกลุ่ม Emerging Market จำนวนมากมีเงินสำรองเพียงหยิบมือเดียว 

'ดร.กอบศักดิ์' แนะรับมือวิกฤตซ้อนวิกฤต ประเมินสถานการณ์ สร้างโอกาสลงทุน

'กอบศักดิ์' บรรยาย เปิด 'หลักสูตร พศส.' สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ แนะรับมือวิกฤตซ้อนวิกฤต ประเมินสถานการณ์สร้างโอกาสลงทุน

'กอบศักดิ์' คาดเศรษฐกิจโลก - ไทยเผชิญภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤตยาว 2 ปี กนง.จ่อขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ 0.75% ดันดอกเบี้ยนโยบายไทยปีนี้แตะ 1.25% หลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ระบุท่องเที่ยวไทยสัญญาณฟื้นชัดเจน มองราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อ    

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในหัวข้อ 'Economic Turbulence 2022 เศรษฐกิจ วิกฤตซ้อนวิกฤตต้องรับมืออย่างไร' ระหว่างการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) ปี 2565 Next chapter for wealth : เปิดโลกสร้างความมั่งคั่งสู่ความมั่นคง จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่าในปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลงแต่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงในหลายด้าน ถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตที่แต่ละประเทศต้องเตรียมการรับมือ ได้แก่ วิกฤตความขัดแย้งระหว่างประเทศ วิกฤตราคาพลังงานและอาหารโลก ความปั่นป่วนของตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก 

ขณะที่การเร่งการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เพื่อต้อสู้กับเงินเฟ้อส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นจนเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ตามมาทั้งในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตในประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และปัญหาของเศรษฐกิจจีนที่มีสัญญาณการชะลอตัว โดยวิกฤตเศรษฐกิจในระดับโลกที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้าโดยเฉพาะภาคการส่งออกที่จะชะลอตัวลงจากเดิมที่เคยขยายตัวได้ในระดับ 20% ในปี 2564 

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ได้อานิสงค์จากการฟื้นตัวในส่วนของภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปจนถึงต้นปี 2566 จะเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยเดือนละประมาณ 1 ล้านคน โดยรวมจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยในปีนี้ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมเนื่องจากมีสัดส่วนประมาณ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) 

ทั้งนี้เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นตัวและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่คาดว่าภายในปีนี้จะมีการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เป็นจำนวน 3 ครั้ง รวมแล้วคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น 0.75% ภายในสิ้นปีนี้ ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับเพิ่มขึ้นจาก 0.5% ในปัจจุบันเป็น 1.25% โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อ และช่วยชะลอการลดลงของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลงจากระดับ 2.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาสู่ระดับ 2.15 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลงประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา 

“ตัวเลขเงินเฟ้อเป็นตัวเลขที่แบงก์ชาติต้องจับตาดูเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยเงินเฟ้อในส่วนที่เป็นเงินเฟ้อรวมในเดือนที่ผ่านมาของไทยอยู่ที่  7.66% แต่ในส่วนที่เป็นเงินเฟ้อทั่วไป (Core Inflation) ของไทยอยู่ที่ 2.58% ถือว่าไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงนัก ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติอีก 0.75% เพื่อให้ดอกเบี้ยนโยบายไปอยู่ที่ระดับ 1.25% ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 คาดว่าเป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จากนั้นก็จะต้องดูปัจจัยอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศแต่คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคงเกิดขึ้นต่อไปอีกระยะ” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว 

'ดร.กอบศักดิ์' เชื่อ!! รัฐเคาะ 50% ของงบจัดซื้อต้องเป็นสินค้าจาก SME ช่วยกระจายเม็ดเงินกว่าแสนล้านต่อปีสู่ผู้ประกอบการ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า

นโยบายที่ใช่ เพื่อช่วย SME ในยามที่ Global recessions จะมาเยือน !!!

ต่อไป 50% ของสินค่าและบริการต่าง ๆ ที่รัฐบาลซื้อ จะต้องมาจาก SME

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริม SME กับท่านนายกฯ ได้กำหนดเป้าหมายให้ทุกส่วนราชการ จัดซื้อสินค้าและบริการจาก SME ให้ได้ 'ครึ่งหนึ่ง' ของเม็ดเงินงบประมาณในเรื่องนี้ของส่วนงานนั้น ๆ ในแต่ละปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top