Sunday, 19 May 2024
8ปีรัฐบาลลุงตู่

'อนุทิน ชาญวีรกูล' รมต.สาธารณะสุข 'หมอหนู' ผู้ฝ่าทุกดราม่า โควิด!

พูดถึง '8 ปีรัฐบาลลุงตู่' ส่วนหนึ่งต้องยกเครดิตให้กับ 'เหล่ารัฐมนตรี' ซึ่งหลาย ๆ คนสร้างผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ พูดให้เข้ายุคเข้าสมัย ต้องเรียกว่า มีหลายคนที่เป็น 'รมต.ตัวตึง' ตึงทั้งผลงาน ตึงทั้งชื่อเสียง แถมยังตึงทั้งเรื่องข่าวคราว 

ว่าแล้วจึงหยิบเอาเรื่องราว 'เหล่า รมต.ตัวตึง' 8 ปีที่ผ่านมารัฐบาลลุงตู่ มีรัฐมนตรีคนไหนผลงานตึง ๆ ปัง ๆ กันบ้าง เริ่มต้นที่ 'อนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือ 'หมอหนู' ขวัญใจมหาชน นี่เอง 

ย้อนเวลากลับไปราวสามปีก่อน 13 มกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกในไทย เป็นนักท่องเที่ยวหญิงจีน อายุ 61 ปี และนับจากนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่ง 'มหากาพย์โควิด-19' 

แน่นอนว่า ด่านหน้าที่ต้องเสี่ยง ทำงานหนักในการรับมือและยับยั้งสถานการณ์ระบาด คือ เหล่าบรรดาบุคลากรใน 'กระทรวงหมอ' ภายใต้การนำของ 'อนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องมีวิธีสื่อสาร ฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนามในสถานการณ์ระบาด โควิด-19 ด้วยวาจา ท่าที และแนวทางที่ "ถึงลูกถึงคน" แต่ทั้งหมดนำพาซึ่ง 'ผลงาน' ที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ แม้ว่าจะต้องฝ่าด่านอภิมหากระแสดรามา หลายช่วงหลายตอนทีเดียว

#ดราม่า1 จวกนักท่องเที่ยว ปัดรับหน้ากากอนามัย! 
ในช่วงเริ่มต้นของวิกฤติการระบาด ด้วยระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ทำให้เชื้อเดินทางไปได้ไกล ทั้งยังไม่มียา และวัคซีน ดังนั้นมาตรการวัคซีนทางสังคม รักษาระยะห่าง  ล้างมือบ่อย ๆ และการสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อคือวิธีที่พอทำได้  

นี่เอง จึงเป็นที่มาของภาพของ 'หมอหนู' ออกเดินรณรงค์แจกหน้ากากอนามัยบนสถานีรถไฟฟ้าถูกเผยแพร่ตามหน้าสื่อ 

แต่กลับกลายเป็นประเด็นดรามา หลังคำให้สัมภาษณ์ของเจ้าตัว ที่ออกปากตำหนิคนที่ไม่ไส่ - ไม่รับหน้ากากอนามัย ว่าเป็นคนทำร้ายบ้านเมือง รวมถึงต่อว่าถึงนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่ปัดมือ ไม่ยอมรับหน้ากากอนามัย ว่าไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สมควรไล่ออกนอกประเทศไป

ไม่ทันข้ามวัน ก็เกิดกระแสดรามา วิจารณ์ถึงท่าทีกราดเกรี้ยวของรัฐมนตรีสาธารณสุข นักวิชาการบางคนโพสต์ข้อความติติงว่า จะไปตำหนิคนไม่ใส่หน้ากากอนามัยเป็นคนทำร้ายบ้านเมืองไม่ได้ และคนที่ไม่ป่วย ก็ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย

แม้ดรามานี้ จะจบลงที่ รมต.อนุทิน โพสต์ความผ่านเฟซบุกส่วนตัว ขออภัยที่มีอาการ 'หลุด' ใส่ชาวต่างชาติแถบยุโรปบางคนที่ไม่ให้ความร่วมมือ และแสดงอาการรังเกียจคนไทยที่สวมหน้ากากอนามัย แต่ก็ยังตอกย้ำแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขไทย กำลังเดินหน้าทำต่อเนื่อง 

"เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่าหลายๆ ประเทศ เพราะเราตื่นตัวก่อน และทำงานจริงจังตั้งแต่เริ่มต้น" เป็นประโยคยืนยันจากเจ้ากระทรวง 

ไม่นานจากนั้น ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ชาติตะวันตก ก็ต้องประกาศใช้มาตรการ 'วัคซีนทางสังคม' โดยเฉพาะมาตรการบังคับ 'สวมหน้ากากอนามัย' เพื่อป้องกันการระบาด ในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่นั่นเอง

#ดรามา2 โต้ข้อกล่าวหา วัคซีนล่าช้า - แทงม้าตัวเดียว 
วิกฤติการระบาดของโควิด-19 ที่ขยายวงเร็ว และรุนแรง ทำให้กระบวนการพัฒนาวัคซีน ที่ตามลูปปกติต้องใช้เวลาวิจัย พัฒนา และทดลองใช้ อย่างน้อย 4-6 ปี แต่สถานการณ์ระบาดโควิด- 19 ทำให้กระบวนการต้องถูกเร่งรัด ข้ามบางขั้นตอน หรือนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้ทันกรอบเวลาไม่เกินปีครึ่ง แน่นอนว่าผลลัพธ์ของการเร่งกระบวนการพัฒนาวัคซีน ย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะตามมาด้วย 

27 พ.ย. 2563 รัฐบาลไทยลงนามสัญญาจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยจองล่วงหน้าระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับแอสตราเซเนกา โดยมี บริษัท สยามไบโอไซแอนซ์ จำกัด รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน ตั้งเป้าให้คนไทยมีวัคซีนใช้ ในต้นปี 2564 

แต่ด้วยสถานการณ์ความต้องการวัคซีนที่พุ่งสูง การบริหารจัดการวัคซีนโควิด- 19 ทั่วโลกไม่นิ่ง ทำให้แผนการจัดหาวัคซีนของไทย ต้องปรับเปลี่ยน และยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์  

ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ล็อกเป้าถล่มนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่าประเมินสถานการณ์และตัดสินใจผิดพลาด ทำให้การนำเข้าวัคซีนล่าช้า และการเลือกผูกสัญญากับแอสตราเซเนกา แทนการเลือกบริหารความเสี่ยง โดยจัดหาวัคซีนผ่านช่องทางอื่น ๆ นั้น มีนัย ไม่ต่างจากการ 'เลือกแทงม้าตัวเดียว' 

"วันนี้ต้องขออนุญาตใส่แมสก์ 2 ชั้น เพราะอีกสักพักจะมีหนูตายคลุ้งสภา" วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล โหมโรงก่อนเข้าสู่เนื้อหาอภิปรายเผ็ดร้อน

และเมื่อถึงคราวที่ 'หมอหนู' ลุกขึ้นแจงปมต่าง ๆ ในช่วงท้าย ยังวกกลับมา ระบุว่า "กลิ่นหนูตายเน่าพอ ๆ กับกลิ่นปากเหม็นไม่ต่างกัน แต่ผมเชื่อว่าผมยังทำประโยชน์ให้บ้านเมืองและประเทศได้มากกว่า เอาไว้ท่านมีโอกาสเข้ามาก่อน ค่อยมาพิสูจน์กัน"

การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนั้น จบลงที่ 10 รัฐมนตรีที่ถูกซักฟอก รอดทุกคน! แต่ผลลัพธ์ และน้ำหนักของคำตอบจาก 'รมต.อนุทิน' ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนั้น ถูกประทับตราด้วยคะแนนไว้วางใจสูงที่สุดคือ 275 ไม่ไว้วางใจ 201 และงดออกเสียง 6

#คลี่คลายดรามา จัดหาวัคซีนตามเป้า 
หลังผ่านวิกฤติ ความสูญเสีย และภาวะความยากลำบากจากการระบาดของโควิด- 19 ที่กินเวลายาวนานกว่า 2 ปี  สถานการณ์เริ่มกลับคืนสู่ภาวะปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญคือ การได้รับ 'วัคซีน' ครบโดสจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top