‘ชาวเนปาล’ ประท้วงให้ ‘สถาบันกษัตริย์’ กลับมา หลังรัฐสภามีมติให้ยกเลิกไปเมื่อปี 2008

(11 เม.ย.67) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน เกิดการประท้วงขึ้นในเมืองหลวงกาฐมาณฑุของเนปาลเมื่อวันอังคาร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำกับกลุ่มผู้ประท้วงที่รุกล้ำเข้าในพื้นที่ที่ถูกปิดล้อม ด้านโฆษกตำรวจระบุว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ประชาชนชาวเนปาลเริ่มเห็นด้วยกับการนำระบอบกษัตริย์กลับมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังเรียกร้องให้มีการสถาปนาศาสนาฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ

ทั้งนี้ ประเทศเนปาล ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐมาตั้งแต่ปี 2008 ในเวลานั้นรัฐสภาได้ลงมติให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองของรัฐบาลในครั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพที่กินเวลานานนับทศวรรษ เพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศ และทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 16,000 คน

การชุมนุมประท้วงเมื่อวันอังคารจัดขึ้นโดยกลุ่มชาตินิยมฮินดูและระบอบกษัตริย์ พรรครัสตรียาประชาตันตรา ซึ่งปัจจุบันก่อตัวเป็นพรรคที่ใหญ่เป็นอันดับห้าในรัฐสภา โมฮัน เชรษฐา-โฆษกพรรคสรุปข้อเรียกร้องของพรรค นั่นคือ ‘การรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ รัฐฮินดู และการยกเลิกระบอบสหพันธรัฐ’

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พรรครัสตรียาประชาตันตรา ได้ให้คะแนนสำนักนายกรัฐมนตรีเนปาล 40 คะแนน พร้อมนำเสนอบันทึกข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ ซึ่งพวกเขายังได้แถลงประเด็นชี้ขาดเพิ่มเติมด้วย อีกทั้งยังเรียกร้องให้มีการต่อต้านการคอร์รัปชันและดำเนินมาตรการเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระ กษัตริย์องค์สุดท้ายของเนปาล เสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งที่สองเมื่อปี 2001 จนถึงขณะนี้ทรงยังไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ รวมถึงการเรียกร้องให้มีการเรียกร้องให้มีการนำสถาบันกษัตริย์กลับคืนมาอีกครั้ง