Thursday, 25 April 2024
10มาตรการ

MEET THE STATES TIMES 'เดอะ ดีเบต' | EP.7

📌ร่วมถกประเด็นร้อนในรอบสัปดาห์ ผ่านมุมมองสร้างสรรค์ และคมคิดที่น่าสนใจ ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’

🔥 ในประเด็นร้อน 🔥
1.) ดราม่า​ 'ปุ้มปุ้ย'​ สิทธิส่วนบุคคลในยุคสังคมขี้เผือก
2.) ‘อุ๊งอิ๊ง’ เอฟเฟกต์
3.) ชำแหละ 10 มาตรการช่วยเหลือประชาชน

🔥ไปกับ ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ดำเนินรายการโดย ‘หยก THE STATES TIMES’

ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ร่วมถกประเด็นสุด​ Exclusive​ ระหว่าง​ THE​ STATES​ TIMES​ และ​ 'โบว์​ ณัฏฐา'​

Liveสดทุกวันเสาร์ 20.00 น.

.

.

โบว์ ณัฏฐา ชี้ การใส่มาตรการกระตุ้นที่ไม่ถึง ก็เหมือนการเข็นรถขึ้นเขา ถ้าเข็นเบาๆ ก็อาจถูกรถไหลทับ ต้องใส่แรงมากพอที่จะส่งรถขึ้นไปได้ มัน คือ การใส่ เพื่อให้เกิดการหมุนต่อ

จากสถานการณ์ความผันผวนของราคาพลังงาน อันเป็นผลพวงของความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย ที่ทำให้ต้นทุนการผลิต การค้า-บริการต่างๆ ราคาดีดตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพเองก็มีการปรับตัวสูงขึ้นจนเกิดปรากฏการณ์ ‘แพงทั้งแผ่นดิน’ โดยรัฐบาลเองก็ได้เห็นถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้กำหนด 10 มาตรการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนขึ้น ดังนี้ 

1.) การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาท/เดือน
2.) ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท สำหรับผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนประมาณ 5,500 คน
3.) ช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 157,000 คน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 250 บาทต่อเดือน และขอให้กรมการขนส่งทางบกกำกับราคาการให้บริการเพื่อให้ประชาชนที่ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเท่าเดิม 
4.) คงราคาขายปลีกผู้ที่ใช้ก๊าซ NGV ไว้ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม
5.) ผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน สามารถซื้อก๊าซได้ในราคา 13.62 บาท/กิโลกรัม
6.) ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยลดค่า Ft ลง 22 สตางค์ต่อหน่วยในช่วงเดือนพ.ค. - ส.ค.
7.) ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือนเม.ย. 2565 หลังจากนั้น รัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือส่วนที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่ง
8.) กำกับดูแลการปรับราคาก๊าซหุงต้มในช่วงตั้งแต่เดือนเม.ย.- มิ.ย. โดยใช้กองทุนน้ำมันเข้าไปช่วยลดผลกระทบจากการปรับราคาให้ไม่ขึ้นสูงเกินไป
9.) ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป
10.) ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9% และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ลงเหลือ 42-180 บาทต่อเดือน

หากแต่ว่าการกำหนดมาตรการเหล่านี้จากรัฐบาล ดูจะสร้างความกังขาต่อประชาชนทั่วไป ว่าแท้จริงแล้ว 10 มาตรการนี้ จะช่วยเหลือประชาชนจริงหรือไม่? โดย ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ไว้ว่า..

ทั้ง 10 มาตรการที่พูดถึงนั้น คือ มาตรการเดียว นั่นก็คือ ‘มาตรการลดค่าครองชีพ’ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการลดภาระ แต่การลดภาระนั้น ต้องลดลงไปให้รู้สึกได้ว่าภาระนั้น มันถูกยกออกไปมากพอสมควรหรือเปล่า แต่ 10 ข้อที่ไล่มา หากแปลงออกมาเป็นเงินมันได้คนละกี่บาทต่อวัน

อย่างของแม่ค้าหาบเร่แผงลอย ให้เขาเดือนละร้อย เดือนละร้อย 3 เดือน คือ ส่วนลดค่าแก๊ส หารออกมาต่อวันตกวันละ 3 บาท แม่ค้าได้รับการลดภาระค่าครองชีพตกวันละ 3 บาท คำถามคือ ‘เขาจะรู้สึกอะไรไหม?’ ได้รู้สึกว่า ‘ภาระลดลงไปบ้างไหม?’ ประเด็นของโบว์ก็คือ ‘มันคือการลดภาระ ที่ไม่รู้สึกถึงการลดภาระเลย’ 

กรณีค่าไฟก็เช่นกัน การที่ออกมาบอกว่า 300 หน่วย ลด Ft 22 สตางค์ ถามว่าพอแปลงออกมาเป็นเงินแล้วได้กี่บาท เพราะเทียบดูแค่คิดจากค่าแก๊สวันละ 3 บาท ก็รู้แล้ว เพราะฉะนั้นมันเป็นการลดภาระแบบไม่รู้สึก คนรับเขาไม่รู้สึกอะไรเลย เหมือนน้ำซึมบ่อทราย คือเทไปเท่าไหร่ก็ซึมหายหมดไม่รู้สึก

ประเด็น คือ การจะช่วยก็ช่วยไป แต่ถ้าลองถามแม่ค้า เขาอยากให้ลดค่าแก๊สวันละ 3 บาท หรืออยากให้มีลูกค้าเข้ากันแน่ คุณลดให้ค่าแก๊ส 3 บาท แต่มันไม่มีลูกค้าเข้าร้าน เพราะคนไม่มีเงินไปจับจ่าย มันก็จะไม่มีผลในการที่จะทำชีวิตดีขึ้นจริงๆ

กลับกันหากไปมองอย่างนโยบาย ‘คนละครึ่ง’ / ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ นโยบายพวกนี้ คือ นโยบายที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพียงแต่นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจต้องมีที่ได้ผลมากกว่าเดิม เพราะตอนนี้สถานการณ์ไม่ได้มีแค่โควิด- 19 มันมีเรื่อง รัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกับน้ำมัน แล้วมันเลยยิ่งทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top