Friday, 3 May 2024
Inspiration

นักศึกษาไทยชุบชีวิต 'ชะลอม' ผ่านผลงานโลโก้ APEC กระตุ้นความนิยมงานจักสานสู่สังคมไทยอีกครั้ง

ทราบหรือไม่ว่า โลโก้สามสีของการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ปี 2022 ที่ปรากฏอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในสัปดาห์นี้นั้น เกิดจากฝีมือการออกแบบของนักศึกษาไทย วัย 21 ปี

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คนเก่งที่ว่า โดยเขาได้บอกเล่าถึงกระบวนการออกแบบโลโก้สําหรับการประชุมทางเศรษฐกิจระดับโลกกับสํานักข่าวซินหัวว่า ความท้าทายอยู่ที่จะผสมผสานอัตลักษณ์ ของเอเปคเข้ากับสัญลักษณ์ของไทยได้อย่างไร 

ชวนนท์ เผยว่า ช้าง วัด หรือยักษ์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของไทย แต่เขามองว่ามันธรรมดาเกินไปและอยากคิดนอก กรอบ และไม่อยากใช้สัญลักษณ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ จึงนึกถึง 'ชะลอม' ขึ้นมา 

“เรานึกถึงต้มยํากุ้งเมื่อพูดถึงอาหารไทย หรือรถตุ๊กตุ๊กเมื่อพูดถึงการขนส่ง แล้วสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจในไทยที่อยู่คู่กับ คนไทยมานานคืออะไร ผมนึกถึงชะลอม ซึ่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานกันมาแต่โบราณ มันจักสานขึ้นจากไม้ไผ่และเป็นงานฝีมือ ที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนความสมดุลของวิสัยทัศน์การประชุมฯ ในปีนี้” ชวนนท์กล่าว 

ชวนนท์ใช้เวลาราว 3 เดือน ปรับแต่งลักษณะของชะลอมจนกลายเป็นโลโก้รูปแบบสุดท้าย โดยไผ่ที่จักสานเข้าด้วยกัน ก่อตัวเป็นช่องว่าง 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค ส่วนปลายชะลอมที่ชี้ขึ้นฟ้าสื่อถึงการเติบโตของเอเปค ส่วนสีต่าง ๆ อาทิ สีน้ำเงินอันเป็นสัญลักษณ์การอํานวยความสะดวก สีชมพูแห่งการเชื่อมโยง และสีเขียวที่ยั่งยืน ยัง สะท้อนหัวข้อการประชุมฯ ปีนี้ ได้แก่ 'เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล' (Open. Connect. Balance.) 

'หม่อมปลื้ม' ยก 'เสี่ยเฮ้ง' คว้าความสำเร็จได้ในสังคมปากกัดตีนถีบ เกิดมาโดยไม่มี 'สิทธิพิเศษ' แต่ดิ้นรนจนก้าวถึง 'รัฐมนตรี'

จากรายการ The Daily Dose โลกการเมือง ดำเนินรายการโดย หม่อมหลวง ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ได้มีการพูดถึง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ว่า...

'สุชาติ' เกิดมาโดยไม่มี 'สิทธิพิเศษ'
เค้าดิ้นรนเรียน ทำงาน
และวันนี้ ได้เป็น 'รัฐมนตรี'

ผมคิดว่า 'สุชาติ ชมกลิ่น' เป็นเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องราวของการเติบโตขึ้นมาในสังคม ในการทำธุรกิจ ในการไต่เต้าทางการเมือง ที่น่าเป็นต้นแบบ

มองความสุขหลังพ้นกำแพงเรือนจำของ 'หมอวิสุทธิ์'  เมื่อ 'การเจริญสติ' สำคัญกว่าวิชาความรู้เสียอีก

(5 เม.ย.66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงพระรูปหนึ่ง ที่อดีตคนไทยรู้จักในชื่อ 'หมอวิสุทธิ์' ความว่า... 

บทความจาก #พระอาจารย์ไพศาลวิสาโล ได้กล่าวว่า พวกเราอาจจะเคยได้ยินชื่อ 'หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ' ซึ่งเคยถูกพิพากษาประหารชีวิต เพราะโดนข้อหาฆ่าภรรยา

หมอวิสุทธิ์เป็นศาสตราจารย์ ทางการแพทย์ที่จุฬาฯ เก่งมากในเรื่องของการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย มีฐานะดี แต่ชีวิตที่รุ่งโรจน์ ต้องพลิกผันตกต่ำ กลายเป็นนักโทษประหาร เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาด มีปัญหาความรักและแก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการ ฆ่าภรรยา

ภายหลังได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ ตอนนี้จึงออกมาจากคุกได้ เพราะโทษเบาบาง

เมื่อไม่นานมานี้ ท่านได้ให้สัมภาษณ์สื่อไว้อย่างน่าสนใจมาก โดยเผยชีวิตเบื้องหลัง กำแพงเรือนจำกับชีวิตใหม่ หลังก้าวผ่านคำว่านักโทษประหาร สู่การเรียนรู้ชีวิต จากโรงเรียนแห่งใหม่ที่ถูกเรียกว่า 'เรือนจำ'

เมื่อได้ลองทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง ก็ทำให้เขาได้รู้ว่า ชีวิตก่อนหน้านี้ ตัวของเขาเป็นคนที่ประมาท ปล่อยให้ความโลภและความโกรธเข้าครอบงำ จนไร้อิสระ ปล่อยให้อิทธิพลของลาภยศ คำสรรเสริญ เข้ามามีอำนาจเหนือตนเอง

แต่ในตอนนี้ หลังจากที่ได้ทบทวนตัวเอง แม้ว่าจะต้องเสียสิ่งต่างๆ ไปมากมาย แต่เขากลับรู้สึกว่า ตอนนี้เขาได้เรียนรู้ตัวเองมากขึ้น ได้มองโลกในอีกมุมมองหนึ่ง มีการเจริญเติบโตของจิตวิญญาณ และมีความสุขจากการให้

เข้าใจคำว่าจิตอาสามากขึ้น...

จากรูปภาพที่เขาได้วาดในเรือนจำว่า ตัวของเขานั้น ก็เปรียบเหมือนธุลีเล็กๆ ในโลกใบใหญ่ ไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือสลักสำคัญอะไร หากเราหาความสุขได้ จากการที่ตัวเองเป็นเพียงฝุ่นผง ความสุขนั้นก็จะอยู่กับเราอย่างยั่งยืน

เมื่อก่อนเป็นคนมีอัตตา คิดว่าควบคุมทุกอย่างได้ ทำให้โกรธง่าย แต่ตอนนี้ตัวเองเป็นเพียงฝุ่นเล็กๆ ก็ไม่จำเป็นต้องโกรธใครแล้ว...

เมื่อมองย้อนกลับไป เขาไม่ได้ตำหนิตัวเอง และกลับรู้สึกว่า เข้าใจความคิดอ่าน ของภรรยามากขึ้น ตัวเองไม่ติดใจอะไรแล้ว ไม่โกรธแค้นขุ่นเคือง รู้สึกให้อภัยภรรยา ให้อภัยแก่ตัวเอง และก็อยากให้ภรรยาอภัยให้เช่นกัน

อุทาหรณ์ที่หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ได้เรียนรู้จากโรงเรียนชีวิตแห่งนี้ก็คือ มนุษย์เราควรจะต้องระมัดระวัง ในการใช้ชีวิต ไม่ประมาท

ต้องรู้จักฝึกจิตตั้งแต่อายุน้อย ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุมากแล้วจึงเข้าวัด ควรฝึกจิตอย่าประมาทให้กิเลส ความโลภ โกรธ หลง ครอบงำจิตใจ เพราะเมื่อไหร่ที่เราถูกครอบงำ เราก็ทำผิดพลาดได้

หากมองย้อนชีวิตที่ผ่านมาแล้ว เสียดายที่ทุ่มเทกับงานการ จนละเลยเรื่องการปฏิบัติธรรม แต่ก่อนในหัวมีแต่งาน ตำรา งานวิชาการ

ชีวิตยังมีพรุ่งนี้... สำรวจการเงินเด็กยุคใหม่ หลังพบรายจ่ายสุดแสน 'น่าห่วง' สวนทาง!! 'เงินออม' ใต้ค่านิยม 'เน้นใช้-ไม่เน้นเก็บ-อยู่ไปวันๆ'

(13 เม.ย.66) เฟซบุ๊ก ‘GUNRATA’ ได้นำเสนอคอนเทนต์ในหัวข้อ 'การใช้เงินของเด็กในยุคนี้' โดยมี ‘กันต์ รตนาภรณ์’ เจ้าของธุรกิจ นักลงทุนในหุ้น-อสังหาริมทรัพยฺ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้ออกสัมภาษณ์เด็กหลายๆ คน ซึ่งเขาได้ตั้งคำถามกับเด็กกลุ่มหนึ่งว่า “อะไรที่เคยซื้อและมีมูลค่าแพงที่สุดในชีวิต?”
.
ในจำนวนเด็กๆ ที่ถูกสัมภาษณ์ได้ให้คำตอบที่แตกต่างกันไป เช่น IPhone 14 Promax ราคา 48,000 บาท,  บัตรคอนเสิร์ต ราคา 15,000 บาท และ IPad ราคา 30,000 บาท
 

'พงศ์พรหม' มอง!! 'คนรุ่นก่อน' หวังดี แต่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ส่วนคนรุ่นใหม่ อยากเปลี่ยนแปลง อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย

(22 เม.ย.66) นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Pongprom Yamarat' ระบุว่า...

คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Gen X ปลาย Y ต้น แทบทุกคนบ่นเหมือนกันว่า คนรุ่นเราแม่งเหนื่อย แต่สู้ เพราะอะไรไม่รู้ที่ทำให้ทัศนคติเราดี

อาจเพราะเราโตมาด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ก็มีมือถือใช้บ้าง โตด้วยการกินข้าวแกงข้างถนน แต่ก็รู้จัก Starbucks ที่เมืองนอก

มันทำให้เรานั่งรถบีเอ็มก็ได้ รถเมล์ก็ดี ทำให้เรารู้จักความพอเพียง แต่ก็ไม่ปฏิเสธการว่าก็อยากจะหาเงินพันล้าน เพราะเราก็ทะเยอทะยานพอที่จะบอกว่า เราก็ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จด้วย

สิ่งที่คนรุ่นเราเจอปัญหามาก คือคนรุ่นก่อนเรา แม้จะน่ารัก แต่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่น้อยมาก เราจึงมักเจอคำพูดดีๆ แต่ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เอาหละ!! งั้นคนรุ่นเราเปลี่ยนให้...

ตอนนี้เราโตจนเป็นผู้บริหารตามองค์กรละ ไม่ก็เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างละ 

เราเจอปัญหาเพิ่มเติมจากคนรุ่นใหม่ แทนที่เขาจะขยันกว่าเรา เพราะโอกาสเขามีมากกว่าเรา แต่กลายเป็นว่า...

'อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย'

ซึ่งวนกลับมาเรื่องเดิม ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แถมท้อเร็ว ท้อง่าย ขาด Global mindset ที่มีในเด็กเวียดนาม, สิงคโปร์, จีน, อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี

แต่กลับบ่นเก่งกว่า...
...ทำไมไทยไม่เจริญ
...ทำไมถนนเราไม่เรียบ
...ทำไมต้นไม้ไม่เยอะๆ แบบเมืองนอก
...ทำไมไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ เยอะๆ

ผมมักเปรียบเทียบให้คน Gen X ปลาย Y ต้นฟัง ว่าคนอายุก่อนเกษียณวันนี้ ลงล่างไปจนอายุ 30 ต้น กำลังแบกภาระใหญ่ให้ประเทศไทย

เรามีคนรุ่นก่อนเราจำนวนไม่น้อยที่หวังดีต่อประเทศ แต่ไม่เข้าใจถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (คนดีๆ เก่งๆ ก็เยอะ ตรงนี้ต้องขออภัย)

เรามีคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ประเทศดีอย่างเมืองนอก แต่ความอดทนไม่พอ เพราะไม่เข้าใจว่า “ไม่มีความสำเร็จใดบนโลกใบนี้ที่ได้มาโดยไม่ต้องเหนื่อย”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top