Friday, 3 May 2024
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

‘ปคบ.-สบส.’ รวบ ‘2 หมอเถื่อน’ ลอบเปิดคลินิกรักษาโรค ย่าน กทม.-ปทุม ไม่มีใบอนุญาต อ้าง!! ทำด้วยใจรัก

(20 มี.ค. 66) พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นำกำลังเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 2 จุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจ.ปทุมธานี เพื่อจับกุมคลินิกลักลอบเปิดบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และรักษาโดยแพทย์ซึ่งไม่มีใบประกอบวิชาชีพ จุดแรก เป็นคลินิกเวชกรรม ตั้งอยู่บริเวณถนนราษฎร์พัฒนา เคหะร่มเกล้า 31 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กทม. เมื่อเจ้าหน้าที่ เข้าไปถึงพบคลินิกดังกล่าวกำลังเปิดให้บริการประชาชน โดยมีนายรัฐภูมิ อายุ 51 ปี แสดงตัวเป็นแพทย์ตรวจรักษา เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวเข้าตรวจสอบ พบสถานพยาบาลดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ และใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล เช่นเดียวกับตัวนายรัฐภูมิ ที่แสดงตัวเป็นแพทย์ ก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

จุฬาฯ สานพลัง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. ผลิตหลักสูตรระยะสั้นด้านสุขภาพและการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูงและผู้ประกอบการด้านสุขภาพ ผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยสู่นานาชาติ

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาหลักสูตร Lifelong Learning ด้านสุขภาพและการแพทย์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ทุกระดับ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรในอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ สอดรับกับกระแสโลก ตลอดจนร่วมกันจัดทำโครงการจัดการความรู้ การพัฒนางานวิจัย รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ และ/หรือ นวัตกรรมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อไปในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามความร่วมมือในครั้งนี้


การลงนามความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กรในครั้งนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่สอดคล้องกันที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิทยาการความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในระดับโลกถือเป็นโอกาสของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยด้วยอุตสาหกรรมการแพทย์ จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในด้านการธุรกิจและบริการด้านสุขภาพรองรับการเติบโต โดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ครอบคุลมทุกช่วงวัย มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) จึงเป็นที่มาของผนึกกำลังระหว่างองค์กร เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้นภายใต้ของตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้


ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งหวังที่จะนำความรู้วิชาการทางด้านสุขภาพและการแพทย์ใหม่ ๆ ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมาถ่ายทอดสู่ผู้นำของประเทศที่มีสมรรถนะในการสร้างสรรค์องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มุ่งสู่ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) 17 เป้าหมาย การที่จุฬาฯ ได้ผนึกกำลังร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรในอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในการพัฒนากำลังคนของประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงของประเทศต่อไป


นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีพันธกิจที่มุ่งพัฒนากำลังคนคุณภาพในระบบเศรษฐกิจสุขภาพ หลักสำคัญคือการผลักดันและส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศได้เพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยในการขับเคลื่อนในการพัฒนากำลังคนของประเทศที่มีประสิทธิภาพสูง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ในรูปแบบหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิต จึงเกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะมีความร่วมมือกันในการพัฒนาหลักสูตร 
การจัดการความรู้ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร เพื่อตอกย้ำเจตนารมย์ของความร่วมมือดังกล่าว จึงได้เปิดตัวแนะนำหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และธุรกิจสุขภาพ หลักสูตรแรกของประเทศไทย หลักสูตร “เวฬา” หรือ “Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA)” ซึ่งเป็นหลักสูตรภายใต้ความร่วมมือระหว่างระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยรวมองค์ความรู้ล้ำสมัย เช่น การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Reverse Aging) สุขภาพเพศกับการมีอายุยืน (Sexual Health & Longevity) เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) การนอนหลับ และสุขภาพจิต (Sleep and Mental Health) เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top