Friday, 17 May 2024
PM2.5

กาฬสินธุ์ - เตือนลมหนาวพัดแรง ไฟไหม้ทุ่งนา ค่าฝุ่นละออง 2.5 เพิ่ม!!

สภาพอากาศที่จังหวัดกาฬสินธุ์หนาวจัด ลมหนาวทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเหตุไฟไหม้ โดยเฉพาะบริเวณทุ่งนาบ่อยครั้ง ขณะที่นายอำเภอยางตลาด เตือนประชาชน เฝ้าระวังการเกิดอัคคีภัย และไฟไหม้ทุ่งนา ทำค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 สูงขึ้น เป็นสาเหตุเกิดมลภาวะเป็นพิษ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนะชาวบ้านเร่งเก็บรักษาฟางหลังเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อป้องกันเหตุและสำรองเป็นอาหารสัตว์ในฤดูแล้ง

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามสภาพอากาศในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ 18 อำเภอ พบว่าอุณหภูมิยังคงต่ำ มีลมหนาวกระโชกแรงตลอดวัน ส่งผลกระทบต่อสุขของประชาชน ในกลุ่มเด็ก คนชราและผู้ที่มีโรคประจำตัว ขณะเดียวกันยังพบว่า เกิดเหตุไฟไหม้ทุ่งนาบ่อยครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพอนามัยประชาชน รวมทั้งหมอกควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ยังบดบังทัศนวิสัยในการใช้รถใช้ถนน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ด้านนายสันติ จัตุพันธ์ นายอำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ฤดูหนาวที่สภาพอากาศแห้งแล้งและมีลมแรง เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดอัคคีภัยได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณทุ่งนา ซึ่งมีฟางแห้งเป็นเชื้อไฟอย่างดี จึงมักจะเกิดเหตุไฟไหม้ทุ่งนาเป็นประจำ ประกอบกับมีลมพัดแรง จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ลามทุ่งอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ทางอำเภอได้แจ้งเตือนไปยังกำนัน ใหญ่บ้าน ประชาชน ร่วมกันเฝ้าระมัดระวังเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ และเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งกระทบต่อสุขภาพอนามัยประชาชน ส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 สูงขึ้นอีกด้วย

นายสันติกล่าวอีกว่า ในส่วนของประชาชนที่ประกอบอาชีพทำนา หลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ควรที่จะรีบจัดการจัดเก็บฟางไว้ในที่ปลอดภัยให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ และเก็บไว้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงในฤดูแล้ง นอกจากนี้ ผลดีของการเก็บฟางแห้งหรืออัดก้อน ยังได้ประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น จำหน่ายก้อนละ 25 บาท หรือนำไปประดับอาคาร สถานที่ เป็นจุดเช็คอินที่สวยงาม หรือไม่อย่างนั้นก็รีบทำการไถกลบ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายเป็นปุ๋ยชีวภาพ ที่จะช่วยบำรุงดิน ลดต้นทุนใช้ปุ๋ยเคมี ในการทำนาครั้งต่อไปได้เป็นอย่างดี

โฆษกรัฐบาลเผย 'นายกฯ' เดินหน้าแก้ไขปัญหา PM 2.5 กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง พร้อมชื่นชมเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาจนผลกระทบลดลง

เมื่อวันที่ 27 มี.ค.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ โดยเน้นย้ำให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองทั้งในกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั่วทั้งประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีห่วงใยผลกระทบที่อาจส่งผลถึงชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพของประชาชน ซึ่งเกิดจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และมลพิษทางอากาศ

โดยได้กำชับให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษพบว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – 23 มีนาคม 2565 ได้มีการตรวจสอบตรวจวัดควันดำรถบรรทุกและรถโดยสารทั่วประเทศ และปรับปรุงค่ามาตรฐานควันดำโดยเพิ่มความเข้มงวดและประสิทธิภาพการแก้ปัญหา PM 2.5 จากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทรถยนต์ โดยปรับมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดค่าความทึบแสงไม่เกินร้อยละ 30 จากเดิมไม่เกินร้อยละ 45 และค่ากระดาษกรองไม่เกินร้อยละ 40 จากเดิมไม่เกิน ร้อยละ 50 หากตรวจพบค่าควันดำเกินกำหนดจะลงโทษเปรียบเทียบปรับสถานหนัก 5,000 บาท และสั่งห้ามใช้รถทันที ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 13 เมษายนนี้

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับปัญหามลพิษอากาศจากหมอกควันและไฟป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินโครงการ “ชิงเก็บ ลดเผา” ซึ่งในปี 2564 สามารถดำเนินการเก็บขนเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่ามาใช้ประโยชน์ได้ 2,800 ตัน จากเป้าหมาย 1,000 ตัน ครอบคลุมพื้นที่ 400,000 ไร่ ทำให้จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ลดลงร้อยละ 60 และในปี 2565 มีการดำเนินงานต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสามารถเก็บขนเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่ามาใช้ประโยชน์ได้ 1,310 ตัน จากเป้าหมาย 3,000 ตัน และคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามเป้าหมาย ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ปรับแนวคิดและระบบในการทำงานแบบใหม่ สร้างการรับรู้และความเข้าใจกับชุมชน พร้อมทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน

'สุริยะ' หนุน!! มาตรการส่งเสริมตัดอ้อยสด ส่งเสริมราคาดี พร้อมคุมอ้อยไฟไหม้ต้องไม่เกิน 5% ก่อนเข้าหีบ

'สุริยะ' ลุยแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อเนื่อง พร้อมหนุนมาตรการส่งเสริมตัดอ้อยสด ตั้งเป้าฤดูการผลิตปี 2565/66 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 5%

กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างต่อเนื่อง พร้อมหนุนมาตรการส่งเสริมตัดอ้อยสด สำหรับในฤดูการผลิตปี 2565/2566 ให้มีปริมาณอ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 5% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด สนองนโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่น PM 2.5

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ณ หอประชุมใหญ่สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 กรอบวงเงินช่วยเหลือ 8,159 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2565 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว จำนวน 125,194 ราย เป็นเงิน 8,103.74 ล้านบาท โดยการช่วยเหลือเพื่อช่วยลดต้นทุนการตัดอ้อยสดในครั้งนี้ จะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น รวมทั้งตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 โดยจะพยายามผลักดันมาตรการขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐตามโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 เช่นเดียวกับฤดูการผลิตปีที่ผ่านมา

วาระแห่งชาติ ‘บิ๊กตู่’ สั่งเข้ม!! ทุกหน่วยงาน แก้ไขปัญหา PM 2.5 แนะปชช. เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง-สวมหน้ากากอนามัย

นายกฯ กระตุ้น ทุกหน่วยงาน เข้ม แก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ขอประชาชนดูแลสุขภาพ หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง 

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.66 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั่วทั้งประเทศ โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ภายใต้ 3 มาตรการสำคัญ คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ เพื่อให้การแก้ไขปัญฝุ่นละอองตามบทบาทของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลเป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและความเดือดร้อนให้กับประชาชน 

นายอนุชา กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 10-16 มี.ค. 66 ระบุว่า วันที่ 10 มี.ค. 66 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ โดยหลังวันที่ 11 มี.ค. 66 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามช่วงระหว่างวันที่ 14-16 มี.ค. 66 ยังเป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้ ขณะที่พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและล่างระหว่างวันที่ 10-14 มี.ค. 66 ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน สถานการณ์ฝุ่นจะค่อย ๆ ลดลง คาดว่าจะยังมีปัญหาอยู่อีก 1-2 สัปดาห์ 

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีย้ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความเข้มข้นในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ในทุก ๆ มาตรการ เน้นแจ้งเตือนแนะนำข้อปฏิบัติตนแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัย กำหนดสถานที่พักชั่วคราว หรือ Safety Zone ระบบแจ้งเตือนสถานการณ์และบริการสาธารณสุข เข้มงวดตรวจจับรถควันดำ เร่งระบายการจราจรไม่ให้ติดขัด ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ตรวจสภาพ/บำรุงรักษายานพาหนะขนส่งสาธารณะ ทำความสะอาดพื้นผิวถนน รวมทั้งควบคุมการเผาในที่โล่ง/พื้นที่เกษตรอย่างเคร่งครัด ตรวจสอบและควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงาน ป้องกันและลดปริมาณฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง 

นายอนุชา กล่าวว่า ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศ ขยายเครือข่ายแจ้งเตือน สร้างการรับรู้ถึงข้อมูลและสถานการณ์ที่ถูกต้องแก่ประชาชน จัดระเบียบการเผาตามลักษณะพื้นที่ แบ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมให้สอดคล้องตามหลักวิชาการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมความตระหนัก และปรับพฤติกรรมประชาชนในการลดการเผาในที่โล่ง พื้นที่การเกษตร และการเผาขยะในชุมชนหรือเมือง อย่างไรก็ตาม แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากพวกเราทุกคน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

ขออากาศสะอาด ‘นพดล’ จี้ รบ. แก้ไขพิษฝุ่น PM 2.5 อย่างเข้มงวด ลั่น!! “อย่าปล่อยปัญหาฝุ่น กัดกร่อนสุขภาพคนไทย”

พท.กระทุ้ง รบ.แก้ปัญหาฝุ่นพิษจริงจัง อย่าปล่อยลูกหลานอยู่ตามยถากรรม 

(10 มี.ค. 66) นายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ขอเรียกร้องแบบแผ่นเสียงตกร่องแทนพี่น้องคนไทยในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ ที่ทุกข์ยากแสนสาหัสจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่อยู่ในระดับที่เป็นอันตราย เลวร้ายลงทุกวัน 

ซึ่งข้อมูลทางวิชาการชี้ว่าฝุ่นพิษนี้อาจนำไปสู่โรคร้าย กระทบต่อปอด หัวใจ สมอง และอาจมีผลกระทบในระยะยาว และไม่ปรากฏอาการในขณะนี้ ตนเรียกร้องให้รัฐบาลตื่นขึ้นมาแก้ปัญหาให้เป็นระบบและจริงจังกว่านี้ ได้เรียกร้องไปหลายครั้งแต่ยังไม่เห็นความตั้งใจจริงในการออกมาตรการ และระดมสรรพกำลังเพื่อแก้วิกฤต ถ้าไม่เร่งแก้คนไทยนับแสนนับล้านจะได้รับผลกระทบ ประเทศจะสูญเสียทั้งต้นทุนทางสุขภาพ สังคมและการท่องเที่ยว 

นายนพดล กล่าวต่อว่า จิตใจผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทำด้วยอะไร คิดถึงหัวใจ ปอด สมอง สุขภาพของเด็กแรกเกิดจนถึงคนชราที่ต้องเผชิญฝุ่นพิษตามยถากรรมวันแล้ววันเล่าบ้างไหม เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ เป็นโศกนาฏกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลต้องแก้ไข ต้องระดมหน่วยงานทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเร่งแก้ปัญหาการเผาไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย แก้ปัญหาการเผาป่าหน้าแล้ง ร่วมมือกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคุมไซต์ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม รถควันดำ โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เข้มงวดผู้ปล่อยมลภาวะ นอกจากนั้นรัฐบาลได้เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นข้ามแดนไปอย่างไรบ้าง

ทางรอดวิกฤตฝุ่น ‘แพทย์’ แนะ 6 วิธีเอาตัวรอด ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 เลี่ยงภัยอันตราย หวั่นกระทบสุขภาพ ปชช. ในระยะยาว

แพทย์แนะการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤติ 'ฝุ่น PM 2.5'

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ 5 สมาคมวิชาชีพเวชกรรม อาทิ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย , สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย และสมาคมพิษวิทยาคลินิก ได้ออกคำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤติ "ฝุ่น PM 2.5"

เป็นที่ทราบ และตระหนักกันดีถึงพิษภัยต่อสุขภาพจาก ฝุ่น PM 2.5 ทั้งผลเฉียบพลัน และผลเรื้อรัง ไม่เฉพาะผลต่อระบบการหายใจที่เป็นช่องทางนําพาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น ฝุ่น PM 2.5 ยังมีผลต่อการเกิดโรคระบบต่าง ๆ เช่น ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบประสาท หลอดเลือดสมอง และโรคไต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้มากคือ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (โรคปอด หัวใจ สมอง และไต) ในขณะที่ทุกภาคส่วนกําลังระดมสมองแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว 

‘ผบ.ตร’ สั่งลุย!! ยกระดับแก้ปัญหาฝุ่น ‘PM 2.5’ วอนปชช. เลี่ยงใช้รถควันดำ-งดเผาในที่โล่งแจ้ง

‘ผบ.ตร.เอาจริง’ สั่งตำรวจคุมเข้มยกระดับแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เร่งบังคับใช้กม. รถควันดำ ลักลอบเผา โรงงาน การก่อสร้าง ที่ก่อเกิดมลพิษ เน้นบูรณาการร่วมทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาทุกมิติ ตามนโยบายรัฐบาล

(14 มี.ค.66)  พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการความห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อประชาชนกับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินมาตรฐานที่เกิดขึ้น โดยให้ทุกหน่วยบูรณาการยกระดับร่วมกันแก้ไขปัญหาทุกมิติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ขานรับนโยบาย สั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัด ตร.ยกระดับเพิ่มมาตรการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินมาตรฐาน ที่มีมาจากหลายสาเหตุทั้ง การคมนาคมขนส่ง การเผาในที่โล่งแจ้ง การเกิดไฟป่า ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และหมอกควันต่างๆ ผบ.ตร.ได้มีวิทยุสั่งการ ไปยังทุกหน่วยให้ดำเนินการดังนี้

1.เพิ่มความเข้มตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มงวดกับผู้ที่นำรถยนต์ที่มีลักษณะปล่อยพิษควันดำมาใช้บนถนน ออกคำสั่งห้ามใช้รถที่ก่อให้เกิดมลพิษ รวมทั้งบูรณาการร่วมกับขนส่ง หน่วยที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์ เพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

2.เพิ่มมาตรการตรวจสอบบังคับใช้กฎหมาย กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไม่ให้ปล่อยมลพิษทางอากาศ และการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่น

3.ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผาพืชไร่และพื้นที่เพาะปลูก การเผาในที่โล่งแจ้ง และกิจการที่ก่อให้เกิดอันตราย

‘แพทย์’ ยก ‘วิจัยมะกัน’ เผยเด็กที่สูด PM 2.5 ทำโครงสร้างสมองเปลี่ยน ส่งผลต่อความฉลาด

วันที่ 17 มีนาคม 2566 ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และเลขานุการและกรรมการบริหารศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เฟซบุ๊กผ่าน “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” อ้างถึงผลงานวิจัยเกี่ยวกับเอฟเฟกต์จากการสูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ว่า เด็กสูด PM2.5 โครงสร้างสมองเปลี่ยนนะครับ

“โง่ลง เพราะ pm 2.5”

คนสูงวัยเจอ pm 2.5 เสี่ยงสมองเสื่อม และ stroke แล้ว เด็กเป็นอย่างไร
งานวิจัย ถึง pm 2.5 ใน อเมริกา ที่อยู่ในถิ่นที่อากาศไม่สู้ดีนัก พบว่า โครงสร้างสมองเปลี่ยนไป เลยทีเดียว การเปลี่ยนแปลง มันรวมถึงความหนาตัวของเซลล์ประสาทนึกคิด ที่มันบางลง ซึ่งเป็นตำแหน่งความฉลาดด้วย

อีกงานวิจัย ดูความจำ ความคิดเร็ว ก็พบว่าเปลี่ยนไป เช่นกัน
pm2.5 เพิ่มอัตราการทุพลภาพผู้สูงวัย
pm 2.5 ลดพัฒนาการสมองเด็ก

‘แพทย์’ เปิดค่าฝุ่นสูงถึง 389 มคก. ในห้องแรกคลอด ไม่รู้จะปกป้องยังไง ห่วงเด็กแรกเกิดสูดฝุ่นพิษ 

สถานการณ์ฝุ่นควันถือว่าหนักหน่วง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน วันนี้คุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษ พบว่า ‘เชียงใหม่-ประเทศไทย’ ขึ้นอันดับ 1 เมืองฝุ่นพิษสูงสุดในโลก

(26 มี.ค.66) โดยเพจ Doctor กล้วย ได้โพสต์ภาพเครื่องฟอกอากาศในห้องคลอด ว่า สถานการณ์หนักหนามากขนาดไหน ทั้งที่เป็นห้องที่ควรอากาศสะอาดเพราะทารกเพิ่งคลอดวันแรก แต่พบว่า ค่าฝุ่นในห้องนั้น สูงถึง 389

นักวิชาการ ชี้!! PM2.5 ภาคเหนือ ถือเป็นภัยพิบัติ แนะ 4 แนวทางที่ควรทำอย่างเร่งด่วน เพื่อสุขภาพปชช.

นักวิชาการ เสนอวิธีแก้ปัญหา PM2.5 ภาคเหนือ ถือเป็นภัยพิบัติ ต้องสั่งอพยพด่วน เพื่อป้องกันสุขภาพ แนะกำหนดช่วงเวลาวันเผา พร้อมลงโทษไม่รับซื้อผลิตผลทางการเกษตร

เมื่อวันที่ (27 มี.ค.66) เฟซบุ๊ก ‘Sonthi Kotchawat’ หรือ สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อเสนอแนะป้องกันและแก้ไขฝุ่นPM2.5 โดยระบุข้อความว่า "มุมมองในการป้องกันและแก้ไขฝุ่นPM2.5ในภาคเหนือ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top