Tuesday, 14 May 2024
5G

'อัษฎางค์' งัด 7 ปี รัฐบาลลุง ล้าหลัง ไม่พัฒนา แต่ 5G เชิงพาณิชย์ล้ำอาเซียนไปไกลเฉย

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า...

รัฐบาลลุงห่วย ทำประเทศล้าหลัง ไม่พัฒนา แต่ปัจจุบันไทยเปิดให้บริการ 5G เต็มรูปแบบในพื้นที่อีอีซีแล้ว ภายใต้แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ระยะที่ 1 ทำให้การขับเคลื่อน 5G ในไทยเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนถึง 5 ปี

ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เปิดบริการ 5G เชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มจุดขายดึงดูดนักลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ ตั้งเป้ามีโครงข่าย 5G ครอบคลุม 98% ภายในปี 2570

รัฐดัน 5G ทั่วประเทศปั๊มรายได้ลงเศรษฐกิจ 6.5 แสนล้าน

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้หาทางส่งเสริมการประมูลคลื่นความถี่ 5G ครอบคลุมเกือบทั้งประเทศ และสนับสนุนการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ให้นำไช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยประเมินว่า ในอนาคตข้างหน้า ประในช่วงประมาณปี 2570 จะยิ่งมีความต้องการใช้ 5G จะเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ใช้ในไทยจะมีไม่ต่ำกว่า 70 ล้านราย และอีก 10 ปี จะนำเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเข้ามาอย่างเต็มรูปเเบบ สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 6.5 แสนล้านบาท 

ขณะเดียวกันยังประเมินด้วยว่า เทคโนโลยี 5G ยังสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ให้กับประเทศไทย ได้ไม่ต่ำกว่า 5.5 เท่าภายในปี 2578  สามารถสร้างการจ้างงานใหม่ด้านดิจิทัลกว่า 130,000 ตำแหน่ง และยังสนับสนุนด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เช่นเดียวกับในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วย 

‘บิ๊กตู่’ เปิดโครงการ ‘รพ.อัจฉริยะระดับโลก’! ใช้ ‘5G-AI’ ช่วยหมอ พร้อมขยายต่อรพ. ทั่วประเทศ!

นายกฯ เปิดโครงการ "ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลก" แห่งแรกของไทย ดึงเทคโนโลยีเครือข่าย 5G - ระบบปัญญาประดิษฐ์ ประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์ เตรียมขยายต่อทั่วประเทศ ระบุรับใส่เกล้าพระราโชบายในหลวง ทำให้ปชช. มีความสุขมากที่สุด

16 ธ.ค. 64 ที่ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการ “ต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์” โดยมี นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมงาน

โดยพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาประสิทธิภาพทุกมิติ รวมถึงด้านสุขภาพและทางการแพทย์ รัฐบาลจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการนำมาพัฒนาประเทศ จึงมีนโยบายนำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และตอบสนองความต้องการประชาชนได้ทั่วถึง โดยการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทุกมิติ จึงได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งแต่ตนเองเข้ามาก็เดินหน้ามาตลอดตั้งแต่ 3G 4G จนมาถึง 5G ต้องเดินหน้าทุกอย่างให้เร็วทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

ทั้งนี้ได้เน้นคุณภาพบริการและรักษาพยาบาลตั้งแต่ระบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงระบบบริการรักษาพยาบาลอย่างเพียงพอทั่วถึง สร้างความเท่าเทียมในด้านโอกาสและเป็นธรรม โดยขยายการดำเนินการไปสู่โรงพยาบาลอื่น ๆ ต่อไปด้วย

‘คุณสมบัติ’ ป.อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มอบของขวัญสำหรับลูกค้า!! จัดงานงาน “LINK Professional Network Cabling” เพื่อรองรับอนาคตของ Metaverse - 5G และ IoT

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธาน กลุ่ม อินเตอร์ ลิ้งค์ฯ จัดงานสัมมนาครั้งสุดท้ายของปีเพื่อเป็นของขวัญสำหรับลูกค้าทุกท่านกับงาน “LINK Professional Network Cabling” เจาะลึกรายละเอียดการเลือกใช้สายสัญญาณ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คตามมาตรฐานสากลเพื่อรองรับอนาคตของ Metaverse, 5G และ IoT 

ผบ.ตร. ตรวจเยี่ยม “ศูนย์บริหารงานป้องกันปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปป.ตร.)” สุดทันสมัย เทคโนโลยี 5G - เชื่อมโยงข้อมูล Real Time – บริหารเหตุวิกฤต!!

วันที่ 25 ธันวาคม 2564 พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ไปตรวจเยี่ยม “ศูนย์บริหารงานป้องกันปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปป.ตร.)” ซึ่งตั้งอยู่ที่ ชั้น 7 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้คำแนะนำในการปฏิบัติหน้าที่และการนำเทคโนโลยีส่วนขยายมาใช้ในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดปริมาณคดีอาชญากรรม โดยมี พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็น ผู้อำนวยการ ศปป.ตร.

“ศูนย์บริหารงานป้องกันปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปป.ตร.)” จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ "ควบคุมและบริหารงาน" ป้องกันปราบปรามของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ "ทันกับสถานการณ์" มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนางานป้องกันปราบปราม ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการ "เฝ้าติดตาม" การปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันปราบปราม สามารถ "เชื่อมต่อสัญญาณภาพสด" ในขณะปฏิบัติหน้าที่ จาก "กล้องประจำตัวเจ้าหน้าที่สายตรวจ" / "กล้องติดรถยนต์สายตรวจ" จากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ รวมถึง "กล้อง CCTV" 

ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ติดตั้งไว้ใน "หัวเมืองสำคัญ" พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงจุดล่อแหลมต่าง ๆ ทั่วประเทศ มายัง ศปป.ตร. สามารถเฝ้าระวังเหตุและ "บริหาร จุดตรวจ จุดสกัด ไม่ให้ซ้ำซ้อน" และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากเกิด "เหตุวิกฤต" ด้านอาชญากรรม ศปป.ตร. สามารถ "ยกระดับ" การปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารสถานการณ์ให้กับผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถ "บริหารจัดการแก้ไขเหตุวิกฤต" นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังกล่าวอีกว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มาสังเกตการณ์ พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมเรื่องการปฏิบัติและ "นำเทคโนโลยีส่วนขยาย" มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและยังได้รับชมการสาธิตการปฏิบัติระหว่าง ศปป.ตร. กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ปฏิบัติการจริง โดยใช้ยุทธวิธีตำรวจสายป้องกันปราบปรามที่ได้รับการฝึกมาแล้ว

 

'บิ๊กป้อม' ขอบคุณ 'หัวเว่ย' หนุนดิจิทัลไทยก้าวหน้า สู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมปูทางผู้นำ 5G ของภูมิภาค

พล.อ.ประวิตร ปาฐกถาเปิดงานยิ่งใหญ่ 'Global Mobile Broadband Forum 2022' ครั้งที่ 13 หนุนความร่วมมือ 'ไทย-หัวเว่ย' พลิกโฉม สู่ ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งก้าวเป็นผู้นำ 5G ของภูมิภาค 

(26 ต.ค. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธาน เปิดงานประชุมสัมมนา และนิทรรศการ Global Mobile Broadband Forum 2022 ครั้งที่ 13 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. ห้องบอลรูม 1-4 

จากนโยบายของรัฐบาลไทย ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 โดยสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 5G ให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงการใช้ประโยชน์ สร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุน พร้อมหนุนขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาค ซึ่งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร (GSMA) ได้ขานรับนโยบายของรัฐบาลไทย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ในอนาคต

การจัดงานในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ยฯ ได้ร่วมกับองค์กรกำกับดูแลมาตรฐานผู้ให้บริการการสื่อสาร (GSMA) และ GTI ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม โดยร่วมกันจัดงานขึ้นเป็นประจำทุกปี และครั้งนี้จัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ทางอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยี นวัตกรรมดิจิทัล ให้สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อยกระดับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

‘จีน’ มีสถานีฐาน 5G ทะลุ!! 2.73 ล้านแห่งแล้ว พร้อมเร่งสร้างขุมเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จีนมีสถานีฐาน 5G เพิ่มขึ้นเป็น 2.73 ล้านแห่ง เมื่อนับถึงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในโลก

สำหรับงานแถลงข่าวของการประชุมเศรษฐกิจดิจิทัลระดับโลก (Global Digital Economy Conference) ปี 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นช่วงต้นเดือนกรกฏาคม ระบุว่าจีนกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี 5G โดยมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 5G จำนวน 634 ล้านราย

ขณะเดียวกันภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจจีน จำนวน 45 ภาคส่วน ได้ทำการบูรณาการอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม ซึ่งส่งเสริมขนาดอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงเกิน 1.2 ล้านล้านหยวน (ราว 5.82 ล้านล้านบาท) 

สำหรับทางด้านรายได้ของอุตสาหกรรมการผลิตข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของจีน ในปี 2022 อยู่ที่ 15.4 ล้านล้านหยวน (ราว 74.64 ล้านล้านบาท) ขณะที่รายได้ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อยู่ที่ 10.8 ล้านล้านหยวน (ราว 52.35 ล้านล้านบาท) และรายได้ของอุตสาหกรรมคลังข้อมูลขนาดใหญ่อยู่ที่ 1.57 ล้านล้านหยวน (ราว 7.61 ล้านล้านบาท) ซึ่งวางรากฐานมั่นคงสำหรับการบูรณาการสารสนเทศและอุตสาหกรรมในจีน
 

‘หัวเว่ย’ เปิดตัวสมาร์ตโฟน ‘Mate 60 Pro’ ใช้ ‘ชิป 7 นาโนเมตร’ ผลิตในจีน เร็วกว่า 5G!!

‘หัวเว่ย’ (Huawei) เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ Mate 60 Pro ที่สร้างเสียงฮือฮาอย่างมากในหมู่ผู้ใช้งาน โดย TechInsights บริษัทวิเคราะห์ระบุว่า สมาร์ตโฟนรุ่นล่าสุดของหัวเว่ยใช้ชิป 7 นาโนเมตร ที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งผลิตขึ้นเองในจีนทั้งหมด

TechInsights เผยว่า สมาร์ตโฟน Mate 60 Pro ใช้ชิป Kirin 9000 ที่ผลิตขึ้นในจีนโดยบริษัท Semiconductor Manufacturing International Corp (SMIC) ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการใช้เทคโนโลยี 7 นาโนเมตรที่ทันสมัยที่สุดของ SMIC ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลจีนกำลังมีความก้าวหน้าในความพยายามที่จะสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนาชิปภายในประเทศ

การเปิดตัวสมาร์ตโฟนดังกล่าว ได้สร้างความคลั่งไคล้ขึ้นในผู้ใช้โซเชียลมีเดียของจีน และสื่อของรัฐฯ โดยผู้ซื้อโทรศัพท์มือถือ Mate 60 Pro ของหัวเว่ยได้โพสต์วิดีโอแบบแยกส่วน และแชร์ข้อมูลของการทดสอบความเร็วในโซเชียลมีเดีย ซึ่งพวกเขาบอกว่า Mate 60 Pro มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงกว่าโทรศัพท์มือถือชั้นนำที่ใช้ระบบ 5G

บางคนตั้งข้อสังเกตว่า กระแสดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับการเดินทางเยือนจีนของจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ซึ่ง ‘แดน ฮัตชิสัน’ นักวิเคราะห์จาก TechInsights บอกกับรอยเตอร์ว่า พัฒนาการที่เกิดขึ้นดังกล่าวเหมือนกับการ ‘ตบหน้า’ สหรัฐฯ เพราะไรมอนโดเดินทางมาจีน เพื่อหาทางทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น แต่ชิปตัวนี้เหมือนจะพูดว่า “ดูสิ่งที่เราสามารถทำได้สิ เราไม่ต้องการคุณ”

ตั้งแต่ต้นปี 2019 เป็นต้นมา สหรัฐฯ จำกัดไม่ให้หัวเว่ยเข้าถึงเครื่องมือสร้างชิปที่จำเป็นสำหรับสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ที่มีความทันสมัยที่สุด ซึ่งทำให้บริษัทเปิดตัวมือถือรุ่น 5G ได้เพียงจำกัดโดยใช้ชิปที่มีเก็บไว้เท่านั้น

อย่างไรก็ดี บริษัทวิจัยบอกกับรอยเตอร์เมื่อเดือนกรกฎาคมว่า พวกเขาเชื่อว่าหัวเว่ยกำลังวางแผนที่จะกลับเข้าสู่อุตสาหกรรมสมาร์ตโฟน 5G ภายในสิ้นปีนี้ โดยใช้ความก้าวหน้าของตนเองในการออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ ควบคู่กับการผลิตชิปจาก SMIC

‘กองทุนดีอี’ หนุนทุกภาคส่วนร่วมต่อยอดเทคโนโลยี 5G เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยดิจิทัลครบทุกมิติ

สดช. จัดเวทีสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (ร่าง) มาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G หวังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพในทุกมิติ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ (ร่าง) มาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G โดยมีนายธีรวุฒิ ธงภักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยนางสาววรรณศิริ พัวศิริ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วม ณ โรงแรม PULLMAN BANGKOK KING POWER กรุงเทพฯ

นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สดช. ได้ดำเนินโครงการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ซึ่งได้ทำการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนระดับชาติ แผนงาน มาตรการ โครงการ และแนวปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ และรูปแบบแนวทางในการจัดทำมาตรการฯ โดยผลการดำเนินงานในปัจจุบัน สดช. ได้จัดทำ (ร่าง) มาตรการฯ และเอกสารคู่มือที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยมาตรการ 3 กลุ่ม ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และมาตรการการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุน เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนและผลักดันภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติจริงที่จะก่อให้เกิดการลงทุนและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างระบบนิเวศด้านการลงทุนให้พร้อมต่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไป

“ทั้งนี้ สดช. ยังมีภารกิจสำคัญในการกำหนดทิศทางและวางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเป็นแกนกลางในการส่งเสริม ประสาน และบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพในทุกระดับและทุกมิติของภาคเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยที่ผ่านมา สดช. ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1 ที่ได้สิ้นสุดไปในปีที่ผ่านมา และปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าว ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาโครงข่าย 5G ประสิทธิภาพสูง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านเทคโนโลยี 5G ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยี 5G และยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบนิเวศให้พร้อมต่อการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G สำหรับการจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย รวมถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561-2580 ฉบับทบทวน โดยมีตัวชี้วัดในภาพรวม 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Digital Contribution to GDP) ปี พ.ศ. 2570 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน World Digital Competitiveness Ranking ปี พ.ศ. 2570 อยู่ใน 30 อันดับแรกของโลก หรืออยู่ใน 3 อันดับแรกของอาเซียน และสถานภาพการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy: DL) ของประชาชนคนไทยมากกว่า 80 คะแนน ในปี พ.ศ. 2570” นายภุชพงค์ฯ กล่าวเพิ่มเติม

ด้านนางสาวสิริกาญจน์ สุขผล ผู้อํานวยการกลุ่มบริหารกองทุน ได้กล่าวถึงบทบาทของกองทุนฯ บนเวทีเสวนา "การส่งเสริมการลงทุนและการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี5G" ว่า กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือกองทุนดี มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล โดยการจัดสรรเงินทุนสนับสนุนในแต่ละปีนั้น จะขึ้นอยู่กับงบประมาณที่กองทุนดีอีได้รับมากจาก กสทช. 

ทั้งนี้ ทางกองทุนดีอี จะจัดสรรเงินทุนสนับสนุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ส่วนแรก เป็นการสนับสนุนด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส่วนที่สอง เป็นการสนับสนุนด้านการวิจัย โดยโครงการที่จะนำเสนอเข้ามานั้น ทางกองทุนฯ อยากให้คำนึงถึงโครงการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในเชิงสาธารณะ 

“การนำเสนอโครงการที่ต้องทุนสนับสนุน เพื่อการจะพัฒนาขึ้นนั้น จะต้องส่งผลประโยชน์ต่อมุมกว้าง มีการให้บริการประชาชนในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล อาจจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ขณะเดียวกันในส่วนของการวิจัยนั้น จะเน้นไปที่โครงการที่ทำการวิจัยด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ เช่นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G โดยทางกองทุนฯ เปิดกว้างให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน หรือกลุ่มบุคคลทั่วไป สามารถจะเสนอขอรับทุนได้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี 5G ไปต่อยอดประยุกต์ใช้กับบริการด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษาการ การพัฒนากำลังคนดิจิทัล และพัฒนาเมืองปลอดภัยน่าอยู่ หรือ สมาร์ทซิตี้ ซึ่งหน่วยงานที่มีโครงการอยู่ในมือ ต้องการจะพัฒนาขึ้น แต่ยังขาดเงินทุนสนับสนุน ก็สามารถนำเสนอโครงการเข้ามาได้ที่กองทุนฯ ซึ่งจะเปิดรับในช่วงต้นปี ประมาณเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของแต่ละปี” นางสาวสิริกาญจน์ กล่าว

‘จีน’ มีโรงงานอัจฉริยะ-สถานีฐาน 5G กว่า 2.2 แสนแห่งแล้ว พร้อมผลักดันเครือข่ายขนาดใหญ่-ล้ำสมัยมากที่สุดในโลก

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัว, หางโจว รายงงานว่า สำนักเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำมณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน รายงานว่า ปัจจุบันเจ้อเจียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ได้ก่อสร้างสถานีฐาน 5G เป็นจำนวน 220,000 แห่งแล้ว

‘หลี่หมิน’ รองผู้อำนวยการสำนักฯ ซึ่งร่วมการประชุม 5G+ อินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมแห่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ปี 2023 ในเมืองเส้าซิงของเจ้อเจียง กล่าวว่าปัจจุบันผู้อยู่อาศัยในเจ้อเจียงทุก 10,000 คน สามารถเข้าถึงสถานีฐาน 5G มากกว่า 33 แห่ง

นอกจากนั้น เจ้อเจียงได้สร้าง ‘โรงงานแห่งอนาคต’ และโรงงานอัจฉริยะระดับมณฑล จำนวน 653 แห่ง และสร้างแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรมระดับมณฑล จำนวน 535 แห่ง

อนึ่ง จีนถือเป็นผู้นำโลกด้านการพัฒนา 5G ด้วยจำนวนสถานีฐานรวม 2.84 ล้านแห่ง เมื่อนับถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมของปีนี้ โดยจีนกำลังพยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่และล้ำสมัยมากที่สุดในโลก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top