Sunday, 12 May 2024
UN

UN ยกไทย ‘ชนะเลิศ’ สกัดกั้นไวรัสโควิด 2021 สาขาเตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

นายอัษฎางค์ ยมนาค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า…

ข่าวดีๆ วันศุกร์

UN ให้ไทยชนะเลิศที่ 1 ผลงานการสกัดกั้นโรคไวรัสโคโรนา 2021

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2564 :
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทย ได้รับมอบรางวัลชนะเลิศ ของ UNPSA
(United Nations Public Service Awards)

‘ไบเดน’ หนุนญี่ปุ่น ขึ้นแท่นสมาชิกถาวรชาติที่ 6 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

โจ ไบเดน ผู้นำแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวขณะไปเยือนกรุงโตเกียว เพื่อพบปะกับ นายคิชิดะ ฟุมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า เขาพร้อมที่จะสนับสนุนญี่ปุ่นเป็นสมาชิกถาวรชาติที่ 6 ของ UN Security Council หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่เป็นหนึ่งในองค์กรเสาหลักที่สำคัญมากของ UN

แต่เริ่มเดิมที คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะประกอบด้วยสมาชิกถาวรเพียง 5 ชาติเท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และจีน และสมาชิกไม่ถาวรอีก 10 ชาติ ที่มาจากการเลือกตั้งผ่านที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยกลุ่มสมาชิกไม่ถาวรจะมีวาระเพียงแค่ 2 ปี และไม่สามารถอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง 2 สมัยติดกันได้

สำหรับที่มาของประเด็นนี้ มาจากหัวข้อการหารือจากการประชุมร่วมกันระหว่าง 2 ผู้นำ โดย โจ ไบเดน ต้องการยกระดับ ความเป็นพันธมิตรของ ‘ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ’ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ตั้งของญี่ปุ่นมีความอ่อนไหวในเชิงภูมิรัฐศาสตร์อย่างมาก เพราะมีเขตน่านน้ำที่ติดกับ จีน และ รัสเซีย 

ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ ยังมีสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน, การแผ่อิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้ แถมยังมีเกาหลีเหนือที่กลับมาพัฒนาขีปนาวุธ และหัวรบนิวเคลียร์อีกครั้ง 

และนั่นก็ผลักให้ คิชิดะ ต้องทำข้อตกลงกับโจ ไบเดน ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเพิ่มงบประมาณด้านการทหารและป้องกันประเทศเพิ่ม รวมถึงความร่วมมือด้านการทหารระหว่างญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ที่อาจหมายถึงการจัดซื้ออาวุธ การส่งกำลังพลทหารอเมริกันเข้ามาประจำในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น แม้จะมีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากออกมาคัดค้านการตั้งฐานทัพอเมริกันในแผ่นดินญี่ปุ่นก็ตาม  

จากเหตุผลทั้งหมด  ทำให้ภายหลังการพบปะกับผู้นำญี่ปุ่น ทาง โจ ไบเดน จึงได้ออกมาประกาศสนับสนุนญี่ปุ่น ให้ได้เข้าเป็นสมาชิกถาวร ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่จะมีอำนาจในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าแทรกแซงในดินแดนที่มีปัญหา หรือ ลงมติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับประเทศที่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามได้ 

ยิ่งไปกว่านั้น หากเพิ่มญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกถาวรได้ ก็จะเป็นการเพิ่มตัวแทนในเขตภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค เพื่อคานอำนาจของจีนบนเวทีสหประชาชาติ แต่ถึงกระนั้นความต้องการปฏิรูปโครงสร้างสมาชิกเสาหลักของ UN ก็ไม่ได้มีเฉพาะสหรัฐอเมริกา เพราะยังมีกลุ่มประเทศ G7 ที่ได้เคยเสนอเพิ่มประเทศสมาชิกถาวรประเทศที่ 6 มาแล้ว 

โลกกำลังอยู่ในภาวะถดถอย หนักกว่า '2008 และ โควิด19' หวั่น!! ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียกระทบรุนแรง

สำนักข่าว CNBC ได้เผยแพร่รายงาน Trade and Development Report 2022 ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า นโยบายการเงินและการคลังในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจจะผลักดันให้เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยและหยุดชะงัก

ทั้งนี้ UN เตือนว่า การชะลอตัวทั่วโลกอาจสร้างความเสียหายที่เลวร้ายยิ่งกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 และวิกฤตของโรคโควิด-19 ในปี 2020 

พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า ทุกภูมิภาคจะได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง แต่ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยหลายประเทศในกลุ่มนี้ใกล้จะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะในเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกที่มีปัญหาหนี้มีเพิ่มขึ้น เช่น ศรีลังกา, อัฟกานิสถาน, ตุรกี และปากีสถาน

ทั้งนี้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกกำลังเดินหน้าเต็มที่สู่ภาวะถดถอย หากธนาคารกลางยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่คำนึงถึงการใช้เครื่องมืออื่น ๆ และไม่ได้พิจารณาเศรษฐกิจในฝั่งอุปทาน พร้อมกับเตือนว่า ไม่มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ

24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ หรือ ‘ยูเอ็น’ (United Nation : UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ จึงถือเอาวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็น ‘วันสหประชาชาติ’

24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 องค์การสหประชาชาติ หรือ 'ยูเอ็น' (United Nation : UN) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้เริ่มก่อตั้ง 51 ประเทศ นำโดยประเทศมหาอำนาจของโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน ลงนามให้สัตยาบันรับรอง 'กฎบัตรสหประชาชาติ' (United Nations Charter) ซึ่งเป็นธรรมนูญของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ 

หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกัน 'ซ้อมทรมาน-อุ้มหาย' ช่วยยกระดับ ขจัดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นายกฯ ยินดี สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชน UN ชื่นชมไทยที่ประกาศใช้ พ.ร.บ. ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย ยืนยัน ขจัดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยกระดับ การคุ้มครองสิทธิ ตามมาตรฐานสากล

(3 พ.ย. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights: OHCHR) เห็นถึงความพยายามของรัฐบาล โดยชื่นชมประเทศไทยที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565

นายอนุชา กล่าวว่า สำนักงานเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมองว่า พระราชบัญญัติฯ ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นก้าวสำคัญในการปฏิบัติตามคำมั่นของไทยเพื่อขจัดการกระทำทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหายให้หมดสิ้น และเป็นการให้ความยุติธรรมกับผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งพระราชบัญญัติฯ มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องสิทธิในการที่จะไม่ถูกทรมานเป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจระงับชั่วคราวได้ (non-derogation) และหลักการไม่ส่งใครกลับไปเผชิญอันตราย (non-refoulement) ซึ่งป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ขับไล่ เนรเทศ หรือส่งบุคคลใดไปยังอีกประเทศหนึ่งที่อาจเผชิญความเสี่ยงต่อการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย

ชาติสมาชิกยูเอ็นแสดงจุดยืน ‘ไม่เลือกข้าง’ ถอนวาระ ‘รมต.NUG’ เข้าร่วมงาน GTH 2022

เป็นอะไรที่เซอร์ไพรส์มากกับข่าวของ Daw Zin Mar Aung รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเงาของเมียนมา (NUG) และทีมของเธอได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Global Town Hall 2022 (GTH 2022) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

แต่ในงานกลับเซอร์ไพรส์กว่า เมื่อมีการถอนวาระของเธอออกจากการประชุมในนาทีสุดท้าย ด้วยเหตุผลที่ทางตัวแทนชาติสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้กล่าวกับผู้จัดงานว่า หากให้ Daw Zin Mar Aung และทีมงานของเธอเข้าร่วมในงานครั้งนี้ ก็เท่ากับเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในเมียนมา ซึ่งเพียงแค่นี้ก็แสดงให้เห็นจุดยืนของตัวแทนชาติสมาชิกในงานประชุมครั้งนี้ในระดับหนึ่งแล้ว 

ทั้งนี้หากวิเคราะห์ว่าทำไมทางสหประชาติถึงไปกล่าวกับผู้จัดงาน จนทำให้เกิดการถอนวาระนี้ในที่สุด ก็เพราะว่า…

1.) ประเทศสมาชิกของสหประชาติมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุน NUG ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ NUG และฝ่ายที่วางตัวเป็นกลาง หากการที่ตัวแทนชาติสมาชิกในงานประชุมครั้งนี้ยอมรับให้ทาง NUG เข้าร่วมอาจจะส่งผลในบทบาทบนเวที UN ได้

2.) ทางตัวแทนชาติสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมนี้ น่าจะได้ประเมินแล้วว่าการให้ NUG มากล่าวโดยไม่มีฝ่ายกองทัพมาพูดเป็น ก็เสมือนสนับสนุนการกระทำของฝ่าย NUG นั้นว่าถูกต้อง

3.) ฝ่าย NUG นั้นยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนการต่อสู้ของ PDF ที่ก่อความไม่สงบและเข่นฆ่าผู้คนในเมียนมาในขณะนี้ด้วยเช่นกัน

พบ 'เด็กสาว' รอดชีวิต เหตุแผ่นดินไหวตุรเคีย-ซีเรีย หลังติดอยู่ใต้ซากตึกนานกว่า 11 วัน รวม 260 ชม.!!

(17 ก.พ. 66) ยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวตุรเคียและซีเรีย แตะ 44,000 รายแล้ว ปาฏิหาริย์วันที่ 11 สามารถช่วยเด็กติดใต้ซากปรักหักพังนานสุด 260 ชั่วโมง

ความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหวตุรเคียและซีเรีย ยอดผู้เสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นแตะ 44,000 รายแล้ว จากการรายงานล่าสุดของซีเอ็นเอ็น โดยเสียชีวิตในตุรเคีย 38,044 คน ส่วนในซีเรียราว 5,800 คน อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้สูญหายอีกหลายพันคน ที่คาดว่าติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง แต่ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิต ได้เข้าสู่ช่วงท้ายสุด และกำลังจะปิดลงแล้ว ทั้งรัฐบาลตุรเคียและซีเรียยังไม่เคยยืนยันจำนวนผู้สูญหายจากแผ่นดินไหว

แต่ปาฏิหาริย์ยังคงเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (16 ก.พ. 66) ซึ่งเข้าสู่วันที่ 11 หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ผู้รอดชีวิตล่าสุดที่พบใต้ติดอยู่ซากปรักหักพัง นานสุด 260 ชั่วโมง

ทีมกู้ภัยทำงานกันตลอดทั้งคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา จนสามารถดึงตัวเด็กชาย 1 คน ที่รอดชีวิต ขึ้นมาจากใต้ซากปรักหักพังได้ ในช่วงเช้าวันศุกร์นี้ (17 ก.พ.) หลังเด็กน้อยติดอยู่นาน 260 ชั่วโมง นับเป็นผู้รอดชีวิตที่ติดใต้ซากนานที่สุดเท่าที่พบจนถึงวันนี้ ทุกคนต่างส่งเสียงโห่ร้องและปรบมือด้วยความดีใจ เมื่อดึงตัวเด็กชายออกจากใต้ซากปรักหักพังได้อย่างปลอดภัย และนำตัวส่งโรงพยาบาลแล้ว

และเมื่อวานนี้ (16 ก.พ. 66) ซึ่งเป็นวันที่ 11 หลังแผ่นดินไหวยังพบผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซากตึกนานกว่า 248 ชั่วโมงอีก 3 คน เป็นเยาวชน 2 คน คือเด็กชายอายุ 12 ปีชื่อ 'ออสมาน', เด็กสาววัยรุ่นอายุ 17 ปี ชื่อ 'อาเลย์นา โอลเมซ' และหญิงวัย 30 ปีอีก 1 คน

อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิต ได้เปลี่ยนไปเป็นการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหว และสถานการณ์ล่าสุดในตุรเคีย เริ่มใช้รถขุดตักเก็บกวาดซากปรักหักพังแล้ว หลังจากไม่คาดคิดว่าจะพบผู้รอดชีวิตจากใต้ซากแล้ว ในขณะที่ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตหลายล้านคนจากแผ่นดินไหว ประสบอุปสรรคจากความหนาวเหน็บของฤดูหนาว ที่แผ่ไปทั่วพื้นที่แผ่นดินไหวในตุรเคีย

สหประชาชาติ (UN) ลงมติอย่างท่วมท้น เรียกร้องรัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนทันที

สหประชาชาติลงมติอย่างท่วมท้นในวันพฤหัสบดี (23 ก.พ.) ในนั้นมีไทยด้วย เรียกร้องรัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนทันทีและไม่มีเงื่อนไข ท่ามกลางเสียงเรียกร้องสำหรับสันติภาพที่ยั่งยืน ในวาระครบรอบ 1 ปีของสงคราม

ยูเครนได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในการลงมติแบบไม่มีข้อผูกพัน ที่พบเห็นสมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 141 ชาติ จากทั้งหมด 193 ชาติ ยกมือเห็นชอบ ส่วนที่คัดค้านมี 7 ประเทศ และงดออกเสียง 32 ชาติ ในนั้นรวมถึงจีน และอินเดีย

ไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงวาระครบรอบ 1 ปีของสงครามอันโหดร้ายป่าเถื่อน แรงสนับสนุนที่มีต่อเคียฟแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการลงมติหนสุดท้ายเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน โดยคราวนั้นมี 143 ชาติที่ร่วมลงมติประณามความเคลื่อนไหวของรัสเซีย ที่ผนวก 4 แคว้นของยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน

"วันนี้ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติส่งเสียงชัดเจนมาก" โจเซฟ บอร์เรล ประธานนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปกล่าว "ผลโหวตนี้แสดงให้เห็นว่าประชาคมนานาชาติยืนหยัดเคียงข้างยูเครน"

การลงมติครั้งนี้มีขึ้นตามหลังการอภิปรายเป็นเวลา 2 วัน ซึ่ง ดมีโทร คูเลบา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน เรียกร้องประชาคมนานาชาติเลือกระหว่างความดีกับปีศาจ นอกจากนี้ เขายังปฏิเสธความคิดที่ว่าเคียฟได้รับแรงสนับสนุนจากตะวันตก สหภาพยุโรป สหรัฐฯและพันธมิตรหลักๆ เท่านั้น

"ผลของการลงมติเป็นสิ่งที่โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ว่าบรรดาประเทศซีกโลกใต้ไม่ได้ยืนหยัดอยู่ฝ่ายยูเครน เพราะว่าในวันนี้ ตัวแทนของหลายประเทศจากละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชียยกมือเห็นชอบ" คูเลบากล่าว "แรงสนับสนุนกว้างขวางขึ้น และมันจะมีแต่ความเป็นหนึ่งเดียวกันและความเป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น"

อันเดรีย์ เยอร์มัค หัวหน้าคณะทำงานของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน แสดงความขอบคุณทุกประเทศที่ยืนหยัดเพื่อยูเครน ในวาระครบรอบ 1 ปีของการรุกรานโดยปราศจากการยั่วยุของรัสเซีย

มตินี้เป็นการเน้นย้ำการสนับสนุนอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน ปฏิเสธคำกล่าวอ้างใดๆ ของรัสเซียที่อ้างว่าดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนของพวกเขา

นอกจากนี้ มันยังเรียกร้องให้สหพันธรัฐรัสเซียถอนทหารทันที โดยสิ้นเชิงและอย่างไม่มีเงื่อนไข ออกจากดินแดนของยูเครน ที่ได้รับการรับรองจากนานาชาติ และเรียกร้องขอให้หยุดความเป็นปรปักษ์

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าผลการโหวตครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่ามอสโกกำลังถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวทีโลก หลังสงครามลากยาวมานาน 12 เดือน โดยพวกเขาได้รับแรงสนับสนุนจากเพียงแค่ 6 ชาติสมาชิกเท่านั้น อันประกอบด้วย เบลารุส ซีเรีย เกาหลีเหนือ มาลี นิการากัว และเอริเทรีย

แม้ได้รับแรงสนับสนุนอย่างจำกัด แต่ที่ผ่านๆ มา รัสเซียใช้อำนาจสิทธิในการวีโต้ของพวกเขา ขัดขวางมติที่มีผลผูกพันใดๆ กับพวกเขา ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ด้วยเหตุนี้ทางสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อแสดงจุดยืนให้การสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งขัน ในการลงมติไปแล้วหลายรอบนับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานเมื่อ 1 ปีก่อน

เช่นเดียวกับทุกครั้ง รัสเซียปฏิเสธมติล่าสุด โดย วาซิลีย์ เนเบนซยา ผู้แทนมอสโกประจำสหประชาชาติ เรียกยูเครนว่าเป็น "นีโอนาซี" พร้อมกล่าวหาตะวันตกบูชายัญเคียฟและโลกกำลังพัฒนา เพื่อความปรารถนาเอาชนะรัสเซีย "พวกเขาพร้อมฉุดทั่วทั้งโลกเข้าสู่ขุมนรกแห่งสงคราม เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นเจ้าโลกของตนเอง"

ผลโหวตยังแสดงให้เห็นว่า อินเดียและจีน ยังคงหนักแน่นไม่ประณามการรุกรานของมอสโก ด้วยการงดออกเสียง แม้ว่าทั้ง 2 ชาติ เคยออกมาวิพากษ์วิจารณ์มอสโก ต่อกรณีขู่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในความขัดแย้ง

ก่อนหน้าการโหวต รองผู้แทนจีนประจำสหประชาชาติ แสดงจุดยืนเป็นกลาง เรียกร้องทั้ง 2 ฝ่าย หยุดการสู้รบและเข้าสู่การเจรจาสันติภาพ "เราสนับสนุนให้รัสเซียและยูเครน เคลื่อนเข้าหากัน คืนสู่การเจรจาโดยตรงเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"

อย่างไรก็ตาม รองผู้แทนของจีนได้ส่งเสียงเห็นใจหนึ่งในความกล่าวอ้างของรัสเซียต่อการรุกรานยูเครน นั่นคือความมั่นคงของมอสโกอยู่ภายใต้ภัยคุกคาม สืบเนื่องจากการที่ยูเครน โน้มเอียงเข้าหายุโรปตะวันตกและนาโต้ "ทางออกใดๆ ควรคำนึงถึงความกังวลด้านความมั่นคงที่สมเหตุสมผลของทุกประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดการอย่างเหมาะสมกับความปรารถนาด้านความมั่นคงที่ชอบธรรมของพวกเขา"

สำหรับประเทศไทย ในการลงมติล่าสุด ยกมือสนับสนุนข้อเรียกร้องรัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนทันทีและไม่มีเงื่อนไข หลังจากก่อนหน้าเมื่อเดือนตุลาคม ได้ใช้จุดยืนงดออกเสียงในมติที่ประชุมสมัชาชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ประณามรัสเซียต่อกรณีผนวกแคว้นต่างๆ ของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดน

ในตอนนั้น ในเวลาต่อมา เฟซบุ๊กของกระทรวงการต่างประเทศไทยเผยแพร่ถ้อยแถลงของ สุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อการลงมติงดออกเสียงต่อกรณียูเครนว่า ประเทศไทยเลือกงดออกเสียง เนื่องจากว่า มติดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงบรรยากาศที่มีความอ่อนไหวและกำลังมีสถานการณ์ที่ผันผวนและปะทุขึ้นมาได้

เจรจานับ 10 ปี!! ‘นานาชาติ’ บรรลุข้อตกลง ‘สนธิสัญญาทะเลหลวง’  ขีดเส้นพื้นที่ทำประมง-เส้นทางเดินเรือ คุ้มครองสัตว์ทะเล

(5 มี.ค. 66) สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า นานาชาติบรรลุสนธิสัญญาทะเลหลวง ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะคุ้มครองมหาสมุทรโลก เมื่อวันเสาร์ที่ 4 มี.ค.ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากเจรจานาน 10 ปี โดยการเจราครั้งล่าสุดนี้ ใช้เวลาในการเจรจากว่า 38 ชั่วโมง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ หรือ ‘ยูเอ็น’ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

สาระสำคัญ ได้แก่ กำหนดให้ร้อยละ 30 ของทะเลหลวง เป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับความคุ้มครอง เพื่อมุ่งที่จะป้องกันภัยและฟื้นคืนธรรมชาติทางทะเล สาเหตุที่ต้องใช้ระยะเวลาการเจรจานานนับ 10 ปี เนื่องมาจากไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นเงินทุนและสิทธิในการทำประมง

สนธิสัญญาใหม่นี้ จะจำกัดปริมาณการทำประมง เส้นทางการเดินเรือและกิจกรรมการสำรวจ อาทิ การทำเหมืองแร่ทะเลลึก หลังจากกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมกังวลว่า กระบวนการทำเหมืองแร่ อาจรบกวนพื้นที่การผสมพันธุ์ของสัตว์ สร้างมลพิษทางเสียงและเป็นพิษต่อสัตว์ทะเล

ในอดีต สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่คุ้มครองเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การประมงเกินขีดจำกัดและการเดินเรือ ซึ่งจากการประเมินชนิดพันธุ์ทางทะเลทั่วโลกพบว่า เกือบร้อยละ 10 เสี่ยงสูญพันธุ์

‘ซีเรีย’ ร้อง!! UN จัดการ ‘สหรัฐฯ’ ให้จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย หลังใช้สงครามบังหน้า ก่อนเข้ายึดครองดินแดน-ขโมยน้ำมัน

(14 ก.ย. 66) ‘ซีเรีย’ เรียกร้องสหประชาชาติ ให้ดำเนินการเอาผิดกับสหรัฐฯ ต่อกรณียึดครองดินแดนบางส่วนของซีเรีย เช่นเดียวกับลอบสกัดทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่เหล่านั้นอย่างผิดกฎหมาย ตามรายงานของสำนักข่าวซานา สื่อมวลชนแห่งรัฐเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้แล้ว ดามัสกัส ยังเรียกร้องขอเงินชดเชยจากวอชิงตัน สำหรับสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า เป็นการปล้นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศ

ในรายงานชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ (10 ก.ย.) สำนักข่าวซานา อ้างอิงหนังสือของกระทรวงการต่างประเทศของซีเรีย ที่ส่งถึง ‘อันโตนิโอ กูเตอร์เรส’ เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ เช่นเดียวกับ แอลเบเนีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประจำเดือนกันยายน

โดยในหนังสือดังกล่าว เรียกร้องให้องค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้หยุดสหรัฐฯ จากการละเมิดกฎหมายสากลและกฎบัตรสหประชาชาติ ด้วยการประจำการทหารอย่างผิดกฎหมาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศของซีเรีย อ้างอีกว่า นอกจากนี้แล้ว วอชิงตันและกลุ่มติดอาวุธพันธมิตร ยังกระทำผิดด้วยการฉกชิงทรัพยากรทางยุทธศาสตร์ และความมั่งคั่งของประเทศอีกด้วย

ในหนังสือดังกล่าวได้ประเมินความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและเหมืองที่มั่งคั่งของซีเรีย จากฝีมือของกองทัพสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2023 อยู่ที่ประมาณ 115,200 ล้านดอลลาร์

โดยในหนังสือได้ปิดท้าย เรียกร้องให้ลงโทษพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ สำหรับการขโมยและบอกว่ารัฐบาลอเมริกาจำเป็นต้องจ่ายชดเชยแทนคนเหล่านี้ นอกจากนี้แล้ว พวกเขายังเรียกร้องให้ถอนบุคลากรทางทหารของอเมริกาทุกรายออกจากซีเรีย พร้อมกับคืนบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั้งหมด กลับคืนสู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลซีเรีย

เมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้ว พลเอกมาร์ค มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมแห่งกองทัพสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ทหารอเมริกาจะยังคงประจำการในประเทศแห่งนี้ต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้ โดยเน้นว่า วอชิงตันจะไม่มีวันเดินหนีออกจากตะวันออกกลาง อ้างถึงอันตรายจากพวนักรบรัฐอิสลาม (ไอเอส) ในภูมิภาค นอกจากนี้ เขายังยอมรับว่าน้ำมันเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่อเมริกาจะไม่ถอนตัวจากภูมิภาคนี้

‘ซีเรีย’ ดำดิ่งสู่ความขัดแย้งในปี 2011 เมื่อกลุ่มฝ่านค้านลุกฮือต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด จากนั้นในปี 2015 อัสซาดเผชิญกองทัพรัสเซียเข้าช่วยเหลือกองกำลังของพวกเขาในการสู้รบกับกลุ่มไอเอส ในขณะที่สหรัฐฯ เปิดปฏิบัติการทางทหารของตนเองหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ทว่าไม่ได้เป็นการเชิญจาก อัสซาด แต่อย่างใด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top