Saturday, 15 March 2025
GoodVioce

“กระทรวงเกษตรฯ” ใส่เกียร์ลุย "5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย" พัฒนาระบบ บิ๊กดาต้าฐานข้อมูลเกษตร 77 จังหวัดพร้อมเปิดบริการภาครัฐออนไลน์รูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application)

“อลงกรณ์” เร่งเครื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรเมดอินไทยแลนด์ (M.I.T.) ปักธงจัดตั้งสตาร์ทอัพเกษตรทุกจังหวัดทั่วประเทศหวังเป็นคานงัดสร้างจุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (1มิ.ย) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) ว่า ภายใต้การขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการทั้ง2คณะได้เร่งทำงานเชิงรุกมีผลงานความคืบหน้าการดำเนินงานดังนี้

1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า ( Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) กำลังเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาฐานข้อมูล (Big Data) ระดับจังหวัด 77 จังหวัด เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการพยากรณ์ข้อมูลโดยให้หน่วยงานส่วนกลางและพื้นที่เชื่อมโยงชุดข้อมูลจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลตามมาตรฐานของ สำนักงานรัฐบาลดิจิตอล (สพร.) โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (ศกช. - National Agriculture Big Data Center:NABC) ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)รับผิดชอบดำเนินการ

สำหรับการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Gov Tech) ได้สำรวจเรื่องการใช้งานระบบ CKAN จัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 22 หน่วยงานแล้ว 

ในส่วนของการบริการรูปแบบอีเล็คทรอนิกส์ (e-Service) ขณะนี้ ดำเนินการให้เป็น Digital Service คืบหน้าไปกว่า 95% ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จทั้ง 176 ระบบภายในปี 2565  

ส่วนการพัฒนาการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมผ่านระบบ NSW (National Single Window) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับผู้ประกอบการ ขณะนี้มีการเชื่อมโยงแล้ว 55 ระบบ และเพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปให้สืบค้นข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วและเข้าถึงการบริการ e-Service ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนบิ๊กดาต้า (Big Data) และรัฐบาลเทคโนโลยี (Gov Tech) ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทําเว็บแอพพลิเคชันระบบบริการภาครัฐ (Web Application) เพื่อเป็นช่องทางกลางในการเข้าถึงบริการ ( e-Service) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย “ระบบบริการภาครัฐ” มีเมนูจําแนกตามกิจกรรมบริการที่สอดคล้องกับวัฏจักรการทําการเกษตรทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย 

1) การวางแผนการผลิต 

2) การหาปัจจัยการผลิต 

3) การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ดูแลรักษา 

4) การเก็บเกี่ยว 

5) การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าและ 

6) การตลาด การจําหน่าย 

นอกจากนี้ ยังมีเมนูพิเศษอื่น ๆ เพื่อการสืบค้นและสามารถเข้าถึงงานวิจัย ตลอดจน รายชื่อองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์ AIC 77 จังหวัด) โดยผู้ใช้งานสามารถค้นหาระบบ e-Service ที่ต้องการได้ทันที และระบบจะเชื่อมโยงไปถึงระบบ e-Service

'อลงกรณ์' เร่งเครื่อง 'เพชรบุรีโมเดล-เมืองสร้างสรรค์อาหาร' ทุกมิติ เดินหน้าเร็วโครงการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย

'อลงกรณ์' เร่งเครื่อง 'เพชรบุรีโมเดล-เมืองสร้างสรรค์อาหาร' ทุกมิติ เดินหน้าเร็วโครงการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย มอบ 'เกษตรฯ' ส่งเสริมทุกอำเภอ 'มกอช.' ทำไวได้จริง เปิดตัวร้านอาหาร Q ที่เพชรบุรีแห่งแรก ผู้ประกอบการแฮปปี้ ผู้บริโภคพอใจ พร้อมหนุนเกษตรปลอดภัย ใช้สินค้า Q

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า การขับเคลื่อน 'เพชรบุรี โมเดล' เป็นต้นแบบการปฏิรูปเมืองในทุกมิติมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะมิติการยกระดับศักยภาพจังหวัดในฐานะที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ขององค์การสหประชาชาติคัดเลือกให้เป็น 'เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร' (City of Gastronomy) และเพชรบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองเกษตร จำเป็นต้องเชื่อมโยงการพัฒนาภาคเกษตรภาคอาหารและผู้ประกอบการภายใต้นโยบาย 'มาตรฐานเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย' ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยส่งเสริมให้ร้านอาหารใช้มาตรฐานเกษตรปลอดภัยหรือตรา Q (Quality) เพื่อสร้างความมั่นใจของลูกค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค 

ล่าสุดทางสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ดำเนินการคิกออฟโครงการร้านอาหาร Q ที่เพชรบุรีเป็นแห่งแรก และมอบหมายให้ขยายโครงการให้ครบทุกอำเภอ ๆ ละ 1 แห่ง เป็นอย่างน้อย โดยร่วมมือกับจังหวัดเพชรบุรี หอการค้าจังหวัด สมาคมท่องเที่ยวและสถาบันเกษตรกรแบบบูรณาการทำงานเขิงรุกทุกภาคส่วนภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

‘อลงกรณ์’ ดันไทยเป็นฮับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงของอาเซียน (ASEAN Ev Conversion Hub) เสนอแผนปั้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแนวใหม่ แนะรัฐออก 8 มาตรการส่งเสริมการแปลงรถยนตร์เบนซินดีเซลเป็นรถไฟฟ้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ‘อนาคตประเทศไทยภายใต้ความท้าทายใหม่’ ในงาน ‘We Change ... BEV Conversion’ โดยมุ่งเน้นถึงทิศทางแนวโน้มอุตสาหกรรม แนวทางสนับสนุนของภาครัฐ องค์กร เพื่อลดปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดของอุตสาหกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ซึ่งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) ร่วมกับ บริษัท สื่อสากล จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน ตลอดจนสร้างกระแสความรับรู้มาตรการส่งเสริมภาครัฐ มุมมองการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยายนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจรายย่อยและประชาชนทั่วไป โดยมี นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดงาน นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนา ณ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 The 39th Thailand International MOTOR EXPO 2022 ห้องประชุมจูปีเตอร์ 8-9 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวปาถกถาถึงศักยภาพและอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย โอกาสและความท้าทายของสถานการณ์สำคัญของโลก และการตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Chang) โดยรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 

โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) กำหนดนโยบาย 30@30 >> การผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030โดยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) 

'3 ฟันเฟือง' เดินเครื่องเศรษฐกิจไทยสะดุดหนัก โจทย์ใหญ่ที่รัฐต้องรีบแก้ไข ก่อนจะถึงทางตัน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤษภาคม ทั้งในปัจจุบัน และอีก 3 เดือนข้างหน้า ปรับลดลงจากเดือนก่อน จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และมีพฤติกรรมระมัดระวังการใช้จ่าย 

ความกังวลของผู้บริโภค ต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ต้องมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย เลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่จำเป็น และคุ้มค่ามากขึ้น ประครองเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่ภาพอนาคตทางเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน ดัชนีความเชื่อมั่นของฝั่งผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ก็ลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

เครื่องจักรหลัก ที่จะช่วยเดินเครื่องเศรษฐกิจ ก็ติดขัด เครื่องจักรตัวแรก 'การส่งออก-นำเข้า' คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ปรับลดตัวเลขประมาณการการขยายตัว เหลือเพียง 0.5-1.5% ลดลงจากที่เคยตั้งเป้าไว้ 3.7% จากช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการค้ากับประเทศจีน เราเสียเปรียบดุลการค้ามาก ในปี 2565-2566 ติดลบถึงปีละ 1.29 ล้านล้านบาท 

สินค้าจีนทะลักเข้ามาขายในประเทศ ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคา ธปท. ประมาณการว่า 41% ของธุรกิจค้าปลีก ได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ส่งผลให้ต้องมีการปรับลดราคา เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้

เครื่องจักรตัวที่สอง 'การใช้จ่ายภาครัฐ' การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของภาครัฐ ยังคงล่าช้า และใช้อย่างจำกัด เนื่องด้วยการต้องรอจัดสรรงบประมาณ ให้กับ ‘โครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท’ ส่วนที่สามารถเบิกจ่ายได้ก็เหลือเพียงเล็กน้อย ต่อให้สามารถเข็นโครงการแจกเงินดิจิทัลออกมาได้ ก็ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด เพราะเม็ดเงินในโครงการ ส่วนใหญ่ก็เป็นเงินงบประมาณภาครัฐประจำปี 2567 และ 2568 ซึ่งเป็นเม็ดเงินตัวเดียวกันที่เตรียมจะมีการเบิกใช้จ่ายอยู่แล้ว

เครื่องจักรตัวที่สาม 'การลงทุนของภาคเอกชน' ข่าวการประกาศปิดตัวโรงงานผลิตรถยนต์ ของ 2 ค่ายญี่ปุ่น รวมทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมเปิดเผยตัวเลข ไตรมาสแรก ปี 2567 มีโรงงานปิดกิจการสูงถึง 367 แห่ง เป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา (ไตรมาสแรก 2564-2567) พนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 10,066 คน ซึ่งกระทบความเชื่อมั่นในการลงทุนค่อนข้างมาก ต่างประเทศที่จะมาลงทุนโรงงานใหม่ๆ ยังมีไม่มากนัก 

เมื่อ 3 เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นอันสะดุด ราคาน้ำมันเริ่มคุมไม่ไหว ดีเซล พุ่งทะยานเกินระดับ 33 บาทต่อลิตร ย่อมกระทบต่อภาคธุรกิจขนส่ง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ก็ยังอยู่ในภาวะราคาแพง ทีมเศรษฐกิจรัฐบาล การบ้าน เล่มหนามากแล้ว คงต้องเริ่มทยอยส่งการบ้าน ก่อนที่วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ จะ ‘เอาไม่อยู่’

ต่างชาติ แห่ลงทุน Data Center ปีนี้กว่า 1.7 แสนล้าน หนุนไทยสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน

(14 พ.ย. 67) ‘รองโฆษกรัฐบาล’ เผย ต่างชาติเชื่อมั่น ลงทุนในกิจการ Data Center ในประเทศไทยต่อเนื่อง ล่าสุด BOI ไฟเขียว 2 โครงการใหญ่ มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท รวมทั้งปี 47 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 1.73 แสนล้านบาท

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 67 เวลา 9.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังเป็นเป้าหมายและยุทธศาสตร์สำคัญด้านการลงทุน Data Center และ Cloud Service อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  พบว่าในรอบปีที่ผ่านมา มีโครงการลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ในกิจการ Data Center และ Cloud Service รวม 47 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 173,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนจากบริษัทรายใหญ่ทั้งสัญชาติอเมริกัน ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย 

จากข้อมูลล่าสุด BOI อนุมัติส่งเสริมการลงทุนกิจการ Data Center 2 โครงการใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วย บริษัท ควอตซ์ คอมพิวติ้ง จำกัด ในเครือ Alphabet Inc. (สหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google มูลค่าลงทุน 32,760 ล้านบาท เป็นการลงทุนตามแผนธุรกิจที่ Google ได้ประกาศระหว่างการพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ว่าจะสร้าง Data Center และ Cloud Region แห่งใหม่ ในประเทศไทย ด้วยมูลค่าเงินลงทุนเฟสแรก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเป็นศูนย์ Data Center แห่งที่ 5 ในเอเชียของ Google ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี มีแผนเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2570

และโครงการ Data Center ของบริษัท ดิจิทัลแลนด์ เซอร์วิสเซส ในเครือ GDS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Data Center ชั้นนำระดับโลก ที่ให้บริการทั้งในประเทศจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่าลงทุน 28,000 ล้านบาท โดยโครงการใหม่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี มีแผนเปิดให้บริการในปี 2569

นางสาวศศิกานต์กล่าวว่า จากนโยบายเชิงรุกของรัฐบาล ที่ส่งเสริมด้าน Cloud First Policy ช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยี Cloud ส่งผลให้ตลาด Data Center ในไทยขยายตัวมากขึ้น ตอกย้ำการพัฒนาก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล อีกทั้งจากผลประโยชน์จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและเสริมความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศไทย และเป็นการเปิดโอกาสให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มเม็ดเงินในหลายมิติ ทั้งภาคการผลิต การค้า และการท่องเที่ยว อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Digital Innovation Hub ของภูมิภาคอาเซียนด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top