Monday, 20 May 2024
Econbiz

Forbes ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ทำรายได้สูงสุดบนYouTube ออกมา โดยผู้ที่ทำรายได้สูงสุดนั่นก็คือ ‘Ryan Kaji’ จากช่อง ‘Ryan’s World’ ที่อายุเพียง 9 ขวบเท่านั้น

คลิปวิดีโอส่วนใหญ่ของ ‘Ryan Kaji’ จะเป็นการเปิดกล่องของเล่น หรือไม่ก็เป็นการเล่าเรื่องราวชวนให้อบอุ่นใจซะมากกว่า ซึ่งคอนเทนต์รูปแบบนี้ ก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมบนYouTube เลยเอื้อโอกาสที่จะทำรายได้ได้ดีมากขึ้นไปอีก

สำหรับในปีนี้ 2020 นี้ ‘Ryan Kaji’ สามารถทำรายได้ไปกว่า 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 885 ล้านบาท) ซึ่งมากกว่าปีที่ก่อนหน้าที่ทำได้อยู่ที่ 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


ที่มา: Social Media Today

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประเมินส่งออกไทยปี 64 ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดโต 4% หลังสัญญาณเศรษฐกิจ การค้าโลกดี แต่ยังต้องจับตาการล็อกดาวน์ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และบาทแข็ง

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า

กรมฯ ได้ประเมินทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2564 ว่าจะกลับมาขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัว 4% ซึ่งสอดคล้องกับหลายหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าปี 2564 เศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการขยายตัวที่ 5.2% จากติดลบที่ 4.4%

ในปี 2563 โดยประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่ม Emerging Markets ในเอเชีย (จีน อินเดีย และอาเซียน 5 ประเทศ) จะมีการฟื้นตัวเร็วที่สุดเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ และองค์การการค้าโลก (WTO) คาดว่าการค้าโลกในปี 2564 จะสามารถกลับมาขยายตัวที่ 7.2% ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนการส่งออกของไทยให้ฟื้นตัวขึ้นได้

ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ การคิดค้นและริเริ่มการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์แพร่ระบาดและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งส่งผลสืบเนื่องให้ภาคอุปสงค์มีแนวโน้มขยายตัว , มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงเริ่มมีคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การส่งออกยังได้รับผลดีจากทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ (นายโจ ไบเดน) มีนโยบายเน้นการยึดถือกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบ WTO มากขึ้น และความสำเร็จของการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) จะส่งผลดีต่อการขยายตัวของการค้าในภูมิภาคอาเซียน และนอกภูมิภาคอาเซียน อีก 5 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) โดยจะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนและไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในปีหน้า

นอกจากนี้ สินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยเฉพาะสินค้าอาหาร สินค้าสุขอนามัย และสินค้าเพื่อความบันเทิงในที่พักและการทำงานที่บ้าน (work from home) ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากมีการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในหลายประเทศ รวมถึงบริการดิจิทัลคอนเทนต์และบริการสุขภาพ ขณะที่ระบบโลจิสติกส์ ไม่มีการหยุดชะงัก และคู่ค้ามีความมั่นใจในสินค้าไทยที่ปลอดเชื้อจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องระวัง คือ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า ซึ่งเรื่องนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการประชุมร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยและภาคเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้แล้ว ทั้งการเร่งนำเข้าตู้เปล่า ซ่อมตู้เก่า ส่งออกโดยไม่ใช้ตู้ สนับสนุน SMEs รวมตัวจองตู้ และหาทางให้เรือ 400 เมตรเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมฉบังได้ รวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่า ที่จะกระทบต่อการแข่งขัน ความไม่แน่นอนของโควิด-19 ที่จะทำให้มีการล็อกดาวน์ในบางประเทศ และการกีดกันทางการค้าที่จะมีมากขึ้น เช่น มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยแนวโน้มตลาดสุกรปี 64 สดใส คาดความต้องการบริโภคเพิ่มทั้งในไทยและภูมิภาค ขณะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้นในภูมิภาคเอเชีย ที่ยังปลอดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมู

นายสัตวแพทย์ วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมสุกรในปี 64 ภาพรวมยังคงสดใส แม้จะมีความท้ายทายจากวิกฤติโควิด-19 และสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู (ASF) ที่ยังพบการระบาดในประเทศรอบ ๆ ไทย แต่มองว่ายังมีความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย

ขณะที่ปริมาณการผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีนี้ จากภาวะโรค ASF และโรคเพิร์ส (PRRS) ที่ยังต้องเฝ้าระวัง และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงลดความเสี่ยง สอดคล้องกับการผลิตสุกรทั่วโลกที่ลดลงจากปัจจัยดังกล่าว และเชื่อว่าสุกรจะยังคงเป็นสินค้าปศุสัตว์เดียวที่เหลืออยู่ ที่จะสามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้ในวิกฤติโควิด-19 เช่นนี้

สำหรับปี 63 เป็นปีที่อุตสาหกรรมสุกรทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค ASF ในสุกร แต่ไทยนับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่คงสถานะปลอดโรค ASF จนถึงปัจจุบัน ช่วยตอกย้ำถึงมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยทางอาหารของสุกรไทยได้เป็นอย่างดี

มีผลผลิตสุกรมากกว่า 22 ล้านตัว พิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่การผลิตอยู่ที่ 20.43 ล้านตัว ปริมาณการผลิตขยายตัวตามจำนวนประชากร ประกอบกับราคาสุกรมีชีวิตจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต หลังจากที่ช่วงกลางปี 2562 ราคาสุกรตกต่ำเป็นอย่างมากจากปัญหา Over supply และมีปัจจัยเสริมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ASF ทำให้เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ ต่างระมัดระวังในการเข้าเลี้ยงสุกรมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปีก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ การผลิตสุกรของไทย ยังคงเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณ 97% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทยอยู่ที่ปริมาณ 1.49 ล้านตันในปี 63 เพิ่มขึ้น 0.68% จากปี 62 โดยการผลิตสุกรยังคงเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน

สำหรับการส่งออกมีการขยายตัวจากความต้องการสุกรของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ที่ประสบปัญหา ASF ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ และราคาสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัวจากภาวะปกติ ตามกลไกตลาด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทย

เนื่องจากไทยมีระบบฟาร์มมาตรฐานที่แข็งแกร่งทั้งฟาร์มเชิงพาณิชย์ ที่เลี้ยงภายใต้มาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GFM ในฟาร์มขนาดเล็ก ที่กรมปศุสัตว์ผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองมาตรฐานมุ่งเน้นการปกป้องฟาร์มและฝูงสัตว์ ด้วยจัดการฟาร์มให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity System) ที่เข้มงวด

สมาคมธนาคารไทยชี้แจง หากประชาชนต้องการแลกเปลี่ยนธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรหมุนเวียนปกติ สามารถติดต่อขอแลกหรือนำฝากได้ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง

สมาคมธนาคารไทย โดยนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกรณีมีข่าวประชาชนนำธนบัตรที่ระลึกไปแลกที่สาขาธนาคารและสาขาธนาคารไม่รับแลก ดังนี้

1.) ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา 1000 บาท และ 100 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนปกติทุกประการ

2.) สาขาธนาคารสามารถให้บริการรับฝาก แลก และรับชำระหนี้ได้ตามปกติ เช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนปัจจุบัน

3.) ธนบัตรที่ระลึกรุ่นนี้ ปัจจุบันไม่สามารถใช้กับเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติได้ เพราะแต่ละธนาคารต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงโปรแกรม ให้สามารถตรวจสอบธนบัตรที่ระลึกที่เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติทั่วประเทศ

เนื่องจากธนบัตรที่ระลึก มีการจัดพิมพ์ในปริมาณจำกัด ดังนั้น หากประชาชนต้องการฝากธนบัตรที่ระลึก สามารถติดต่อขอฝากได้ที่สาขาของธนาคารทั่วประเทศ

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สาขา หรือ Call Center ของธนาคารที่ท่านใช้บริการ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 12 ปี ที่ Bitcoin ได้เปิดตัวระบบ cryptocurrency เงินดิจิตอลระบบใหม่ที่เคลมว่าจะเป็นเงินแห่งโลกอนาคตที่จะสามารถใช้แทนค่าเงินสกุลต่าง ๆ ได้ทั่วโลก

หลังจากผ่านมา 12 ปี วันนี้ Bitcoin ก็สร้างปรากฏการณ์พุ่งทะลุผ่าน 34,000 ดอลลาร์/ 1 บิทคอยน์ สร้างความฮือฮาในหมู่นักลงทุนเป็นอย่างมาก และเป็นมูลค่าสูงสุดตั้งแต่เปิดตัวสกุลเงินทีเดียว ซึ่งเป็นมูลค่าที่พุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

หลังจากที่ Bitcoin พุ่งผ่านเพดาน 20,000 ดอลลาร์/บิทคอยน์ ไปเมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2020 และใช้เวลาไม่ถึง 3 สัปดาห์ ที่มูลค่าของ Bitcoin ขึ้นมาทำ New High ใหม่ ที่ 34,000/บิทคอยน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนฟันธงแล้วว่า ปีนี้ 2021 Bitcoin มาแน่ และมันจะกลายเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้อย่างแพร่หลายอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้

แต่ก็มีความเห็นอีกฝ่ายออกมาบอกว่า การที่มูลค่าของ Bitcoin พุ่งทะยานอย่างก้าวกระโดดนั้น มาจากการที่ Paypal กระโดดเข้ามาร่วมวงโดยให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันผ่านทางเว็บไซท์ Paypal ได้ง่ายๆ ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่ตกต่ำ ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะไปถือ Bitcoin กันมากขึ้น

ดังนั้นอนาคตของ Bitcoin ยังต้องดูกันอีกในระยะยาว เพราะ Bitcoin ก็เคยมีช่วงที่มูลค่าดิ่งเหวเกือบ 50% เหลือเพียง 6,000 ดอลลาร์/บิทคอยน์ เท่านั้นตอนปี 2018 ที่ว่ากันว่าเป็นยุคฟองสบู่แตกของ Bitcoin

แต่ก็มีนักลงทุนก็ยังยืนยันว่า ยังไง Bitcoin ก็มาแน่ รวมถึงเงินสกุลดิจิตอลอื่น ๆ ที่จะกลายเป็นยุคเปลี่ยนผ่านสู่โลกแห่งเศรษฐกิจการเงินยุคใหม่

แต่ทั้งนี้ทุกอย่างก็เป็นเพียงการคาดเดา และทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ในปี 2021 Bitcoin จะมาแน่หรือไม่ ไม่มีใครทราบแต่ที่แน่ๆ คือแมลงเม่ามาแล้ว


แหล่งข้อมูล

https://www.theguardian.com/.../bitcoin-hits-record-high...

https://newsroom.paypal-corp.com/2020-10-21-PayPal...

https://en.m.wikipedia.org/wiki/Cryptocurrency_bubble

เครดิต : หรรสาระ By Jeans Aroonrat

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผย ครึ่งปีแรกต้องใช้วิธีประคับประคองเศรษฐกิจ เนื่องจากยังมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 หากมีวัคซีนออกมาสถานการณ์ดีขึ้นแน่นอน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยทิศทางเศรษฐกิจปี 2564 ว่า ในช่วงครึ่งปีแรกการบริหารเศรษฐกิจไทยคงต้องใช้วิธีประคับประคองไปก่อน โดยใช้มาตรการของรัฐที่ผลักดันออกมาก่อนหน้านี้

รวมทั้งการขับเคลื่อนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 64 ด้วยการเร่งรัดการเบิกจ่ายทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้ได้ตามเป้าหมาย เพราะในช่วงครึ่งปีแรกยังต้องบริหารเศรษฐกิจบนความไม่แน่นอน เนื่องจากยังมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 และยังต้องรอเรื่องของวัคซีนที่จะนำมาใช้ต่อไปด้วย

ทั้งนี้ในสิ่งที่ยังกังวลในปี 2564 มีอยู่ด้วยกันหลายเรื่อง เช่น หนี้ครัวเรือน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบ รวมทั้งเรื่องแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคท่องเที่ยวที่ต้องประคับประคองต่อ

ขณะเดียวกันยังต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศ หากไม่ได้วิกฤติมากจนถึงขั้นล็อกดาวน์ในหลาย ๆ ประเทศก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมากนัก และถ้าหลายประเทศมีวัคซีนออกมาสถานการณ์ก็ดีขึ้นแน่นอน

ส่วนสิ่งที่ต้องเริ่มทันทีหลังผ่านปีใหม่แล้ว คือ ต้องเริ่มเปิดดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ล่าสุดมีกระบวนการที่ภาครัฐเตรียมพร้อมรองรับเอาไว้แล้ว

รวมทั้ง การดูแลสภาพคล่องของธุรกิจเอสเอ็มอีในธุรกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยต้องพยายามประคับประคองให้กลุ่มนี้ยืนระยะต่อไปให้ได้ พร้อมทั้งติดตามบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่ได้ออกไปค้ำประกันสินเชื่อให้ในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ทันทีที่ข่าวการอวดโฉม เรือเฟอร์รี่ ‘สัตหีบ-สงขลา’ ซึ่งจะเริ่มทดสอบจริงในช่วง7ม.ค.นี้ ดูจะทำให้ประชาชนคนไทย และภาคธุรกิจหลายๆ ส่วน เฮ!! ดังมากๆ

โปรเจ็กต์นี้ทาง ‘กรมเจ้าท่า’ ได้ร่วมกับ บริษัท ซีฮอร์ส เฟอร์รี่ จำกัด เพื่อให้บริการจากท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ (ท่าเรือจุกเสม็ด) - ท่าเรือเซ้าท์เธิร์น โลจิสติกส์ 2009 จังหวัดสงขลา ด้วยความเร็ว 17 น็อต จาก 330 ไมล์ทะเล (611 กม.) ใช้เวลาเดินทาง 18-20 ชม. เร็วกว่าทางบกที่ระยะทาง 1,130 กม. ช่วยร่นระยะทาง 519 กม. ไม่ต้องหลังแข็งขับรถ 23-24 ชม. ใช้เวลานอนพักผ่อนบนเรือได้เต็มที่

โดยโครงการนี้ ทางผู้ประกอบการลงทุน100% ได้ซื้อเรือเฟอร์รี่มือสองมาจากเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางถึงเมืองไทยแล้ว อยู่ระหว่างซ่อมบำรุงที่อู่เรือ บริษัท ยูนิไทยชิปยาร์ด จำกัด

จากนั้นก็เตรียมแผนทดสอบระบบการเดินเรือและทดลองเปิดบริการเพื่อรับรถของลูกค้าบริษัทก่อนประมาณวันที่ 7 ม.ค. นี้ แล้วก็คาดว่าจะเปิดบริการอย่างเป็นทางการให้ประชาชนทั่วไปภายในเดือนมกราคม หรืออย่างช้าก็เดือนกุมภาพันธ์

ส่วนรายละเอียดอัตราค่าโดยสารเนื่องจากกำลังจัดทำรายละเอียดของต้นทุนในการเดินเรือนำเสนอและรอผลการทดสอบก่อน แต่ได้ให้ข้อแนะนำว่าควรกำหนดอัตราที่ผู้ประกอบการรถบรรทุกและประชาชนรับได้

ทั้งนี้ หากมองถึงประโยชน์ที่จะมาพร้อมกับ เฟอร์รี่ ‘สัตหีบ-สงขลา’ นั้นมีเพียบ ตั้งแต่...

• ขนรถบรรทุกได้ถึง80คัน

• รถส่วนตัว20คัน

• ผู้โดยสาร586คน

• สร้างระบบโลจิสติกส์แบบวาร์ป จาก ‘ตะวันออกไปถึงภาคใต้’

• และถ้าเวิร์คเฟสต่อไป ก็จะไปจอดท่า ‘ปราณบุรี’

ตามมุมมองของ วิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ให้ความเห็นว่า โครงการเดินเรือเฟอร์รี่ ระหว่าง ‘สัตหีบ-สงขลา’ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ภาพรวมการขนส่งภายในประเทศ ผ่านระบบการขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นโครงการที่ ‘Very Good’

เนื่องจากเป้าหมายของโครงการนี้ ไม่แค่เพื่อการขนส่งอย่างเดียว แต่ยังมาช่วยลดปัญหา ความแออัดของการจราจร และลดการเกิดอุบัติเหตุท้องถนน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

อีกทั้งสามารถประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงถนนของภาครัฐ อันนี้คือข้อดีตามแผนของโครงการดังกล่าว

โดยในระยะแรกจะให้บริการในเส้นทางชลบุรี(สัตหีบ) – สงขลา เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก กับเขตเศรษฐกิจภาคใต้พร้อมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว

ฟังๆ ดูแล้วที่เล่ามาทั้งหมด ช่างดูเป็นโปรเจ็กต์ที่สวยหรู และพร้อมเดินหน้าได้โลด!!

แต่เดี๋ยวก่อน หากหันไปมองดู ‘ข้อสะดุด’ บางอย่างก็ยังมี และเหมือนจะมีแบบหนักหนาด้วย!

นั่นก็เพราะมีคนในโลกโซเชี่ยลตั้งประเด็นเรื่องเรือเฟอร์รี่ ‘สัตหีบ-สงขลา’ ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นว่า ‘ไม่ปลอดภัย’

จากข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Naruphun Chotechuang’ ที่ทราบชื่อภายหลังว่า ‘นฤพันธ์ โชติช่วง’ ซึ่งเป็นอดีตนักเรียนวิทยาลัยยามชายฝั่งญี่ปุ่น และอดีตเจ้าหน้าที่ ได้มีมุมมองที่ย้อนแย้งที่ทำให้ต้องสะอึกกับโครงการเฟอร์รี่ สัตหีบ-สงขลา พอดู

อันที่จริงแล้ว นฤพันธ์ เห็นด้วยกับโครงการนี้ว่ามีความน่าสนใจ เพราะลดลดทั้งความหนาแน่นบนท้องถนน และมลพิษที่ออกจากรถยนต์ตามที่กรมเจ้าท่าบอก แต่เขาไม่เห็นด้วยกับการเอาเรือเฟอร์รี่ ซีฮอร์ส หรือเรือเฟอร์รี่มือสองจากญี่ปุ่นมาวิ่งเส้นทาง สัตหีบ – สงขลา

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น ถูกโพสต์ทิ้งไว้ในเพจให้ต้องคิดตามหลายเรื่อง!!

“เรือลำนี้ เป็นเรือมือสอง (ถ้านับจริงๆ ก็มือสาม) ที่ต่อตั้งแต่ปี 1994 อายุสิริรวมก็ได้ 27 ปี ช่วงรอยต่ออายุระดับเกือบ 30 ปีนั้น ทำให้เกิดข้อกังขาในเทคโนโลยีความปลอดภัยด้านตัวเรือ

แถมถ้ามองเส้นทางวิ่ง สัตหีบ-สงขลา ที่มีระยะทางมากกว่า 100 ไมล์ทะเลแล้ว ต้องบอกเลยว่ามันอาจจะเกินประสิทธิภาพไปมาก เพราะทราบหรือไม่ว่าเรือลำนี้ก่อนจะถูกซื้อมา ถูกใช้วิ่งบริเวณช่องแคบสึกะรุ ที่มีเส้นทางวิ่งไกลสุดเพียง 65 ไมล์ทะเลเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้นรูปแบบเส้นทางวิ่งของเรือลำดังกล่าว เป็นการวิ่งข้ามฝั่งระหว่างช่องแคบ แต่ของเราจะเอามาวิ่งตัดอ่าวไทย เพราะอยากประหยัดเวลามากขึ้น มันก็ต้องวิ่งตัดอย่างเดียว ไม่สามารถวิ่งเลาะชายฝั่งได้

ประเด็นเหล่านี้ คงพอทำให้คิดตามได้เล็กๆ ว่า ‘มันไม่อันตรายหรือ?’

ผมจะไม่ตั้งคำถามนี้ขึ้นมาเลย หากประเทศไทยมีระบบการช่วยเหลือทางน้ำที่ยอดเยี่ยมอย่างญี่ปุ่น เพราะเอาแค่เหตุการณ์ที่เรือเฟอร์รี่ข้ามเกาะพะงัน-สมุย กับ สุราษฏร์ฯ ที่ล่มห่างจากฝั่งไม่ถึง 10 กิโลเมตร แล้วไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้ทั้งหมด

ผมใบ้ให้คร่าวๆ ละกัน!!

1. ประเทศไทยมีระบบกู้ภัยของรัฐที่เชื่องช้าครับ ที่เราเห็นว่าปอเต็กตึ้ง หรือร่วมกตัญญู สามารถไปถึงได้เร็ว เพราะว่าเป็นเอกชน แม้แต่เคส 13 หมูป่า คนที่เริ่มลงมือช่วยเหลือกลุ่มแรกก็เป็นกู้ภัยอาสาสมัคร

2. ปัญหากู้ภัยทางบกเราถูกปิดบังด้วยความสามารถของเอกชน แต่ทางทะเล นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะว่าอุปกรณ์และความชำนาญต่างๆ มันเฉพาะด้านมากกว่ากันเยอะ เอกชนเลยไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่า การช่วยในกลุ่มเล็กๆ โดยมีนักประดาน้ำจำนวนไม่เยอะ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ในการกู้ภัยล้วนมีราคาแพงมาก เฮลิคอปเตอร์ เรือกู้ภัย บลาๆ ระดับเกิน 10 ล้านบาทขึ้น แถมต้องการเจ้าหน้าที่เฉพาะทางอีก เรื่องนี้เลยต้องเป็นราชการเป็นผู้รับผิดชอบ

3. อุปกรณ์ที่หลากหลาย และความชำนาญเฉพาะด้าน ก็เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่นั้นอยู่คนละองค์กร แต่ต้องทำงานร่วมกัน ภายใต้คำสั่งการของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีความรับผิดชอบตามกฎหมาย แล้วมีผู้ว่าคนไหนชำนาญด้านการช่วยเหลือทางทะเลบ้าง?

กู้ภัยไม่ทันไร ‘มืด’ ก็ยกเลิกการค้นหา รอฟ้าสว่าง ค่อยทำต่อ ไม่ทราบว่า เอาอะไรคิด ไม่ได้หลงป่านะ นี่อยู่กลางทะเล จะเอาตัวให้อยู่พ้นเหนือน้ำก็เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ยังต้องรอเป็นชั่วโมงกว่าจะเช้าอีก

ประเด็นนี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า ทั้งภาคธุรกิจและประชาชน หากทราบเรื่องนี้แล้ว จะสามารถฝากชีวิตไว้บนเรือนี้ได้เกิน 24 ชั่วโมงหรือไม่? แน่นอนว่าโครงการนี้ไม่แย่นะครับ ผมชอบนะ แต่ปัญหาคือ ลดต้นทุนด้านความปลอดภัยด้วยการซื้อเรือเก่ามาให้บริการเนี่ยนะ”

แม้ทางผู้ประกอบการจะเน้นย้ำถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินเรือ ท่าเรือ ตัวเรือ อุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเรือ คนประจำเรือ และการจัดการแผนเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

แต่ในมุมของคนที่ไม่ใช่ช่างเทคนิค ก็ไม่กล้าตัดมุมมองของ นฤพันธ์ ที่แม้จะไม่ใช่คนเด่นคนดัง แต่พลังข้อมูลมันก็สะท้อนให้ประชาชนตาดำๆ สัมผัสได้ถึง ‘ความเสี่ยง’ พอตัว

ช่วยไม่ได้ ก็เหรียญมันมี 2 ด้านนิหว่า!!

อ้างอิง: ที่มาฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรมเจ้าท่าเรือ

เฟซบุ๊ก Naruphun Chotechuang

ร้านชาบูดัง ‘ปลาวาฬใจดี’ สาขาซอยมัยลาภ ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ค ยินดีรับชำระด้วย ‘ธนบัตรที่ระลึก’ ทุกชนิด หลังสาขาแกรนด์ โนนม่วง ขอนแก่น ประกาศไม่รับชำระด้วย ‘ธนบัตรที่ระลึก’ แต่กลับรับ ‘แบงค์เป็ด’ ของคณะราษฎร ใช้เป็นส่วนลดได้

โดยทางร้านปลาวาฬใจดี สุกี้&ชาบู "สาขาซอยมัยลาภ" ได้โพสผ่านเฟซบุ๊ค ระบุว่า

ประกาศ..จาก "สาขามัยลาภ (กทม.)"

ปลาวาฬใจดี สุกี้&ชาบู "สาขาซอยมัยลาภ" เป็นระบบเฟรนไชน์ ตั้งอยู่ที่ 129 ซอยประเสริฐมนูกิจ 29(รามอินทรา14หรือซอยมัยลาภ) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร และเป็นคนละเจ้าของกับสาขาที่ขึ้นป้ายเกี่ยวกับธนบัตรที่ระลึก

ปลาวาฬใจดี สุกี้&ชาบู "สาขาซอยมัยลาภ" ขอแจ้งให้ทราบว่า ทางสาขาเรารับธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกชนิด ทุกราคา 1 บาท 10 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาทและ 1,000 บาท ที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายที่ลูกค้านำมาใช้จ่าย ได้ตามปกติ

นอกจากนี้ ทางร้านปลาวาฬใจดี ยังร่วมแคมเปญ "โครงการคนละครึ่ง" และ "เราเที่ยวด้วยกัน" อีกด้วย

ที่มา : Facebook : ปลาวาฬใจดี สุกี้&ชาบู "สาขาซอยมัยลาภ"

ธุรกิจเวชภัณฑ์ของบริษัท ซีพี ฟาร์มาซูติเคิล กรุ๊ป ลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้าน เข้าเป็นผู้ถือหุ้น 15% ของบริษัทซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ ซึ่งเป็นหน่วยผลิตวัคซีน “โคโรนาแวค” (CoronaVac) ในเครือ “ซิโนแวค ไบโอเทค” โดยเตรียมส่งวัคซีนทั้งหมด 2 ล้านโดสมายังประเทศไทย

สำนักข่าวนิกเกอิ เอเชีย รายงานว่า บริษัท “ซิโน ไบโอฟาร์มมาซูทิเคิล ลิมิเต็ด” (Sino Biopharmaceutical Limited) ธุรกิจเวชภัณฑ์ ของบริษัท ซีพี ฟาร์มาซูติเคิล กรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้ลงทุน 515 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.54 หมื่นล้านบาท) แลกกับการเข้าเป็นผู้ถือหุ้น 15% ของบริษัทซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ (Sinovac Life Sciences) ซึ่งเป็นหน่วยผลิตวัคซีน “โคโรนาแวค” (CoronaVac) ในเครือ “ซิโนแวค ไบโอเทค”

นอกจากบริษัทซีพีแล้ว ยังมีกองทุนของจีน “แอดวานซ์เทค แคปิตอล” และ กองทุนของสหรัฐ” วีโว่ แคปิตอล” ที่ได้ร่วมลงทุนกับทางซิโนแวค ไลฟ์ ไซเอนซ์ โดยเข้าผู้หุ้นส่วนบริษัทละ 6.3%

ทั้งนี้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และรองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพื่อคนไทย เปิดเผยว่า บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทคเตรียมส่งวัคซีนทั้งหมด 2 ล้านโดสมายังประเทศไทย โดยจะเริ่มนำเข้า 2 แสนโดสปลายเดือนก.พ. 64 ปลายเดือนมี.ค.อีก 8 แสนโดส และปลายเดือนเม.ย.อีก 1 ล้านโดส

ด้านสำนักบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติจีน (NMPA) ยังไม่แถลงการณ์อนุมัติการใช้งานหรือรับรองประสิทธิภาพของวัคซีน “โคโรน่าแวค” ซึ่งล่าสุดมีการรายงานว่าบริษัทกำลังทดลองขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตามทางการจีนได้เริ่มการฉีดวัคซีนนี้ให้กับประชากรภายในประเทศแล้ว

ก่อนหน้านี้ สำนักบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติจีนได้อนุมัติการใช้งานของบริษัท “ซิโนฟาร์ม” หรือ “China National Pharmaceutical Group Corp.” เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 63 ที่ผ่านมา โดยบริษัทแถลงการณ์ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโคโรน่าไวรัสอยู่ 79%

โควิด-19 ระบาดใหม่ ไทยสูญเสียอะไรบ้าง?

จากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มต้นจากตลาดกุ้งในสมุทรสาคร ขณะเดียวกันก็พบจำนวนผู้ติดเชื้อที่กระจายตัวเป็นวงกว้างไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในหลายจังหวัดของประเทศไทย มีการประเมินว่าภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจะได้รับความสูญเสียราว ๆ 45,000 ล้านบาทในกรอบเวลา 1 เดือน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top