Monday, 29 April 2024
NCDs

หมอชี้ 'บุฟเฟต์-หมูกระทะ' ทำคนไทยกินเค็มเกินเกณฑ์ 2 เท่า เร่งรณรงค์ 'ลดเค็ม ลดโรค' หลังยอดผู้ป่วย NCDs ทะลุ 22 ล้านคน!!

(7 ก.พ. 66) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค สธ. กล่าวว่า โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นปัญหาสุขภาพระดับประเทศ อัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากโรค NCDs สูงถึง 73% สาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มล้นเกิน โดยเฉพาะบริโภคโซเดียม 9.1 กรัม/วัน สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำกว่า 1.8 เท่า (ไม่ควรบริโภคเกิน 5 กรัม/วัน) การได้รับโซเดียมเกินเป็นเวลานาน อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย มีผู้ป่วยโรคที่สัมพันธ์กับการบริโภคโซเดียมถึง 22.05 ล้านคน ทั้งโรคความดันโลหิตสูง 13.2 ล้านคน โรคไต 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน โรคหลอดเลือดสมอง 5 แสนคน

“ยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในไทย (พ.ศ. 2559-2568) ตั้งเป้าลดบริโภคโซเดียมลง 30% ภายในปี 2568 สธ. สสส. และภาคี เร่งดำเนินงานผ่าน 4 ประเด็น คือ

1.) ปรับสูตรในอุตสาหกรรมอาหารแบบสมัครใจ
2.) ปรับสูตรอาหารที่ร้านจำหน่ายริมทางแบบสมัครใจ
3.) สื่อสารสร้างความรู้ผ่านฉลากโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์แบบ GDA อย่างง่าย 'ฉลากทางเลือกเพื่อสุขภาพ'
4.) กิจกรรมสร้างสภาพแวดล้อมให้ประชาชนได้บริโภคอาหารลดเกลือและโซเดียม

ทั้ง รพ.เค็มน้อย อร่อย 3 ดี, สถานที่ทำงาน, สถานประกอบการ และชุมชนลดเค็ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดีจากการบริโภคเกลือและโซเดียมลดลง” นพ.ธเรศ กล่าว

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. สานพลังเครือข่ายลดบริโภคเค็ม พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ พัฒนานวัตกรรมสูตรอาหารโดยใช้สารทดแทนความเค็ม ต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารลดโซเดียม เครื่องตรวจสอบความเค็มในอาหาร (Salt Meter) ฐานข้อมูลโซเดียมในวัตถุดิบอาหาร-เครื่องปรุงรสเค็ม ล่าสุด พัฒนาแคมเปญรณรงค์ 'ลดซด ลดปรุง ลดโรค' สื่อสารความรู้ให้เกิดความตระหนักภัยร้ายจากการบริโภคโซเดียมเกินมาตรฐาน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มต้นจากลดการซดน้ำซุป, น้ำผัด, น้ำแกง, น้ำยำ เน้นเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ ผักในมื้ออาหาร ติดตามได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลดพุง ลดโรค

ทั้งนี้ การช่วยให้ลดบริโภคเค็ม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องรสชาติเป็นเรื่องยาก เพราะผู้บริโภคยังคงติดอาหารรสจัด การรับรสเค็มในอาหาร แต่ละคนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเคยชิน การสร้างความตระหนักรู้จึงสำคัญ ขณะนี้ สสส. ร่วมกรมควบคุมโรค กรมสรรพสามิต เครือข่ายลดบริโภคเค็ม คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียม ขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม สร้างกติกากลางให้ภาคอุตสาหกรรม เพื่อขยายผลการปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร ปกป้องสุขภาพประชาชนอย่างต่อเนื่อง

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า การกินเค็มเป็นภัยเงียบ อาจไม่เห็นผลทันที ยกเว้นคนที่ไวต่อการกินเค็ม เช่น ผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัว จะมีอาการตาบวม ขาบวม ความดันโลหิตสูงขึ้น ปวดหัว หิวน้ำบ่อย ที่น่ากังวลคือ มีผู้ป่วยโรคไตหรือไตวายอายุน้อยลงอยู่ที่ 35–40 ปี จากเดิมที่อยู่ที่ 50–60 ปี สาเหตุหลักของการติดบริโภคเค็มมี 2 ปัจจัย คือ

1.) วัฒนธรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป นิยมอาหารสำเร็จรูป บุฟเฟต์ปิ้งย่าง หมูกระทะ อาหารญี่ปุ่น-เกาหลี ที่มีรสเค็มจัดจากการหมักดองเกลือ/เครื่องปรุงจำนวนมาก เมื่อบริโภคสะสมจะติดรสเค็มโดยไม่รู้ตัว
2.) บริโภคเค็มตั้งแต่เด็ก ทั้งขนมกรุบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กซอง-ถ้วย หรืออาหารที่ผู้ปกครองปรุงเค็มเกิน

“ผลการสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารด้วยนวัตกรรม Salt Meter ในพื้นที่นำร่องบริการสุขภาพ เขต 1, 2, 3, 8, 10 พบร้านค้ากว่า 95% ใช้ผงปรุงรสสำเร็จรูปมากกว่าเคี่ยวน้ำซุปด้วยผักหรือเนื้อสัตว์ เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่า ที่สำคัญยังพบว่า การใช้นวัตกรรม Salt Meter ร่วมกับการให้ความรู้ในชุมชน สามารถลดความดันโลหิตและลดการบริโภคเค็มในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้จริง เป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องส่งตรวจห้องปฏิบัติการทางอาหาร และแสดงผลได้รวดเร็ว สร้างความตื่นตัวให้ประชาชน มุ่งเป้าขยายผลการทำงานร่วมกับฝ่ายบุคลากรของหน่วยงานเอกชน ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม Salt Meter เป็นอุปกรณ์ช่วยปรับปรุงสูตรลดเค็มในร้านอาหารและศูนย์การค้า” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว

ภัยของความหวาน และเคล็ดลับป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2023

Sweet Sin! หวานแล้วผิดตรงไหน อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นความบาปขนาดนั้นเลยเหรอ

ความเจ็บป่วยยุคใหม่ที่ทุกคนต้องจับตา และระแวดระวัง ไม่ใช่เพียงโรคที่เกิดจากไวรัส แบคทีเรียหรือเชื้อโรคอื่นๆ เท่านั้น แต่ของที่รับประทานเข้าไปทุกๆ วัน นั่นแหละตัวดี

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดในสมอง อ่อนเพลียเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง ตับ ไต ฯลฯ

การกินซ้ำๆ และกินของไม่มีประโยชน์ กินแต่อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงคือ ตัวการใหญ่ ที่ส่งผลทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอักเสบ ก่อนนำไปสู่โรคต่างๆ ที่กล่าวมา โดยลำดับ

>> 6 สิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับคุณเมื่อบริโภคน้ำตาลสูงเป็นประจำ...

1 ทำให้ระบบความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเสียไป 

2 ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

3 มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น 

4 การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อย ๆ ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ 

5 เมื่อบริโภคเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 

6 การรับประทานน้ำตาลซูโครสในปริมาณมาก ทำให้กรดอะมิโนที่มีชื่อว่า ทริปโตฟาน ถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนในสมอง ซึ่งทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง

ลองพิจารณาภาพเปรียบเทียบปริมาณที่ได้รับ ของน้ำตาลในผลไม้ และเครื่องดื่ม ที่เราอาจดื่มกินเป็นประจำ และลอง ชั่ง ตวง วัด

ปัจจุบัน หนึ่งในวิธีตรวจเช็คความเสี่ยงของการอักเสบในร่างกาย คือการเจาะเลือดปลายนิ้วตรวจใช้เวลาเพียง 90 วินาที โดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคหลัก NCDs ก่อนวิเคราะห์ผลจากค่าตัวเลข และรับคำแนะนำนำสู่การปรับพฤติกรรมการกิน และเสริมวิตามินให้ร่างกายเพื่อบำบัด รักษา เยียวยาต่อไป

>> ขั้นตอนการตรวจ hs-CRP ง่าย ไม่ยุ่งยาก...

1. เจาะเลือดที่ปลายนิ้วโดยผู้เชี่ยวชาญ

2. นำแถบตรวจสู่เครื่องมือวัดผล (เครื่องภูมิคุ้มกันวิทยา เชิงปริมาณ) 

3. ในเวลา 90 วินาที ทราบผลวิเคราะห์ และอ่านค่าเพื่อประเมิน

ปัจจุบันผู้ที่ต้องการเช็คความเสี่ยงกลุ่มโรคไม่ติดต่อแบบง่าย ๆ ด้วยการค้นหาการอักเสบของร่างกาย ตรวจความเสี่ยงโรคด้วยเลือดหยดเดียว ได้ที่ กลุ่มคลินิกที่มีเทคโนโลยีการตรวจ hs-CRP อ่านค่าความเสี่ยงจากโรค ด้วยเลือดหยดเพียงหยดเดียว ในกทม. (ตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ที่ Facebook: PNA Wellness Innovation)

>> ทำอย่างไร ให้ห่างไกล NCDs

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ 

- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

- งดหรือลดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

- พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียดที่มีทุกวัน

ตรวจสุขภาพประจำปี และ ตรวจค่าการอักเสบของร่างกายด้วย hs-CRP เป็นประจำ

รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ป้องกันก่อนไปนอนป่วย เพราะชีวิตต้องมีพรุ่งนี้ที่ดีเสมอ ฉะนั้นแสดงความห่วงใยอย่างเป็นรูปธรรมกับคนที่เรารัก ด้วยการบอกข้อเท็จจริงเหล่านี้ ใครอยากอยู่ยืนยาว ต้องทำเอง เพราะทำเอง…ได้เอง

#โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง #ภัยเงียบ #ของหวาน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top