Saturday, 11 May 2024
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ทัพเรือภาคที่ 1 จัดพิธีสักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณเนื่องในวันประสูติ “เสด็จเตี่ย” 19 ธันวาคม 2564

พลเรือโท พิชัย  ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 นำคณะผู้บังคับบัญชา และคณะฝ่ายอำนวยการในทัพเรือภาคที่ 1 ร่วมประกอบพิธีสักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาคุณ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย ณ กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการทัพเรือภาคที่ 1 และครอบครัว

ในวันเดียวกัน พลเรือตรี สุระศักดิ์  สิงขรวัฒน์ เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 เป็นผู้แทนทัพเรือภาคที่ 1 ประกอบพิธีเปลี่ยนธงราชนาวี เปลี่ยนธงเครื่องหมายยศในเวลา 08.00 น. เพื่อให้เกิดความสง่างามและสมพระเกียรติ เป็นไปตามดำริของ พลเรือเอก สมประสงค์  นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ จากนั้นประกอบพิธีสักการะ รวมถึงยิงสลุตถวาย ณ ศาลพระตำหนักพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะช้าง จ.ตราด โดยมีคณะฝ่ายอำนวยการในทัพเรือภาคที่ 1 หัวหน้าศูนย์รักษาความปลอดภัยทางทะเลกองทัพเรือเกาะช้าง และผู้บังคับการเรือในหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ร่วมพิธีฯ

‘วันอาภากร’ วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

วันอาภากร ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงได้รับสมัญญาเป็น องค์บิดาแห่งกองทัพเรือ ซึ่งทหารเรือยกย่องและเทิดทูนพระเกียรติคุณอย่างสูงสุด เนื่องจากพระองค์ทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการทหารเรือและนำความเจริญมั่นคงและรุ่งเรืองมีสมรรถภาพสู่กองทัพเรือเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ทำให้ทัพเรือไทยทันสมัยมีมาตรฐาน และเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยะประเทศ กองทัพเรือจึงกำหนดให้ 19 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น วันอาภากร ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ เพื่อเป็นการเทิดทูน เผยแพร่พระเกียรติคุณ และแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน

พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อ 19 ธันวาคม 2423 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง

ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศอังกฤษ ทรงมีจุดประสงค์แรงกล้าจะฝึกให้ทหารเรือไทยเดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ และสามารถรบทางเรือได้ เนื่องจากอดีตประเทศไทยต้องว่าจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้บังคับการเรือโดยตลอด

19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 วันประสูติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 วันประสูติ ‘เสด็จเตี่ย’ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอลำดับที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาคือ เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423

พระองค์ทรงได้รับถวายพระสมัญญาจากกองทัพเรือว่าเป็น 'พระบิดาของกองทัพเรือไทย' และต่อมาได้แก้ไขเป็น 'องค์บิดาของทหารเรือไทย' เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 จากพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงวางรากฐานและพัฒนาปรับปรุงทหารเรือสยามให้เจริญก้าวหน้าตามแบบประเทศตะวันตก

ส่วนกรณีที่นักเรียนนายเรือพากันเรียกพระองค์ว่า 'เสด็จเตี่ย' นั้น พลเรือโท ศรี ดาวราย สันนิษฐานว่า มาจากการที่พระองค์ทรงขัดดาดฟ้าให้นักเรียนนายเรือใหม่ ๆ ที่ฝึกภาคทางทะเลบนเรือหลวงพาลีรั้งทวีปดูเป็นแบบอย่าง ในปี พ.ศ. 2462 หลังจากที่ทอดพระเนตรเห็นนักเรียนเหล่านั้นทำงานนี้ด้วยท่าทางเงอะงะเก้งก้าง โดยตรัสกับพวกนักเรียนเหล่านั้นว่า 'อ้ายลูกชาย มานี่เตี่ยจะสอนให้'

เมื่อช่วงต้นรัชกาลที่ 6 กรมหลวงชุมพรฯ ทรงออกจากราชการซึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “…กรมหลวงชุมพรฯ ไม่ทรงสบาย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกเป็นนายทหารกองหนุนอยู่ชั่วคราว ๑ จนถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเสด็จกลับเข้ามารับราชการเป็นตำแหน่งจเรทหารเรือ…”

แต่กรณีนี้ ศรัณย์ ทองปาน มีความเห็นต่างออกไปโดยเห็นว่า “…ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ เกิดเหตุนายทหารเรือผู้หนึ่งเมาสุราในร้านอาหารสันธาโภชน์ ที่ตำบลบ้านหม้อ แล้วเกิดวิวาทกับมหาดเล็กหลวง ทำให้รัชกาลที่ ๖ ทรงพิโรธ ดังความในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า ‘…ปรากฏชัดว่าได้ฝึกสอนนักเรียนนายเรือในหนทางไม่ดี ทำให้มีจิตฟุ้งซ่านจนนับว่าเสื่อมเสียวินัยและนายของทหาร…สมควรลงโทษเป็นตัวอย่าง’

ภาษิตของคนทำจริง “กริยา เจ กริยาเถนัง จะทำสิ่งไร ควรทำจริง” สิ่งยึดเหนี่ยวสำคัญจาก ‘เสด็จเตี่ย’ 

ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจกับลูกเรือ เรือหลวงสุโขทัย ทหารเรือผู้เดินทางไปร่วมกับเรือ และผู้สูญเสียทุก ๆ ท่านนะครับ โดยส่วนตัวผมค่อนข้างมีความผูกพันกับทหารเรืออยู่มาก เพราะผมมีเพื่อนที่เป็นทหารเรือและเพื่อนที่มีภูมิลำเนาอยู่ ณ ถิ่นทหารเรืออย่างสัตหีบอยู่มากโข จึงค่อนข้างเศร้าที่ได้ฟังข่าวการอับปางของเรือหลวงสุโขทัย และรำลึกถึงเพื่อน ๆ ทหารเรือที่ได้จากไป และอยากจะขอทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้ว่าอย่าได้ปรามาสทหารเรือไทยเลยครับ เพราะพวกเขาปกป้องอธิปไตยเพื่อพวกเราคนไทยทุกคน และพวกเขาก็ทุกข์กับการสูญเสียเพื่อนทหารอันเป็นที่รักเช่นเดียวกัน 

เรื่องนี้ผมเขียนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งปกติจะมีวันที่ 19 ที่มีความสำคัญกับลูกประดู่และผมอยู่ 2 วัน วันแรกคือ วันที่ 19 พฤษภาคม ‘วันอาภากร’ วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ และอีกวันคือวันที่ 19 ธันวาคม ‘วันอาภากรรำลึก’ คือวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ แน่นอนที่ผมยกวันสำคัญ 2 วันนี้มา เพราะผมอยากจะเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ พลเรือเอก พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ‘องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย’ 

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า ‘พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์’ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด สายสกุลบุนนาค เป็นพระราชโอรสรุ่นแรกที่เสด็จไปทรงศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในทวีปยุโรป โดยเสด็จฯ ไปคราวเดียวกับ ‘สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ’ (รัชกาลที่ 6 ในกาลต่อมา) ทรงเลือกศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ และเสด็จฯ กลับสยามเมื่อมีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ในการพัฒนากองทัพเรือสยามให้สามารถเกรียงไกรเทียบเท่าอารยประเทศ โดยปรับปรุงกองทัพเรือใหม่ในทุก ๆ ด้าน เน้นหนักวิทยาการสมัยใหม่ และการฝึกเพื่อการเป็นนายทหารเรือที่เก่งกาจไม่แพ้ใครในโลก 

ถึงตรงนี้บอกก่อนผมไม่ได้จะมาเล่าเรื่องราวของพระองค์เป็นหลักนะครับ เพราะพระประวัติของพระองค์นั้นมีคนเล่าสู่กันฟังอยู่มากมายแล้ว อ้าว!!! เกริ่นมาอย่างยาวแล้วจะไปเล่าเรื่องอะไรล่ะ? ก็จะมาเล่าถึง ‘ภาษิต’ และการ ‘ทำจริง’ ของพระองค์ เพราะทั้ง 2 วันสำคัญที่ผมเกริ่นมาข้างต้น จะยกเอา ‘ภาษิต’ และการ ‘ทำจริง’ มา ‘รำลึก’ ถึงพระองค์ท่าน

“กริยา เจ กริยาเถนัง จะทำสิ่งไร ควรทำจริง” คือ ‘ภาษิต’ นั้น โดยปรากฏอยู่บนตราประจำพระองค์ ซึ่งเป็นตราประจำราชสกุล ‘อาภากร’ คือ ตราสุริยมณฑล มีสุริยเทพบุตร อยู่บนราชรถเทียมสิงห์ แล้วคุณเชื่อไหม? ตราประจำองค์นี้ได้มาเมื่อพระองค์ถูกปลดจากราชการทหารเรือ!!!! และผู้ที่พระราชทานตราประจำพระองค์นี่ก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ปลดพระองค์จากทหารเรือนั่นเอง!!! ด้วยสาเหตุคือทรง “ฝึกสอนนักเรียนนายเรือในหนทางไม่ดี ทำให้มีจิตร์ฟุ้งสร้าน…” แต่ในท้ายที่สุดมูลเหตุที่ทรงตัดสินพระราชหฤทัยในคราวนั้น พบคำตอบที่ชัดเจนใน “ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 เล่ม 2” ว่า... 

“เพราะไม่เสด็จไปทรงงานที่กระทรวงทหารเรือ ทั้งยังทรงเป็นต้นแบบให้นายทหารเรือรุ่นหนุ่มคิดกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา” เนื่องจาก ‘เสด็จเตี่ย’ อยากต่อรองสวัสดิการต่าง ๆ ให้ทหารเรือ แต่เมื่อท้ายที่สุดในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยความว่า “ใน พ.ศ. 2454 นั้นเอง, กรมชุมพรได้ขอเข้ารับราชการในกองทัพเรือตามเดิมบังเกิดความรู้สึกกระดากขึ้นในใจว่าอาจจะได้ประพฤติต่อกรมชุมพรข้อนข้างแรงเกินไปสักหน่อย เมื่อคำนึงดูว่าทั้งผู้ที่เปนโจทก์ ทั้งผู้ที่ได้เปนที่ปรึกษาในเมื่อวินิจฉัยคดีนั้นเปนผู้ที่ไม่ชอบกับกรมชุมพรส่วนตัวอยู่ แต่กรมชุมพรก็มีความผิดจริงอยู่ด้วย ดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งจะละเลยเสียทีเดียวนั้นก็หาได้ไม่” ซึ่งด้วยความ ‘ทำจริง’ ของทั้งในหลวงรัชกาลที่ 6 และ ‘เสด็จในกรม’ ทำให้เกิดตราประจำองค์ในระหว่างถูกปลดจากการเป็นทหารเรือขึ้นนั่นเอง 

ตราประจำพระองค์นี้ ‘เสด็จในกรม’ ได้มาหลังจากทรงถูกปลด 3 เดือน โดยการที่ได้มานั้น พระองค์ได้ทรงสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองเสือป่า ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงใฝ่พระราชหฤทัย ที่จะได้ฝึกฝนข้าราชการพลเรือนให้มีความรู้วิชาทหาร และมีวินัย จนกระทั่งได้รับพระราชทานธงประจำพระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและทรงออกแบบธงประจำตัวนายเสือป่าชั้นสัญญาบัตรพระราชทานให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งธงประจำพระองค์ของ ‘เสด็จในกรม’ มีพื้นธงสีแดงชาดตามวันประสูติ คือวันอาทิตย์ ลายในธงเป็นรูปสุริยมณฑล คือรูปพระอาทิตย์ ซึ่งงานช่างอย่างไทยเขียนเป็นรูปราชรถเทียมสิงห์อยู่ภายในวงกลม

ทำไม? ต้องเป็น ‘รูปสุริยมณฑล’ สันนิษฐานได้จากพระนาม ‘อาภากร’ อันมีความหมายว่า ‘พระอาทิตย์’ และมีนัยถึงการที่ทรงสืบสายสกุลจากราชนิกุลบุนนาคในสมเด็จพระเจ้ายาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งถือตราประจำตัวเป็นตราสุริยมณฑลเช่นกัน และจากพระนามของพระองค์ ‘อาภากรเกียรติวงศ์’ ซึ่งแปลว่า ‘ผู้เกิดในวงศ์ตะวันอันมีเกียรติ’ ซึ่งในช่วงชีวิตของพระองค์ พระองค์ก็เปรียบดังดวงตะวันของเหล่าทหารเรือ 

ส่วน ‘กยิรา เจ กยิราเถนํ’ ออกเสียงอ่านว่า ‘กะ ยิ รา เจ กะ ยิ รา เถ นัง’ เป็นวรรคหนึ่งของคาถาภาษาบาลีซึ่งมีเต็ม ๆ 4 วรรค (1 บาท) ข้อความเต็มทั้ง 4 บาท มีดังนี้

กยิรา เจ กยิราเถนํ           ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม
สิถิโล หิ ปริ พ พฺ าโช      สว ภิยฺโย อากิรเต รชํ

คาถานี้เป็นพระพุทธพจน์มีปรากฏในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ถ้อยคำที่ใครคนหนึ่งแต่งขึ้นในภายหลังข้อความนี้ เป็นถ้อยคำที่หยิบยกมาจากพระไตรปิฎก ภาษาบาลีนิยมเขียนแยกเป็นคำ ๆ คาถาประจำพระองค์ จึงต้องแยกเป็นคำ ๆ คือต้องเขียนว่า กยิรา เจ กยิราเถนํ แต่คาถาประจำพระองค์เท่าที่ปรากฏมักเขียนต่าง ๆ กัน อาทิ เขียนติดกันไปหมดเป็น กยิราเจกยิราเถนํ / แยกเป็น 2 วรรค คือเป็น กยิราเจ กยิราเถนํ มีบางแห่งแยกเป็น 3 วรรคเหมือนกัน แต่เป็น กยิราเจ กยิรา เถนํ ซึ่งไม่ถูกหลักการเขียนภาษาบาลี ซึ่งคาถา / ภาษิตนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้ทรงยกมาประกอบตราสุริยมณฑล โดยทรงคำนึงถึงพระบุคลิกของ ‘พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากร’ เป็นสำคัญ

นอกจากภาษิตประกอบตราประจำพระองค์แล้วนั้น ‘เสด็จเตี่ย’ ยังได้ทรงพระนิพนธ์โคลงกลอนสอนใจ กยิราเจ กยิราเถนํ

“จะทำสิ่งไร ควรทำให้จริง” ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้…

ทำงานทำจริงเจ้า               จงทำ                Work While you Work
ระหว่างเล่นควรจำ                  เล่นแท้              Play While you Play
หนทางเช่นนี้นำ                     เป็นสุข              That is the Way 
ก่อให้เกิดรื่นเริงแม้                  นับถือทวีคูณ        To be cheerful and gay 
ทุกสิ่งทำเช่นนั้น               ควรตรอง           All that you do 
โดยแน่สุดทำนอง                  ที่รู้                      Do With  your might 
สิ่งใดทำเป็นลอง                   ครึ่งครึ่ง               Things done by half 
สิ่งนั้นไม่ควรกู้                     ก่อให้เป็นจริง      Are never done right

“ตอกตะปูลงตรง นะเจ้าเด็ก        เสียงเป๊กตีตรง ลงที่หัว
เมื่อเจ้าตีเหล็กนะ เจ้าอย่ากลัว        ตีเมื่อตัวเหล็กยังแดง เป็นแสงไฟ
เมื่องานมีที่ต้องทำ นะเจ้าเด็ก        เป็นข้อเอกทำจริง ไม่ทิ้งไถล
ที่เขาขึ้นยอดได้ สบายใจ        ก็เพราะได้ปีนเดิน ขึ้นเนินมา
ถ้าเด็กใดยืนแช อยู่แต่ล่าง        แหงนคว้างมองแล สู่เวหา
จะขึ้นได้อย่างไร นะลูกยา        ทำแต่ท่าแต่ไม่ลอง ทำนองปีน
ถึงหกล้มหกลุก นะลูกแก้ว        อย่างทำแซ่วเสียใจ ไม่ถวิล
ลองเถิดลองอีกนะ อย่าราคิน        ที่สุดสิ้นเจ้าคงสม อารมณ์เอย." 

ตัวอย่างการ ‘ทำจริง’ ที่ยกตัวอย่างได้ถนัด ก็เช่นครั้งที่พระองค์ถูกปลดจากทหารเรือประจำการแล้วทรงมาเป็น ‘หมอพร’ ครั้งนั้นก็ทรงจริงจังกับการเป็นหมอพร ด้วยการทรงศึกษาวิชาแพทย์ทั้งของไทยและฝรั่ง ทรงนำความรู้ทั้ง 2 แบบมาผสมผสานและทดลอง ทำจริงจนเขียนตำรับยา ตำรับการรักษาได้ ทรงรักษาผู้เจ็บป่วยทั่วไปได้จริง โดยไม่คิดเงิน รักษาอย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ ด้วยการ ‘ทำจริง’ ทำให้ผู้คนที่ พาลนึกไปว่าพระองค์เปรียบเหมือน ‘เทวดา’ ที่ลงมาโปรดมนุษย์ในโลกมากกว่าจะเป็นเจ้านาย จึงพร้อมใจขานนามพระองค์ว่า ‘หมอพรเทวดา’

ศรชล.ประจวบ จัดพิธีบวงสรวงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ศรชล.ครบ 4

เมื่อเวลา 09:00 น.(9 มี.ค. 66) ที่บริเวณอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย หมู่ 3 บ้านขั้นกระได ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(ศรชล.ปข.) ได้จัดพิธีบวงสรวงสักการะ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี่ย เนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.) ครบ 4 ปี ในวันที่ 9 มีนาคม 2566 โดยมี นาวาเอก เรืองฤทธิ์ แสงแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(ศรชล.ปข.)เป็นประธานในพิธีบวงสรวงแทนผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีผู้แทนกองบิน 5 ผู้แทนหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กอ.รมน.จังหวัด ประมงจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาประจวบคีรีขันธ์ กองบังคับการตำรวจน้ำ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพประมง เข้าร่วมพิธีและทำกิจกรรมโดยพร้อมเพรียง

กองทัพเรือจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี “เสด็จเตี่ย” ณ อาคารอเนกประสงค์ พิพิธภัณท์ทหารเรือ (อาคาร Utility Hall) พร้อมให้ข้าราชการทหารเรือและประชาชนที่สนใจเข้าชม

วันที่ 11 พ.ค.66 พล.ร.อ.สุวิน  แจ้งยอดสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะประธานกรรมการจัดงานครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ติดตามความพร้อมในการจัดแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบวันสิ้นพระชนม์  100 ปีฯ เพื่อเปิดให้ข้าราชการทหารเรือ และประชาชนเข้าชมได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่ 12 พ.ค.66 เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ พิพิธภัณท์ทหารเรือ (อาคาร Utility Hall) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

การจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าวดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกและการจัดกิจกรรมด้านวิชาการ การจัดงานครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปีฯ ได้กำหนดกรอบและนำวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญจัดแสดงนิทรรศการฯ เพื่อเทิดพระเกียรติ “เสด็จเตี่ย” ที่ทรงวางรากฐานให้กองทัพเรือเป็นปึกแผ่นตราบจนปัจจุบัน ณ ห้องโถงชั้นล่างของอาคารอเนกประสงค์ (Utility Hall) ดังนี้

'กองทัพเรือ’ จัดกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 49 เพื่อเทิดพระเกียรติ ‘พระบิดาแห่งทหารเรือไทย’

วันนี้ (14 มิ.ย. 2566) ที่หอประชุมกองทัพเรือ พล.ร.อ.เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานการแถลงข่าวการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตครั้งที่ 49 "แสงทิพย์แห่งอาภากร เสียงทิพย์จากราชนาวี" เทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งทหารเรือไทย พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ 

เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ และเพื่อเผยแพร่ดนตรีแนวคลาสสิกให้นิยมแพร่หลาย รวมทั้งจัดหารายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและสาธารณภัย โครงการศูนย์มะเร็งเต้านม กิจการอาสายุวกาชาด ศูนย์รับบริจาคอวัยวะต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งได้มีการจัดแสดงเป็นประจำทุกปี 
    
ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้ ว่ากองทัพเรือจะเป็นองค์กรกลางนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทย โดยการแสดงคอนเสิร์ตครั้งนี้ จะจัดขึ้นสองวัน คือวันที่ 27 มิ.ย. และ 28 มิ.ย. (รอบเสด็จพระราชดำเนิน) ในเวลา 19.30 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

การแสดงกาชาดคอนเสิร์ตครั้งที่ 49 "แสงทิพย์แห่งอาภากร เสียงทิพย์จากราชนาวี" จะบรรเลงเพลงคลาสสิคและเพลงร่วมสมัย โดยวง Symphony orchestra ดุริยางค์ราชนาวี กองดุริยางค์ทหารเรือ และขับร้องโดยนักร้องรับเชิญ ได้แก่ ธงไชย แมคอินไตย์ สหรัถ สังคปรีชา ปิยนุช เสือจงพรู (จิ๋ว นิวจิ๋ว) กิต The Voice อาร์ม กรกันต์ เป็นต้น

ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ผ่านบัญชี ธนาคารไทยธนชาต บัญชีเลขที่ 115-1-07541-115 และบัญชีธนาคารกรุงไทย หมายเลขบัญชี 662-3-43960-9 ชื่อบัญชี "กาชาดคอนเสิร์ตครั้งที่ 49" ทั้งนี้ ผู้บริจาคเงิน จะได้รับสิทธิประโยชน์จากสภากาชาดไทยและกองทัพเรือ นอกจากนั้น ใบเสร็จรับเงิน ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage : กองทัพเรือ Royal Thai Navy และกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ และกรมการเงินทหารเรือ โทรศัพท์ 02-4755683
 

19 ธันวาคม พ.ศ. 2423  วันประสูติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 วันประสูติ ‘เสด็จเตี่ย’ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดากองทัพเรือไทย

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอลำดับที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาคือ เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423

พระองค์ทรงได้รับถวายพระสมัญญาจากกองทัพเรือว่าเป็น 'พระบิดาของกองทัพเรือไทย' และต่อมาได้แก้ไขเป็น 'องค์บิดาของทหารเรือไทย' เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 จากพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงวางรากฐานและพัฒนาปรับปรุงทหารเรือสยามให้เจริญก้าวหน้าตามแบบประเทศตะวันตก

ส่วนกรณีที่นักเรียนนายเรือพากันเรียกพระองค์ว่า 'เสด็จเตี่ย' นั้น พลเรือโท ศรี ดาวราย สันนิษฐานว่า มาจากการที่พระองค์ทรงขัดดาดฟ้าให้นักเรียนนายเรือใหม่ ๆ ที่ฝึกภาคทางทะเลบนเรือหลวงพาลีรั้งทวีปดูเป็นแบบอย่าง ในปี พ.ศ. 2462 หลังจากที่ทอดพระเนตรเห็นนักเรียนเหล่านั้นทำงานนี้ด้วยท่าทางเงอะงะเก้งก้าง โดยตรัสกับพวกนักเรียนเหล่านั้นว่า 'อ้ายลูกชาย มานี่เตี่ยจะสอนให้'

เมื่อช่วงต้นรัชกาลที่ 6 กรมหลวงชุมพรฯ ทรงออกจากราชการซึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “…กรมหลวงชุมพรฯ ไม่ทรงสบาย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกเป็นนายทหารกองหนุนอยู่ชั่วคราว ๑ จนถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเสด็จกลับเข้ามารับราชการเป็นตำแหน่งจเรทหารเรือ…”

แต่กรณีนี้ ศรัณย์ ทองปาน มีความเห็นต่างออกไปโดยเห็นว่า “…ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ เกิดเหตุนายทหารเรือผู้หนึ่งเมาสุราในร้านอาหารสันธาโภชน์ ที่ตำบลบ้านหม้อ แล้วเกิดวิวาทกับมหาดเล็กหลวง ทำให้รัชกาลที่ ๖ ทรงพิโรธ ดังความในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า ‘…ปรากฏชัดว่าได้ฝึกสอนนักเรียนนายเรือในหนทางไม่ดี ทำให้มีจิตฟุ้งซ่านจนนับว่าเสื่อมเสียวินัยและนายของทหาร…สมควรลงโทษเป็นตัวอย่าง’

ประกอบกับมีข่าวลือว่า กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์กับกรมขุนนครสวรรค์วรพินิต กำลังวางแผนก่อกบฏ ชิงราชสมบัติ โดยแม้ว่าพระองค์ทรงออกจากราชการแล้วทางการก็ยังให้ตำรวจท้องที่คอยติดตามการเคลื่อนไหวของพระองค์…”

ระหว่างที่ทรงอยู่นอกราชการ กรมหลวงชุมพรฯ ทรงหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นหมอยา ใช้พระนามว่า 'หมอพร' ในช่วงนี้เองที่กล่าวกันว่า ทรงปราบนักเลงนางเลิ้งได้อยู่หมัด ได้นักเลงมาเป็นลูกน้องด้วย ช่วงเวลานี้กินเวลาราว 6 ปี พระองค์จึงได้กลับเข้ารับราชการกองทัพเรืออีกครั้ง หลังสยามประกาศสงครามกับเยอรมนี

เมื่อได้เสด็จกลับเข้ารับราชการทหารเรือและทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติราชการทหารเรือด้วยพระอุตสาหะวิริยะแล้วก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนพระยศเป็นนายพลเรือโท และนายพลเรือเอก ทั้งยังได้โปรดเกล้าฯ เฉลิมพระอิสริยยศเป็น กรมขุนและกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตามลำดับ กับได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ ซึ่งเป็นตำแหน่งบังคับบัญชากำลังพลเทียบเท่าตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือในปัจจุบัน ก่อนที่จะโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรืออันเป็นตำแหน่งสูงสุดในราชการทหารเรือ

ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ กรมหลวงชุมพรฯ ได้กราบถวายบังคมลาออกไปรักษาพระองค์ที่มณฑลสุราษฎร์ซึ่งเดิมมีชื่อว่า 'มณฑลชุมพร' อันพ้องกับพระนามกรม และได้ประชวรสิ้นพระชนม์เสียที่นั้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top