Thursday, 16 May 2024
กทม

รวบแก็งกันน็อกแดงเขียวตระเวนลัก จยย.ทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑลส่งเอเยนต์ออกนอก

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เร่งรัดปราบปรามแก็งโจรกรรมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ซึ่งตระเวนลักรถจักรยานยนต์ของชาวบ้านซึ่งจอดรถอยู่บริเวณที่พักอาศัยและแหล่งชุมชนในพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างหนักเป็นการสร้างความเดือดร้อนและกระทบการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไปอย่างรุนแรงเป็นวงกว้าง โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. IDMB รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากภาคประชาชนในพื้นที่ย่านพหลโยธินและย่านบางเขน กรุงเทพฯว่าในห้วงตั้งแต่เดือน พ.ย.65 จนถึงปัจจุบัน พบแก็งมิจฉาชีพโจรกรรมรถจักรยานยนต์สร้างความหวาดวิตกกังวลแก่เจ้าของและ ผู้ครอบครองรถจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข จึงได้สั่งการให้ บก.สส.บช.น. เร่งรัดออกสืบสวนปราบปราม

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา ประมาณ 12.00 น. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. , พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.บช.น. จึงได้สั่งการให้ชุดลาดตระเวนออนไลน์ประกอบด้วย พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สืบสวน 1 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ต.พิสิทธิ์ เตชะ สว.กก.1 บก.สส.บช.น. และ ด.ต.อุทัย กิ่งแก้ว ผบ.หมู่ กก.สส.1ฯ ลงพื้นที่สืบสวน หาข่าว และติดตามพฤติกรรรม เบาะแสและแผนประทุษกรรมของกลุ่มคนร้ายซึ่งก่อเหตุในคดีนี้ โดยพบว่า คนร้ายเป็นชายวัยรุ่นจำนวน 2 ราย ขับรถจักรยานยนต์ตระเวนออกลักรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีตำหนิพิเศษโดยคนร้ายทั้งสองมักจะใส่หมวกกันน็อกสีเขียวและสีแดงออกตระเวนลักทรัพย์ฯ เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนจึงได้สืบสวนและจับกุมตัว

1.) นายเจษฏาพร หรือบอล ไพรเวหา อายุ 20 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 71/2566 ลงวันที่ 12 มกราคม 2566  
2.) นายธรรมนูญ หรือแบงค์ เลิศชัย อายุ 20 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.บาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 72/2566 ลงวันที่ 12 มกราคม 2566 
3.) นายพจน์ รุ่งแสง อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121 ม.8 ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 

โดยกล่าวหาผู้ต้องหาที่ 1 และ 2 ว่า “ร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยใช้ยานพาหนะ เพื่อสะดวกในการกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป เพื่อให้พ้นการจับกุม” โดยกล่าวหาผู้ต้องหาที่ 3 ว่า รับของโจร
พร้อมยึดของกลาง
1. รถจักรยานยนต์ที่ใช้ก่อเหตุจำนวน 2 คัน
2. รถจักรยานยนต์ที่ลักมาจำนวน 2 คัน
3. รถจักรยานยนต์จำนวน 6 คัน จากการตรวจสอบพบว่าได้แจ้งหายในพื้นที่ กรุงเทพฯ
3. เสื้อผ้า หมวกกันน็อก
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อเหตุรวมทั้งสิ้นกว่า 25 รายการ

จับกุมได้ที่ห้องพักเลขที่ 306 , 309 บ้านเลขที่ 29/44 แขวงคูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

‘ฝนหลวง’ โครงการจากน้ำพระทัย ‘ในหลวง ร.9’ ช่วยคนไทยรอดตายจากฝุ่น PM 2.5

ไม่เฉพาะ 'คนกรุง' ที่รอดตายจากฝุ่น PM 2.5
หากแต่ 'รอดกันทั้งประเทศ'!
เพราะจู่ๆ 'ฝน' ก็ตกลงมาสยบเจ้า PM 2.5 จนพอหายใจ-หายคอกันได้บ้าง
ตกมาแล้ว ๒-๓ วันติด ไม่เฉพาะใน กทม. หากแต่ 'ตกทั่วฟ้า' ทั้ง เหนือ-อีสาน-ตะวันออก-กลาง

และจะตกเป็น 'พระพิรุณปราบฝุ่น' ไปจนกว่า PM 2.5 จะสิ้นฤทธิ์
ผมรู้ได้ไง ใจเย็นๆ...เดี๋ยวบอก!
อ่านนี่ก่อน เมื่อวาน (๕ ก.พ.๖๖) "ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร" ของชัชชาติ ออกข่าว ว่า

"เวลา ๑๕.๐๐ น. ฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง เขตบางซื่อ  บางพลัด พญาไท ดุสิต
เคลื่อนตัวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เเนวโน้มคงที่ ปริมาณฝนสูงสุดเขตราชเทวี 2.0 มม."
แหม…

กทม.ออกข่าวประหยัดข้อมูลจริงนะ น่าจะบอกให้ชัดซักหน่อย ว่า "ฝนมาไง-เป็นไง"?
ตกตามธรรมชาติ หรือผู้ว่าฯ ชัชชาติบันดาล?
ไม่เหมือนตอนหาเสียงเลย

"ทั้งทีม" รู้ทุกเรื่อง พูดเป็นต่อยหอยทุกเรื่อง แต่ตอนทำงานกลับ "อมสาก" ทุกเรื่อง
คนเป็นผู้ว่าฯ เหมือนกัน.....
หมื่นรู้ แสนสัญญา ปานพระวิศณุกรรมอวตารลงเป็นชัชชาติ ปัญหา กทม.ถ้าแก้ไม่ได้ ใครก็ไม่ควรมาเป็นผู้ว่าฯ
ควร "ลาออกไปซะ"!

แล้วเป็นไง กลายเป็น "ผู้ว่าฯ เวรกรรม" ของคนกรุง ร่วมปี ซักเรื่อง...เคยมีที่แก้ได้บ้างมั้ยล่ะ?
"แก้ได้ทุกเรื่อง" มีเรื่องเดียวคือ "แก้ตัว"!
ฝุ่น PM 2.5 มืดคลุมเมือง.......
จนน้ำหู-น้ำตาไหลปนน้ำมูก ไอจามกันค็อกแค็กทั้งกรุง

หน่วยปั้นข่าวยังทะลึ่งออกมาอุ้มไข่ บอกไม่ใช่ฝุ่น แต่เป็น "หมอกหน้าหนาว"!
มันน่า "เจริญพวง" ซะจริงๆ!
ผู้ว่าฯ "สัญญาแลกเกี๊ยะ" ๒๑๔ ข้อ นั่นก็ไม่รู้ไปตามเก็บเกี๊ยะอยู่ที่ไหน?
เห็นแต่ "ทหาร" ออกมาฉีดน้ำล้างถนน-ไล่ฝุ่น
จะไล่ได้-ไม่ได้ ไม่เป็นปัญหา อย่างน้อย ก็ทำให้ชาวบ้านมองเห็น "ที่พึ่ง-ที่หวัง"

ว่ายามมีปัญหา "ทุกปัญหา" ต้องเห็น "ทหาร" ออกมายืนเคียงข้าง คอยปกป้อง-ดูแล ประชาชน
ดีกว่า ไอ้คนที่มีหน้าที่ทำ แต่ไม่ทำอะไรเลย แถมหัวก็ไม่เห็นอีกตะหาก
ใครไม่รู้ "เฉาฉุ่ย" ไว้ตอนเลือกทีมงาน ว่า...
"ดูในแต่ละมิติ อย่างรองผู้ว่าฯ เราก็รู้ว่า มีสำนักอะไรดูแลบ้าง ขอให้มีความหลากหลาย ทั้งประสบการณ์ มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

แต่ละคน จะมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายกันไป
สำคัญที่สุดคือ ซื่อสัตย์ โปร่งใส สุจริตที่เราไว้วางใจได้ นอกจากนี้ มีทีมที่ปรึกษาทางเทคนิคอีกกว่า ๓๐-๔๐ คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการที่เราปรึกษามา ๒ ปีกว่า
ตอนที่เราปรึกษา....

เราเป็นการเมืองการเลือกตั้ง หลายๆ ท่าน เปิดตัวไม่ได้ พอเราเป็นข้าราชการ กทม.แล้ว เราสามารถเปิดตัวท่านได้"
แล้วไหนล่ะ ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลาย อยากเห็นจัง
เก่งฉิบ....

แค่ ๗-๘ เดือน บรรดาผู้เชี่ยวชาญของชัชชาติทำให้ กทม.วินาศสันตะโรได้ถึงขนาดนี้?
แล้วตอนนี้ "หึ่ง" ไปหมด
ไอ้ "ซื่อสัตย์ โปร่งใส สุจริตที่เราไว้วางใจได้" ของชัชชาตินั่นน่ะ
"คุณชูวิทย์" ชำระตำนาน "ส่วยตำรวจ" เสร็จเมื่อไหร่
ผมจะนิมนต์มาแฉตำนาน "ส่วย กทม." ตอนนี้บ้าง!!!

ถ้าชัชชาติอยากรู้....
ไปถาม "ประธานที่ปรึกษา" ของท่านดูซิ ว่ารู้เรื่องบ้างมั้ย...ที่ลงไปเก็บส่วยกันถึงในแต่ละเขตนั่นน่ะ?
จริงๆ แล้ว เรื่องฝุ่น PM 2.5 คนกรุงพอเข้าใจได้ว่า มันเป็น "ฝุ่นประจำฤดูกาล"
ต้นปีที จะเป็น "ฤดูเผา" ทั้งเกษตรกรบ้านเราและประเทศเพื่อนบ้าน ฝุ่น PM 2.5 ก็จะปลิวมาทุกปี

ก็บ่นๆ กันไป พอแค่ได้ระบาย
ที่จะไปเค้นคอให้ "ผู้ว่าฯ สัญญาแลกเกี๊ยะ" แสดงอภินิหารแปลงกายเป็นพระพายไปไล่ฝุ่นนั้น
ไม่มีใครเขา "ยึดขยะ" เป็นสรณะถึงขนาดนั้นหรอก!
ที่ผมต้องพูดถึงคณะบริหาร กทม.วันนี้ ไม่ใช่เพราะผิดหวังในตัวพวกท่าน

เพราะรู้ ก็แค่ "กอเอี๊ยะ" ปิดฝีที่ตูด หวังจะให้ดูดหัวออกมานั้น มันสรรพคุณเกินจริง
ที่ต้องพูด สืบเนื่องจากข่าวที่ กทม.สื่อสารถึงชาวบ้านประเด็นฝนตกช่วงฝุ่น PM 2.5 กำลังจะฆ่าคนกรุงนั่นแหละ

กทม.ของชัชชาติ ออกข่าวเพียงว่า....
"๑๕.๐๐ น. ฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง เขตบางซื่อ บางพลัด พญาไท ดุสิต...." แบบนั้นน่ะ

นั่นมันเหมือนการแถลงข่าวของบางประเทศเพื่อนบ้านเมื่อ ๕๐ กว่าปีที่แล้ว "ฝนตกเมื่อไหร่จะบอก"
คนเขาอยากรู้ "ฝนตกช่วงนี้ได้อย่างไร" ตะหาก
จะมาตวัก-ตะบวยบอกทำไมแค่ฝนตก?
ที่ กทม.ออกข่าวแบบนี้ ผิดวิสัยการให้ข้อมูลข่าวสารตามหลัก "การประชาสัมพันธ์" โดยสุจริต ถึงประชาชน ในสถานการณ์ PM 2.5 กำลังคลุมเมือง

มองเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากมองได้ในทางเจตนาเดียวคือ กทม.ต้องการให้ชาวบ้านเข้าใจเอาว่า
"เป็นฝนตกลงมาเองตามธรรมชาติ"!
ซึ่งมันไม่ใช่ และ กทม.ก็รู้อยู่แก่ใจ ว่ามันไม่ใช่ฝนจากฟ้าบันดาลลงมาดับฝุ่นเอง
แต่ก็ กทม.ก็ไม่ยอมบอก "เหตุฝนตก" ให้ประชาชนทราบ
อิจฉา...ซ่อนเร้นเจตนา หรือ กทม.กลัวจะเสียหน้า!?

สู้ปล่อยให้ "ครุมเครือในข้อมูล" อย่างนี้ดีกว่า ยังพอเอา ไปเคลมกับคน ๑.๓ ล้านได้บ้าง
ผมขอบอกให้ทุกคนทราบว่า ฝนที่ตกลงมาดับฝุ่น PM 2.5 ทั้งในกรุงและต่างจังหวัดขณะนี้ คือ
"ฝนหลวง" ครับ....
ไม่ใช่ฝนตกตามธรรมชาติ หรือฝนร้อยห่าชัชชาติบันดาลตกใน กทม.อย่างที่พยายามปกปิดข้อมูลกัน
"ฝนหลวง" คืออะไร?

คือ โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์
ใน "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" รัชกาล ที่ ๙
จุดประสงค์ เพื่อสร้าง "ฝนเทียม" สำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร เมื่อคราวเสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกร ปี พ.ศ.๒๔๙๘ ในภาคอีสาน

จึงพระราชทานโครงการพระราชดำริฝนหลวงให้ "ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล" ไปดำเนินการ
จึงได้เกิดเป็น "โครงการค้นคว้าทดลอง" ปฏิบัติการ "ฝนเทียม" หรือ "ฝนหลวง" ขึ้น ตราบทุกวันนี้

ที่ฝนตกบรรเทาฝุ่น PM 2.5 ทั้ง เหนือ-อีสาน-ตะวันออก-กลาง และ กทม. ก็จากการบินขึ้นไปปฏิบัติการทำ "ฝนหลวง"
ของ "กรมฝนหลวงและการเกษตร" นั่นเอง!

8 ปี 'ลุงตู่' มุ่งมั่นภารกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต 'คนกรุงเทพ'

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฎิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฎิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน 

‘อัษฎางค์’ ขุดนโยบายหาเสียงชัชชาติ ก่อนเป็นผู้ว่าฯ กทม. แซะ ตอนหาเสียงโม้ทำได้จริง ส่วนปัจจุบัน ทำแล้วแต่ ‘ได้แค่นี้’

(17 มี.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ หัวข้อ ‘ตอนหาเสียง ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้’ มีเนื้อหาดังนี้…

‘ตอนหาเสียง ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้’

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว แนะวิธีลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า โดยได้ระบุข้อความว่า “เรื่องอัตราค่าโดยสารใหม่ของ BTS คงเป็นเรื่องกังวลใจของพวกเราหลาย ๆ คน มีทางไหนไหม ที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง? วิธีหนึ่งที่หลาย ๆ ประเทศในโลกใช้กัน คือ เพิ่มรายได้ในส่วนของ Non-Fare รายได้จากกิจการรถไฟฟ้าหรือ กิจการขนส่งทั่ว ๆ ไป เราอาจมีรายได้ในสองรูปแบบคือ

1. Fare Revenue รายได้จากค่าตั๋วโดยสาร

2. Non-Fare Revenue รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ ประโยชน์จากการเชื่อมต่อสถานี

จำนวนผู้โดยสารที่ผ่านระบบมากถึง 700,000 คน-เที่ยวต่อวัน ทำให้พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้า ในขบวนรถไฟฟ้า ราวจับ รวมถึงรอบตัวรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเสาโครงสร้างรถไฟฟ้า มีมูลค่าสำหรับการโฆษณาสูงมาก เราคงจะไม่เห็นพื้นที่ไหนที่มีการโฆษณามากเท่ากับพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว

ผมเชื่อว่าถ้าเราบริหารจัดการให้ดี ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนให้ดี เราสามารถนำรายได้ในส่วนของ Non-Fare มาช่วยเสริมรายได้จากค่าโดยสารอีกไม่น้อยกว่า 20%

รายได้จากการโฆษณาและให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้า BTS ในปี 2562-2563 สูงถึง 2,183.89 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 30% ของรายได้จากค่าโดยสาร

ในอนาคต เมื่อสัมปทานปัจจุบันสิ้นสุดลง ถ้าเรามีการประมูลที่โปร่งใส ยุติธรรมกับทุกฝ่าย มีการนำรายได้อื่นๆ จากรถไฟฟ้ามาช่วยสนับสนุนค่าโดยสาร จะช่วยทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ครับ”

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564

สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักข่าว The Reporters จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ ‘รถไฟฟ้าต้องถูกลง ทุกคนต้องขึ้นได้ ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยได้หรือไม่’

โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พูดถึงเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

“ถ้าไม่เอากำไรแสนล้านบาท ค่าโดยสาร 25-30 บาทเป็นไปได้ กทม. ต้องรีบเจรจา เปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถถึง 2585 ให้ชัดเจนว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเอกชนเท่าไร สัญญาเป็นธรรมหรือไม่ รัฐเสียเปรียบไหม ถ้าจ้างเอกชนแพงกลายเป็นว่าต้องไปปรับค่าโดยสารขึ้น

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน

ในส่วนของการพัฒนากรุงเทพมหานครก็เช่นกัน มีการพัฒนาและผลงานที่เป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์ให้แก่ชาวกทม. มากมายหลายโครงการ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ต้องลองพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมกันดู...

กทม. สั่งหยุดเก็บค่าผ่านทาง ‘ข้ามคลองพระโขนง’ พร้อมให้รื้อป้อมเก็บเงิน เปิดเป็นสาธารณะใช้สอยร่วมกัน

(30 มี.ค.66) ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (ปลัด กทม.) เปิดเผยถึงกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าฯ กทม.เพื่อขอให้ตรวจสอบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กรณีการการสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง หรือสะพานแสนสำราญ บนพื้นที่โครงการ T77 บริเวณซอยสุขุมวิท 77 เพื่อออกสู่ถนนปรีดีพนมยงค์ 2 เขตวัฒนา ภายหลังมีการสร้างเสร็จแล้วปรากฏว่า มีการตั้งตู้เก็บค่าผ่านทาง ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ว่า ทาง กทม.มีการสืบหาข้อเท็จจริง โดยทำหนังสือสอบถามไปยัง สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทาง สผ.ตอบกลับมาว่า EIA ดังกล่าว ไม่ได้ระบุให้มีการจัดเก็บค่าผ่านสะพานและถนนภาวะจำยอมแต่อย่างใด และกำหนดมาตรการจัดทำป้าย เพื่อแสดงให้บุคคลภายนอกพื้นที่โครงการได้ทราบว่าถนนภาวะจำยอมดังกล่าว มีสภาพใช้ประโยชน์เป็นถนนสาธารณะเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้สัญจรได้

‘ถาวร’ ชี้ ‘แสนสิริ’ ต้องชดใช้แก่ผู้จ่ายค่าผ่านทางสะพานแสนสำราญ หลัง กทม.สั่งรื้อด่านเก็บเงิน ลั่น!! ต้องทำให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

(31 มี.ค. 66) จากกรณี บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) สร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง หรือ สะพานแสนสำราญ บนพื้นที่โครงการ T77 บริเวณซอยสุขุมวิท 77 เพื่อออกสู่ถนนปรีดีพนมยงค์ 2 เขตวัฒนา ภายหลังสร้างเสร็จ ได้ตั้งตู้เก็บค่าผ่านทางด้วย ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา กทม.จะออกหนังสือให้รื้อถอนตู้เก็บเงินค่าผ่านทาง และยกเลิกการเก็บเงินทั้งหมด

นายถาวร เสนเนียม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงเรื่องดังกล่าว ระบุว่า…

“คำสั่งต้อง เด็ดขาด!!! ‘กทม.’ สั่ง ‘แสนสิริ’ รื้อด่านอย่างเดียวไม่พอครับ
วันนี้เห็นข่าว กทม.สั่ง ‘แสนสิริ’ รื้อด่านเก็บค่าขึ้นสะพาน ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ใช้รถใช้ถนนที่ต้องใช้สะพานแห่งนี้อยู่ครับ

แต่ยังชี้ให้คนทำผิดว่า หากไม่เห็นด้วยให้คัดค้านได้ การคัดค้านเป็นการใช้สิทธิตามที่มีอยู่ในกฎหมาย ทุกคนรู้ แต่ กทม. กำลังชี้โพรงให้กระรอก การกระทำผิดของผู้เก็บเงินจากประชาชนโดยผิดกฎหมาย กทม. ว่าไง? จะดำเนินการอย่างไรกับผู้กระทำผิด

เช็ก ‘มาตรการ-ข้อห้าม’ เที่ยว ‘สงกรานต์ 66’ ในกทม.

(11 เม.ย.66) เพจเฟซบุ๊ก ‘ตำรวจสอบสวนกลาง’ โพสต์ข้อความ ‘ข้อห้าม ตามมาตรการสงกรานต์ กทม.’ ระบุว่า…

เทศกาลสงกรานต์ที่ใกล้จะถึงนี้ หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ได้มีการจัดเตรียมสถานที่เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสนุก และมีความสุขไปกับประเพณีปีใหม่ไทย เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของประชาชนทุกคน ก่อนออกไปร่วมกิจกรรมวันสงกรานต์ ควรศึกษาข้อปฏิบัติ หรือข้อห้ามของสถานที่นั้น ๆ ที่ได้กำหนดไว้

ในส่วนของพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ได้รวบรวมข้อห้ามต่าง ๆ ในการร่วมกิจกรรมวันสงกรานต์ (ตามมาตรการสงกรานต์ กทม.) ไว้ดังนี้

- ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ห้าม เช่น วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา, สาธารณสุขของรัฐ, ปั๊มน้ำมัน หรือร้านค้าในปั๊มน้ำมัน, สวนสาธารณะ, สถานีรถไฟ และท่าเรือโดยสารสาธารณะ

- ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาที่กำหนด ซึ่งให้ขายได้เวลา 11.00-14.00 น. และเวลา 17.00-24.00 น. เท่านั้น

- ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

- ห้ามขับขี่รถ ในขณะเมาสุรา

- ห้ามโป๊เปลือยในที่สาธารณะ

- ห้ามบรรทุกโดยสารท้ายกระบะเกินจำนวนที่กำหนด

- ห้ามเปิดเครื่องเสียงดังรบกวนจนก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ

- งดเล่นแป้ง

- งดเล่นปืนฉีดน้ำแรงดันสูง

ด้วยความปรารถนาดีจาก ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) สุขสันต์วันสงกรานต์นะครับ

อนุพงษ์ แจง ปมหนี้รถไฟสายสีเขียว ชี้ ต้องรอรัฐบาลใหม่ เหตุ ครม. พิจารณาไม่ได้ เพราะติดระเบียบ กกต.

(13 มิ.ย. 66) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เตรียมจ่ายหนี้ 2 หมื่นล้านบาทให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘BTSC’ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า ขณะนี้เป็นเรื่องที่ทาง กทม. พยายามจะหาแนวทางที่จะดูแลเรื่องนี้อยู่หลังจากได้ทำเรื่องมาถึงคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. แต่ทาง ครม. คงไม่สามารถจะพิจารณาได้ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ซึ่งคงจะต้องรอให้รัฐบาลใหม่พิจารณา

ทั้งนี้ ปัญหาหลักคือ จะทำวิธีใดก็ได้แต่ติดปัญหาเรื่องหนี้สินที่มีอยู่ จะใช้งบประมาณจากที่ไหน ซึ่ง กทม.คงไม่มี เมื่อไม่มีก็เหลือหนทางที่จะทำได้คือ ให้เอกชนทำ แต่ต้องเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) พิจารณา ซึ่งต้องรออีกหลายปีกว่าจะทำได้ และกว่าจะเป็นสมบัติของ กทม. ก็ในปี 2573 ถึงจะเริ่มใช้ได้ และระหว่างนี้หนี้สินในแต่ละปีจะใช้เงินเท่าไหร่ ก็เหลือทางออกทางเดียวคือ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะพิจารณา

นอกจากนี้ ภาระหนักขณะนี้จึงตกอยู่กับบริษัทฯ เพราะยังต้องเดินรถให้บริการประชาชน ขณะเดียวกัน กทม. ก็ยังไม่มีความสามารถที่จะจ่ายเรื่องหนี้สิน แต่ก็คิดว่าทางผู้ว่าฯ กทม.ต้องมีการหาทางแก้ไขอยู่แล้ว

ทางด้าน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว. กลาโหม ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเรื่องการแก้ปัญหาภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยกล่าวเพียงว่า “ให้เป็นเรื่องของหน่วยงานเขาไปแก้ปัญหา”

กทม.ปลดล็อก โรงเรียนในสังกัด ให้อิสระทรงผม-ไม่ต้องใส่เครื่องแบบ 1 วัน/สัปดาห์

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2566 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกหนังสือถึงโรงเรียนในสังกัดจำนวน 437 แห่ง เพื่ออนุญาตให้โรงเรียนกำหนดการใส่ ชุดนักเรียน และ ไว้ทรงผม ได้อย่างอิสระ โดยไม่กระทบสิทธิมนุษยชน และริดรอนสิทธิของนักเรียน

กทม. จึงได้มีการออกหนังสือถึงสำนักงานเขต จำนวน 2 ฉบับ ว่าด้วยการอนุโลมให้นักเรียน สามารถไว้ทรงผมได้อย่างอิสระ และแต่งกายมาเรียนด้วยชุดอะไรก็ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ลงนามเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 โดย นางวันทรีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 และ พ.ศ 2566 ประกาศ ณ วันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักเรียน จึงให้โรงเรียนจัดทำข้อกำหนดฯ ให้นักเรียนไว้ทรงผมได้อย่างอิสระบนพื้นฐานสุขอนามัยที่ดี สะอาด ส่งเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจ จากนั้นให้นำไปประชาสัมพนธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีมีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ ให้โรงเรียนรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อทำความเช้าใจและตกลงร่วมกัน แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน เช่น การตัดผม ทำให้อับอาย ฯ

แนวทางการแต่งกายของนักเรียน
นอกจากนี้ กทม.ยังได้ออกหนังสือแนวทางการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า กทม.จัดทำข้อกำหนดใหม่ให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยอนุญาตให้นักเรียนสามารถแต่งกายชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับจำนวน 1 วันต่อสัปดาห์ หากไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ก็สามารถใส่ชุดนักเรียนได้ตามความประสงค์ของนักเรียน โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ ยึดหลักคำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนาและเพศวิถีตามที่ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ข้อ 15 กำหนดว่า สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร หรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฏศิลป์ หรือชุดอื่นๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด โดยคำนึงความประหยัดและเหมาะสม เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

จึงให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนแต่งกายด้วยชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนไปประกาศใช้โดยในกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นที่จะสวมชุดนักเรียน ชุดพละ หรือชุดอื่นใดที่โรงเรียนกำหนดให้มีไว้อยู่แล้ว แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนา และเพศวิถีของนักเรียน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top