Wednesday, 22 May 2024
เอเปก2022

‘อัษฎางค์’ ฟาดพวก 3 นิ้ว รู้ดี ‘เรื่องเท็จ-ข่าวปลอม’ แต่ประโยชน์ของ APEC กลับอ้าง “ไม่รู้อะไรเลย”

(17 พ.ย. 65) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า มันแปลกดีน่ะ ข้อมูลข่าวสารดีๆ มีรายงานอยู่ตลอดมา ทั้งจากภาครัฐและภาคสื่อมวลชน แต่คนบางคนหรือบางกลุ่มมักมองไม่เห็นหรือไม่เคยมอง แล้วก็มักพูดว่า ไม่เคยรู้เรื่องอะไรเลย เพราะรัฐไม่เคยชี้แจงแถลงไข แต่กับข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ กลับรู้กันดีจริงๆ แถมยังเชื่อว่าเป็นข้อเท็จจริง

นายอนุชา บรูพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงประโยชน์ที่ประเทศ และประชาชนไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค APEC 2022 อันได้แก่

1.) ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ทำให้ธุรกิจทั้งรายเล็กรายใหญ่ได้เข้าถึงประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเต็มที่

2.) เนื่องจากการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่ผู้นำเอเปคได้เดินทางมาพบหน้ากัน แบบตัวต่อตัว จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยได้แสดงศักยภาพ และความพร้อมให้โลกได้เห็นผ่านความสำเร็จในการจัดประชุมที่จะมีตลอดทั้งปี ท่ามกลางความท้าทายในสถานะการณ์โควิด-19 และสถานการณ์โลกที่ผันผวน

3.) เป็นโอกาสอันดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้สนใจกลับมาเที่ยงเมืองไทย ผ่านภาพความสำเร็จ การจัดประชุมที่จะมีตลอดทั้งปี ท่ามกลางความท้าทายในสถานะการณ์โควิด -19

4.) เป็นโอกาสในการนำเสนอภาพความโดดเด่นทางวัฒนธรรม อาหาร การแสดง และเอกลักษณ์ความสวยงามของไทยจะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและงานบริการ

5.) ในช่วงสัปดาห์การประชุมเอเปคจะมีผู้นำเอเปคและผู้แทนจากต่างประเทศเดินทางมาเยือนไทยประมาณ 3,000 คน และสื่อต่างชาติอีกกว่า 2,000 คน

และนอกจากการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ ยังมีการประชุมที่เกี่ยวข้องอีกหลายรายการ อาทิ APEC CEO summit, ABAC, APEC SME ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ไทยได้ต้อนรับผู้นำจากหลายประเทศ ทั้งที่เป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจและที่เป็นแขกพิเศษ ได้แก่ มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย และประธานาธิบดีฝรั่งเศส ซึ่งทุกคนที่มาร่วมงานประชุม ตลอดจนโลกทั้งโลกที่ติดตามข่าวสารในการประชุมในครั้งนี้ จะได้เห็นศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสการค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น

6.) เป็นโอกาสให้รัฐบาลได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมความยั่งยืน นวัตกรรม ควบคู่ไปกับศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม ความสำคัญ ความหวังและผลประโยชน์มหาศาลจากการประชุมเอแปก

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนบทความบอกเล่าถึงความสำคัญของ APEC 2022 Thailand เอาไว้ว่า APEC (ย่อมาจาก Asia-Pacific Economic Cooperation) เป็นเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญระดับโลก มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ

‘จิราพร’ ชี้ ‘ประยุทธ์’ เป็นได้แค่ผู้จัดเอเปก แต่ไม่ได้เป็น ‘ผู้นำ’ ที่เชิดหน้าชูตาให้ประเทศ

‘จิราพร’ ชี้ ภาพลักษณ์เผด็จการประยุทธ์เป็นอุปสรรคในเวทีโลก เย้ยเป็นได้แค่ผู้จัดประชุมเอเปค แต่ไม่เป็นผู้นำที่เชิดหน้าชูตา ยกนโยบายเศรษฐกิจสองทางสมัยทักษิณทำให้จัดเอเปคแล้วปัง

นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 นี้ว่า ในอดีตประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ครั้งที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จมากที่สุด คือการจัดการประชุมเมื่อปี 2546 ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่นอกจากจะโดดเด่นในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศเชิงรุก สามารถแสดงบทบาทนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ทั่วโลกต้องจับตามองไทย และพาผู้นำประเทศมหาอำนาจ และเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่มาร่วมเวทีเดียวกันได้สำเร็จแล้ว

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากเวทีการประชุมเอเปคในครั้งนั้น คือ รัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสองแนวทาง หรือ Dual Track Policy ที่เน้นให้ไทยแสวงหาประโยชน์จากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างกลไกภายในประเทศให้แข็งแกร่ง จึงเกิดการผลักดันนโยบายอย่างเป็นระบบเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในประเทศให้เข้มแข็ง เช่น นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน รวมถึงนโยบายการเตรียมความพร้อมประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฯลฯ โดยดำเนินการไปพร้อมกับการดำเนินนโยบายการทูตเชิงเศรษฐกิจ ใช้เวทีการประชุมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะโอกาสการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ประสานประโยชน์เพื่อยกระดับนโยบายในประเทศเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยที่เคยประสบปัญหาจากวิกฤตต้มยำกุ้งและการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส สามารถกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จนเกือบเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการพัฒนากลับต้องสะดุดหยุดลงเพราะการทำรัฐประหาร

ในขณะที่ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นำที่มาจากการทำรัฐประหารสืบทอดอำนาจ มีสถานะที่อ่อนด้อยไม่ได้รับการยอมรับในเวทีโลก และยังไม่มีนโยบายภายในประเทศที่ช่วยวางรากฐานให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตในระดับนานาชาติได้ เน้นเพียงมาตรการระยะสั้น และการแจกเงิน ซึ่งไม่ใช่นโยบายที่สามารถช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน นับวันยิ่งทำให้คนจนในประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทะลุ 22 ล้านคน ท่ามกลางหนี้สาธารณะประเทศทะลุ 10 ล้านล้านบาท หนี้ครัวเรือนสูงเกือบ 15 ล้านล้านบาท 

‘ศิโรตม์’ ประณามโรงพยาบาลหยุดช่วงเอเปก ด้านชาวเน็ตถล่มยับ!! ไล่ไปเช็กข้อมูลก่อนวิจารณ์

(17 พ.ย. 65) เมื่อวานนี้ (16 พ.ย. 65) นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ อาจารย์และผู้ดำเนินรายการทีวีช่องหนึ่ง ได้ออกมาโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยระบุว่า “ขอประณามรัฐบาลที่สั่งปิดโรงพยาบาลรัฐช่วงเอเปค คำสั่งนี้ต้องยกเลิกทันที ต้องไม่มีใครป่วยหรือตายจากการอยากได้หน้าช่วงเอเปคของรัฐบาล #เอเปค2022 #เอเปค2565”

ต่อมาได้ทวีตข้อความเพิ่มเติมพร้อมแนบลิงก์ข่าวสำนักหนึ่ง และระบุว่า “วิจารณ์สนั่น! รพ.สมุทรปราการประกาศหยุด 16-18 พ.ย. บริการเฉพาะเหตุฉุกเฉิน เหตุมีการจัดประชุมผู้นำเอเปก”

หลังจากนั้นไม่นานชาวเน็ตก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวิตตอบโต้ว่า “ป่วยฉุกเฉิน ห้องฉุกเฉินก็เปิดนะคะ ไม่ได้ปิด มีหมออยู่เวรตลอด รวมทั้งในหอผู้ป่วยก็มีหมอและเจ้าหน้าที่อยู่เวรตลอด เดินเข้ารพ.เป็นโรคฉุกเฉินไม่มีใครไม่รักษานะคะ ไม่น่าจะมีใครตายเพิ่มจากการให้รพ.เป็นวันหยุดราชการนะคะ #ไม่ใช่สลิ่มไม่ได้โปรประยุทธแต่อันนี้รบกวนหาข้อมูลนิดนึงค่ะ”

โดยนายศิโรตม์ ได้ตอบกลับว่า “ทราบครับว่าฉุกเฉินเปิด แต่ประเด็นคือโรงพยาบาลไม่ควรถูกปิดแม้แต่นิดเดียวครับ ยิ่งโรงพยาบาลรัฐใหญ่ ๆ ผู้ป่วยนอกบางแห่งวันละ 5-6,000 คำสั่งปิดทำประชาชนเดือดร้อนรวมกันเป็นหมื่นจากทุกโรงพยาบาลในกรุงเทพ-นนทบุรี-สมุทรปราการแน่นอนครับ”

นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็นอีก เช่น 

- เสาร์ - อาทิตย์เขาก็ปิดครับท่าน ในความหมายเดียวกันเลย ไม่ได้หมายความว่าไม่รักษา แต่เปิดบริการเหมือนวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ครับ เป็นเรื่องปรกตินะครับ แค่เหมือนเพิ่มวันหยุดกรณีพิเศษเข้ามาแค่นั้น

- ปกติอะไรงง ทุกทีเวลาวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ มันคือเว้นว่าง 2 วัน รวมนักขัตฤกษ์ก็ไม่น่าเกิน 3 แต่อันนี้
มันติดต่อกันเกือบสัปดาห์ แล้ววันหยุดเขาประกาศล่วงหน้าเป็นปี มันต้องทบคิวไปกี่วัน

‘โซเชียล’ ชูผลงาน ‘บิ๊กตู่’ ตอกหน้า ‘ผู้บริหารอสังหาฯ ดัง’ หลังวิจารณ์ ‘ผู้นำไทย’ ไม่พาประเทศไปสู่เวทีโลก

เมื่อวานนี้ (17 พ.ย. 65) เพจเฟซบุ๊ก ‘สายตรงข่าวกรอง’ ได้โพสต์ข้อความตอบโต้กรณีที่ ‘นายเศรษฐา ทวีสิน’ ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เคยกล่าวไว้ว่า 6-8 ปีที่ผ่านมาผู้นำของเราไม่ได้นำประเทศไทย ไปมีจุดยืนในเวทีโลกเลย ผู้นำคนต่อไปผมว่าต้องกล้า ที่จะเดินออกไปสู่เวทีโลก โดยระบุว่า…

เราอยู่ในโลก...ใบเดียวกับเขามั๊ย?
หรืออยู่คนละ #universe 

***ฝากบอกเขาหน่อยนะ
#ลุงตู่ ใช่ไหม? ที่ฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ที่ห่างหายมานานกว่า 30 ปี ได้สำเร็จ

***และ 8 ปีที่ผ่านมา
#ลุงตู่ เดินทางเยือนต่างประเทศ และเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ อย่างเป็นทางการ เกือบทุกภูมิภาคของโลก รวม 75 ครั้ง (ไม่นับรวมการประชุมผ่านระบบทางไกล ในช่วงโควิดระบาดอีก 13 การประชุม) 

#ลุงตู่ ให้การต้อนรับผู้นำต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนไทย อย่างเป็นทางการ 29 ครั้ง 

#ลุงตู่ เป็นประธานการประชุมระหว่างประเทศมาแล้ว โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 5 การประชุม...

(1) ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ปี 2557 
(2) ความร่วมมือเอเชีย (ACD) ปี 2559 
(3) ความร่วมมืออิรวดี-เจ้าพระยา–แม่โขง (ACMECS) ปี 2561 
(4) การประชุมสุดอาเซียน (ASEAN) ปี 2562 อีก 2 ครั้ง 

บุคคลสำคัญระดับโลกอยู่ที่นี่แล้ว ‘APEC 2022’

✨บุคคลสำคัญระดับโลกอยู่ที่นี่แล้ว ‘APEC 2022’

อยู่กับ ‘บิ๊กตู่’ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา 

- #จีน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping)
- #ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ
- #สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง
- #นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น
- #สหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส
- #ออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรี แอนโธนี อัลบานีส

- #บรูไน สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 29 และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน
- #แคนาดา นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด
- #ชิลี ประธานาธิบดี กาบริเอล โบริก ฟอนต์ (Gabriel Boric Font)
- #จีนฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จอห์น ลี คา-ชิว (John Lee Ka-Chiu)
- #อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด
- #เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ฮัน ด็อก-ซู
- #มาเลเซีย เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี (Tan Sri Dato’ Seri Mohd Zuki Ali)
- #เม็กซิโก เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย เบร์นาโด กอร์โดบา เตโย (Bernardo Córdova Tello)

‘สี จิ้นผิง’ ขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างสุดซึ้งที่ตั้งใจและใช้ความพยายามจัดประชุม APEC 2022

สุนทรพจน์ของนาย ‘สี จิ้นผิง’ ปธน.จีนในที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 29 ในหัวข้อ ‘สามัคคี ร่วมมือ และกล้ารับผิดชอบ เพื่อประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของเอเชียแปซิฟิก’ (ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022)

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และมิตรสหายทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านทั้งหลาย ณ กรุงเทพมหานคร ‘เมืองแห่งสวรรค์’ ที่สวยงาม นี่เป็นครั้งแรกที่เราได้พบกันโดยตรงแบบออฟไลน์ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งไปยังรัฐบาลไทย โดยเฉพาะ ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ตั้งใจและใช้ความพยายามเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นซ้ำหลายระลอกและจะยืดเยื้อต่อไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ลัทธิฝ่ายเดียวและลัทธิคุ้มครองได้ทวีความรุนแรง ห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลกได้รับผลกระทบ ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ความปลอดภัยด้านธัญญาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน และปัญหาอื่นๆ มีความซับซ้อนและรุนแรงอย่างหนัก

ภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ เป็นสถานที่ลงหลักปักฐานของเรา และเป็นแหล่งขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้พัฒนาและเป็นไปอย่างคึกคัก โดยได้สร้าง ‘ปาฏิหาริย์แห่งเอเชียแปซิฟิก’ ดึงดูดความสนใจของทั่วโลก ความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้หยั่งรากลึกในใจของผู้คนทั้งหลายช้านานมาแล้ว

ขณะนี้โลกได้ยืนอยู่ที่ทางแยกของประวัติศาสตร์อีกครั้ง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความสำคัญและมีบทบาทโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

คนจีนสมัยโบราณระบุไว้ว่า ‘ผู้รอบรู้จะไม่สับสน ผู้มีคุณธรรมจะไม่กังวล ผู้กล้าหาญจะไม่หวั่นเกรง’ ในสถานการณ์ใหม่เราต้องร่วมมือสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างความรุ่งโรจน์ใหม่ของความร่วมมือแห่งเอเชียแปซิฟิก ด้วยประการเหล่านี้ ข้าพเจ้ามีข้อเสนอดังต่อไปนี้

ประการแรก ปกป้องความยุติธรรมและความเที่ยงธรรมระหว่างประเทศ สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้มีสันติภาพและความมั่นคง

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากสภาพแวดล้อมที่สงบสุขและมั่นคง ทำให้เราตระหนักว่าต้องให้เกียรติแก่กัน สามัคคีกัน และร่วมมือกัน เมื่อเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ เราต้องปรึกษาหารือกันเพื่อค้นหาปัจจัยร่วมที่ใหญ่ที่สุด

เราควรยึดมั่นแนวคิดด้านความปลอดภัยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ครอบคลุม ให้ความร่วมมือ และยั่งยืน เคารพอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนแต่ละประเทศ ไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่น เคารพเส้นทางการพัฒนาและระบบสังคมที่ประชาชนของแต่ละประเทศเลือกเอง ให้ความสำคัญต่อความห่วงใยด้านความปลอดภัยที่สมเหตุสมผลของแต่ละประเทศ ขจัดความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาอย่างสันติ  

เราต้องมีส่วนร่วมในการสร้างธรรมาภิบาลโลกอย่างแข็งขัน เพื่อผลักดันให้ระเบียบของประชาคมโลกพัฒนาไปสู่ทิศทางที่ยุติธรรม และสมเหตุสมผล อีกทั้งให้มีหลักประกันทางสันติภาพและความมั่นคงทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก

ประการที่สอง ยึดมั่นในความเปิดกว้าง สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้มีความมั่งคั่งร่วมกัน

ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าการเปิดกว้าง ร่วมมือและได้ชัยชนะร่วมกันถึงเป็นหนทางที่ถูกต้องในโลก เราต้องยืนหยัดลัทธิภูมิภาคแบบเปิดกว้าง เสริมสร้างการประสานนโยบายเศรษฐกิจแบบมหภาค สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ขับเคลื่อนกระบวนการให้เศรษฐกิจเป็นแบบองค์เดียวกันในระดับภูมิภาคอย่างคงเส้นคงวา และสร้างเขตการค้าเสรีระดับสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้สำเร็จโดยเร็ว

เราต้องยืนหยัด ‘การพัฒนาเพื่อประชาชน ด้วยประชาชน และผลลัพธ์สู่ประชาชน’ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมั่งคั่งร่วมกัน จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้ครอบคลุมและมีคุณภาพ ขับเคลื่อนต่อไปเพื่อเข้าร่วม ‘ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก’ และ ‘ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดิจิทัล’ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแบบหลอมรวมระดับภูมิภาค

ในปีหน้าจีนจะพิจารณาการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฟอรัมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ( BRI : Belt and Road Initiative) ครั้งที่ 3 เพื่อเพิ่มพลังขับเคลื่อนใหม่แก่การพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top