Tuesday, 21 May 2024
การรถไฟแห่งประเทศไทย

ระงับเปลี่ยนป้ายสถานี ‘บางซื่อ’ 33 ล้านบาท หลังผู้ว่าฯ รฟท.ทำหนังสือแจ้ง ‘ยูนิคฯ’

รฟท.สั่งด่วน! ระงับโครงการรื้อย้ายเปลี่ยนป้ายสถานีจาก ‘บางซื่อ’ เป็น ‘กรุงเทพอภิวัฒน์’ งบประมาณ 33 ล้านบาท หลังผู้ว่าฯ รฟท.ทำหนังสือถึง ‘ยูนิคฯ’ เมื่อ 9 ม.ค. 66

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า วันที่ 9 ม.ค. 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ได้ทำหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการ บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งขอให้ระงับการรื้อย้าย จัดหา และติดตั้งงานก่อสร้างปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟฯ

โดยในหนังสือระบุว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้ลงนามสัญญาจ้างผู้รับจ้าง บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางชื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมาการรถไฟฯ ได้มีหนังสือแจ้งวันส่งมอบสถานที่ ก่อสร้างและแจ้งให้เริ่มงานในวันที่ 3 มกราคม 2566 นั้น การรถไฟฯ มีความประสงค์ขอให้ระงับงานรื้อย้าย จัดหา และติดตั้ง งานก่อสร้างปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางชื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยไปก่อน

ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงในการตอบกระทู้สด เรื่อง กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ้างปรับปรุงป้ายสถานีกลางบางซื่อ มูลค่า 33.169 ล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคมได้ติดตามตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการ ปริมาณงานและข้อเท็จจริง

แนะทริกขึ้นรถไฟ!! ใช้ประตู 4 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ทางเข้าหลักสู่ชานชาลารถไฟทางไกล สะดวกสุด

จำให้แม่น!!! ประตู 4 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ทางเข้าหลักสู่ชานชาลารถไฟทางไกล หลังวันที่ 19 มกราคม 66!!! ทั้ง 52 ขบวน!!!

เพจ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure  ได้โพสต์ข้อความว่า วันนี้มาฝากทริกของการเดินทางในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่เตรียมจะย้ายต้นทาง/ปลายทางรถไฟทางไกล สายเหนือ-อีสาน-ใต้ มาเริ่มต้นที่นี่ ทั้งหมด 52 ขบวน 

ซึ่งถ้าใครเดินทางมาทางรถยนต์ หรือรถ Taxi ปักหมุดมาให้ส่งที่ 'ประตู 4' ซึ่งเป็นทางเข้าหลักของรถไฟทางไกล ได้เลย

เมื่อเดินผ่านเข้าจากประตู 4  
- สามารถเดินตรงมาซื้อตั๋วโดยสาร ได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋ว ซึ่งมีถึง 23 ช่อง แยกตามเส้นทาง และลักษณะของตั๋ว (จองตั๋วล่วงหน้า/จองเพื่อเดินทาง)
- เลี้ยวขวา ไปพื้นที่ศูนย์อาหาร (Food court) 
- เลี้ยวซ้ายพื้นที่นั่งพักคอย หน้าห้องขายตั๋ว

19 ม.ค. 66 บันทึกประวัติศาสตร์ ‘รถไฟไทย’ ทางไกลสายเหนือ-ใต้-อีสาน ใช้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

เพจโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure โพสต์ข้อความระบุว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง!!! หลัง 19 มกราคม 66 12:00 น. หลังเปิดสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์!!! {ย้ายต้นทาง/ปลายทาง รถไฟ 52 ขบวน/ปิด 6 สถานีระดับดิน/รถไฟโดยสารทั้งหมดขึ้นยกระดับ}

19 มกราคม 2566 อีกหนึ่งวันที่จะเป็นวันสำคัญ ที่จะต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ของการพัฒนาระบบรางไทย!!! ที่จะเปิดสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยการย้ายรถไฟทางไกล 52 ขบวน มาเริ่มต้นทางที่สถานีนี้

ซึ่งจะเป็นการยกระดับใหญ่อีกครั้งหนึ่งของการรถไฟ และโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของไทย!!!

แล้ว 19 มกราคม 2566 หลังเที่ยง (12:00 น.) จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง??? มาเตรียมตัวและทำความเข้าใจไปด้วยกันครับ!!!

แน่นอน ว่าเราทราบกันแล้วว่าจะมีรถไฟทางไกล ทั้งหมด 52 ขบวน เข้ามาเริ่มต้น/สิ้นสุด ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แบ่งตามสายทางได้ดังนี้
- สายเหนือมี 18 ขบวน ได้แก่
3 4 7 8 9 10 13 14 51 52 109 102 105 106
107 108 111 และ 112

รถไฟทางไกลสายใต้ มี 24 ขบวน ได้แก่
31 32 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46
83 84 85 86 167 168 169 170 171 172
173 และ 174

รถไฟทางไกลสายอีสาน มี 24 ขบวน ได้แก่
21 22 23 24 25 26 67 68 71 72 75 76
77 78 133 134 135 136 139 140
141 142 145 และ 146 

*** รถไฟสายเหนือ-อีสาน 'ทั้งหมด'!!! จะขึ้นทางยกระดับร่วมกับรถไฟสายสีแดง 
โดยจอดแค่ สถานีดอนเมือง และ รังสิต เท่านั้น!!!
สถานีระดับดินตั้งแต่ กม.11 ถึง รังสิต จะปิดทั้งหมด!!!
ผู้โดยสารที่มีตั๋ว และจะลงระหว่างทางในสถานีเดิม สามารถใช้ตั๋วโดยสาร ต่อรถไฟไปลงที่สถานีที่ต้องการได้ฟรี!!!
รายละเอียดการใช้ตั๋วโดยสารเดินทางสายสีแดง
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1597488807356259/

'การรถไฟ' แก้แบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาใหม่ ช่วยลดผลกระทบต่อโบราณสถานและมรดกโลก

(28 ก.พ. 66) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้ Update ข้อมูลสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ระบุว่า...

สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จะอยู่ตรงไหน มีหน้าตาอย่างไร มาช่วยกันหาทางออก เพื่อพัฒนาเมืองในการศึกษา HIA 10 มีนาคม 2566 นี้!!! ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อยุธยา

ติดตามและแสดงความคิดเห็นได้ที่ Line
https://lin.ee/WU1GxB7 

HIA Historic City of Ayutthaya

เพื่อน ๆ ยังจำการที่ ‘กรมศิลปากร’ ออกมาคัดค้านในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ด้วยเหตุผลการกระทบกับโบราณสถาน และมรดกโลก ซึ่งขอให้การรถไฟ ทำการศึกษา HIA (ศึกษาผลกระทบกับโบราณสถาน) ซึ่งทำให้โครงการเกิดการชะงัก และกับมาพิจารณากันใหม่

โดย กรมศิลปากรเป็นห่วงในเรื่องความสูงของทางวิ่ง และตัวอาคารสถานี ที่อาจจะสูงมากจนทำให้เป็นทรรศนะอุจาด ของเมืองอยุธยาได้

แต่ถ้าดูตามบริบทของพื้นที่ สถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับสถานีรถไฟความเร็วสูง อยู่นอกเขตเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งจากเขตของมรดกโลก มากกว่า 1 กิโลเมตร

ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟได้จ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษา HIA (ศึกษาผลกระทบกับโบราณสถาน) เพื่อหารูปแบบ และป้องกันผลกระทบในทุกด้านกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน

คนอยุธยาช่วยกันออกมาแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้สิ่งที่คนอยุธยาต้องการจริง ๆ นะครับ

เผื่อใครยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ประเด็นปัญหาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

ซึ่งผมเคยพูดถึงดรามานี้ไปจนใหญ่โต เรื่อง สถานีอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1201611603610650/ 

การทำ HIA ตามที่กรมศิลป์ฯ และ UNESCO ต้องการ ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1202420353529775/?d=n 

การเปรียบเทียบ โครงการอื่นๆ ที่ผ่านใกล้กับมรดกโลก จากทั่วโลก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1286300595141750/?mibextid=BfDkjB

ซึ่งหลังจากที่กรมศิลปากร มีข้อเป็นห่วงกับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ก็มีการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อลดผลกระทบ

โดยจะแก้ไขรายละเอียดสถานีและทางวิ่งช่วงผ่านเมืองอยุธยา คือ...

- ปรับลดคานทางวิ่งของทางรถไฟยกระดับลง 
จาก 21.62 เมตร >>> เหลือ 17 เมตร 

- ใช้ระยะสูงสุดของอาคารตาม EIA เดิม

หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 37.45 เมตร...
ระดับชั้น 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง 21.62 เมตร
ระดับชั้น 2 ชานชาลาพื้นที่ยานตั๋วและรอรถ 12.00 เมตร
ระดับชั้น 1 สถานีเดิม ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในอนาคต 1.50 เมตร

ส่องขุมกำลังรถไฟ EV สัญชาติไทยจาก EA หลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยเฉพาะ 'เวียดนาม' แอบสนใจ

รถไฟ EV ต้นแบบคันแรกของไทย ได้รับความสนใจและเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชนคนไทย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการส่งเสริมยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี 2573 

สำหรับรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ต้นแบบคันนี้ ประเทศไทยประกอบและติดตั้งระบบแบตเตอรี่สำหรับรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเสร็จเมื่อปี 2565 ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของโลก โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA

‘รฟท.’ อัปเดตความคืบหน้า รถไฟทางคู่สายใต้ หัวหิน-ประจวบฯ งานโยธาเสร็จ 100% เตรียมเปิดปี 67 พร้อมกระตุ้นการท่องเที่ยว

(23 มี.ค. 66) การรถไฟแห่งประเทศไทย รายงานความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ล่าสุดการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. มูลค่า 5,807 ล้านบาท ซึ่งเป็น 1 ใน 5 โครงการรถไฟทางคู่สายใต้ระยะที่ 1 ได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเสร็จสิ้นครบ 100% แล้ว และพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2567 นี้ 

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ มีระยะทางก่อสร้าง 84 กิโลเมตร เป็นการก่อสร้างทางวิ่งรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม เป็นโครงสร้างทางรถไฟวิ่งระดับพื้นดินทั้งหมด ประกอบด้วย สะพาน 2 แห่ง สถานีรถไฟ 12 แห่ง ป้ายหยุดรถ 1 แห่ง ย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) จำนวน 2 แห่งที่สถานีสามร้อยยอด และสถานีทุ่งมะเม่า และงานก่อสร้างอื่นๆ เช่น งานระบบระบายน้ำ สะพานลอยคนเดินข้าม งานรั้ว งานก่อสร้างถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ ถนนกลับรถยกระดับรูปตัวยู ถนนลอดใต้สะพานทางรถไฟ เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางเสมอระดับรถไฟกับรถยนต์ 

ที่สำคัญการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ การรถไฟฯ ยังได้คำนึงคงความเป็นเอกลักษณ์ ความสวยงาม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยรอบในพื้นที่ มีไฮไลต์สำคัญ เช่น สถานีรถไฟหัวหิน ได้ออกแบบสถานีให้เป็นแบบผสมผสานนำเอกลักษณ์และความสวยงามของสถานีรถไฟหัวหินเดิมมาไว้ที่สถานีหัวหินใหม่ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม โดยเมื่อสถานีแห่งใหม่เปิดให้บริการ สถานีหลังเดิมจะยังคงเปิดให้บริการควบคู่ไปด้วย

‘รฟท.- ขสมก.-กรุงไทย’ ร่วมดันบัตรเหมาจ่ายค่ารถไฟฟ้ายสีแดง-ขสมก. ราคา 2,000 บาท/เดือน ไม่จำกัดเที่ยว ยกระดับการเดินทางแบบไร้รอยต่อ

‘รฟท. ขสมก. และกรุงไทย’ ผนึกกำลัง เปิดตัว บัตรเหมาจ่ายนั่งรถไฟฟ้า ‘สายสีแดง-รถเมล์’ 2,000 บาท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ตั้งเป้าจ่ายผ่านบัตรวันละหมื่นคน จากปัจจุบัน 4-5 พันคนต่อวัน ส่วนขสมก. คาดเพิ่มขึ้น 5.5-6 หมื่นคนต่อวัน จากเดิม 5 หมื่นคนต่อวัน พร้อมประเมินผล 6 เดือน หนุนรองรับพรรคการเมืองออกนโยบายประหยุดค่าครองชีพ

(29 มี.ค. 66) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วย นางพริ้มเพรา วงศ์สุทธิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ นายกิตติพัฒน์ เพียรธรรม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมกันเปิดโครงการบัตรเหมาจ่าย TRANSIT PASS RED LINE BKK X BMTA หรือ บัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงกับรถโดยสาร (รถเมล์) ของ ขสมก. เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ 2 ระบบ คือ ทางรางและทางบกเดินทางได้ด้วยการใช้บัตรใบเดียว

นายสุเทพ เปิดเผยว่า บัตรเหมาจ่ายจัดจำหน่ายใบละ 2,000 บาท และค่าธรรมเนียมออกบัตร 100 บาท รวมค่าใช้จ่าย 2,100 บาท โดยหาซื้อบัตรเหมาจ่ายได้จากจุดจำหน่ายบัตรของ ขสมก. และ รฟท. ส่วนการใช้งานสามารถใช้บัตรเหมาจ่ายแตะชำระค่าโดยสารที่เครื่องชำระค่าโดยสารอัตโนมัติ หรือ EDC บน รถเมล์ ขสมก. ที่ให้บริการปัจจุบัน 2,885 คัน และจุดรับชำระค่าโดยสารที่ รฟท. กำหนด หลังจากเติมเงินบัตรจะมีอายุการใช้งาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แตะชำระครั้งแรกที่ ขสมก. และ รฟท. อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผู้โดยสารชำระค่าโดยสารครั้งแรกที่ ขสมก. วันที่ 1 เม.ย.66 บัตรจะใช้งานทั้ง ขสมก. และ รฟท. ได้ถึงวันที่ 30 เม.ย.66 เท่านั้น จนกว่าการเติมเงินครั้งถัดไป โดยสามารถใช้งานกับรถเมล์ ขสมก. ทุกประเภทแบบไม่จำกัดเที่ยว

ส่วนกรณีใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงจะนับจำนวนเที่ยวสูงสุด 50 เที่ยวต่อการเติมเงินหนึ่งครั้ง หากใช้จำนวนเที่ยว 50 เที่ยวหมดก่อน 30 วัน จะไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังใช้ชำระค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. ได้จนกว่าครบ 30 วัน เช่น ผู้โดยสารใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดงครั้งแรกวันที่ 1 เม.ย.66 ครบ 50 เที่ยวในวันที่ 25 เม.ย.66 ผู้โดยสารไม่สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงได้อีก แต่ยังคงใช้ชำระค่าโดยสารรถเมล์ ขสมก. ได้จนถึงวันที่ 30 เม.ย.66 ตามปกติ จนกว่าจะเติมเงินรอบต่อไป 

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง 25,000 คนต่อวัน แบ่งเป็นใช้จ่ายผ่านบัตรประเภทต่างๆ รถไฟฟ้าสายสีแดงรองรับ 4,000-5,000 คนต่อวัน ที่เหลือจ่ายค่าโดยสารผ่านเหรียญโดยสาร คาดว่ามีบัตรเหมาจ่ายจะเพิ่มให้มีผู้มาใช้จ่ายผ่านบัตรเป็น 10,000 คนต่อวัน ส่วนค่าโดยสารจำนวน 50 เที่ยว จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,250 บาท หรือ เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว เมื่อมีบัตรเหมาจ่ายจะจ่ายแค่ 1,100 บาท หรือเฉลี่ย 22 บาทต่อเที่ยว ช่วยประหยัดได้ 150 บาท หรือ 3 บาทต่อเที่ยว ขณะที่ซื้อบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ประเภทรถเมล์แอร์แบบรายเดือนราคา 1,020 บาท แต่เมื่อซื้อบัตรแบบเหมาจ่ายจะจ่ายแค่ 900 บาทต่อ 30 วัน ซึ่งช่วยประหยัดได้ 120 บาทต่อเดือน

ด้านนางพริ้มเพรา กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารผ่านเครื่อง EDC อยู่ที่ 50,000 คนต่อวัน หากมีบัตรเหมาจ่ายตั้งเป้าจะเพิ่มยอดชำระผ่านเครื่อง EDC อยู่ที่ 55,000-60,000 คนต่อวัน จากจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ประมาณ 700,000 คนต่อวัน หลังจากนี้ ขสมก. และรถไฟฟ้าสายสีแดงจะใช้เวลาประมาณเมิน 6 เดือน เกี่ยวกับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ รวมทั้งระบบการใช้งานต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้งานต่อไป

‘การรถไฟฯ’ คาด คนแห่เดินทางช่วงสงกรานต์เฉียดแสน เตรียมจัดขบวนรถพิเศษ รองรับ-อำนวยความสะดวกให้ ปชช.

(12 เม.ย. 66) การรถไฟแห่งประเทศไทย รายงานว่า บรรยากาศที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ วันนี้ (12 เมษายน 2566) ยังคงมีผู้โดยสารทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาและใช้เวลาในวันหยุดยาวเดินทางท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการ ประมาณ 77,000 คน

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้จัดขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเพิ่ม จำนวน 4 ขบวน คือ

1.) ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 5 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – เชียงใหม่ ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 19.45 น. ถึงเวลา 08.10 น.
2.) ขบวนรถที่ 955 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ศิลาอาสน์ ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 22.50 น. ถึงเวลา 07.00 น.
3.) ขบวนรถที่ 967 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – อุดรธานี ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 21.45 น. ถึงเวลา 07.40 น.
4.) ขบวนรถที่ 977 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – อุบลราชธานี ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 22.05 น. ถึงเวลา 08.10 น.

‘บิ๊กป้อม’ เคาะ!! ‘EIA รถไฟรางคู่สายใต้’ งบ 5.7 หมื่นล้าน เชื่อมต่อ ‘สุราษฎร์ฯ–หาดใหญ่–สงขลา’ ระยะทาง 321 กม.

เมื่อไม่นานนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผ่านระบบ VTC ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยที่ประชุมรับทราบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย รายงานสถานการณ์มลพิษฯ ปี 2565 สรุป คุณภาพน้ำ ทั้งแหล่งผิวดิน น้ำทะเลชายและน้ำบาดาล โดยรวมอยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี คุณภาพอากาศและเสียงมีแนวโน้มดีขึ้นขยะมูลฝอยชุมชนของเสียและสารอันตรายพบว่าขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นมีการขัดแยกและกำจัดขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันของเสียอันตรายและวัตถุอันตรายมีปริมาณเพิ่มขึ้นกากอุตสาหกรรมที่มีอันตรายมีการแจ้งและนำเข้าสู่ระบบการจัดการเพิ่มขึ้นมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นและได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาและให้ความเห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี – ชุมทางหาดใหญ่ – สงขลา นอกจากนั้น ยังให้ความเห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า เพื่อควบคุมและแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

โดยรองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ร่วมกันทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นและมุมมองต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อเนื่องที่ผ่านมา พร้อมย้ำโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ขอให้ใช้ความรอบคอบทั้งหลักวิชาการและสภาพจริง รวมทั้งต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมและรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อย่างรอบด้าน

พร้อมกำชับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึงปัญหาสถานการณ์มลพิษ ทั้งคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง รวมทั้งขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียและวัตถุอันตราย บางพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม จำเป็นต้องให้น้ำหนักเข้าไปแก้ปัญหาให้ทั่วถึง สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปล่อยปริมาณน้ำเสียลงผิวดินเพิ่ม ประกอบกับระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนที่ไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องประสานการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยขอให้มีแผนงาน มาตรการรองรับและมีการกำกับที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำผลการประชุมดังกล่าว เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และดูแลกำกับโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนด

รฟท. เคาะศิริราชจ่ายค่าเช่าที่ 161 ล้านบาท สร้างอาคารรักษาพยาบาลเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า

บอร์ด รฟท.เคาะเพิ่มทางเลือกให้ รพ.ศิริราชจ่ายค่าเช่าที่ดิน ‘สถานีธนบุรี’ จากรายปีเป็นงวดเดียว คิดมูลค่าที่ 161 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาอาคารรักษาพยาบาลและสถานีเชื่อมรถไฟฟ้า ‘สีแดง-สีส้ม’ คาดลงนามสัญญาเช่าได้ในก.ย. 66

นางสาวมณฑกาญจน์ ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2566 ได้มีมติเห็นชอบการปรับวิธีจ่ายค่าเช่าที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณสถานีธนบุรี ซึ่งเป็นการทบทวนมติบอร์ดรฟท.เดิม เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 จากเดิม รฟท.คิดค่าเช่าที่ดินเป็นรายปี ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ รฟท. และได้ตกลงร่วมกับโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ต่อมามีการประชุมร่วมกัน โดยรพ.ศิริราชขอปรับเปลี่ยนการจ่ายค่าเช่าที่ดินจากรายปีเป็นงวดเดียว เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้ในการไปดำเนินการจัดทำงบประมาณของ รพ.ศิริราช

ทั้งนี้ รพ.ศิริราชจะเช่าที่ดินของ รฟท.บริเวณสถานีธนบุรี จำนวน 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร) เพื่อดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีระยะเวลาเช่า 30 ปี อัตราค่าเช่า 50 ล้านบาทต่อปี ปรับขึ้น 3% ต่อปี โดยคิดมูลค่าปัจจุบัน กรณีชำระครั้งเดียวเป็นเงินประมาณ 161 ล้านบาท

“หลังจากนี้จะแจ้งมติบอร์ด รฟท.ให้ศิริราชฯ รับทราบว่าเปิดทางเลือกให้สามารถจ่ายค่าเช่าที่ดินงวดเดียวได้ด้วย ซึ่งทางศิริราชฯ จะสรุปเพื่อดำเนินการลงนามสัญญาร่วมกันต่อไป ซึ่ง รฟท.คาดว่าจะเร่งทำร่างสัญญา และลงนามการเช่าที่ดินได้ภายในเดือน ก.ย. 2566 เพื่อให้ทางศิริราชฯ นำสัญญาเช่าที่ดิน รฟท.ไปใช้ประกอบการเสนอของบประมาณประจำปี 2568” นางสาวมณฑกาญจน์กล่าว

สำหรับโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2565 งบประมาณรวม 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯ ลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบฯ บุคลากร 113.01 ล้านบาท 

ก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น รวมความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น 1. พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร 2. พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ3. พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 79 คัน ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือนรวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี

มีการพัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบริเวณโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 สถานี คือ สถานีศิริราชรถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. และสถานีธนบุรี-ศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนของ รฟท. เพื่อให้เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top