Friday, 15 November 2024
ASEAN

กลางปีหน้า เขื่อนพลังงานไฟฟ้า น้ำกง 1 เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า แขวงอัตตะปือปี 64 โครงการคืบหน้ากว่า 80 %

โครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้า น้ำกง 1 ในประเทศลาว ตอนนี้คืบหน้าไปถึง 81.9 % ของงานทั้งหมดหลังจากเริ่มการก่อสร้างอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป คาดว่า ภายในกลางปี พ.ศ.​​2564 ในเดือนพฤษภาคม จะทดลองดำเนินการ จากนั้นเริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564

นาย เสิน ยู สว่าน ผู้อำนวยการโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำกง 1 กล่าวรายงานในโอกาสที่ นายสินาวา สุพานุวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ พร้อมด้วยคณะติดตามและตรวจสอบโครงการ เมื่อเช้าวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำกง 1 เสร็จสิ้นภารกิจ โดยเฉพาะที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรองรับในการสนับสนุนแผนการกักเก็บน้ำของโครงการได้ดำเนินการก่อสร้างตัวเขื่อนเสร็จสิ้น

ที่ปรึกษาโครงการได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการก่อสร้างและการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนและส่วนประกอบก่อนอ่างเก็บน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนกักเก็บน้ำ

ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบเขื่อนเสร็จสมบูรณ์ จัดตั้งทีมเทคนิคเพื่อดำเนินการกักเก็บน้ำ ได้เผยแพร่แผนการกักเก็บน้ำและแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนใต้เขื่อนใน 14 หมู่บ้าน และ งานสำคัญอื่น ๆ

โครงการเริ่มกักเก็บน้ำตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน พ.ศ.2563

งานที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ การสร้างสันเขื่อน , ติดตั้งประตูน้ำล้น, ติดตั้งเครื่องจักรเบอร์ 2 ,ไลน์นิ่งคอนกรีตท่อหายใจ โครงสร้างประตูน้ำท้ายเครื่องจักร , และ งานดึงสายเคเบิล 115 KV

ในโอกาสนี้นายบัวเทพ มาลัยคำ หัวหน้ากรมคุ้มครองพลังงาน กระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า "เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำน้ำกง 1 เป็นเขื่อนหินถมด้านหน้าด้วยคอนกรีต กักเก็บน้ำได้ 650 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการตรวจสอบนี้จะเห็นว่า การก่อสร้างเขื่อนล่าช้าเล็กน้อยจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19"

"แต่การก่อสร้างโดยรวมมีความคืบหน้าไปด้วยดีและคาดว่าโครงการจะทดสอบโรงไฟฟ้าในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 หลังจากนั้นจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564"

"อย่างไรก็ตามแม้ว่าโครงการจะแล้วเสร็จ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและในพื้นที่จะติดตามการดำเนินงานของเขื่อนต่อไป เช่น การตรวจสอบชุดเขื่อนโครงสร้างเขื่อนน้ำรั่วในเขื่อน ฯลฯ เพื่อให้เขื่อนสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมั่นใจในความปลอดภัยของเขื่อน"

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำกอง 1 ตั้งอยู่บนลำน้ำกง ในเขตเมืองภูวง แขวงอัตตะปือ ด้วยความสูง 90 เมตร โรงผลิตไฟฟ้าอยู่ใต้ดิน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 160 เมกะวัตต์ (2x80 เมกะวัตต์) ผลิตไฟฟ้า 469 GWh / ปี มูลค่าการก่อสร้าง 335.8 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุสัมปทาน 25 ปี ซึ่ง บริษัท น้ำและพลังงานไฟฟ้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CWE) ถือหุ้น 65% รัฐวิสหกิจกิจไฟฟ้าลาว EDL ถือหุ้น 20% และบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนเขื่อนไฟฟ้าจำกัดผู้เดียว (IHC) ถือหุ้น 15%. ไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้จะถูกขายให้รัฐวิสหกิจกิจไฟฟ้าลาว (EDL) เพียงผู้เดียว


CR : มดแดงตัวน้อย

โควิด-19 ส่งผล ทำให้เขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา แห่ง สปป ลาว ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ดึงดูดนักลงทุนมากกว่า 80 บริษัท ต้องชะลอตัว ผลกระทบส่วนใหญ่ เป็นเรื่องบุคลากรและการนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

โครงการนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา นครหลวงเวียงจันทน์  ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ปัจจุบันมี บริษัท จดทะเบียน 86 บริษัท และ บริษัท จาก 7 ประเทศในภูมิภาคทั่วโลก ได้แก่ บริษัทโฮย่า จากญี่ปุ่น, บริษัทปิโตรเคมีลาว - จีน ,บริษัทยาสูบลาว - จีน , บริษัทความหวังใหม่ , บริษัท โกลเด้นลาว และ บริษัทที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในภูมิภาค

การลงทุน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ท่านหว่าง เหว่ย คุน อำนวยการบริษัทลาว - จีน ได้ให้สัมภาษณ์

โครงการนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา  นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัทก่อสร้างและลงทุนมณฑลยูนนาน หุ้นส่วนจำกัด กับองค์กรนครหลวงเวียงจันทน์ ร่วมทุนจัดตั้ง และ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ

นอกจากนี้ยังเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างประเทศแห่งเดียวของจีนในสปป. ลาว ..

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเวียงจันทน์ครอบคลุมพื้นที่ 1,149 เฮกตาร์โครงการลงทุนรวม 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โครงการมุ่งเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองอย่างผสมผสาน

โดยแบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ระยะที่ 1 -  จะเน้นการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม

ระยะที่ 2 และ 3 - ได้รับการพัฒนาในด้านการคมนาคมการค้าที่อยู่อาศัยและแหล่งท่องเที่ยวและ จะพยายาม สร้างเมืองเวียงจันทน์ใหม่

คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2573 

ปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมพื้นที่ 400 เฮกตาร์ รวมถึง ก่อสร้างในระยะแรก แล้วเสร็จ เช่น ถนน พื้นที่สีเขียว ระบบท่อน้ำรวม  สถานีไฟฟ้า 115 กิโลวัตต์

ก่อสร้างโรงงานมาตรฐาน บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตรเสร็จสิ้น

การก่อสร้างหอพักพนักงานเพื่อรองรับและสามารถตอบสนองความต้องการบริการขั้นพื้นฐานของสถานประกอบการในพื้นที่

กำลังดำเนินการพัฒนาโครงการในระยะที่สองและสาม ได้แก่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง โครงการริเริ่มในตัวเมืองใหม่ ซึ่งแล้วเสร็จประมาณ 60%

มีการสร้างงานมากกว่า 1,800 ตำแหน่ง และ ภายในสิ้นปีนี้ จะมีการสร้างงานมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง

ภายใต้ความเอาใจใส่และการสนับสนุนของสองรัฐบาลลาวและจีน ถือได้ว่า ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

แต่จนถึงปีนี้เนื่องจากการระบาดของโรคระบาดโควิด - 19

ทำให้โครงการได้รับผลกระทบอย่างมาก ในแง่ของการดึงดูดนักลงทุนและงานก่อสร้าง จำนวนบริษัทใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาลงทุนและการทำสัญญา

และ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ผลกระทบส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของบุคลากรและการนำเข้าวัตถุดิบต่าง ๆ

นอกจากนี้ ความคืบหน้าของการก่อสร้าง บางส่วนในพื้นที่ก็ล่าช้าออกไปด้วย


ที่มา  ປະເທດລາວ Pathedlao

หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า​ วีถีชีวิต​ วัฒนธรรม​ เศรษฐกิจ​ การเมืองประเทศฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง​  หรือ​ มุมมองเบิ่งข้ามโขง

 

ยุทธศาสตร์ของสปป.ลาว ในการพลิกฟื้น หลีกพ้นความยากจน ใช้ลักษณะภูมิประเทศนำสู่การเป็นผู้นำของภูมิภาคด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการก่อสร้างเขื่อนจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้เพื่อนบ้าน

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

หม้อไฟลูกแรก ที่เขื่อนน้ำงึมขนาดใหญ่ ส่งขายให้ประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดในปี พ.ศ.2514 

หลายปีผ่านไปกับยุทธศาสตร์ของสปป.ลาว แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ท้วงติงจากการสร้างเขื่อนอาจส่งผลต่อความเสียหายทั้งสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนและสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่ ลาวร้อยเขื่อน ก็ได้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ... ให้บรรลุยุทธศาสตร์ของชาติลาว ที่จะพลิกฟื้นความเป็นอยู่ของชาวลาว ทั้งประเทศ

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2563 เป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีวันชาติลาว เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอีก 13 เขื่อนจะส่งกระแสไฟฟ้าในปีนี้ ตามรายงานของ ข่าวจากแผนกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERD) ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)

ทำให้สปป.ลาว มีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งหมด 90 แห่งและจะมีกำลังการผลิตรวม 10,704 เมกะวัตต์ เวลาผ่านไป ดูเหมือนไม่นานนัก ..ลาวมีเขื่อน 90 เขื่อนแล้วหรือนี่

สปป. ลาว มีการส่งออกกระแสไฟไปแล้วเกือบ 7,000 เมกะวัตต์

โดยส่งออกไปยังประเทศไทยเกือบ 6,000 เมกะวัตต์ ตามด้วยเวียดนาม 570 เมกะวัตต์ กัมพูชา 20 เมกะวัตต์ และเมียนมาร์ 10 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะส่งออกมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้สปป. ลาวยังขายไฟฟ้าให้กับ ASEAN Grid (100 MW) ผ่านไทยและมาเลเซีย และคาดว่าจะส่งออกได้ 300 เมกะวัตต์ภายในปีหน้า

ปัจจุบัน 95% ของครอบครัวในประเทศลาว มีไฟฟ้าเข้าถึง 93% ของหมู่บ้านทั้งหมดมีไฟฟ้าใช้ และ 100% มีไฟฟ้าใช้ครบสำหรับเมืองใหญ่ของแต่ละแขวง

ซึ่ง ADB ร่วมกับภาคเอกชน เป็นหุ้นส่วนภาคีการพัฒนาและ รัฐบาลลาวได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคพลังงาน ภายใต้แผนปฏิบัติการภาคเอกชนของ ADB เป็นรายงาน ในจดหมายข่าว SERD ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

ในที่สุด สปป.ลาว ก็ใกล้บรรลุยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็น ยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญและได้ดำเนินการต่อเนื่อง จากการเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ไม่ว่า ประเทศไทย จีน เกาหลี ในการสร้างหม้อไฟแห่งเอเชีย

สิ่งที่สปป.ลาวคำนึง นั่นคือ ความมั่นคงทางพลังงานและไฟฟ้า

เพราะอย่างไร ทุก ๆ ประเทศล้อมข้าง ผู้คนย่อมมากขึ้น ความต้องการย่อมมากขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ประเทศเหล่านั่น มีปัญหาการต่อต้านการสร้างพลังงานไฟฟ้า ด้วยเหตุผลสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้คน และการเมืองระหว่างประเทศ

ในที่สุด สปป.ลาว ใกล้บรรลุสู่ .. แบตเตอรี่แห่งเอเชีย

มั่นคง มั่นยืน ให้แก่ชาวลาวและเพื่อนบ้าน .. ดีใจนำเด้อ


หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

ค่ำคืนวันที่ 5 ธันวาคม เวทีการประกวดมิสลาว ใช้เวลามากพอสมควร ในการตัดสิน ผู้ที่จะคว้าตำแหน่ง นางสาวลาว 2020

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

และ ในที่สุด คณะกรรมการก็ตัดสินให้ นางบุนพะสอน จินนี่ คว้ามงไปครอง ... เป็นคนที่ 11 โดย นางวินะดา พิสาลาด นางสาวลาว 2019 จากแขวงหลวงพระบาง ร่วมส่งมอบตำแหน่งและสวม มงกุฎ ในค่ำคืนนั้น ซึ่งได้จัดขึ้น ที่ โรงแรมแลนด์มาร์คแม่โขง นครหลวงเวียงจันทน์

รางวัลที่ได้รับในประกวดครั้งนี้ มงกุฏเพชร มูลค่า 70 ล้านกีบ จากร้านทองคำพูวง สายสะพาย พร้อมเงินสด 30 ล้านกีบ ทองคำ 2 บาท ทุนการศึกษา 300 ล้านกีบและ ตัวเธอจะปฎิบัติหน้าที่ต่อจาก นางวินะดา นางสาวลาวปีก่อน

ในความงามแบบแม่หญิงลาว ซึ่งเธอเคยโพสต์ไว้ว่า

" เอกลักษณ์ที่มีมา หญิงลาวขอรักษาไว้ "

" ...เป็น เวทีความฝันของน้อง ทั้งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้แม่หญิงลาว แสดงความสามารถและศักยภาพของตัวเองออกมา .."

และนับแต่นี้ เธอจะได้สืบสานในตำแหน่งนางสาวลาว ในแบบฉบับของ หญิงลาว ตามที่ตั้งใจ

ซึ่งในการประกวดนางสาวลาว ไม่มีการประกวดชุดว่ายน้ำโชว์สัดส่วน เน้นในเสน่ห์ของการรักษาวัฒนธรรมการแต่งกายแบบลาว ต่างจากการประกวดในเวทีสากล ซึ่งการประกวดในสปป.ลาว เริ่มมีการอนุญาติให้ประกวดในชุดว่ายน้ำ ในการประกวดมิสยูนิเวิร์สลาว มิสแกรนด์ลาว และมิสเวิลด์ลาว ด้วยรูปแบบของเวทีในระดับสากล

จาก โปรไฟล์บนเฟสบุ๊ค www.facebook.com/jinny.bounphasone

..Be Real, stay true.. แสดงถึงตัวตนของเธอได้อย่างชัดเจน

เธอ เป็น สาวงามจากนครหลวงเวียงจันทน์ สวย เก่ง ครบ สมมง ไม่ธรรมดา

จบการศึกษาปริญญาตรี ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัย Beijing International Studies University และ

กำลังศึกษาชั้นปีที่สอง ในระดับปริญญาโทธุรกิจระหว่างประเทศ University of International Business and Economics ที่ปักกิ่ง

พักอาศัยอยู่ที่บ้านดงป่าลาน เมืองสีสัตตะนาก นครหลวงเวียงจันทน์

จินนี่ ในวันประกวด ML4 อายุ 24 ปี สูง 169 ซม. ในสัดส่วน 32-24-35

ชุดชนเผ่า ที่เธอสวมใส่ ในวันประกวดและโปรโมท เป็น ชุด ชนเผ่าโลมา

ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าอาข่าที่อาศัยอยู่ใน แขวง พงสาลี ..

มีภาษาพูดภาษาเดียวในส่วนภาษาจีน - ทิเบต

ลักษณะของการแต่งตัว :

- กระโปรงผ้าฝ้ายมีเอกลักษณ์ที่สวยงาม

- เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีดำช่วงอกถึงขา

- สวมผ้าคลุมศีรษะและเสื้อชั้นในที่ขา

- ประดับด้วยลูกปัดและเครื่องเงินสวยงาม

ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก เธอเคยถ่ายแบบสำหรับภาพบนปฎิทินของร้านทองคำแห่งหนึ่งใน สปป.ลาว และ ได้เข้าเรียนการเดินแบบและบุคลิกภาพ

รวมทั้ง เข้าประกวดเวทีแรกเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในเวที Kids and Young Model Contest ที่จัดโดย Centerstage Laos .

เธอได้เข้ารอบ หกคนสุดท้าย ..และ น้องจินนี่ ก็เข้าสมัครประกวดนางสาวลาว 2020 จนในที่สุด คณะกรรมการก็ตัดสินให้ จินนี่ สวมมงกุฎ ในแบบฉบับแม่หญิงลาว เป็นคนที่ 11 45 ปี วันชาติลาว ....

หลังจาก ได้รับตำแหน่ง นางสาวลาว 2020 จินนี่ ได้โพสต์ขอบคุณไว้ว่า

” ฉันรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจมากที่ได้รับเลือกให้เป็นมิสลาว 2020 และ

ต้องขอบคุณทุกคนที่ให้การสนับสนุนจากทุกๆทาง รวมถึงส่งเสริมให้ฉันเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้คู่ควรกับตำแหน่งนางสาวลาวในที่สุด

ขอบคุณกองประกวด นางสาวลาว ที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงคนหนึ่งได้ทำตามความฝันและพิสูจน์ตัวเองบนเวทีที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ .... "

..Be Real, stay true..

เวที "นางสาวลาว" หลังเปลี่ยนจาก "เวทีนางสาวอาภรณ์ลาว" ได้จัดมา 10 ปี เว้นไปหนึ่งปี 2014 มีนางสาวลาว 10 คน ดังนี้

ปี 2009 ไพลินดา พิลาวัน นครหลวงเวียงจันทน์

ปี 2010 มาไลทิบ สิงสาหะนาด แขวงบ่อแก้ว

ปี 2011 ทิดาลัด วงสิลิ นครหลวงเวียงจันทน์

ปี 2012 คริสตินา ลาดชะสิมมา นครหลวงเวียงจันทน์

ปี 2013 วิไลลัก จันทะวง แขวงไซยะบุลี

ปี 2015 สุติลัก อินทะวง นครหลวงเวียงจันทน์

ปี 2016 บุดสะบา แสงปัน แขวงไซยะบุลี

ปี 2017 ดวงพะไท เมกสีทอง นครหลวงเวียงจันทน์

ปี 2018 สุดทิดา อานุสิน แขวงสะหวันนะเขต

ปี 2019 วะนิดา พิสาลาด แขวงหลวงพระบาง


หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

กรุงย่างกุ้ง สหภาพเมียนมา คือเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประเทศมานานแสนนานหลายชั่วอายุคน ในอดีตกรุงย่างกุ้งคือศุนย์กลางที่คนในภูมิภาคต้องไปหาหมอเนื่องจากเป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ย่างกุ้งคือศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคในหลายด้าน แม่น้ำย่างกุ้ง แม่น้ำ Hlaing โอบล้อมนครย่างกุ้งแห่งนี้และมีท่าเรือสำคัญที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปถึงยุโรป เช่นสกอตแลนด์ หรือ อัมสเตอร์ดัมส์ของเนเธอร์แลนด์ ทำให้ความเจริญของย่างกุ้งเมื่อ 60 ปีก่อนมีสูงมาก

ท่านผู้อ่านไม่ต้องสงสัยกันนะครับว่ายาหม่อง ก็กำเนิดจากเมียนมานี่แหละ ถึงได้เรียกขานว่ายาหม่องกัน โดยมีจุดเริ่มต้นจาก Tiger Hill ที่ผลิตยาหม่องตราเสือมาให้เราได้ใช้กันมานาน ถามว่า Tiger Hill อยู่ที่ไหน คำตอบก็คือตรงบริเวนห้องอาหารของโรงแรม Chatrium ในนครย่างกุ้งนี่หละครับ

ในยุคสมัยของท่านลีกวนยู อดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสิงคโปร์ ซึ่งถูกมาเลเซียเตะออกมาตั้งประเทศก็ใช้ตัวอย่างการสร้างชาติจากการมาดูเมียนมาหรือพม่าในสมัยนั้นหละครับ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างบ้านแปลงเมือง ยุคสมัยนี้กลับกันครับ รัฐบาลเมียนมาต้องวิ่งกลับไปดูต้นแบบของสิงคโปร์ซะแล้ว และสิงคโปร์ก็ร่างพิมพ์เขียวให้เมียนมาได้ใช้เป็นแบบแผนต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม

จุดพลุเรียกน้ำย่อยกันไว้อย่างนี้หละครับ แล้วค่อยกลับมาดูกันในตอนหน้าว่า ปี 2020 เกิดอะไรบ้างในเมียนมา และอะไรจะเป็นภาพสำหรับปี 2021 ให้เราได้ติดตามกันต่อไป เจซูทินบาเด ขอบคุณที่ติดตามนะครับ อยากฟังเรื่องใดในอาเซียน แจ้งกันเข้ามานะครับ


จิรวัฒน์

ผู้บุกเบิกการตลาด อินโดจีน พม่า อาเซียนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่ยุคที่อาเซียนยังไม่ได้รวมตัวกัน เอาประสบการณ์ตรงมาเล่าแบ่งปัน ในวันที่โควิด - 19 ล็อคประตูเพื่อนบ้าน เรายิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้น

ไม่ไหวอย่าฝืน! เปิดภาพโรงแรมสี่ดาว ย่านธุรกิจใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์ ต้องปิดตัวลง เหตุนักท่องเที่ยวหดหายเพราะโควิด-19

คอลัมน์ "สายตรงจากเคแอล"

ขายโรงแรมถูก ๆ เมื่อท่องเที่ยวแดนเสือเหลืองอาการโคม่า โควิด -19 ยังพุ่งไม่หยุด

ไม่ไหวอย่าฝืน! ภาพโรงแรมสี่ดาว ขนาด 20 ชั้นที่ตั้งอยู่ย่านธุรกิจใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์ (KL) ประเทศมาเลเซียต้องปิดตัวลงอย่างเงียบๆ เหตุนักท่องเที่ยวหดหาย มีการสั่งปิดประเทศและล็อคดาวน์เข้มงวดทั่วทั้งประเทศจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2020

ในส่วนของโรงแรมนี้เป็นบริษัททุนจากฮ่องกง ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮแอนด์และมีโรงแรมบูติกระดับ 4 - 5 ดาว อยู่ในฮ่องกง ประเทศจีน เซียงไฮ้ ปักกิ่ง สิงคโปร์และกัวลาลัมเปอร์ ภายใต้แบรนด์ Lanson Place และนี่ไม่ใช่ธุรกิจโรงแรมรายแรกและรายสุดท้ายที่ต้องปิดตัวลงเพราะภาวะเศรษฐกิจขาลงจากฤทธิ์โควิดพ่นพิษในมาเลเซีย

แต่ก็มีข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังเดินทางเข้ามาเลเซียเพราะเมื่อวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา อธิบดีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข Dr. Noor Hisham ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ทางรัฐบาลลงมติลดจำนวนวันกักตัวในมาเลเซีย จากเดิม 14 วัน เหลือแค่ 10 วัน ยกเว้นรัฐ Sarawak โดยการตัดสินใจเชิงนโยบายนี้เกิดขึ้นหลังจากตรวจสอบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วนค่ากักตัวที่ผู้เดินทางจะต้องเป็นคนเสียค่าใช้จ่ายเองนั้นจะลดลงไปจากเดิม 4 วัน ค่ากักตัวเฉลี่ย $1,550 หรือ 4,700 ริงกิต หรือราวๆ 35,000 บาทต่อคน ส่วนค่าตรวจ Covid-19 ยังคงเท่าเดิมคือ 250 ริงกิต

ทั้งนี้ผู้ที่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้นั้นจะต้องมีประเภทวีซ่าหรือสถานะที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับอนุญาตเข้าประเทศเท่านั้น


"ผิงกั่ว"

สาวเมืองชล ตั้งรกรากอยู่ชานกรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามสามีชาวจีนมาเลย์ ชีวิตท่ามกลางคนจีน แขกมาเลย์ และแขกอินเดีย พหุวัฒนธรรม ส่องมุมมองจากประเทศเพื่อนบ้านด้านล่างแผ่นดินแม่ มาเล่าสู่กันฟัง

สปป.ลาวมอบของขวัญส่งท้ายปี เปิดแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ให้ประชาชนใช้พักผ่อนหย่อนใจ

คอลัมน์ เบิ่งข้ามโขง

ส่งมอบเป็นทางการ ...

แลนด์มาร์คแห่งใหม่แคมโขงของสะหวันนะเขต..

ภายใต้ " โครงการป้องกันดินเคลื่อนตัวริมฝั่งแม่น้ำโขง "

หนึ่งในเจ็ด กิจกรรม ของโครงการ GMS

ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2019 แล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด ได้จัดทำพิธีส่งมอบ ในวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา

มีสองส่วนโครงการ

ส่วนแรก : เป็นงานก่อสร้างริมฝั่งแม่น้ำโขง ความยาวรวม 980 เมตร

เริ่มจากท่าเรือเก่าริม ทำเขื่อนหินเรียบลงไปในแม่น้ำโขง

โดยมีการถมทราย ออกไปจากขอบถนนอีก 50 เมตรและ เรียงหินตามริมฝั่งแม่น้ำโขงปริมาณรวม 246,717 ลูกบาศก์เมตร และ งานตกแต่งพื้นสนามคอนกรีตพิมพ์ลายและสวนดอกไม้ จุดนั่งเล่น จุดชมวิว ที่ขายเครื่องดื่มและอาหาร ที่นั่งชมการแข่งขันเรือประจำปี

ส่วนที่สอง : การก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 980 เมตร ตามแนวยาวของเขื่อนกันดิน มีหน้ากว้าง 7 เมตร มีทางเดินสองข้างและที่จอดรถ ตกแต่งประดับประดา ปลูกหญ้าสวยงาม

โครงการนี้ยังรวมงานก่อสร้างระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย ห้วยหลงกง เมืองไกรสอน พมวิหาน

ถือได้ว่า เป็นของขวัญส่งท้ายปีที่แสนลำบากให้ชาวสะหวันนะเขต

โครงการนี้ เสร็จเร็วก่อนกำหนด เดิมว่าจะเสร็จในปี 2021

โดยใช้เงินทุนกู้และเงินช่วยเหลือจาก ADB และการร่วมทุนจากรัฐบาล สปป. ลาว ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการประมาณ 8 ล้านกว่าเหรียญสหรัฐ

คิดถึงสะหวัน ใจจะขาด ..

ภาพจาก Sengthong Vangkeomany

เรื่องโดย:

หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

วันนี้ 20 ธันวาคม พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ มอเตอร์เวย์สายแรกของสปป.ลาว

คอลัมน์ “เบิ่งข้ามโขง”

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2563 พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ มอเตอร์เวย์สายแรกของสปป.ลาว

" นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง "

โดย นายบุนยัง วอละจิต ประธานประเทศ เข้าร่วมพิธี เป็นประธานในการเปิดมอเตอร์เวย์สายแรก อย่างเป็นทางการ

มูลค่าการก่อสร้าง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงทุนในแบบ BOT

โดยบริษัทก่อสร้าง - ลงทุนมณฑลยูนนาน ถือหุ้น 95% รัฐบาลลาว 5% ในนามบริษัทร่วมทุนพัฒนาลาว - จีน อายุสัมปทาน 50 ปี


หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

KPL สำนักข่าวสารประเทศลาว รายงานว่า แผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นครหลวงเวียงจันทน์ ในนามของรองคณะกรรมการปรับปรุงที่ดินของเขตสงวนสองทางถนนเวียงจันทน์ 450 ปี ได้ประกาศขายสิทธิครอบครองที่ดินในเขตสงวน

ตลอดแนว 2 ฝั่งถนนสาย 450 ปี ลึกฝั่งละ 50 เมตร จำนวน 93 แปลง พื้นที่ 283,500 ตารางเมตร ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่สนใจ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแห่งสปป.ลาวและค่าก่อสร้างถนน ผู้ที่สนใจซื้อสิทธิการใช้ที่ดินกรุณาติดต่อสำนักเลขาธิการและสำนักวิชาการที่สำนักงาน 450 ปี ตั้งอยู่ บ้านโพนทอง เมืองไชเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ ติดต่อ 020 22239972 020 55539992 และ 020 22205384

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนตุลาคม องค์กรปกครองนครหลวงเวียงจันทน์และธนาคารแห่ง สปป.ลาว ได้เซ็นสัญญาโอนบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่กลุ่มบริษัทดวงจะเลิน พัดทะนาก่อส้าง จำกัด เพื่อให้บริษัทดวงจะเลิน จ่ายทั้งค่าใช้จ่ายและดอกเบี้ย ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ที่องค์การปกครองนครหลวงเวียงจันทน์ได้กู้มาเพื่อใช้เป็นค่าก่อสร้างถนนสายนี้ตั้งแต่ พ.ศ.2551

.

ตามสัญญา บริษัทดวงจะเลินฯ หลังได้รับมอบที่ดินแล้ว  บริษัทมีหน้าที่ลงทุนพัฒนาต่อ เช่น ถมที่ดิน น้ำประปา ไฟฟ้า ถนนเข้าถึงในแต่ละพื้นที่โดยใช้เงินลงทุนเพิ่มเติมมากกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุนและสามารถขายที่ดินได้ในระยะเวลา 5 ปีต่อมา เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินให้กับธนาคารแห่ง สปป.ลาว ให้เสร็จสมบูรณ์โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของรัฐ

.

นายคำไพ ศิลาสา ประธานกรรมการบริษัทดวงจะเลินฯ กล่าวว่า แม้ถนนได้สร้างเสร็จและเปิดใช้งานแล้ว แต่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

ที่ดิน 2 ฝั่งถนนสายนี้สามารถขายออกไปได้เพียง 20% โดยขายได้เฉพาะที่ดินแปลงที่สวย กับแปลงที่อยู่ติดกับตัวเมือง

ที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งขายไม่ออกเป็นแปลงที่ไกลจากตัวเมือง รูปที่ดินไม่สวย เป็นท้องทุ่ง หรือหนองน้ำ ไฟฟ้าและประปายังเข้าไปไม่ถึง

.

ที่สำคัญคือ ราคาที่กำหนดไว้เพื่อขายสูงกว่าราคาตลาด ด้วยเหตุนี้ จึงได้หารือร่วมกันกับองค์กรปกครองนครหลวงเวียงจันทน์และธนาคารแห่ง สปป.ลาว เพื่อแก้ไขหนี้และตกลงที่จะชำระหนี้ที่ค้างกับแบงค์ชาติลาว  ตกลงเห็นว่า จะโอนสิทธิการครอบครองใช้ที่ดินส่วนที่ยังขายไม่ได้ให้กลุ่มบริษัทดวงจะเลินฯ นำไปพัฒนา เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่แบงก์ชาติลาวให้สำเร็จเร็วที่สุด

.

กลุ่มบริษัทดวงจะเลินฯ เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่เติบโตขึ้นจากการได้รับสัมปทานจากรัฐ โดยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา บริษัทดวงจะเลิน พัดทะนา กะสิกำ ในเครือกลุ่มดวงจะเลินฯ ได้รับสัมปทานทำสวนกล้วยจากแขวงบ่อลิคำไซ บนเนื้อที่ 150 เฮกตาร์ (937 ไร่) ในเมืองบ่อลิคัน รวมทั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2561 กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ได้เซ็น MOU ให้บริษัทดวงจะเลิน พัดทะนาก่อสร้าง เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ โครงการสร้างทางด่วนสายใต้ (เวียงจัน-จำปาสัก) ช่วงจากเมืองท่าแขก (แขวงคำม่วน) ไปยังแขวงสะหวันนะเขต ระยะทาง 117 กิโลเมตร.


เรื่องโดย : หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

ความเปลี่ยนแปลงของเมียนมาในปี 2020

คอลัมน์ AEC ภาคปฏิบัติ

ในช่วงเวลาที่เรามีการพูดถึงการแพร่ระบาดกันมากของโควิด-19 ในประเทศไทย โดยพุ่งประเด็นไปที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมาที่ทำงาน ณ ตลาดกุ้งในจังหวัดสมุทรสาครนั้น จะว่าไปแล้ว ปี 2020 ก็เป็นปีที่มีความตื่นเต้นไม่น้อยในเมียนมา

โดยครึ่งปีแรก ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของโควิด-19 ในหลาย ๆ ประเทศ  เมียนมาเองกลับเป็นชาติที่มีอัตราการติดเชื้อที่ค่อนข้างต่ำ และอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำไป   เหตุการณ์เริ่มมาพลิกผันในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่การระบาดเริ่มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นจากการติดเชื้อมาจากการเดินทางระหว่างพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมายังนครย่างกุ้ง และขยายไปเมืองอื่น ๆ ในระยะต่อมา

ปีที่ผ่านมา ไทยเราติดอันดับ 4 ในการเป็นผู้นำเงินไปลงทุนในเมียนมา โดยที่ผู้ลงทุนมากที่สุดได้แก่ สิงคโปร์  ตามด้วยจีน  และฮ่องกง ที่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาลงทุนกันมาก กลับกันในปีนี้ ไทยเรากลับไม่ติดในTop 5 ของการลงทุน แต่กลับมีอังกฤษและญี่ปุ่นสอดแทรกเข้ามาในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมาตามลำดับ 

เมียนมา เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจสูงขึ้นทุกปี โดยรัฐบาลมองการเพิ่มขนาดของGDP ให้โตได้เท่าตัวภายในปี 2029 รัฐบาลเองได้วาง 10 กลยุทธ์ 76 แผนปฏิบัติการภายใต้ชื่อ CERP (COVID19 Economic Relief Plan) โดยใช้ Digital economy เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อน (Digital Trading เติบโตถึง 183% ในเมียนมา โตเป็นลำดับ 7 ในอาเซียน)

นอกเหนือจากการวางรากฐานทางการเงิน และอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ การปรับโครงสร้างเรื่องแรงงาน   การจัดการด้านครัวเรือน ประชากรศาสตร์  และให้ความสำคัญด้านระบบสาธารณสุข ปัจจุบัน เมียนมามีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่เพียง 130,000 คน มีหมอ 35,000 คน  พยาบาล 35,000 คน  หมอฟัน 12,000 คน และอื่น ๆ อีกไม่มาก

ซึ่งจะต้องเร่งเพิ่มปริมาณให้มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้ ล่าสุดเมียนมาได้อัดฉีดเงินเข้าระบบสาธารณสุข โดยทำให้ยอดเงินลงทุนด้านสาธารณสุขปรับมาอยู่ที่ระดับ 5USD ต่อประชากรหนึ่งคน  และนอกจากนี้รัฐบาลยังได้อนุมัติในการกู้เงินเพื่อนำมาซื้อวัคซีนป้องกันโรคระบาด COVID-19 ไว้อีกระดับหนึ่ง  

ท่านผู้อ่านครับ ระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขในเมียนมายังค่อนข้างล้าหลัง และผู้คนต้องออกมารักษากันนอกประเทศปีหนึ่งถึง 250,000 คนโดยประมาณ ซึ่งเราจะพบว่า 56% ที่มาตรวจรักษาในประเทศไทย จนโรงพยาบาลเอกชนเราต้องรับชาวเมียนมา มาเป็นเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและไปเปิดสำนักงานตัวแทนกันถึงเมียนมาในหลากหลายเมือง

ตอนต่อไปจะกลับมาพูดถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในหมวดอื่น ๆ กันต่อครับ


จิรวัฒน์

ผู้บุกเบิกการตลาด อินโดจีน พม่า อาเซียนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่ยุคที่อาเซียนยังไม่ได้รวมตัวกัน เอาประสบการณ์ตรงมาเล่าแบ่งปัน ในวันที่โควิด - 19 ล็อคประตูเพื่อนบ้าน เรายิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top