Sunday, 5 May 2024
กลโกงออนไลน์

ตำรวจ ออกโรงเตือนภัย 14 รูปแบบ อาชญากรรมทางออนไลน์ช่วงเทศกาลสงกรานต์

วันที่ 10 เมษายน 2565 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร.ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส. ตร.) เปิดเผยถึง พิษภัยในโลกออนไลน์ที่นับวันจะระบาดมากขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี จึงออกมาเตือนภัยประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ให้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ รวม 14 ข้อ ดังนี้

(1)หลอกขายของออนไลน์ 

(2)คอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ข่มขู่ให้เกิดความกลัว 

(3)เงินกู้ออนไลน์ ดอกเบี้ยโหด

(4)เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) 

(5)หลอกให้ลงทุนต่างๆ 

(6)หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ 

(7)ใช้ภาพปลอมหลอกให้หลงรักแล้วโอนเงิน (Romance scam) หรือ หลอกให้ลงทุน (Hybrid scam) 

(8)ส่งลิงค์ปลอมเพื่อหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว 

(9)อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว 

(10)ปลอม Line , Facebook หรือ Account หลอกยืมเงิน 

(11)ข่าวปลอม (Fake news) - ชัวร์ก่อนแชร์ 

(12)หลอกลวงเอาภาพโป้เปลือยเพื่อใช้แบล็คเมล์ 

(13)โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศแล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย 

(14)ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน 

แฉ!! 18 กลโกงมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ที่ตำรวจอยากให้รู้ไว้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ

ก่อนอื่นต้องยอมรับเลยนะครับ ว่าเทคโนโลยีด้านการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ที่สะดวกรวดเร็วทันใจ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เป็นภัยซ่อนอยู่ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างผูกติดไว้กับโลกออนไลน์ ซึ่งต้องยอมรับนะครับ ว่าโลกออนไลน์ ยิ่งเร็ว ยิ่งสะดวก ก็ยิ่งอันตราย 

เพราะไม่แค่เทคโนโลยีเท่านั้นที่พัฒนาต่อเนื่อง แต่เหล่ามิจฉาชีพเอง ก็สรรหากลยุทธ์ กรรมวิธี และหลากหลายกลโกง เพื่อใช้หลอกลวงให้เราให้ตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย หากรู้ไม่เท่าทันอยู่เช่นกัน

ด้วยความห่วงใยจากใจทีมงาน THE STATES TIMES เราจึงได้รวบรวมข้อมูล ‘18 กลโกงมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์’ จากศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หรือ Police Cyber Taskforce (PCT Police) มาไว้ให้รู้เท่าทันทั้งหมด 18 รูปแบบ ดังนี้...

1. หลอกขายสินค้าออนไลน์ แต่พอเราสั่งไปแล้ว กลับไม่ได้รับสินค้า หรือ สินค้าที่ส่งมานั้น ไม่ตรงปกตามที่ลงรูป หรือ โฆษณา

2. หลอกให้สมัครงานเสริมออนไลน์ โดยชักชวน ให้ข้อมูลการทำงานออนไลน์ที่ไม่มีจริง จากการอ้างถึง Platform ที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็น TikTok / YouTube / Lazada หรืออื่น ๆ โดยหลอกลวงให้กดไลก์ กดแชร์ เพื่อเพิ่มยอดวิว แกล้งให้รับออเดอร์ ทำสต๊อกสินค้า จากนั้นหลอกลวงโดยใช้วิธีเรียกเก็บเงินค้ำประกันการทำงานจากเหยื่อ

3. เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง หรือเงินกู้ทิพย์นั้นเอง โดยหลอกเอาข้อมูล เงินค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม และเลขที่บัญชีธนาคารจากเหยื่อ ซึ่งหากมีการกู้เกิดขึ้นจริง ก็จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่โหดเหี้ยมสุดๆ ซึ่งจะใช้วิธีล่อลวง ชวนเชื่อจากการกู้ที่ไม่ต้องค้ำประกัน ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในโทรศัพท์ โทร.ทวงหนี้จากคนใกล้ชิด เรียกดอกเบี้ยมหาโหด

4. ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว (Call Center) โดยมุ่งเป้าโทร.หาเหยื่อ พร้อมแจ้งข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะมีการอ้างตัวเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ข่มขู่เรื่องกฎหมายการฟอกเงิน แจ้งจะมีการอายัดบัญชีธนาคาร จากนั้นล่อลวงให้เหยื่อโอนเงิน

5. หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ โดยอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีจริง ให้ผลตอบแทนสูง สร้างภาพความน่าเชื่อถือ อาทิ ลงทุนในธุรกิจน้ำมัน / พลังงาน / ทองคำ / เงินดิจิทัล / ตลาดหุ้น / Forex / ตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ และเกมออนไลน์ เป็นต้น

6. หลอกให้รักแล้วลงทุน โดยปลอมแปลง Profile เป็นบุคคลหน้าตาดี เพื่อมาตีสนิทจาก App หาคู่ หรือบัญชีออนไลน์ จากนั้นเริ่มสอนให้ลงทุน และลงทุนผ่าน App การลงทุนปลอม อาทิ เทรดหุ้น / เงินดิจิทัล / สกุลเงินปลอม หรือทอง เป็นต้น

7. หลอกให้รักแล้วโอนเงิน หรือยืมเงิน โดยใช้วิธีเดียวกัน คือปลอมแปลง Profile เป็นบุคคลหน้าตาดี ทำความรู้จักผ่านบัญชีออนไลน์ ตีสนิทหลอกให้รัก ทำทีจะส่งทรัพย์สินมีค่ามาให้จากต่างประเทศ แต่ก็หลอกล่อขอค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือหลอกให้โอนเงิน โดยอ้างว่าจะคืนให้ในภายหลัง

8. ปลอมแปลง หรือ Hack บัญชี Line / Facebook ของเพื่อน จากนั้นหลอกยืมเงิน โดยส่งข้อความขอยืมเงินมาจากบัญชีของเพื่อนที่เรารู้จัก

'มือเศรษฐกิจจุลภาค' แชร์ประสบการณ์กลโกงออนไลน์ เหยื่อส่วนใหญ่ 'ไม่โง่' แต่ไม่ทันเล่ห์ ชี้!! 'เด็ก-สูงวัย' โดนเพียบ

(3 ต.ค. 66) นายพลัฏฐ์ ศิริกุลพิสุทธิ์ มือเศรษฐกิจจุลภาค อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Ta Plus Sirikulpisut' ระบุว่า...

สังคมไร้เงินสด

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบการชำระเงินก้าวหน้าที่สุด และทั่วโลกก็กำลังเป็นระบบสังคมไร้เงินสด

การออมเงินผ่านระบบการฝากเงินใส่สมุดบัญชี เปลี่ยนเป็นระบบ Digital จากบัตร ATM สู่ App บนมือถือ และมันก็เป็นช่องทางที่เงินหลุดออกไปง่ายดายมาก ๆ ลูก ๆ ผมกำลังโตขึ้น เขาได้รับการออมเงินจากเงินที่ผู้ปกครองให้ ญาติให้ ทำงานพิเศษ ฯลฯ

วันหนึ่งเงินก็หายไปจากบัญชี จำนวนเยอะมาก ๆ หลายครั้ง จนลูกคนหนึ่งเหลือเงินในบัญชี 400 บาท เขามาบอกคุณแม่ เราเริ่มติดตามสาเหตุ พบว่าเขาถูกหลอกลงทุน ผ่านสังคมออนไลน์ เขาเพิ่งเป็นผู้ใหญ่ไม่ทันคน และที่ร้ายไปกว่านั้นก่อนหน้านี้ไม่นานลูกอีกคนก็เพิ่งเสียเงินจำนวนเยอะมาก ๆ จากเหตุการณ์คล้ายกัน ทั้งสองคนไม่โง่ แต่ไม่ทันคนคิดร้าย และเงินออกจากบัญชีง่าย ๆ มาก ถ้าหากเป็นระบบเดิม ต้องไปธนาคารเอาสมุดบัญชีถอนเงิน มันใช้เวลากว่ามาก 

ย้อนไป 30 ปีก่อน เพื่อนผมหลายคนเพิ่งมีบัตรเครดิต มันไม่ใช่เงินสด การใช้จ่ายคล่องตัว เขาใช้จนเป็นหนี้ธนาคารเยอะมาก ดอกเบี้ยก็แพง ผมถูกขอให้ช่วยเหลือ ผ่านไป 30 ปี เขาก็ยังไม่คืนเงิน เขาลืมความลำบากในการถูกเก็บดอกเบี้ยร้อยละ 20-30% ใช้ชีวิตดี แต่ปัญหาเพราะความระวังในการใช้ cashless น้อย

ผมเล่าให้เพื่อนอีกคนฟัง เขาก็ตอบว่าลูกเขาก็โดน อายุไม่มาก เป็นเด็กฉลาดเรียนเก่ง มีเงินเก็บที่พ่อแม่ให้เยอะ แต่ก็ไม่ทันคน โดนหลอกไปเยอะมาก ๆ คำว่าเยอะมาก ๆ ของผม หลายคนคงเดาได้ ถ้าเราไปบอกธนาคารเขาก็บอกเราโง่เอง 

แต่ท่านเชื่อไหมครับ ผม Search Google ง่าย ๆ ชื่อคนที่เราโอนเงินไป มีเต็มใน Google เป็นคนร้ายที่มีคดีมาก่อน ตำรวจเคยจับแล้ว 

บทความนี้เขียนเพื่อให้เพื่อน ๆ ที่อ่านระวัง มันอาจเกิดกับท่าน ลูกหลาน ผู้ใหญ่ที่ท่านรักที่อายุมากแล้ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top