Saturday, 4 May 2024
อินโดนีเซีย

‘Flash Coffee’ ร้านกาแฟสัญชาติอินโดฯ ปิดแล้วทุกสาขาในสิงคโปร์ ด้านใน ‘ไทย’ พบขาดทุนกว่า 100 ล้านบาท หลังติดลบต่อเนื่อง 

เมื่อไม่นานนี้ ‘แฟลช คอฟฟี่’ (Flash Coffee) ร้านกาแฟสตาร์ตอัปสัญชาติอินโดนีเซีย ประเดิมสาขาแรกในบ้านเกิดเมื่อปี 2020 และสามารถขยายไปอีกหลายประเทศทั่วเอเชียได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงไทยที่มีสาขากระจายทั่วทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

ล่าสุดสำนักข่าว ‘เซาท์ ไชน่า มอนิ่ง โพสต์’ (South China Morning Post) รายงานถึงสถานการณ์ล่าสุดของ ‘แฟลช คอฟฟี่’ ในประเทศสิงคโปร์ว่า บริษัทปิดทำการร้านแฟรนไชส์ทุกสาขาในสิงคโปร์ทั้งหมดแล้ว โดยโฆษกของแบรนด์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของบริษัทจะไม่กระทบกับสาขาในประเทศอื่นๆ อาทิ สาขาในฮ่องกงที่ยังคงดำเนินกิจการตามปกติ พร้อมกันนี้ บริษัทจะยังคงเดินหน้าลงทุนและขยายตลาดในภาคส่วนอื่นๆ ที่มีศักยภาพการเติบโตต่อไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสข่าวระบุถึงสาเหตุการถอนทัพจากสิงคโปร์ของ ‘แฟลช คอฟฟี่’ ว่า อาจมาจากสองประเด็นหลักๆ คือ ‘ภาระหนี้สินบริษัทที่เพิ่มขึ้น’ ส่งผลถึงการหยุดงานประท้วงของพนักงาน เนื่องจากการจ่ายเงินเดือนที่ล่าช้ากว่ากำหนด ทว่า โฆษกของแฟลช คอฟฟี่ได้ออกมายืนยันภายหลังว่า พนักงานในสิงคโปร์ไม่ได้มีการนัดหยุดงานประท้วงแต่อย่างใด บาริสต้าและพนักงานในส่วนอื่นๆ ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว เนื่องจากร้านค้ามีการหยุดดำเนินการไปก่อนหน้า

ทั้งนี้ ก่อนจะมีการปิดตัวลงในสิงคโปร์ ‘แฟลช คอฟฟี่’ ได้ประกาศถอนตัวออกจากไต้หวันไปเมื่อเดือนมีนาคม 2566 รวมถึงสาขาในไทยที่มีการระบุบนเว็บไซต์ทางการว่า เปิดให้บริการกว่า 84 สาขานั้น ได้มีการทำการสำรวจข้อมูลแล้ว ล่าสุดบนแอปพลิเคชัน ‘แฟลช คอฟฟี่’ พบว่า ปัจจุบันมีสาขาเปิดบริการทั้งหมด 42 สาขา ลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง หลังจากเข้ามาทำตลาดในไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563

สำหรับข้อมูลผลประกอบการของ ‘บริษัท แฟลช คอฟฟี่ ทีเอช จำกัด’ พบว่า ยังคงมีตัวเลข ‘ติดลบ’ ต่อเนื่องกันทั้งสองปี ดังนี้

- ปี 2563 : รายได้รวม 3.2 ล้านบาท ขาดทุน 8.5 ล้านบาท
- ปี 2564 : รายได้รวม 60 ล้านบาท ขาดทุน 100 ล้านบาท

ระทึก!! สะพานกระจก ‘The Geong’ แตกกะทันหัน ทำนักท่องเที่ยวดิ่งพื้น 15 เมตร ดับสลด 1 ราย

เมื่อวานนี้ (25 ต.ค. 66) สื่อต่างประเทศรายงานว่า เกิดเหตุการณ์สลด มีนักท่องเที่ยวพลัดตกสะพานกระจก ‘เดอะ กอง (The Geong)’ ที่มีความสูง 15 เมตร ในเขตป่าสนลิมปาคูวัส เมืองบันยูมาส จังหวัดชวากลาง ของอินโดนีเซีย

ตามรายงาน ขณะเกิดเหตุ มีกลุ่มนักท่องเที่ยว 13 คนเดินไปถ่ายภาพบนสะพาน ทันใดนั้นพื้นกระจกของสะพานที่มีความหนาราว 1 เซนติเมตรได้แตกและร่วงลงไป 1 แผ่น ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยว 4 คนตกเป็นเหยื่อของอุบัติเหตุครั้งนี้

โดยมีนักท่องเที่ยว 2 คนพลัดตกจากสะพาน เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีก 1 ราย ขณะที่อีก 2 คนติดอยู่บนสะพานกระจกและได้รับการช่วยเหลือออกมาอย่างปลอดภัย

พยานผู้เห็นเหตุการณ์เปิดเผยว่า ขณะนั้นเขาได้ยินเสียงดังเหมือนระเบิด ก่อนที่จะมีเสียงกระจกแตก เขาจึงรีบขอความช่วยเหลือจากผู้คนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทันที

“มันเหมือนมีการระเบิด พื้นกระจกตกลงไป ตรงนั้นมีนักท่องเที่ยวไปเซลฟี่ 4 คน มี 2 คนร่วงลงไป ส่วนอีก 2 คนติดอยู่ด้านบน เป็นผู้หญิงทั้งหมด”

ปัจจุบันสะพานกระจกถูกปิดชั่วคราว โดยตำรวจได้ลงพื้นที่เพื่อสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของการก่อสร้างสะพานกระจก รวมถึงสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกด้วย

‘นายกฯ’ เผย อินโดฯ สั่งข้าวไทย 2 ล้านตัน เชื่อ ช่วยดันราคาสูงขึ้น พร้อมหารือ ‘ผู้นำ 3 ชาติ’ เล็งจัดเส้นทางท่องเที่ยว 4 ประเทศ

(17 ธ.ค. 66) ที่โรงแรมโอกุระ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษฯ ว่า ระหว่างการประชุมได้หารือพูดคุยส่วนตัวกับผู้นำประเทศในอาเซียน อาทิ ประเทศกัมพูชา, ประเทศเวียดนาม และประเทศอินโดนีเซีย สำหรับการพูดคุยกับ ‘นายฮุน มาเนต’ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีความสนิทสนมกัน และพบเจอกันในหลายวงประชุมแล้ว ก็ได้หารือกันหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานกงศุลที่กรุงเสียมเรียบซึ่งเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังคือนครวัด และมีนักท่องเที่ยวเยอะ โดยทางนายฮุน ยืนยันจะสนับสนุนเต็มที่ รวมถึงขอบคุณประเทศไทยที่ช่วยดำเนินการให้คนกัมพูชาเข้าไทยได้โดยไม่ต้องใช้พาสปอร์ต และทำให้ภาคแรงงานทำให้ขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะที่การหารือร่วมกับ ‘นายหวอ วัน เถือง’ ประธานาธิบดีเวียดนาม ก็จะมีการรื้อฟื้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่วมสองประเทศ โดยทางเวียดนามเสนอให้จัดช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2567 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี นอกจากนี้ ในฐานะที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก ก็น่าจะมีการพูดคุยกันเรื่องราคาข้าว เพื่อทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น

รวมถึงทางเวียดนามเสนอให้ประเทศไทยในฐานะที่มีประสบการณ์สูงในเรื่องการท่องเที่ยว และนโยบายก้าวหน้า รวมถึงมีนักท่องเที่ยวเยอะที่สุดในภูมิภาคนี้ ทางเวียดนามก็ได้เสนอว่า ให้ไทย เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา มาพูดคุยกันเพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการโปรโมทการท่องเที่ยวให้มีความเชื่อมโยงกัน เพราะเวลานักท่องเที่ยวมาภูมิภาคนี้ก็จะได้มาทั้งหมด นำจุดแข็งของแต่ละประเทศมาใช้ ซึ่งตนได้เสนอว่าการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรีระหว่างเวียดนามและไทยช่วงเดือนพฤษภาคม เราจะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดประชุมกับรัฐมนตรีท่องเที่ยวทั้ง 4 ประเทศ เพื่อทำการบ้านไปก่อนคลอดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของทุกประเทศที่จะดำเนินการต่อไป อีกทั้งแนวคิดนี้ถือเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์ที่ดีมากของนายกรัฐมนตรีเวียดนาม

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนการพูดคุยกับ ‘นายโจโก วีโดโด’ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่ดำรงตำแหน่งมา 8 ปีแล้ว และปัจจุบันเป็นประธานอาเซียน ซึ่งถือเป็นบุคคลที่มีบารมี และทุกคนให้ความเคารพ ตนได้เจอท่าน 3-4 ครั้ง โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านส่งนักธุรกิจมาคุยเรื่องการค้าข้าวมาพูดคุยก่อนแล้ว และการพบกันวันนี้ประธานาธิบดียืนยันว่าจะซื้อข้าวไทยจำนวน 1 ล้านตันภายในปีนี้ แต่เมื่อระยะเวลาเหลือเพียง 20 วัน ประธานาธิบดียืนยันจะสั่งข้าวไทยเป็น 2 ล้านตัน โดยจะส่งคนมาพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วงต้นปี 2567 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ราคาข้าวไทยมีราคาและความต้องการสูงขึ้น ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ยังมีความสนใจในเรื่องแลนด์บริดจ์ด้วย เพราะมีนักลงทุนอินโดนีเซียสนใจมาลงทุน โดยจะมีการนัดมาหารือต่อไป

รถไฟความเร็วสูง ‘จาการ์ตา-บันดุง' กระแสตอบรับดี!! ยอดโดยสารทะลุ 1 ล้านครั้ง หลังเปิดให้บริการตั้งแต่ ต.ค.

(26 ธ.ค.66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า บริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน จำกัด เปิดเผยว่าทางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ซึ่งเป็นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกในอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับรองการเดินทางของผู้โดยสารมากกว่า 1 ล้านครั้งแล้ว นับตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินงานเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. 2023

รายงานระบุว่า การเดินทางของผู้โดยสารทางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ได้สูงแตะหลัก 1 ล้านครั้งเมื่อวันอาทิตย์ (24 ธ.ค.) โดยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทพีที เคเรตา เซปาต อินโดนีเซีย-ไชน่า (KCIC) กิจการร่วมค้าระหว่างบริษัทอินโดนีเซียและจีนที่ก่อสร้างและดำเนินงานทางรถไฟสายนี้ เพิ่มการเดินรถจาก 14 เป็น 48 เที่ยวต่อวัน

คณะทำงานจากจีนและอินโดนีเซียได้ร่วมผลักดันการดำเนินงานที่มีคุณภาพสูงของทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม โดยมีการส่งเสริมการจำหน่ายบัตรโดยสารทางออนไลน์ การปรับปรุงขึ้น-ลงรถไฟของผู้โดยสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการบูรณาการระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เข้ากับทางรถไฟสายนี้

นอกจากนั้นมีการเปิดให้บริการร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อที่สถานีรถไฟฮาลิม สถานีรถไฟปาดาลารัง และสถานีรถไฟเตกัลลัวร์ รวมถึงมีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถไฟด้วย

อนึ่ง ทางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ระยะทาง 142.3 กิโลเมตร มีความเร็วออกแบบ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะย่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย และนครบันดุงในจังหวัดชวาตะวันตก จากกว่า 3 ชั่วโมง เหลือราว 40 นาที

TikTok อินโดฯ เดือด!! ทุกพรรคอัดแคมเปญหาเสียงเพื่อวัยโจ๋ ขนาดผู้สมัครวัย 72 ยังลุกมาอัดคลิปเต้น หวังเรียกคะแนน

อินโดนีเซียเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งใหญ่ ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 นี้แล้ว 

ตอนนี้ บรรดาว่าที่ผู้สมัคร และ พรรคการเมืองอัดแคมเปญหาเสียงกันอย่างไม่ยั้ง โดยโซเชียลมีเดีย ถูกนำมาใช้เป็นช่องทางหาเสียงอย่างกว้างขวาง ซึ่งแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเวลานี้ ที่อินโดนีเซียก็คือ การหาเสียงผ่าน TikTok 

ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรอยู่ราว ๆ 278 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ในจำนวนนั้นมีกลุ่มคนรุ่น Millennials และ Gen Z ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งมากถึง 56.5% และยังเป็นกลุ่มที่นิยมติดตามข้อมูลข่าวสารบนช่องทางโซเชียลเป็นอย่างมาก ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลที่นิยมในกลุ่มคนหนุ่ม-สาวชาวอินโดนีเซียในยุคนี้ หนีไม่พ้น TikTok 

ปัจจุบันอินโดนีเซียมีบัญชีผู้ใช้ TikTok ที่ยัง Active อยู่ถึง 125 ล้านบัญชี นับเป็นประเทศผู้ใช้ TikTok มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก 

การใช้โซเชียลมีเดียช่วยในการหาเสียง มีมานานแล้วในทุกประเทศ ยิ่งในอินโดนีเซียที่กลุ่มคนรุ่นใหม่นิยมเล่นโซเชียลกันเป็นกิจวัตร แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ TikTok กลายเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้ามามีอิทธิพล และบทบาทอย่างมากในการเผยแพร่เนื้อหา ประเด็นทางการเมือง จนกลายเป็นสนามที่ใช้ต่อสู้อย่างดุเดือดในการหาเสียงเลือกตั้งของอินโดนีเซียในปีนี้

อาร์โย เซโน บากาสโกโร ผู้ทำหน้าที่โฆษกในแคมเปญหาเสียงของนาย กันจาร์ ปราโนโว กล่าวว่า จากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว (2562) ที่ใช้ Instagram ในการหาเสียงผ่านโซเชียลมากที่สุด แต่ทว่าปีนี้กลายเป็นยุคของ TikTok ไปเสียแล้ว

จึงไม่แปลกใจที่ตอนนี้ผู้สมัครแถวหน้าทั้ง 3 คนในศึกชิงตำแหน่งผู้นำอินโดนิเซีย ล้วนสร้างคอนเทนต์เอาใจกลุ่ม Voter รุ่นใหม่ผ่านช่องทาง TikTok กันอย่างคึกคัก อย่างนาย ปราโบโว ซูบิอานโต รัฐมนตรีกลาโหมวัย 72 ปี โชว์คลิปเต้น TikTok กลางเวทีเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดูอ่อนวัย กระฉับกระเฉง เข้าถึงง่าย และได้ฐานเสียงกลุ่มคนวัย 40 ไปได้ไม่น้อย 

นาย อานีส บัสเวดัน อดีตผู้ว่ากรุงจาการ์ตา ใช้ TikTok เจาะกลุ่มวัยรุ่นผู้นิยม K-Pop ในอินโดนีเซียได้อย่างกว้างขวาง บางคลิปมีคำบรรยายภาษาเกาหลี และมีการสื่อสารผ่านเครือข่ายกลุ่มแฟนด้อมของไอดอลเกาหลีในอินโดนีเซียในการหาเสียง

ส่วนนาย กันจาร์ ปราโนโว ผู้สมัครแถวหน้าอีกคนใช้ TikTok ในสไตล์หาเสียงที่ต่างออกไป ด้วยการถ่ายคลิปแบบเรียบง่าย เหมือนคนธรรมดาทั่วไปที่เล่น TikTok สวมเสื้อแจ็กเกตแบบ Top Gun บ้าง เสื้อยืดขาวลายเพนกวินธรรมดาบ้าง เดินเท้าเปล่าบ้าง เน้นการสื่อสารที่เข้าถึงชาวบ้านทั่วไปแบบเป็นธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่ง ก็ได้รับความสนใจไม่น้อยโลกโซเชียลของอินโดนิเซีย

แม้แต่ละคนจะมีกลยุทธ์การสื่อสารถึงฐานเสียงที่ต่างออกไป แต่ TikTok กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในสนามเลือกตั้งอินโดนีเซีย แสดงให้เห็นถึงสื่อสังคมออนไลน์อย่าง TikTok ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้การหาเสียงแบบเดินเท้า เคาะประตูตามบ้าน หรือแสดงวิสัยทัศน์ผ่านรายการดีเบตบนหน้าจอโทรทัศน์ ยังคงต้องมีอยู่ 

แต่ทั้งนี้ การก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งสื่อหลักของ TikTok ในแคมเปญหาเสียงของแทบทุกพรรคในอินโดนีเซีย อาจกำลังสะท้อนถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านสู่มุมมอง และการตัดสินใจของคนยุคใหม่ ทั้งกลุ่ม Millennials และ Gen Z ที่เกาะกระแสไว เน้นประเด็นหลัก สรุปจบสั้นภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที ก็พร้อมเข้าคูหา กาคนที่โดนใจได้แล้ว

นักบิน ‘บาติกแอร์’ งีบหลับขณะควบคุมเครื่อง เหินฟ้าไปจาการ์ตา เหตุ นอนน้อย ผู้โดยสาร ระทึกกันทั้งลำ คณะกรรมการด้านปลอดภัย สั่งสอบด่วน

เมื่อวานนี้ (9 มี.ค.67) คณะกรรมการด้านความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติอินโดนีเซียหรือ KNKT มีคำสั่งให้เปิดการสอบสวนหลังเกิดเหตุที่น่าตกใจกับสายการบินบาติก แอร์ ซึ่งเป็นสายการบินท้องถิ่นในเครือไลอ้อนกรุ๊ป โดยนักบินและผู้ช่วยนักบินได้เกิดหลับพร้อมๆกันนานถึง 28 นาที ขณะบินจากสุลาเวสีตะวันออกเฉียงใต้ไปกรุงจาการ์ตา ซึ่งใช้เวลาบินราว 2 ชั่วโมงครึ่ง โดยเหตุเกิดขึ้นวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา เคราะห์ดีที่เครื่องบินแอร์บัส A320 พร้อมผู้โดยสาร 153 ชีวิตและลูกเรือ 4 ชีวิตเดินทางถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย

รายงานระบุว่ากระทรวงคมนาคมอินโดนีเซียได้ตำหนิบาติกแอร์อย่างรุนแรงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่เอ็ม คริสตี้ เอ็นดาห์ เมอร์นี ผู้อำนวยการการขนส่งทางอากาศให้เรียกร้องให้สายการบินต่างๆทบทวนและให้ความสำคัญกับเวลาพักผ่อนของนักบินว่าต้องเพียงพอ โดยเฉพาะเที่ยวบินกลางคืน

ด้านบาติกแอร์ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าปฏิบัติตามนโยบายว่าด้วยเรื่องเวลาพักผ่อนของนักบินรวมทั้งมาตรการความปลอดภัยอย่างครบถ้วนทุกอย่าง และล่าสุดได้สั่งพักงานนักบินทั้งคู่ชั่วคราว

ทั้งนี้รายงานเผยว่าวันเกิดเหตุ นักบินพักผ่อนไม่พอ และได้ขออนุญาตผู้ช่วยนักบินงีบหลับ ผู้ช่วยนักบินจึงทำหน้าที่แทน แต่หลังจากนั้นไม่นาน ปรากฎว่าผู้ช่วยนักบินก็เผลอหลับเช่นกัน โดยหอการบินที่สนามบินจาการ์ตาเผยว่านักบินทั้งคู่ขาดการติดต่อเป็นเวลา 28 นาที เมื่อติดต่อไปก็ไม่ตอบกลับ พอนักบินตื่นขึ้นมา ก็พบว่าเครื่องกำลังบินออกนอกเส้นทาง ถึงได้รู้ว่าผู้ช่วยเผลอหลับจึงรีบปลุกและปรับเปลี่ยนเส้นทางการบินใหม่จนมาถึงสนามบินจาการ์ตาอย่างปลอดภัย โดยนักบินทั้งสองคนเป็นชาวอินโดนีเซีย

หลังเกิดเหตุ KNKT ได้แนะให้บาติก แอร์ค่อยหมั่นตรวจเช็คห้องนักบิน และกำชับให้นักบินและลูกเรือต้องพักผ่อนให้พอก่อนออกบิน

เมื่อการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 'อินโดนีเซีย' กับ 'อิสราเอล' อาจจะเป็น 'การฆ่าตัวตายทางการเมือง' ของรัฐบาลจาการ์ตาในบัดดล

"ประเทศสมาชิก ASEAN 3 ชาติได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามล้วน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเลย ขณะที่อินโดนีเซียได้ออกมาปฏิเสธรายงานที่ว่า รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเพื่อสิทธิในการเข้าเป็นชาติสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) นั่นก็เพราะการกระทำเช่นนี้ในระหว่างสงครามอันโหดร้ายในฉนวนกาซา จะทำให้เกิด 'ความวุ่นวายและคลื่นแห่งความไม่เห็นด้วย' ในประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก" ผู้สังเกตการณ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรายหนึ่งระบุพร้อมเผยอีกว่า…

หากมีการเคลื่อนไหวดังกล่าวจริงจะถือเป็น ‘การฆ่าตัวตายทางการเมือง’ แม้ข้อตกลงที่อินโดนีเซียต้องรับรู้และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลอย่างเป็นทางการ ก่อนการลงมติให้อินโดนีเซียเข้าเป็นสมาชิกขององค์การแห่งนี้ ซึ่งมีสมาชิก 38 ประเทศรวมทั้งอิสราเอล จะได้รับการเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยเว็บไซต์ข่าว Ynet ของอิสราเอล

สำหรับ OECD เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก 

แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนาม องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป หรือ โออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 1948 ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือ เพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ 

โดยบทบาทหลักของ OECD คือการปรับปรุงเศรษฐกิจโลกและส่งเสริมการค้าโลก เป็นทางออกสำหรับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกับประเทศประชาธิปไตยที่มีความมุ่งมั่นร่วมกันในการปรับปรุงเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากร

อย่างไรก็ตาม การ 'พูดถึง' การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล ไม่ว่าจะจากรัฐหรือนักการเมืองอินโดนีเซียคนใดก็ตาม "จะเป็นการฆ่าตัวตายทางการเมืองทันที" ซึ่งนี่ก็เป็นคำกล่าวของ Dina Sulaiman นักวิชาการผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาตะวันออกกลางของอินโดนีเซียที่มองว่า “ประชาชนชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุนชาวปาเลสไตน์” ระหว่างที่เธอบอกกับ This Week in Asia

แน่นอนว่า หากประเทศใดต้องการเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของ OECD ประเทศผู้สมัครจะต้องได้รับการอนุมัติจากชาติสมาชิกปัจจุบันทั้งหมด ซึ่งนั่นก็รวมถึงชาติอย่างอิสราเอลด้วย 

"ประเทศผู้สมัครที่จะได้รับการยอมรับต้องแสดงให้เห็นถึง ความคิดที่เหมือนกันทั้งคำพูดและการปฏิบัติในความสัมพันธ์กับองค์กรและชาติสมาชิกตามแผนงานเพื่อเข้าสู่การเป็นสมาชิกขององค์กรแห่งนี้" นี่คือรายงานของ Ynet ซึ่งอ้างถึงจดหมายที่ Mathias Cormann เลขาธิการ OECD ระบุไว้เมื่อเดือนที่แล้วถึง Israel Katz รัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอล โดยเผยว่า "OECD ตัดสินใจยึดหลักการขององค์กรในการเห็นพ้องอย่างเป็นทางการต่อเงื่อนไขเบื้องต้นที่ชัดเจนและปฏิบัติตาม ซึ่งอินโดนีเซียจะต้องสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสมาชิก OECD ทั้งหมด ก่อนที่จะมีการตัดสินใจใดๆ ที่จะยอมรับการสมัครเป็นชาติสมาชิกของ OECD”

รายงานยังอ้างถึงจดหมายที่ระบุว่า Katz ได้ส่งถึง Cormann โดนเผยอีกว่า "เขาคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก จาก 'นโยบายที่ไม่เป็นมิตร' ของอินโดนีเซียต่ออิสราเอล เพื่อที่ทั้งสองจะได้กระชับความสัมพันธ์" 

รายงานอ้างสิทธิ์ด้วยว่า อินโดนีเซียจะเข้าร่วม OECD ได้นานถึง 3 ปี หากยอมรับในความสัมพันธ์ดังกล่าวกับอิสราเอล แต่อินโดนีเซียก็ปฏิเสธรายงานดังกล่าว โดย Lalu Muhammad Iqbal โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า "เราไม่มีแผนที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังความโหดร้ายของอิสราเอลในฉนวนกาซา"

Lalu ระบุว่า "จุดยืนของอินโดนีเซียไม่เปลี่ยนแปลง และเรายังคงสนับสนุนเอกราชของปาเลสไตน์อย่างมั่นคงภายใต้กรอบของการแก้ปัญหาสองรัฐ อินโดนีเซียจะมีความสม่ำเสมอและอยู่ในแนวหน้าในการปกป้องสิทธิของชาวปาเลสไตน์เสมอ" 

Lalu กล่าวอีกว่า "อินโดนีเซียอาจต้องใช้เวลา 'ค่อนข้างนาน' ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OECD" แต่ทั้งนึ้ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า จาการ์ตาวางแผนที่จะปรับ Roadmap การเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรแห่งนี้ภายในเดือนหน้าเช่นกัน

ทั้งนี้ หากย้อนไปในการประชุมเอกอัครรัฐทูต OECD เมื่อเดือนมกราคม มีรายงานว่าอิสราเอลคัดค้านอินโดนีเซียที่เข้าร่วมองค์กร เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ และ รัฐบาลจาร์ตารู้ดีว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ปกติกับอิสราเอลในขณะนี้ เมื่อพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนท่ามกลางสงครามนองเลือดในฉนวนกาซา ที่มีรายงานชาวปาเลสไตน์มากกว่า 33,000 คนเสียชีวิต

"ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความรู้สึกของสาธารณชนชาวอินโดฯ กลับมาสนับสนุนชาวปาเลสไตน์อย่างมาก เนื่องจากผู้คนมีความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา" สุไลมาน แห่งศูนย์ศึกษาตะวันออกกลางแห่งอินโดนีเซียกล่าว

การทำข้อตกลง Abraham ที่สหรัฐฯ เป็นตัวกลางให้อิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรน 
ในปี 2020

ขณะที่การสำรวจโดยสถาบัน ISEAS-Yusof Ishak ของสิงคโปร์ที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็สำทับชัดมุมมองของ สุไลมาน โดยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวอินโดนีเซียร้อยละ 74.7 มองว่าสงครามอิสราเอล-กาซาเป็นปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์อันดับต้นๆ ของพวกเขา และเกือบร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามกังวลว่า การโจมตีฉนวนกาซารุนแรงจนเกินไปแล้ว 

อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังมีแนวโน้มที่จะดำเนินการฟื้นฟูทางการทูตกับอินโดนีเซีย เพื่อสร้างมาตรฐานตามแนวทางในข้อตกลง Abraham ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหรัฐฯ เป็นตัวกลางแบบที่อิสราเอลได้ทำกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน และประเทศอาหรับอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2020 ผ่านความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ ที่ไม่เป็นทางการ เช่น เครื่องบินรบ A-4 Skyhawk ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่ซื้อจากกองทัพอากาศอิสราเอลระหว่างปี 1979-1982 พร้อมทั้งมีการฝึกนักบินอินโดนีเซียที่ฐานทัพอากาศของอิสราเอลในช่วงเวลาเดียวกัน

เครื่องบินรบ A-4 Skyhawk ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่ซื้อจากกองทัพอากาศอิสราเอล

สำหรับเป้าหมายของอิสราเอลที่ต้องการสถาปนาความสัมพันธ์กับอินโดฯ ในครั้งนี้ เชื่อว่าจะเป็นสะพานสำคัญในการขยายการทูตไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย, ปากีสถาน และบังคลาเทศ ตามมุมมองของ Siti Mutiah Setiawati อาจารย์ด้านธรรมาภิบาลและการเมืองในตะวันออกกลาง และ OECD จะเป็นแม่เหล็กที่ทำให้อินโดนีเซียต้องตัดสินใจ แม้ใน

ทว่าในปัจจุบันก็ยังไม่มีประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนใดกล้าเสนอให้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอิสราเอลเลย แม้แต่ Jokowi Widodo

สำหรับ ASEAN นั้น ยังไม่มีประเทศใดมีสถานภาพเป็นสมาชิกของ OECD เลย โดยอินโดนีเซียมีสถานภาพเป็นประเทศหุ้นส่วน/พันธมิตรที่เข้าร่วม (Participating Partners) และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิก (Negotiating Membership) 

ด้านประเทศไทยเองก็มีสถานภาพเป็นประเทศที่แสดงความสนใจที่จะเป็นสมาชิก (Expressed interest) 

ส่วนประเทศในทวีปเอเชียที่มีสถานะเป็นสมาชิกแล้วได้แก่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ขณะที่ อินเดีย และ จีน มีสถานภาพเป็นประเทศหุ้นส่วน/พันธมิตรที่เข้าร่วม (Participating Partners) เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย

‘Operation Alpha’ ปฏิบัติการลับที่ดำเนินการโดย ‘อินโดนีเซีย’ เพียงหวังซื้อเครื่องบินรบ A-4 Skyhawk ของอิสราเอล


ย้อนกลับไปในทศวรรษ 1980 ช่วงยุคสงครามเย็นที่มีความขัดแย้งระหว่างสองค่ายขั้ว นั่นก็คือ ค่ายประชาธิปไตย+เผด็จการ ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ อินโดนีเซียแม้จะเป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในขณะนั้นต้องเผชิญภัยคุกคามทั้งภายในโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกและภายนอกประเทศที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความขาดแคลนเครื่องบินรบสมัยใหม่ตอนนั้นกองทัพอากาศอินโดนีเซียมีเพียงแต่เครื่องบินรบที่ล้าสมัยของสหรัฐฯ เช่น F-86 Saber และ T-33 T-Bird ที่เก่ามากแล้วและมีค่าใช้จ่ายมหาศาลในการปรนนิบัติบำรุงอันเนื่องจากอายุใช้งานที่ยาวนานและอะไหล่ซึ่งขาดแคลนเพราะสหรัฐฯ เลิกผลิตแล้ว รวมทั้งเครื่องบินรบไอพ่นที่จัดหามาจากสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษ 1960 เช่น เครื่องบินรบแบบ MiG, Il-28 และ Tu-16 ซึ่งต้องจอดอยู่กับพื้นเนื่องจากขาดการสนับสนุนด้านเทคนิคหลังจากประสบปัญหาความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ G30S* ตอนนั้นเองสหรัฐฯ ยินดีที่จะขายเครื่องบินไอพ่น F-5 E/F Tiger2 จำนวน 16 ลำให้กับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย แต่เครื่องบินจำนวนนี้อินโดนีเซียเห็นว่ายังคงมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามของประเทศได้

*G30S : เหตุการณ์ความพยายามในการทำรัฐประหารโดยสมาชิกของกองทัพอินโดนีเซียและพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย และมีการสังหารหมู่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา


(เครื่องบินโจมตีแบบ A-4 Skyhawk ของอิสราเอล)

หน่วยข่าวกรองของอินโดนีเซียได้รับข้อมูลว่า อิสราเอลยินดีที่จะขายเครื่องบินโจมตีแบบ A-4 Skyhawk ที่ผ่านการใช้งานแล้วจำนวน 32 ลำให้กับอินโดนีเซีย แต่ข้อตกลงนี้มีปัญหาหลายประการ เริ่มตั้งแต่อินโดนีเซียและอิสราเอลไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารจากอิสราเอลยังเสี่ยงต่อการถูกประท้วงอย่างรุนแรงจากประชาชนชาวอินโดนีเซียซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นมุสลิม อย่างไรก็ตามกองทัพแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ABRI) ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไปด้วยแผนการ ‘Operation Alpha’ โดยมี 2 ระยะคือ Operation Alpha I ในปี 1980 และ Operation Alpha II ในปี 1982 ทำให้อินโดนีเซียได้รับเครื่องบินโจมตี Douglas A-4 Skyhawk จำนวน 30 ลำ (14 ลำจากปฏิบัติการ Alpha I และ 16 ลำระหว่างปฏิบัติการ Alpha II) จากกองทัพอากาศอิสราเอล

(พล.อ.อ. Djoko Poerwoko หนึ่งนักบิน A-4 ที่ได้รับการฝึกจากอิสราเอล)

สำหรับปฏิบัติการ Alpha ดังกล่าวนอกจากเครื่องบิน 30 ลำแล้ว ยังรวมไปถึงการฝึกนักบินชาวอินโดนีเซีย โดยครูการบินชาวอิสราเอล และมีการแปลงโฉมเครื่องบินระหว่างการขนส่งจากอิสราเอลไปยังอินโดนีเซีย โดย พล.อ.อ. Djoko Poerwoko อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศอินโดนีเซียหนึ่งในนักบิน A-4 ที่ได้รับการฝึกจากอิสราเอลเล่าว่า ปฏิบัติการ Alpha เป็นปฏิบัติการลับที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการโดยกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย (Angkatan Bersenjata Republik Indonesia : ABRI) ก่อนที่จะส่งนักบินไปฝึกที่อิสราเอล รัฐบาลอินโดนีเซียได้ส่งช่างเทคนิคของกองทัพอากาศจำนวนหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มไปฝึกในอิสราเอลเป็นเวลา 20 เดือน ในปี 1979 หลังจากช่างเทคนิคกลุ่มสุดท้ายเสร็จสิ้นภารกิจในการฝึกอบรมแล้ว นักบินอินโดนีเซีย 10 นายได้รับแจ้งว่าจะถูกส่งไปฝึกอบรมที่สหรัฐอเมริกา แต่กลับถูกส่งให้เดินทางไปยังอิสราเอลในเดือนกันยายน 1980 โดยพวกเขาออกเดินทางด้วยเที่ยวบิน Garuda ไปยังสิงคโปร์ หลังจากเครื่องลงจอดในสิงคโปร์ เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของ ABRI หลายนายก็ได้มาพบกับพวกเขาระหว่างรับประทานอาหารเย็น เจ้าหน้าที่ได้ขอเก็บหนังสือเดินทางและแทนที่ด้วยหนังสือเดินทางพิเศษ ‘Travel Document in Lieu of a Passport (SPLP)’


(พลตรี Leonardus Benyamin Moerdani) 

ตอนนั้นเองพลตรี Leonardus Benyamin Moerdani ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองของ ABRI (ต่อมาเป็นผู้บัญชาการกองทัพอินโดนีเซียและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอินโดนีเซีย) ก็มาพบนักบินทั้งสิบและได้บรรยายสรุปว่า “ภารกิจนี้เป็นภารกิจลับ หากพวกคุณรู้สึกไม่มั่นใจก็อนุญาตให้ถอนตัวกลับบ้านไปได้ เพราะหากภารกิจนี้ล้มเหลว ประเทศจะไม่ยอมรับว่าพวกคุณเป็นพลเมืองอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม เราจะพยายามดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อนำพวกคุณกลับบ้าน ภารกิจนี้จะถือว่าสำเร็จหาก A-4 Skyhawk (ชื่อรหัส 'Merpati') ไปถึงอินโดนีเซียแล้ว” ซึ่งนักบินทั้ง 10 นายจึงทราบว่า ภารกิจของพวกเขาจะเกิดขึ้นในอิสราเอล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการซื้อเครื่องบินรบจากอิสราเอล และในคืนเดียวกันนั้นนักบินทั้ง 10 คนได้ใช้ตัวตนใหม่ โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นพลเมืองของอินโดนีเซีย จากนั้นพวกเขาก็บินไปที่แฟรงก์เฟิร์ต และเดินทางต่อไปสนามบินเบนกูเรียนในกรุงเทลอาวีฟ อิสราเอล และเมื่อมาถึงอิสราเอล พวกเขาถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสนามบินพาตัวออกไปที่ชั้นใต้ดินอย่างรวดเร็ว ซึ่งพวกเขาได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของ ABRI


(นักบินอินโดนีเซียทั้งสิบนาย)

ทั้งนี้ นักบินทั้ง 10 ได้รับการบรรยายสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องทั่วไปที่ต้องพิจารณาขณะอยู่ในอิสราเอล พวกเขาได้รับการสอนให้จำประโยคภาษาฮีบรูที่จำเป็นสองสามประโยค หลังจากการบรรยายสรุปพวกเขาก็เดินทางต่อทางบกไปทางใต้เลียบทะเลเดดซีไปยังฐานทัพอากาศ Etzion ซึ่งพวกเขาเรียกว่า ‘Arizona’ เนื่องจากการฝึกอย่างเป็นทางการนั้นนักบินเหล่านี้จะต้องถูกส่งไปฝึกในมลรัฐ Arizona ณ ฐานทัพอากาศ Etzion พวกเขาได้ฝึกบินกับเครื่องบิน A-4 Skyhawks ด้วยเทคนิคและยุทธวิธีมากมาย หรือแม้แต่การฝึกบินเจาะทะลุผ่านชายแดนซีเรีย ซึ่งการฝึกบินสิ้นสุดลงในเวลาประมาณ 4 เดือน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 1980 นักบินทั้ง 10 คนสำเร็จการศึกษาและได้รับประกาศนียบัตรนักบินรบ A-4 ของอิสราเอล อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของ ABRI ที่ตามมาด้วยได้รวบรวมและเผาทำลายประกาศนียบัตรเหล่านั้นต่อหน้านักบิน เพื่อให้ไม่มีหลักฐานของความร่วมมือทางทหารระหว่างอินโดนีเซียและอิสราเอลปรากฎ


(ฐานบินนาวิกโยธินยูมาในมลรัฐแอริโซนา)

เพื่อให้เรื่องราวบังหน้าครบถ้วนอย่างสมบูรณ์ นักบินทั้ง 10 นายจึงถูกพาตัวไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างหลักฐาน เช่น รูปถ่าย ฯลฯ พวกเขามาถึงนิวยอร์กและเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น น้ำตกไนแอการา พวกเขาได้รับคำสั่งให้ถ่ายรูปหน้าสถานที่สำคัญของสหรัฐฯ ให้มากที่สุด จากนิวยอร์กพวกเขาถูกนำตัวไปที่ฐานบินนาวิกโยธิน Yuma ในมลรัฐแอริโซนา พวกเขาใช้เวลา 3 วันในฐานบินนาวิกโยธิน Yuma และได้รับการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องบินโจมตีแบบ A-4 ของหน่วยบัญชการนาวิกโยธินสหรัฐฯ (USMC) และถ่ายรูปเพิ่มเติม นอกจากนี้พวกเขายังได้รับประกาศนียบัตรนักบินรบ A-4 ของ USMC และได้ถ่ายภาพการรับประกาศนียบัตรอีกด้วย ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองของ ABRI ได้ย้ำเตือนนักบินว่า แท้จริงแล้วพวกเขาได้รับการฝึกฝนในสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่อิสราเอล หลังจากนั้นพวกเขาก็บินไปสิงคโปร์แล้วกลับอินโดนีเซีย


(A-4 Skyhawk ถูกห่อด้วยพลาสติกและติดป้ายกำกับว่า 'F-5')

ต่อมาวันที่ 3 พฤษภาคม 1980 เครื่องบินลำเลียงแบบ C-5 Galaxy ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ลงจอดในฐานทัพอากาศ Iswahjudi พร้อมด้วยเครื่องบินขับไล่แบบ F-5E/F Tiger II และในวันรุ่งขึ้น A-4 Skyhawks ชุดแรกของอิสราเอล ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินที่นั่งเดี่ยว 2 ลำ (หมายเลข TT-0401 และ TT-0414) และเครื่องบิน 2 ที่นั่ง 2 ลำ (หมายเลข TL-0415 และ TL-0416) ก็เดินทางมาถึงท่าเรือ Tanjung Priok ซึ่งเครื่องบินไอพ่นดังกล่าวถูกห่อหุ้มที่ฐานทัพอากาศ Etzion และขนส่งทางเรือโดยตรงจากอิสราเอล A-4 ถูกห่อด้วยพลาสติกและติดป้ายกำกับว่า 'F-5' เพื่อให้ดูเหมือนเป็นการจัดส่งจากสหรัฐฯ อีกรายการหนึ่ง หลังจากแกะออกจากห่อแล้วเครื่องบินทั้งหมดก็ได้รับการตรวจสอบและประกอบด้วยความช่วยเหลือจากช่างเทคนิคชาวอิสราเอล จากนั้นจึงบินไปยังฐานทัพอากาศฮาซานุดดินในมากัสซาร์ เพื่อเข้าประจำการในฝูงบินที่ 11 


(A-4 Skyhawk ฝูงบินที่ 11 ฐานทัพอากาศฮาซานุดดิน)

อย่างไรก็ตาม A-4 Skyhawks ยังคงมาถึงอินโดนีเซียเป็นระยะ ๆ โดยรวมแล้ว อินโดนีเซียได้รับเครื่องบิน A-4 Skyhawks 14 ลำ (+1 ลำเพื่อทดแทนที่ตก) จากอิสราเอลในปี 1980 และ A-4 จำนวน 16 ลำในปี 1982 รวมทั้งหมด 30 ลำ โดยส่วนใหญ่เป็นแบบ A-4E และส่วนที่เหลือเป็นรุ่นฝึก TA-4H และ TA-4J ซึ่งในปี 1997-1998 อินโดนีเซียได้ซื้อ TA-4J (2 ที่นั่ง) 2 เครื่องจากสหรัฐอเมริกา และได้รับการปรับปรุงในนิวซีแลนด์ ในปี 1981 อิสราเอลได้ส่ง A-4E 2 ลำ (ลำหนึ่งคือ TT-0417) เพื่อทดแทน A-4 ที่ตกในระหว่างการรับประกัน เครื่องบินโจมตีแบบ A-4 Skyhawks ของอินโดนีเซียได้ร่วมปฏิบัติการทางทหารหลายครั้งได้แก่ ปฏิบัติการโลตัส (1980-1999) ในติมอร์ตะวันออก ปฏิบัติการออสการ์ (1991-1992) ในสุลาเวสี และปฏิบัติการเรนคอง เตร์บัง (1991-1995) ในอาเจะห์ เครื่องบินโจมตีแบบ A-4 Skyhawks ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียทั้งหมดถูกปลดระวางในปี 2005 และถูกนำไปตั้งแสดงอยู่ในฐานทัพอากาศและสถานที่ต่าง ๆ ทั่วอินโดนีเซีย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top