Sunday, 5 May 2024
eCommerce

‘พรรคกล้า’ พบทูตจีนคนใหม่ร่วมถก ศก.สองประเทศ โฟกัส ‘e-Commerce - ท่องเที่ยว - อุตสาหกรรมสีเขียว’

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า พร้อมด้วยนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรค, นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรค, นายเทมส์ ไกรทัศน์ ผู้เสนอตัวสมัคร ส.ส.ภูเก็ต เข้าพบ นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ‘คนใหม่’ โดยได้มีการหารือประเด็นเศรษฐกิจการค้า โดยเฉพาะเรื่อง e-Commerce รวมถึงประเด็นการท่องเที่ยวที่ไทย ที่เฝ้ารอต้อนรับนักท่องเที่ยวจากจีน โดยท่านทูตพร้อมร่วมมือกับพรรคกล้า ในการประสานงานด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่อไป

นายกรณ์ กล่าวว่า ท่านทูตได้แสดงความยินดีกับพรรคกล้าที่มีอายุครบ 2 ปี เมื่อวานนี้ โดยได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่องเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ช่วงปีที่ผ่านมา ยอดการค้าระหว่างไทยกับจีน มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก มีการพูดคุยกันถึงโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมสีเขียว และการพัฒนาธุรกิจ e-Commerce ระหว่างกันในอนาคต

‘อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน’ โอกาสใหม่เศรษฐกิจ ‘จีน-แอฟริกา’ ช่วยกลุ่มธุรกิจเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น ลดต้นทุนรอบด้าน

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า หนังสือพิมพ์ข้อมูลเศรษฐกิจรายวัน (Economic Information Daily) สังกัดสำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อไม่นานนี้ว่า ‘อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน’ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างจีนและแอฟริกา โดยทำให้มีสินค้าจากแอฟริกาเข้าสู่ตลาดจีนเป็นจำนวนมาก

ผู้ขายกาแฟจากเอธิโอเปีย ซอสพริกจากรวันดา ชาดำจากเคนยา ช็อกโกแลตจากกานา เม็ดมะม่วงหิมพานต์จากแทนซาเนีย ฯลฯ เข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างง่ายดาย ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

มีสินค้ามากกว่า 200 ชนิดจากกว่า 20 ประเทศในทวีปแอฟริกา ที่ได้รับการแนะนำสู่สายตาผู้บริโภคชาวจีนผ่านการสตรีมมิง หรือ ไลฟ์สด บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซช่วงเทศกาลชอปปิงออนไลน์ ที่จัดขึ้นโดยจีนตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.- 12 พ.ค. ปี 2022 เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าจากแอฟริกา โดยข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ชี้ว่ายอดขายชาดำของเคนยาและยอดขายกาแฟเอธิโอเปียในช่วงเทศกาลดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 409 และร้อยละ 143.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับยอดในปี 2021

ขณะที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีน เช่น คิลิมอลล์ (Kilimall) อาลีบาบา (Alibaba) คิคู (Kikuu) และ ชีอิน (Shein) ก็พยายามที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดแอฟริกาเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น คิลิมอลล์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ก่อตั้งในเคนยาเมื่อปี 2014 และมีห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่อยู่ในจีน ได้เปิดบริการธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ บริการชำระเงินผ่านมือถือ และบริการขนส่งข้ามพรมแดน แก่ผู้ใช้งานในแอฟริกากว่า 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเคนยา ยูกันดา และไนจีเรีย เกิดการสร้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น

‘มณีรัตน์’ หนุนขายของออนไลน์-ลดค่าขนส่งระหว่างประเทศ ติดปีกให้ e-Commerce ไทย ก้าวขึ้นแข่งขันได้ในระดับสากล

เมื่อวานนี้ (7 พ.ค. 66) มณีรัตน์ ลิมป์รัตนกาญจน์ ผู้สมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 23 พรรคภูมิใจไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า…

ปัจจุบันการซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ค้าจีนสามารถส่งส่งสินค้ามาถึงผู้ซื้อในไทย ค่าส่งเพียง 20 บาท !! เขาทำกันได้อย่างไร ?? 

ค่าส่งสินค้าที่สูงเป็นปัญหาใหญ่ที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนไทยกำลังประสบกันอยู่ เพราะบางครั้งค่าส่งสินค้าภายในประเทศยังเสียค่าส่งแพงกว่านี้ !! 

รัฐบาลจีนให้ความสำคัญและผลักดันธุรกิจค้าปลีก e-commerce ของจีนจนสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด หนึ่งในเครื่องมือที่ทำให้ผู้ค้าปลีกออนไลน์จีนสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ คือค่าขนส่งสินค้าไปต่างประเทศที่ถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทำให้ผู้ค้าจีนได้เปรียบผู้ค้าประเทศอื่น ๆ ด้านราคาเมื่อคิดรวมค่าขนส่งกับค่าสินค้าเข้าด้วยกัน โดยรัฐบาลจีนให้ความช่วยเหลือผู้ค้าในส่วนนี้ โดยการสนับสนุนค่าส่งสินค้าไปต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์ม, ผลักดันเรื่องการบริหารจัดการระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ, ควบคุมราคาค่าส่งสินค้าให้มีความเหมาะสม, ร่วมกับการเจรจาลดหย่อนภาษีนำเข้ากับประเทศคู่ค้า

ในทางกลับกันประเทศไทยมีสินค้าไทย ที่ได้รับความที่นิยมจากลูกค้าชาวจีนและประเทศอื่น ๆ จำนวนมาก แต่หากคนไทยขายของออนไลน์ส่งไปต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน กลับต้องเสียค่าขนส่งสูงกว่าจากจีนมาไทยหลายเท่า เป็นปัญหาที่ดับฝันโอกาสทางธุรกิจของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์รายย่อยชาวไทยในการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มไปสู่ตลาดโลกอย่างสิ้นเชิง

ในครั้งนี้หากได้มีโอกาสได้เข้าไปเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ประเด็นการค้าขายออนไลน์ เป็นประเด็นสำคัญที่อยากจะผลักดัน โดยหนึ่งในนั้นคือการปลดล็อก ลดค่าขนส่งสินค้ารายย่อยระหว่างประเทศ เพื่อติดปีก e-Commerce ไทย สนับสนุนให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล

‘มณีรัตน์’ ชู ปลดล็อกค้าขายออนไลน์-ลดค่าขนส่งระหว่างประเทศ หวังติดปีก e-Commerce ดันผู้ค้ารายย่อย-สินค้าไทยสู่ตลาดโลก

เมื่อไม่นานนี้ น.ส.มณีรัตน์ ลิมป์รัตนกาญจน์ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กทม. พระโขนง-บางนา พรรคภูมิใจไทย (ภท.) หมายเลข 6 ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘มณีรัตน์ ลิมป์รัตนกาญจน์’ ถึงเรื่องการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยระบุว่า…

ปัจจุบันการซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ค้าจีนสามารถส่งส่งสินค้ามาถึงผู้ซื้อในไทย ค่าส่งเพียง 20 บาท!! เขาทำกันได้อย่างไร??

ค่าส่งสินค้าที่สูงเป็นปัญหาใหญ่ ที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนไทยกำลังประสบกันอยู่ เพราะบางครั้งค่าส่งสินค้าภายในประเทศยังเสียค่าส่งแพงกว่านี้!!

รัฐบาลจีนให้ความสำคัญและผลักดันธุรกิจค้าปลีก e-Commerce ของจีนจนสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด หนึ่งในเครื่องมือที่ทำให้ผู้ค้าปลีกออนไลน์จีนสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ คือ ค่าขนส่งสินค้าไปต่างประเทศที่ถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทำให้ผู้ค้าจีนได้เปรียบผู้ค้าประเทศอื่น ๆ ด้านราคาเมื่อคิดรวมค่าขนส่งกับค่าสินค้าเข้าด้วยกัน โดยรัฐบาลจีนให้ความช่วยเหลือผู้ค้าในส่วนนี้ โดยการสนับสนุนค่าส่งสินค้าไปต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์ม, ผลักดันเรื่องการบริหารจัดการระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ, ควบคุมราคาค่าส่งสินค้าให้มีความเหมาะสม, ร่วมกับการเจรจาลดหย่อนภาษีนำเข้ากับประเทศคู่ค้า

ในทางกลับกันประเทศไทยมีสินค้าไทย ที่ได้รับความที่นิยมจากลูกค้าชาวจีนและประเทศอื่น ๆ จำนวนมาก แต่หากคนไทยขายของออนไลน์ส่งไปต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน กลับต้องเสียค่าขนส่งสูงกว่าจากจีนมาไทยหลายเท่า เป็นปัญหาที่ดับฝันโอกาสทางธุรกิจของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์รายย่อยชาวไทย ในการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มไปสู่ตลาดโลกอย่างสิ้นเชิง

ในครั้งนี้หากได้มีโอกาสได้เข้าไปเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ประเด็นการค้าขายออนไลน์ เป็นประเด็นสำคัญที่อยากจะผลักดัน โดยหนึ่งในนั้นคือ การปลดล็อก ลดค่าขนส่งสินค้ารายย่อยระหว่างประเทศ เพื่อติดปีก e-Commerce ไทย สนับสนุนให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล

มกุฎราชกุมารซาอุฯ ผุดแผนสร้าง ‘ศูนย์โลจิสติกส์’ กว่า 50 แห่ง หนุนความหลากหลายเศรษฐกิจท้องถิ่น-อีคอมเมิร์ซ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว เผยว่า เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน อัล ซาอุด มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เปิดตัวแผนสร้างศูนย์โลจิสติกส์กว่า 50 แห่ง เพื่อเปลี่ยนประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ระดับโลก

สำนักข่าวซาอุดีอาระเบีย รายงานว่าแผนการดังกล่าวมีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาคโลจิสติกส์ สร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจท้องถิ่น และเสริมสร้างสถานะของซาอุดีอาระเบียในฐานะจุดหมายการลงทุนชั้นนำ

รายงานระบุว่าแผนการนี้ประกอบด้วยศูนย์ 59 แห่งบนพื้นที่รวมกว่า 100 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในกรุงริยาด 12 แห่ง เมกกะ 12 แห่ง ภูมิภาคตะวันออก 17 แห่ง และส่วนอื่นๆ ของซาอุดีอาระเบียอีก 18 แห่ง

ศูนย์โลจิสติกส์ดังกล่าวซึ่งคาดว่าจะสร้างเสร็จภายในปี 2030 จะเปิดทางให้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ส่งออกผลิตภัณฑ์ของซาอุดีอาระเบียได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ โดยเกื้อหนุนการเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว ระหว่างศูนย์โลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าทั่วซาอุดีอาระเบีย

‘สนค.’ ชี้เป้าผู้ประกอบการไทย เล็งขายสินค้าออนไลน์เจาะ ‘ตลาดจีน’ หลังพบมีการเติบโตต่อเนื่อง จากการที่คนจีนใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น

(12 ก.ย.66) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ทำการศึกษาการเติบโตของการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน หรือ Cross-border e-Commerce (CBEC) พบว่า มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทย โดยมีปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยปี 2565 มีจำนวน 1.067 พันล้านคน เพิ่มขึ้น 35.49 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2564 และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้ e-Commerce มากขึ้น

ทั้งนี้ ยังพบว่า รัฐบาลจีนมีมาตรการและนโยบายสนับสนุน เช่น การจัดตั้งเขตนำร่องบูรณาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน จำนวน 165 แห่ง ครอบคลุม 33 เมือง อาทิ หางโจว ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง และเฉิงตู เชื่อมโยงระหว่างทางบก ทางทะเล ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าของ SMEs จีน ไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์ในต่างประเทศและส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อมาจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในจีน โดยผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและมีขั้นตอนพิธีการศุลกากรที่ง่ายกว่าการค้าระหว่างประเทศแบบปกติ และมีการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างจีนกับต่างประเทศผ่านการลงนามในสัญญาความร่วมมือระยะยาวระหว่างรัฐบาลจีนกับบริษัทด้านการค้าระหว่างประเทศและบริษัทด้านการขนส่งทางทะเล รวมทั้งการส่งเสริมบริษัทคลังสินค้าในต่างประเทศให้เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์ม E-Commerce ทั้งของจีนและต่างประเทศ

สำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสู่ตลาดจีนผ่านทางแพลตฟอร์ม CBEC แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.) การนำเข้าสินค้าผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse Import) ผู้ประกอบการจากทั่วโลกสามารถนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยไม่ต้องผ่านพิธีการศุลกากรและยังไม่ต้องเสียภาษี จนกว่าผู้บริโภคจะสั่งซื้อสินค้า โดยการนำเข้ารูปแบบนี้มีข้อดี ดังนี้ (1) ลดระยะเวลาการรอคอยสินค้า การนำเข้าสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสามารถจัดส่งสินค้าถึงผู้บริโภคได้ภายใน 3-7 วัน (2) ห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการคัดแยก บรรจุหีบห่อใหม่และการติดฉลากสินค้าในคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร (3) รักษาสภาพคล่องได้ดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องชำระอากรและภาษีเมื่อมีการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน จึงทำให้ธุรกิจสามารถรักษากระแสเงินสดได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ดังนี้

(1) ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ อาทิ ขั้นตอนพิธีการศุลกากรที่เพิ่มขึ้นในการขอเก็บสินค้าในคลัง และข้อจำกัดในการจัดเก็บสินค้าในคลัง (2) ต้นทุนการดำเนินงาน อาทิ ค่าเช่า ค่าประกันภัย และค่าบริหารจัดการ

2.) การส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคโดยตรง (Direct Mailing Mode) ผู้ประกอบการสามารถส่งสินค้าจากประเทศต้นทางไปยังผู้บริโภคที่อยู่ในจีนโดยตรงผ่านระบบโลจิสติกส์ การชำระเงิน และการเสียภาษีที่ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม โดยจะมีความสะดวกของผู้บริโภคและผู้ประกอบการในด้านระบบโลจิสติกส์ เนื่องจากของแพลตฟอร์มกับบริษัทโลจิสติกส์ร่วมมือกันโดยตรง และยังมีต้นทุนต่ำจากการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายคลังสินค้าทัณฑ์บนในจีน แต่ก็ยังมีข้อจำกัด คือ อาจต้องใช้ระยะเวลาผ่านพิธีการศุลกากรประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งยาวนานกว่าการนำเข้าสินค้าผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บนที่ใช้เวลาดำเนินการพิธีทางศุลกากรเพียง 1-2 วัน

นายพูนพงษ์กล่าวว่า โอกาสของผู้ประกอบการไทยจากการที่ตลาด CBEC ของจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังมีความต้องการซื้อสินค้าในตลาดอยู่จำนวนมาก ประกอบกับมีสินค้าไทยหลายชนิดที่สามารถทำยอดขายในจีนได้อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว อาทิ อาหารแปรรูป อาหารพร้อมรับประทาน ขนมขบเคี้ยว สินค้าเพื่อสุขภาพ ผลไม้สด เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวธรรมชาติ ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยค้าขายผ่านช่องทาง CBEC มากขึ้น และมุ่งเน้นสินค้าที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย มีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจีน ตอบสนองคุณภาพชีวิตยุคใหม่ก็จะสามารถเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาดในจีนได้โดยการค้าผ่าน CBEC มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีและพิธีทางศุลกากรที่ถูกและง่ายกว่าการค้าแบบปกติ หากเป็นคำสั่งซื้อสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 หยวน ต่อคำสั่งซื้อ และมูลค่ารวม ไม่เกิน 26,000 หยวนต่อปี/ต่อราย ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตเพียงร้อยละ 70 จากอัตราปกติ

“ด้วยแนวโน้มการซื้อขายสินค้าผ่าน CBEC ที่เติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและพิธีศุลกากรที่ง่ายและรวดเร็วกว่าการซื้อขายในช่องทางปกติ จะทำให้ CBEC เป็นช่องทางสำคัญในการเพิ่มโอกาสและขยายช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเครื่องสำอางและสิ่งของที่ใช้ทำความสะอาดร่างกายและบำรุงผิว รวมไปถึงอาหารสด โดยผู้ประกอบการควรศึกษาตลาดจีนให้ลึกซึ้งทั้งในด้านกฎหมาย ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนเลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะกับตัวสินค้าเพื่อให้สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และสามารถใช้ช่องทาง CBEC เป็นกุญแจสำคัญในการขยายธุรกิจสู่ตลาดจีนต่อไป” นายพูนพงษ์กล่าว

ปัจจุบัน กรมศุลกากรจีน ระบุว่า มูลค่าการนำเข้าและส่งออกผ่าน CBEC ในปี 2565 มีมูลค่า 2.06 ล้านล้านหยวน (2.83 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าการนำเข้าและส่งออกผ่าน CBEC สูงถึง 1.1 ล้านล้านหยวน (1.50 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 แบ่งเป็น การส่งออก 8.21 แสนล้านหยวน (1.12 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 และการนำเข้า 2.76 แสนล้านหยวน (3.78 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ซึ่งเมื่อพิจารณาแนวโน้มมูลค่าการนำเข้าและส่งออกผ่าน CBEC ของจีนแล้วจะเห็นว่ามีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นตั้งแต่ปี 2563

‘จีน’ มีโรงงานอัจฉริยะ-สถานีฐาน 5G กว่า 2.2 แสนแห่งแล้ว พร้อมผลักดันเครือข่ายขนาดใหญ่-ล้ำสมัยมากที่สุดในโลก

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัว, หางโจว รายงงานว่า สำนักเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำมณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน รายงานว่า ปัจจุบันเจ้อเจียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ได้ก่อสร้างสถานีฐาน 5G เป็นจำนวน 220,000 แห่งแล้ว

‘หลี่หมิน’ รองผู้อำนวยการสำนักฯ ซึ่งร่วมการประชุม 5G+ อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมแห่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ปี 2023 ในเมืองเส้าซิงของเจ้อเจียง กล่าวว่าปัจจุบันผู้อยู่อาศัยในเจ้อเจียงทุก 10,000 คน สามารถเข้าถึงสถานีฐาน 5G มากกว่า 33 แห่ง

นอกจากนั้น เจ้อเจียงได้สร้าง ‘โรงงานแห่งอนาคต’ และโรงงานอัจฉริยะระดับมณฑล จำนวน 653 แห่ง และสร้างแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมระดับมณฑล จำนวน 535 แห่ง

อนึ่ง จีนถือเป็นผู้นำโลกด้านการพัฒนา 5G ด้วยจำนวนสถานีฐานรวม 2.84 ล้านแห่ง เมื่อนับถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมของปีนี้ โดยจีนกำลังพยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่และล้ำสมัยมากที่สุดในโลก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top