Saturday, 27 April 2024
หลอกลวง

‘ตำรวจ’ เตือน!! ‘SMS อนุมัติให้กู้เงิน’ กลับมาระบาดหนัก แนะทริกสังเกต เพื่อไม่ตกหลุมพรางแก๊งหลอกลวง

วันนี้ (23 พ.ย. 65) ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) เปิดเผยกรณี รองโฆษกรัฐบาล ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่ง SMS อนุมัติกู้เงิน ก่อนหน้านี้นั้น  

​พล.ต.ต.อาชยน กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนมายังสายด่วนไซเบอร์ 1441 ว่าพบ พฤติการณ์คนร้ายแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่จะให้เงินกู้ แล้วโฆษณาผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ส่งอีเมล หรือ ส่ง SMS หาเหยื่อโดยตรงว่ามีสิทธิได้รับสินเชื่อจากธนาคารพร้อมกับลิงก์เพื่อดาวน์โหลดแอป หรือให้แอดไลน์คุยกัน นอกจากไม่ได้เงินแล้ว ยังเสียเงินโดนหลอกเอาเงินประกัน หรือ เงินค่าดำเนินการจากเหยื่อ ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์เตือนภัยเป็นระยะ แต่พบว่า กลับมาระบาดหนักอีกในระยะนี้ มักอ้างกับกลุ่มบริษัทสินเชื่อภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกระทรวงการคลัง

พล.ต.ต.อาชยนฯ กล่าวต่อว่า วิธีป้องกันตนเองต่อภัยโจรออนไลน์ในหลากหลายรูปแบบ ในกรณีนี้ สามารถสังเกตและป้องกันได้ ดังนี้

1.) ขอข้อมูลเชิงลึกมากผิดปกติ เช่น เลขบัตรประชาชน, เลขบัตรเครดิต, เลขบัญชีธนาคาร, วันเดือนปีเกิด, รหัส ATM, Password รวมถึงรหัส OTP ในการทําธุรกรรม ซึ่งการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ขอข้อมูลเชิงลึกมากขนาดนี้ 

2.) SMS ข้อความแจ้งเตือน เพื่อให้อัปเดต หรือ ให้เปลี่ยนรหัสทันที พร้อม ลิงก์ เมื่อคลิก ลิงก์ จะปรากฏหน้าเว็บไซต์ที่ให้กรอก Username/Password ในหน้าแรก ซึ่งผิดปกติ 

3.) ถ้าคลิกเข้าเว็บไซต์ ลิงก์ที่พาไปมักมีชื่อแปลก ๆ พยายามเลียนแบบชื่อเว็บไซต์จริงของธนาคารหรือบริษัทสินเชื่อ ใช้ภาพโลโก้ มาสร้างโปรไฟล์ ให้เหมือนจริง แม้กระทั่งข้อความส่งไปจะเป็นภาษาทางการเงินของทางธนาคารต่างๆ เพื่อให้ผู้เหยื่อสับสน และหลงเชื่อว่าเป็นข้อความจากธนาคารจริง ควรตรวจสอบตัวสะกดลิงก์เว็บไซต์ต่าง ๆ ในช่องเว็บเบราเซอร์ ว่าถูกต้องตรงตามจริง

4.) ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีหลักประกัน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้

5.) ไม่รู้ว่าผู้ส่งคือใคร เมื่อได้รับ SMS แปลก ๆ ที่ส่งมาชวนกู้เงิน อย่ารีบกดลิงก์หรือกรอกข้อมูล ควรเช็กให้ชัวร์ก่อน จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวง

6.) การติดต่อจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่จะให้เงินกู้ทุกครั้ง ควรตรวจสอบจากเบอร์กลางของหน่วยงานนั้นๆ เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตส่วนใหญ่จะไม่ทักประชาชนมาในลักษณะนี้ ยังไม่แน่ใจว่าจะใช่ผู้ให้กู้ในระบบหรือเปล่า ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนใช้บริการ ดังนี้

‘สืบนครบาล’ รวบ ‘แซนดี้ กระเป๋าหลุยส์’ หลอกขายแบรนด์เนมราคาถูก ผ่านออนไลน์

วันที่ 4 ธ.ค. 65 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หัวหน้าชุด PCT ที่ 5, พ.ต.อ.สราวุธ คนใหญ่, พ.ต.อ.นิวัตน์ พึ่งอุทัยศรี, พ.ต.อ.กมล นุ่มหอม, พ.ต.อ.ธนากร อ่อนทองคำ, พ.ต.ท.รัฐนันท์ สมวงศ์, พ.ต.ท.ชานนท์ บรรพกาล, พ.ต.ต.ธนากร จอมเกาะ, ร.ต.อ.ธีรเดช พรมลาย, ร.ต.อ.สตางค์ พิศุทธ์พัลลภ, ร.ต.ท.นันทัพพ์ แก่นจันทร์, ร.ต.ท.หญิง มุกนภา เอมรื่น และเจ้าหน้าที่ กก.สส.4 บก.สส.บช.น. จับกุมตัวน.ส.อรอุมา เกิดจันทึก หรือ ‘แซนดี้ กระเป๋าหลุยส์’ อายุ 29 ปี และนายภิญญาพัชร์ หรือ ธันยกานต์ เอี่ยมท่า อายุ 30 ปี ข้อหาฉ้อโกงประชาชน ตามหมายจับของ ‘แซนดี้ กระเป๋าหลุยส์’ จำนวน 3 หมาย 

ประกอบด้วย หมายจับศาลอาญาตลิ่งชัน ที่ จ.552/2565 ลงวันที่ 3 พ.ย.65 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน ‘ฉ้อโกงประชาชน’ ท้องที่ สน.ธรรมศาลา, หมายจับศาลจังหวัดยะลา ที่ จ.545/2565 ลงวันที่ 17 พ.ย.65 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน ‘ฉ้อโกงประชาชน’ ท้องที่ สภ.เมืองยะลา และหมายจับศาลแขงธนบุรี ที่ 360/2565 ลงวันที่ 28 พ.ย. 65 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน ‘ฉ้อโกง’ ท้องที่ สน.บุปผาราม ส่วนหมายจับของ 

นายภิญญาพัชร์ จำนวน 1 หมาย คือ หมายจับศาลจังหวัดยะลา ที่ จ.545/2565 ลงวันที่ 17 พ.ย.65 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน ‘ฉ้อโกงประชาชน’ ท้องที่ สภ.เมืองยะลา จับกุมได้ที่บริเวณ คอนโด เดอะโพลิแทน รีฟ ซ.นนทบุรี 15 ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 65 เวลาประมาณ 06.00 น. ที่ผ่านมา

สืบเนื่องจากผู้เสียหายขอความช่วยเหลือทางเพจ ‘สืบสวนนครบาล IDMB” ให้ช่วยสืบสวนติดตามจับกุมตัว น.ส.อรอุมา เกิดจันทึก หรือแซนดี้ กระเป๋าหลุยส์ โดยใช้ชื่อกลุ่มไลน์โอเพ่นแชทว่า ‘เดอะแซนดี้แบรนด์’ แอบอ้างขายกระเป๋าแบรนด์เนมนำเข้าจากต่างประเทศราคาถูก โดย แซนดี้ จะสรรหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองมีความน่าเชื่อถือ ทั้งการโพสต์รูปภาพ การรีวิวกระเป๋า จนกระทั่งมีผู้หลงเชื่อจำนวนมาก และตรวจสอบประวัติการกระทำผิดของผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ปรากฎว่า น.ส.อรอุมา เคยก่อคดีมากว่า 26 คดี รวมมูลค่าความเสียหายประมาณล้านกว่าบาท 

โดยออกเช็คเด้งปี 64 จำนวน 1 คดี สภ.เมืองยะลา ปี 65 ก่อเหตุ 25 คดี ความผิดตามพ.ร.บ.คอมฯ สภ.กุมภวาปี, สภ.บางละมุง, ความรวมคดีฉ้อโกง สภ.สำโรงเหนือ, สน.หลักสอง, รวมความผิดรวมคดีฉ้อโกง สน.สำเหร่, รวมความผิดฉ้อโกง สน.ธรรมศาลา, รวมความผิดร่วมกันฉ้อโกง บก.ปอท. 2 คดี, รวมความผิดฉ้อโกง สน.ธรรมศาลา, สภ.หมวกเหล็ก, สภ.เมืองขอนแก่น, รวมความผิดฉ้อโกงประชาชน สภ.กันทรวิชัย, รวมความผิดฉ้อโกง สภ.ดอนหัวฟ้อ สภ.เมืองนครศรีธรรมราช, สน.บวรมงคล, สภ.วารินชำราบ, สภ.เมืองมหาสารคาม, สภ.โป่งน้ำร้อน, สน.พญาไท และสภ.วังสะพุง 

บิ๊กเด่นส่งทีม PCT ทลายกลุ่ม startup คอลเซ็นเตอร์เมืองไทย หลังจิ๊กโพยของบอสจากประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามกลับมาเปิดเองในประเทศไทยได้ 2 เดือน

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์นี้เป็นอันดับหนึ่งเพราะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน โดยล่าสุด ทีมนักวิเคราะห์แผนประทุษกรรมของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. มือปราบคอลเซ็นเตอร์ได้วิเคราะห์ข้อมูลพบแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มใหม่เกิดขึ้นในข้อมูลระบบการรับแจ้งความออนไลน์ ชักชวนให้ลงทุนและทำภารกิจ ภายใต้บริษัทปลอมที่ใช้ชื่อว่า E-SHIPING.SHOP พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ จึงได้สั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. ในฐานะหัวหน้าชุด ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 ดำเนินการสืบสวนจนทราบว่าแก๊งดังกล่าวอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตามปกติจะอยู่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน จนสืบสวนทราบถึงสถานที่ตั้งก่อนนำกำลังบุกทลาย ภายในคอนโดย่าน ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ มีผู้ร่วมขบวนการภายในห้องมีจำนวน 4 คน ตรวจยึดคอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง  โทรศัพท์มือถือจำนวน 9 เครื่อง สมุดบัญชีจำนวน 5 เล่ม ซิมการ์ดโทรศัพท์ 38 ซิม จากการตรวจสอบพบว่าข้อมูล รูปแบบการหลอกลวงเรียกได้ว่าถอดแบบมาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งท้ายสุด หนึ่งในผู้ร่วมขบวนการได้ยอมรับว่าได้นำความรู้ นำ Knowhow ที่ได้จากการไปทำในประเทศเพื่อนบ้านกลับมาทำเอง เพราะคิดว่าตัวเองมีความรู้ระดับอาจารย์ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับเปอร์เซ็นต์จากคนจีนแค่ 3% โดยวาดฝันไว้ว่าตนเองจะเป็นผู้ก่อตั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ของคนไทยเจ้าแรก และจะเป็น Start Up เพื่อขยายกิจการในประเทศไทย แต่ทำได้เพียง 2 เดือนก็มาถูกจับเสียก่อน

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 65 เวลาประมาณ 13.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.  พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร.  พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น./ หน.ชุดปฏิบัติการ PCT ที่ 5 พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง พ.ต.ท.ชัยวัฒน์ จงเจริญ พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี ร.ต.อ.วุฒินันท์ คงดี ร.ต.อ.ปรมา ปราณี ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 ร่วมกับชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. สืบสวนติดตามนำมาสู่การเข้าตรวจค้น ห้องพักเลขที่ 188/130 คอนโดน๊อตติ้งฮิลล์ ถ.แพรกษา ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จว.สมุทรปราการ ตามหมายค้นศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ 762/2565 ลงวันที่ 4 ธ.ค. 65 จับกุมตัวผู้ต้องหาดังนี้

นายสุพรพงษ์ ปัญญาไว หรือแบงค์ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 977/64 ถนนสามเสน แขวงถนนนครชัยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นบุคคลตามหมายจับศาล จ.สุพรรณบุรีที่ จ.236/2565 ลงวันที่ 4 ธ.ค. 65 โดยกล่าวหาว่า 'ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น พร้อมยึดของกลางไว้ ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ อออินวัน จำนวน 3 เครื่อง
2. โทรศัพท์มือถือจำนวน 9 เครื่อง
3. สมุดบัญชีจำนวน 5 เล่ม
4. ซิมการ์ดโทรศัพท์ 38 ซิม
จับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่ภายในคอนโดย่าน ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จว.สมุทรปราการ
พฤติการณ์กล่าวคือ ทีมนักวิเคราะห์แผนประทุษกรรมของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ 
ผบ.ตร. (มือปราบคอลเซ็นเตอร์) ได้วิเคราะห์ข้อมูลพบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ “กลุ่มใหม่” เกิดขึ้นในข้อมูลระบบการรับแจ้งความออนไลน์ ซึ่งมีรูปแบบการหลอกลวงให้หลงรักก่อน จากนั้นจะชักชวนให้ 'ลงทุนและทำภารกิจ' ภายใต้บริษัทปลอมที่ชื่อว่า E-SHIPING.SHOP 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ จึงได้สั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. หรือ หัวหน้าชุด ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 สืบสวนจนทราบว่าแก๊งดังกล่าวนี้มีอฟฟิศตั้งอยู่ที่ ห้องพักเลขที่ 188/130 คอนโดน๊อตติ้งฮิลล์ ถ.แพรกษา ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ซึ่งโดยปกติออฟฟิศของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวงคนไทยจะอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีการตั้งอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งต่อมา พล.ต.ต.ธีรเดชฯ ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุด PCT5 เข้าตรวจค้น ห้องพักเลขที่ 188/130 คอนโดน๊อตติ้งฮิลล์ ถ.แพรกษา ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ตามหมายค้นศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ 762/2565 ลงวันที่ 4 ธ.ค. 65 ซึ่งเป็นที่ตั้งออฟฟิศแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าว ผลการตรวจค้นพบนายสุพรพงษ์ ปัญญาไว หรือแบงค์ ผู้ต้องหา นางสาวทิพวรรณ ปัญญาไว หรือแหม่ม    น.ส.สิริธร หมื่นโฮ้ง หรือแสตมป์ และน.ส.คณิณัช จิรโชควนิช หรือแฟง ทั้ง 4 คน อาศัยอยู่ภายในห้องพัก และตรวจค้นพบ คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง , โทรศัพท์มือถือจำนวน 9 เครื่อง , สมุดบัญชีจำนวน 5 เล่ม , ซิมการ์ดโทรศัพท์ 38 ซิม ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลทั้งในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ทำให้ทราบว่าทั้ง 4 ได้ร่วมกันหลอกลวงโดยมีแผนประทุษกรรมคือ จะสร้างเฟสบุ๊คปลอม (อวตาร) โดยใช้ภาพโปรไฟล์เป็นสาวสวยแล้วขักชวนเพื่อนในเฟสบุ๊ค 

กล่าวคือเป็นการพูดคุยเชิงชู้สาวเพื่อชักชวนมาลงทุน โดยเมื่อเหยื่อสนใจ จะเชิญเข้า 'กลุ่มไลน์' โดยอ้างว่าเป็นบริษัทที่ชื่อว่า E-SHIPING.SHOP ซึ่งแท้จริงเป็นบริษัทที่ไม่มีอยู่จริง และจากนั้นจะให้คุยกับ อ.กอล์ฟ ซึ่งเป็นตัวตนปลอมที่อุปโลกน์ตนเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน หลอกเสนอขายแผนโปรแกรม หลายๆแบบ เช่นการท่องเที่ยว การแต่งงาน แล้วหลอกให้โอนเงินร่วมลงทุนตามแผนงานต่าง ๆ เหล่านั้น เหมือนเป็นการหลอกให้ทำภารกิจโดยอ้างว่าเมื่อเหยื่อโอนเงินมาแล้วทำภารกิจเสร็จจะได้เงินคืนในจำนวนมากกว่าเดิม โดยภายในกลุ่มไลน์ดังกล่าวจะมีเหยื่ออยู่ในกลุ่มเพียงคนเดียว ที่เหลือจะเป็นหน้าม้าทั้งหมด โดยจะมีการให้หน้าม้าแสร้งสงภาพสลิปการโอนเงินทำทีว่าได้รับเงินจริง

แต่แท้จริงเป็นสลิปการโอนเงินปลอม ซึ่งเมื่อเหยื่อเห็นว่าคนในกลุ่มได้รับเงินโอนจริงจะเกิดความโลภและยอมโอนเงินลงทุนในที่สุด และเมื่อเหยื่อโอนเงินแล้วจะทำทีแสดงข้อมูลในโปรแกรมโชว์ยอดรายได้ให้เหยื่อเห็น แต่เหยื่อต้องการถอนเงินก็จะไม่สามารถถอนได้ โดยจะอ้างว่าเหยื่อทำผิดวิธี และจะชักชวนให้ลงทุนเพิ่มไปเรื่อยๆ โดยรูปแบบการวางระบบของแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้เป็นรูปแบบเดียวกับหลายๆแก๊งที่ตั้งออฟฟิศอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน แต่กลุ่มนี้สามารถรวบรัดระบบต่างๆไว้ในห้องๆเดียวด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 3 เครื่อง และใช้คนจัดการเพียง 4 คน ซึ่งมีทั้งการทำระบบหลังบ้าน , ระบบการแบ่งห้องไลน์สนทนา , ระบบแถว 1 ที่การชักชวนเหยื่อ , การปลอมสลิปด้วยเทมเพลตในโปรแกรม Photoshop และอีกหลายขั้นตอน ซึ่งบ่งบอกถึงประสบการณ์และความเข้าใจในการทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นอย่างดี  ซึ่งหลังเสร็จสิ้นการตรวจค้น ชุดจับกุมได้ทำการจับกุมตัว นายสุพรพงษ์ ปัญญาไว หรือแบงค์ ตามหมายจับของศาล นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ดำเนินคดีตามกฏหมาย และได้นำตัวอีก 3 รายมาซักถามปากคำที่ สภ.เมืองสมุทรปราการ  

ผู้เสียหายแฉยับ 'เพชรพันปี' จอมจัดฉากขายสินค้าไม่ตรงปก ด้าน 'หมอดูดัง' ลากไส้ซ้ำ หวังทวงคืนความบริสุทธิ์ให้ 'บิ๊กเอ็ม'

(7 ม.ค. 66) เวลา 12.00 น. โรงแรม TK Palace แจ้งวัฒนะ ห้องไอวี่ 3 คุณฝ้ายหนึ่งในผู้เสียหายจากการซื้อเพชรจากคุณเพชรพันปี หรือร้าน พีดับบลิว เจมส์ แอนด์ ไดมอนด์ ซึ่งร้านนี้กำลังเป็นประเด็นกับ 'ณวัฒน์ อิสรไกรศีล' บอสใหญ่แห่งเวทีมิสแกรนด์ไทยแลนด์ และ มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเธอออกมาแฉว่าเพชรที่ซื้อมาจากร้านนี้นั้นได้ไม่ตรงตามสเปก

คุณฝ้ายกล่าวว่า ตนรู้จักกับคุณเพชรพันปีมาสิบกว่าปีแล้ว หากหลายคนจะสงสัยว่าทําไมโดนหลอก ตนรู้จักตั้งแต่สมัยทําเบาะรถยนต์ คุณเพชรพันปีมักจะพรีเซนต์ตัวเองเสมอว่า เป็นสะใภ้แสนล้าน เปิดมูลนิธิ ทําบุญช่วยเหลือผู้คน นี่ทําให้ตนยิ่งเชื่อใจตัวเขาไปใหญ่ โดยการสั่งซื้อสินค้าจากทางร้านช่วงแรก ๆ สินค้าสวยจริงตามที่โฆษณา แต่มันเป็นแค่ช่วงแรกเท่านั้น เวลาผ่านมานานตนก็ยังซื้อสินค้าจากทางร้านต่อเนื่อง และไม่ได้เช็กต่อเนื่องด้วยความไว้ใจ หลังจากร้านนี้เกี่ยวโยงกับคดีดังตนเลยนำเพชรที่ซื้อมาจากร้าน ไปตรวจสอบ ผลปรากฏว่าเพชรที่ซื้อมานั้น เป็นเพชรจริงแต่ไม่ตรงตามสเปกตามที่โฆษณาไว้

“ฝ้ายเป็นหนึ่งในผู้เสียหายที่เป็นคนรวบรวมผู้เสียหาย แล้วก็เป็นคนแรก ๆ ที่ กล้าพูดว่า สินค้าของร้านนี้ ไม่ได้มาตรฐานตามที่โฆษณา ตนมีหลักฐานคือการนําสินค้าที่ได้รับจากร้านไปตรวจ กับสถาบันที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือได้หลายชิ้น ผลปรากฏว่าสินค้าของเขาไม่ตรงตามสเปก” คุณฝ้ายกล่าว

คุณฝ้ายยังเผยอีกว่า ไม่นานมานี้คุณเพชรพันปีเพิ่งจะอัดคลิปอธิบายว่า แหวนนพเก้ารุ่นหนึ่ง พลอยตรงกลางจะต้องเป็นพลอยจากแล็บทั้งหมด เนื่องจากวิธีการฝัง มันฝังไม่ได้ เนื่องจากไม่มีหนามเตย ตนจึงตั้งข้อสังเกตว่าหากคุณเพชรพันปีพูดแบบนี้ นั่นหมายความว่ารุ่นนี้ จะต้องเป็นพลอยจากแล็บทั้งหมด แต่บังเอิญมีผู้เสียคนหนึ่ง เขานำเพชรรุ่นเดียวกันไปตรวจมาเมื่อวาน (6 ม.ค. 66) ผลปรากฏว่าพลอยตรงกลางมันเป็นพลอยแท้ นั่นหมายความว่าจากที่คุณเพชรพันปีพูดมันย้อนแย้งหรือเปล่า? 

ตำรวจไซเบอร์ เตือนระวังเพจปลอมเลียนแบบเพจจริงหลอกขายสินค้าออนไลน์

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีการหลอกลวงขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวังเจอเพจในเฟซบุ๊กปลอม ลอกเลียนแบบของเพจในเฟซบุ๊กจริง ดังนี้


ที่ผ่านมาได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่ามีประชาชนตกเป็นเหยื่อจากการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้าเฉลี่ยกว่า 1,900 รายต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่สินค้าที่มักถูกหลอกลวง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ ผลไม้ บัตรคอนเสิร์ต รถจักรยานยนต์มือสอง และปลาแซลมอน เป็นต้น โดยภัยจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือได้ไม่ตรงปก หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไปจนถึงการใช้หลักฐานการโอนเงินปลอมเพื่อหลอกลวงผู้ขาย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักจะสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า การการันตีสินค้า การรีวิวสินค้าปลอม รวมไปถึงการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง นอกจากนี้ยังมีการสร้างเพจในเฟซบุ๊กปลอมตั้งชื่อลอกเลียนแบบให้เหมือน หรือคล้ายคลึงกับเพจในเฟซบุ๊กที่มีการซื้อขายสินค้าจริง โดยการคัดลอกรูปภาพสินค้า และเนื้อหาจากเพจจริงมาใช้ เมื่อหลอกลวงผู้เสียหายได้หลายรายก็จะเปลี่ยนชื่อเพจ หรือสินค้าไปเรื่อยๆ หรือสร้างเพจปลอมขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างเช่น มีผู้เสียหายถูกหลอกลวงซื้อโทรศัพท์มือถือโทรศัพท์ซิมเน็ตรายปี ผ่านเพจปลอม Moblie2you ซึ่งเพจจริงคือ Mobile2youmbk หรือกรณีปลอมเพจหลายเพจขายทุเรียนของดาราท่านหนึ่ง เป็นต้น


ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ


โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา บช.สอท. ได้เร่งปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มีปฏิบัติการสำคัญเมื่อต้นเดือน มี.ค.66 ระดมตรวจค้นกว่า 40 จุด ทั่วประเทศภายใต้ยุทธการ “ ปิด Job - Shop ทิพย์ ” หลอกขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์ มีประชาชนหลายรายได้ความเสียหายหลายล้านบาท สามารถทำการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับกว่า 30 ราย ตรวจยึดของกลางได้เป็นจำนวนมาก


อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงแม้จะมีข้อดีหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะสะดวกสบาย มีให้เลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าแต่ละแหล่งได้ ติดตามโปรโมชันต่างๆ ได้ ที่สำคัญสามารถสั่งซื้อได้ตลอดเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ หลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนโดยมิชอบ

‘ตร.สอบสวนกลาง’ รวบหัวโจก ตุ๋นเงิน ‘หลอก’ ไปทำงานมัลดีฟส์ มีผู้เสียหายกว่า 30 คน วอน!! ปชช. ศึกษาข้อมูลให้ดี

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.จ พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปคม. และ พ.ต.อ.สุรพงษ์ ชาติสุทธิ์ รอง ผบก.ปคม.เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม นำโดย พ.ต.อ.ทนงศักดิ์ ปันไชย ผกก.1 บก.ปคม. พ.ต.ท.ชัยชนะ  สุริยวงค์ รอง ผกก.1 บก.ปคม. พ.ต.ต.ธนกร จาวรุ่งวณิชสกุล พ.ต.ต.หญิง รัชฎาวรรณ สีไพสน สว.กก.1 บก.ปคม. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ปคม.ร่วมกันจับกุม นายชลปดิธ หรือ ตั้ม (สงวนนามสกุล) อายุ 40 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาที่ 612/2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง”

สถานที่จับกุมคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ใน อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย​พฤติการณ์ สืบเนื่องจากเมื่อช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน 2565 กลุ่มผู้ต้องหาที่แบ่งหน้าที่กันหลอกลวงผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศ โดยมีหญิงไทย จำนวน 3 คน ทำหน้าที่เป็นนายหน้าในการติดต่อหลอกลวงผู้เสียหาย และรับโอนเงินจากผู้เสียหาย ซึ่งต่อมาในวันที่ 5 มี.ค. 66 เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 3 รายคือ น.ส.สมฤดี น.ส.รุ่งทิพย์ และ น.ส.ภัทราวรรณ ส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนขยายผลทราบว่า นายชลปดิธ  เป็นหัวหน้าเครือข่ายหลอกลวงคนไทยไปทำงานที่ประเทศมัลดีฟส์ โดยนายชลปดิธฯ จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเครือข่ายในการสั่งการให้กลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมตัวไปก่อนหน้านี้ ทำหน้าที่เป็นนายหน้า ติดต่อหลอกลวงผู้เสียหาย และเมื่อถึงกำหนดในการเดินทางจะให้นายหน้าทำทีแจ้งผู้เสียหายว่า ขอเลื่อนการเดินทางเพื่อไปทำงานออกไปก่อน เนื่องจากมีผู้เสียหายบางรายเอกสารในการเดินทางยังไม่เรียบร้อย ซึ่งหลังจากมีการเลื่อนการเดินทางออกไปหลายๆ ครั้ง ทำให้กลุ่มผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวง จึงตัดสินใจแจ้งความดำเนินคดีกับนายชลปดิธฯ กับพวก จนกว่าคดีถึงที่สุด ซึ่งจากการตรวจสอบมีผู้เสียหายกว่า 30 ราย และมีมูลค่าความเสียหายเป็นเงินมากกว่า 3 ล้านบาท

‘ตร.’ บุกจับ หนุ่มอ้างเป็นพันเอก หลอกตุ๋นเงินเหยื่อ โว ซี้ รมต.-มีโควตาลอตเตอรี่กองสลาก เสียหายกว่า 20 ล้าน!!

(25 มี.ค. 66) เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปคม.สั่งการให้ พ.ต.อ.มนูญ แก้วก่ำ ผกก.3 บก.ปคม., พ.ต.ท.สมเดช สาระบรรณ์, พ.ต.ท.อภิชน ขันกา รอง ผกก.3 บก.ปคม., พ.ต.ต.เชษฐ์ศุภากร พิริยะพงษ์พันธ์ สว.กก.3 บก.ปคม. นำกำลังจับกุม นายพันธ์เทพสักดิน (สงวนนามสกุล) อายุ 48 ปี ตามหมายจับศาลแขวงนนทบุรี ที่ 649/2565 ลงวันที่ 12 กันยายน 2565 ตาม พรบ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และหมายจับคดีอื่น ทั้งคดีฉ้อโกง-คดีเช็ค รวม 9 หมายจับ ที่บ้านหลังหนึ่ง หมู่ 6 ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อกลางปี 2564 นายพันธ์เทพสักดิน ก่อเหตุหลอกลวงหนุ่มผู้เสียหาย อ้างตัวว่าเป็นนายทหาร ยศพันเอกพิเศษ จบจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น19 ซึ่งรู้จักกับผู้ใหญ่ระดับรัฐมนตรีหลายท่าน พร้อมกับโชว์โปรไฟล์รูปภาพของตนขณะใส่เครื่องแบบนายทหาร และยังพาผู้เสียหายไปที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนหลอกขอยืมเงินหลายครั้ง รวมแล้วประมาณ 15 ล้าน โดยเขียนเช็คค้ำไว้ โดยอ้างว่า จะเอาไปให้ผู้ใหญ่เปิดทางการลงทุนรถไฟรางคู่

เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมกรณีมีปลอมข้อมูลในภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้อื่น และนำไปประกอบการหลอกจำหน่ายสินค้าออนไลน์

จากกรณีในสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพและข้อความเกี่ยวกับชายหนุ่มรายหนึ่ง ซึ่งมีบัตรประชาชนถึง 7 ใบ โดยแต่ละใบจะมีชื่อและนามสกุลไม่ซ้ำกัน แต่ใบหน้าเจ้าของบัตรประชาชนเป็นคนเดียวกัน และมีที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งจากกรณีดังกล่าวชาวบ้านได้มีการร้องเรียนไปยังกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้เร่งดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับการออกบัตรประชาชนดังกล่าว ว่ามีที่มาอย่างไร ตามที่ได้มีการเสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าล่าสุดโดยการอำนวยการสั่งการของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร.,พล.ต.ท.ยรรยง เวชโอสถ ผบช.ภ.4,พล.ต.ต.หัสชัย เรืองมาลัย รอง ผบช.ภ.4, พล.ต.ต.พิษณุ อุณหเสรี ผบก.ภ.จว.อุดรธานี,พล.ต.ต.ณัฐนนท์ ประชุม ผบก.สส.ภ.4,พ.ต.อ.พงศ์ฤทธิ์ คงสิริสมบัติ รอง ผบก.สส.ภ.4,พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิศมัย รอง ผบก.สส.ภ.4  มีรายละเอียด ดังนี้
ข้อ1. บุคคลตัวจริง ที่ปรากฏภาพใบหน้า ในบัตรประชาชนทั้ง 7 ใบคือ  นายภาคิน (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี  ที่อยู่บ้านเลขที่ 145 ม.1 ต.ลาดหญ้า อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งจากการสืบสวนทราบว่า นายภาคินฯได้เคยส่งภาพบัตรประชาชนตนไปกู้เงินออนไลน์ แต่หลังจากกลุ่มคนร้ายได้ภาพบัตรประชาชนของนายภาคินฯ ไปแล้วนั้น เชื่อว่าได้นำภาพบัตรประชาชนของนายภาคินฯ ดังกล่าว ไปทำการแก้ไขในส่วน ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ตรงกับ ชื่อ นามสกุล ของเจ้าของบัญชีธนาคารที่ไปจ้างเปิดไว้(บัญชีม้า) แต่คงส่วนภาพใบหน้านายภาคินฯ ไว้ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อ 

ซึ่งรายชื่อของบุคคลอื่นทั้ง 7 ราย ที่ปรากฏ ชื่อ นามสกุล และ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ประกอบภาพใบหน้าของนายภาคินฯ ได้แก่ 1)นายนฤเบศร์ (สงวนนามสกุล)  2)นายชินดนัย (สงวนนามสกุล) 3)นายประทีป (สงวนนามสกุล) 4)นายชัยสิทธิ์ (สงวนนามสกุล) 5)นายชาญณรงค์ (สงวนนามสกุล) 6)นายพรพล (สงวนนามสกุล) และ 7) นายพงศธร (สงวนนามสกุล) 

จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า มีผู้เสียหาย ได้ถูกหลอกลวงให้ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ แต่ไม่ได้สินค้า โดยคนร้ายได้ใช้บัญชีธนาคารของบุคคลดังกล่าวข้างต้น คือ  นายชัยสิทธิ์  นายชาญณรงค์  นายพรพล  นายพงศธร โดยมีพฤติการณ์คือ ใช้ภาพถ่ายบัตรประชาชนของนายภาคินฯ ไปทำการเปลี่ยนแปลง ชื่อ นามสกุล  และหรือ ประจำตัวประชาชน 13 หลัก โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการแก้ไขข้อมูลในภาพ ซึ่งไม่ได้มีการทำบัตรขึ้นมาใหม่ เพียงแต่แก้ไขชื่อ นามสกุล ภายในบัตรเพื่อให้ตรงกับ ชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารที่ใช้รับโอนค่าสินค้า ก่อนจะนำไปหลอกขายสินค้าให้กับ ผู้เสียหายและประชาชนทั่วไป เมื่อผู้เสียหายพบว่า ชื่อในภาพบัตรประชาชน ตรงกับชื่อที่คนร้ายได้ส่งมาประกอบการซื้อขายสินค้า และตรงกับชื่อในบัญชีธนาคารที่โอนเงินค่าสินค้า ก็หลงเชื่อว่าเป็นเพจ ที่มีการจำหน่ายสินค้าจริง มีตัวตนจริงตามบัตรประชาชน จึงโอนเงินค่าสินค้าไป 

ต่อมา ผู้เสียหายที่ถูกหลอกขายสินค้าออนไลน์ในพื้นที่ จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ และ เลย จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวน  จำนวน 4 คดี รายละเอียด ดังนี้
1.คดีอาญา สภ.คอนสาร จว.ชัยภูมิ ที่ 79/2566 ลงวันที่ 20-มี.ค.-66 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14
-หมายจับศาลจังหวัดภูเขียว จ. 33/2566 ลงวันที่ 24 มี.ค.66 นายชัยสิทธิ์  ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14 อยู่ระหว่างติดตามตัว

2.คดีอาญา สภ.เมืองเลย ที่ 202/2566 ลงวันที่ 20-มี.ค.-66 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14 
-หมายจับศาลจังหวัดเลย ที่ 99/2566 ลงวันที่ 21มี.ค.66 นายชาญณรงค์ ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14 จับกุมตัวแล้ว

3.คดีอาญา สภ.เมืองร้อยเอ็ด ที่ 261/2566 ลงวันที่ 20-มี.ค.-66 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน
-หมายจับศาลจังหวัดร้อยเอ็ด ที่118/2566  ลงวันที่ 21มี.ค.66 นายพรพล ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน จับกุมตัวแล้ว
-หมายจับศาลจังหวัดร้อยเอ็ด ที่120/2566  ลงวันที่ 27 มี.ค.66 นายพฤหัส ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน จับกุมตัวแล้ว

4.คดีอาญา สภ.เมืองขอนแก่น ที่ 983/2566 ลง 20 มี.ค.66 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14 ผู้ต้องหา 2 ราย
-หมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ จ.157/2566  ลงวันที่ 21มี.ค.66 นายพงศธร ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14 จับกุมตัวแล้ว
-นายปรินทร์ ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14  แจ้งข้อกล่าวหาแล้ว

จากการสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม พบว่า นอกจากบุคคลที่มีรายชื่อทั้ง 7 ราย ที่ปรากฏตามข่าวข้างต้น แล้วยังพบว่ามีการกระทำผิดในรูปแบบเดียวกัน โดยการนำ ชื่อ นามสกุล และ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของบุคคลอื่น มาประกอบกับภาพถ่ายบัตรประชาชนของนายภาคิณฯ ซึ่งพิสูจน์ตัวบุคคลได้อีก 2 ราย คือ 1) นายฐิติกร  และ 2) นายอนิวัตติ์  ซึ่งในกรณีนี้ผู้เสียหายในพื้นที่ จังหวัดมหาสารคาม ประจวบคีรีขันธ์ และ ลำพูน ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน อีกจำนวน 3 คดี 

5.คดีอาญา สภ.เมืองมหาสารคาม ที่ 180/2566 ลงวันที่ 20-มี.ค.-66 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14  ผู้ต้องหา 2 ราย
-หมายจับศาลจังหวัดมหาสารคาม จ.69/2566 ลงวันที่ 21 มี.ค.66 นายฐิติกร ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14  อยู่ระหว่างติดตามตัว
-หมายจับศาลจังหวัดมหาสารคาม จ.68/2566 ลงวันที่ 21มี.ค.66 นายเดโช ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14  อายัดตัวเรือนจำจังหวัดนนทบุรี

6.คดีอาญา สภ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่  671/2565 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14
-หมายจับศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ จ.149/2565  ลงวันที่ 6 ธ.ค.65 นายอนิวัตติ์ ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14  จับกุมตัวแล้ว

7.คดีอาญา สภ.นิคมอุตสาหกรรม จว.ลำพูน ที่  978/2565 ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14
-หมายจับศาลจังหวัดลำพูน ที่ จ.555/2565  ลงวันที่ 6ธ.ค.65 นายอนิวัตติ์ ข้อหา ฉ้อโกงประชาชน,พ.ร.บ.คอมฯ ม.14  อายัดตัวผู้ต้องหา (จากคดีลำดับ 6.)

ข้อ 7. สรุปการดำเนินคดีทั้ง 7 คดี (ตามข้อ 1)
สรุปการดำเนินคดีทั้ง 7 คดี ผู้ต้องหา 9 ราย 
1) ออกหมายจับ 9 หมายจับ  ผู้ต้องหา 8 ราย (นายอนิวัตติ์  มี 2 หมายจับ)
จับกุมผู้ต้องหาได้  5 ราย    5 หมายจับ
อายัดตัว 1 ราย 2 หมายจับ(อายัดหมาย นายเดโช และ นายอนิวัตติ์  )
หลบหนี 2 ราย  2 หมายจับ
2) แจ้งข้อกล่าวหา 1 ราย ผู้ต้องหา 1 ราย

ข้อ3. กรณีกลุ่มผู้ซื้อขาย จัดหาบัญชีม้า ปรากฏจากการสืบสวนขยายผลถึงกลุ่มขบวนการซื้อขายบัญชีม้าในคดีนี้ พบว่ามีการกระทำอยู่ 2 รูปแบบ คือ 
3.1 รูปแบบการซื้อขายบัญชีผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (ON LINE) โดยเจ้าของบัญชีม้าจะทำการเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์ของธนาคาร จากนั้นก็จะส่งรหัสผ่านพร้อมเลขบัญชีให้กับนายหน้าผู้ซื้อหรือติดต่อกับเจ้าของบัญชีม้าเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ซึ่งมีการเปิดกลุ่มสำหรับหาผู้จำหน่ายบัญชีม้าทั่วไป ก่อนจะนำบัญชีม้าไปเป็นบัญชีรับซื้อขายสินค้า หรือเกี่ยวข้องในการทำผิดกฎหมายอื่น
3.2 รูปแบบการใช้บุคคลรวบรวมบัญชีม้า (ON SITE)  กรณีนี้เจ้าของบัญชีม้าได้มีการเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์ หรือเปิดกับธนาคาร โดยตรง ก่อนจะส่งมอบรหัสบัญชี หรือสมุดบัญชี พร้อมบัตรเอทีเอ็มให้กับตัวแทน ซึ่งส่วนมากจะรู้จักกัน ก่อนที่นายหน้าจะรวบรวมส่งให้กับกลุ่มมิจฉาชีพเพื่อนำไปใช้ในการกระทำความผิดต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ทำการสืบสวนและจับกุมตัวบุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมบัญชีได้คือ 

1) นายปรินทร์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 28 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ ในความผิดฐาน " ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันกระทำการโดยทุจริตหรือหลอกลวงนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน "  
ซึ่งในส่วนของผู้ร่วมเครือข่ายรายอื่นอยู่ระหว่างสืบสวนขยายผล และตรวจสอบเส้นทางการเงินหาความเชื่อมโยงผู้ที่ได้รวบรวม จัดหาบัญชีเพิ่มเติม

สืบสวนนครบาลตัดวงจรมิจฉาชีพ หนุ่มศรีมหาโพธิ ตุ๋นขายหน้ากากอนามัย พบเหยื่อหลงเชื่อเสียจำนวนมาก 

วันที่ 28 มีนาคม พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. หัวหน้าชุดปฏิบัติการ PCT 5 พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ , พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี รอง ผกก.ฯ พ.ต.ท.สมพงษ์ เกตุระติ สว.ฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 5 กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น.ร่วมจับกุม นายธวัชชัย สุวรรณพิทักษ์ หรือหนุ่ม อายุ 34 ปี บ้านเลขที่ 35 หมู่ 1 ตำบลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตามหมายจับศาลจังหวัดน่าน (สาขาปัว) ที่ จ 17/2566 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ข้อหาฉ้อโกง , นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยจับได้ที่หน้าบ้านเลขที่ 199 ภายในหมู่บ้านเพิ่มทรัพย์กรีนวิล หมู่ 13 ตำบล หนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

สอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ว่า เดิมทีประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างเฉพาะกิจของ อบต.แห่งหนึ่งในพื้นที่ เงินเดือนไม่พอใช้เนื่องจากติดเล่นพนันออนไลน์ เมื่อปี 2563 ได้เริ่มก่อเหตุครั้งแรกด้วยการร่วมกับเพื่อนสนิท ร่วมสร้างเฟซบุ๊กชื่อบัญชี “ Joyamity Zaza ” , ชื่อบัญชี “ Freedom ” ชื่อบัญชี “ Freedom Hut ” , ชื่อบัญชี “ Farmhot Freedom ” โพสต์หลอกขายหน้ากากอนามัย ในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ ต่อมาเมื่อเพื่อนถูกจับกุมจึงหันมาก่อเหตุเองโดยโพสต์หลอกขายสินค้าที่หลอกหลายกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพระ , เหรียญพระเครื่อง , ตู้สแตนเลสใส่น้ำแข็ง , เก้าอี้บาร์ , สเตชั่นวางเครื่องดื่ม , ถาดคอนโด , ตู้อุ่นร้อน , ถังน้ำแข็งสแตนเลสมือสอง , และกลุ่มอื่นๆกว่า 400 กลุ่ม 

ผบ.เด่นสั่งรวบสาวหล่อ อ้างคนสนิทนางเอก ต. คา ด่าน ตม.อรัญประเทศ พฤติกรรมหลอกลวงแฟนคลับ ลงทุนหุ้นเก๊ เสียหายกว่า 40 ล้านบาท

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ส่งชุด PCT5 ร่วมกับสืบสวนนครบาลลุยกัมพูชา ตามล่า “สาวหล่อ” อ้างเป็นแฟนของนางเอกระดับตำนาน ชื่อ ต. รายการนำเที่ยวหลังก่อวีรกรรมสุดแสบตระเวนฉ้อโกงเหยื่อ โดยเจาะตลาดไปที่กลุ่มผู้เสียหายที่เป็นเหล่าแฟนคลับดาราสาว โดยผู้เสียหายบางรายกล่าวว่า สาวหล่อใช้จิตวิทยาเปิดภาพที่ได้ถ่ายกับดาราก่อนจะเชือดเหยื่อให้ลงทุนหุ้นสิงคโปร์ ซึ่งแท้จริงเป็น “หุ้นเก๊” เบื้องต้นพบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งมีความเสียหายรวมไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ได้มาขอความช่วยเหลือกับ ผบ.ตร. คดีนี้เป็นที่ฮือฮาในแวดวงบันเทิงช่วงปี 2565 จนมีผู้เสียหายบางรายตั้งข้อสังเกตุว่า ตัวนางเอกเอง “อาจมีเอี่ยว” กับสาวหล่อรายนี้หรือไม่

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566  พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ พล.ต.ท.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส.ตร. (PCT) , พล.ต.ท.ธิติ  แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หน.PCT ชุดที่ 5 , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. / รอง หน. PCT ชุดที่ 5 , พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์  ทองแพ พ.ต.อ.พัชรดนัย การินทร์ ผกก.(สอบสวน) บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.มาโนชย์ ทองแก้ว , พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี  , พ.ต.ต.ชัยวัฒน์ จงเจริญ , พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ศปอส.ตร. (PCT) ชุดที่ 5 , ชุดสืบสวนนครบาล (บก.สส.บช.น.) นำกำลังสืบสวนติดตามจับกุมตัว

น.ส.พาฬ นลินวัชร์ อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1 ถ.ประชานิมิต ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ผู้ต้องหาตามหมายจับกว่า 4 หมายจับ คือ

1.หมายจับศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ จ.126/2565 ลงวันที่ 25 พ.ค. 65 ข้อหา “ฉ้อโกง”
2.หมายจับศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ จ.127/2565 ลงวันที่ 25 พ.ค. 65 ข้อหา “ฉ้อโกงและโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”
3.หมายจับศาลอาญาพระโขนงที่ จ.126/2565 ลงวันที่ 25 ก.พ. 65 ข้อหา “ฉ้อโกง”
4.หมายจับศาลอาญามีนบุรีที่ จ.128/2565 ลงวันที่ 26 ก.พ. 65 ข้อหา “ฉ้อโกง”
โดยกล่าวหาว่า ฉ้อโกง

จับกุมตัวที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ ต.อรัญประเทศ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.2563 ถึงห้วงกลางปี พ.ศ.2564 ได้เกิดเรื่องฉาวในแวดวงบันเทิง เมื่อได้เกิดเหตุหลอกลวงครั้งใหญ่เกิดขึ้น เหล่าผู้เสียหายได้ทยอยเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าได้ถูก “สาวหล่อ” ซึ่งอ้างว่าเป็นอดีตแฟนกับดารานางเอก “ระดับตำนาน” หลอกลวงเงิน โดยแผนประทุษกรรมการหลอกลวงเรียกได้ว่าสุดแสบ โดยสายหล่อรายนี้จะแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแฟนคลับของดาราสาวแล้วทำทีตีสนิท โดยจะโชว์พาวให้กับกลุ่มแฟนคลับว่าตนเองนั้นเป็นแฟนกับดาราสาว 

ซึ่งแรกเริ่มนั้นเหยื่อต่างยังไม่เชื่ออย่างสนิทใจ ซึ่งผู้เสียหายรายหนึ่งได้กล่าวว่า สาวหล่อรายนี้ใช้จิตวิทยาด้วยการเปิด ภาพ ที่ได้ถ่ายกับดาราสาว นอกจากนั้นบางรายสาวหล่อรายนี้ถึงขนาดเปิดเทปบันทึกเสียงการสนทนาของสาวหล่อกับดาราสาวให้ฟัง ซึ่งทำให้เหล่าผู้เสียหายเชื่ออย่างสนิทใจว่าสาวหล่อรายนี้เป็นแฟนของดาราสาวจริงๆ ซึ่งเมื่อเหยื่อเริ่มหลงกลจิตวิทยาของสาวหล่อแล้ว ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการหลอกลวง เบื้องต้นพบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งมีความเสียหายรวมไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท โดยข้อมูลจากการสืบสวนสอบสวนสาวหล่อรายนี้จะหลอกลวงให้เหยื่อ “ลงทุน” เล่นหุ้นประเทศสิงค์โปโดยจะใช้จิตวิทยาหว่านล้อมว่าตนเองนั้นเล่นให้กับดาราสาว จากเงิน 40 ล้านบาท สามารถเพิ่มมูลค่าเป็น 100 ล้านบาท ได้ ซึ่งเหยื่อต่างหลงเชื่อ “หอบเงิน” มาร่วมลงทุนกับสาวหล่อรายนี้เป็นจำนวนมาก อันเกิดจากการถูกสาวหล่อใช้จิตวิทยาเล่นกับจิตใจของเหล่าผู้เสียหายที่ลุ่มหลงในตัวดาราสาว ซึ่งแท้จริงไม่ได้มีการนำเงินไปลงทุนหุ้นแต่อย่างใด โดยช่วงแรกนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการเรียกตัวสาวหล่อรายนี้มาดำเนินคดี เจ้าตัวได้เข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอนแต่ต่อมาห้วงเดือน ต.ค. 64  ได้หายตัวไป “เข้ากลีบเมฆ” 

จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทยอยออกหมายจับสาวหล่อรายนี้ โดยล่าสุดมีหมายจับที่ยัง ACTIVE อยู่ในระบบกว่า 4 หมายจับ ซึ่งผู้เสียหายบางรายได้ตั้งข้อสังเกตุว่า อาจมีเอี่ยวกับคนในวงการหรือไม่ เนื่องจากดาราสาวมีการส่งทนายมาช่วยเหลือสาวหล่อในชั้นการรับทราบข้อกล่าวหา อีกทั้งหลังจากที่สาวหล่อรายนี้หลอกลวงเหล่าแฟนคลับไปแล้ว ดารานางเอกรายนี้มีการซื้อรถ “ลัมโบร์กินี” จึงเป็นที่คลาบแคลงใจของเหล่าผู้เสียหายเป็นอย่างยิ่ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top