'สมบัติ-ปชป.' ขอรัฐบาลตื่นจากฝัน หากยังจัดงบฯ แบบผู้ใหญ่ลอกการบ้านเด็ก

(5 ม.ค. 67) นายสมบัติ ยะสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแม่ฮ่องสอน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยระบุว่า...

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไม่ตรงไม่สอดคล้องกับนโยบายที่ให้ไว้แห่งนี้ แล้วเป็นงบประมาณที่เหมือนเดิม คือ จัดแบบขาดดุลเหมือนเดิม ตั้งแต่ได้ยินการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย หรือว่าพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลว่า เป็นรัฐบาลพูดมาตลอดว่า คิดใหญ่ทำเป็น อยากทราบว่าในงบประมาณชุดนี้ คิดใหญ่อะไรบ้าง อยากทราบในงบประมาณชุดนี้จะทำอะไรบ้าง บอกให้พี่น้องประชาชนทราบว่าคิดใหญ่อะไรบ้างแล้วทำเป็น ทำอะไรบ้าง ทำแบบไหน ช่วยชี้แจงด้วย

งบประมาณของแต่ละกระทรวง ทำงบประมาณแบบเดิม คือ เหมือนทุกปีที่ผ่านมาเพิ่ม 5% 7% หรือ 10% บางกระทรวงลดนิดหน่อย เสนอมาการจัดงบประมาณไม่มียุทธศาสตร์หรือว่าจุดเด่น ๆ ที่จะทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจได้เลย 

สโลแกน คือ คิดใหญ่ทำเป็น ควรจะเปลี่ยนเป็น ฝันใหญ่ตื่นไม่เป็น คิดว่าการจัดงบประมาณนั้น มันมีหลักเกณฑ์ มีขั้นตอนอยู่ คิดว่าจะทำอะไรมันไม่ได้ โฆษณาเอาไว้อย่างนั้น ควรตื่นมาดูความเป็นจริง   

นโยบายของเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ เป้าหมายสำคัญในการแก้ปัญหาของพรรคเพื่อไทย คือ ลดความรุนแรงน้ำ ต้องไม่ท่วม ไม่แล้ง ประชาชนต้องมีน้ำดื่มน้ำ ใช้ตลอดปี ในงบประมาณน้ำท่วมน้ำแล้ง ซึ่งเกิดขึ้นทุกปี ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นทุกปี เวลาน้ำท่วมมีผลกระทบต่อบ้านเรือนทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนตลอด บางครั้งต้องเสียชีวิต พอน้ำแล้งก็ไม่มีน้ำใช้น้ำดื่มเกษตรกรที่ทำงานเกษตรก็ไม่ได้ทำ สุดท้ายก็ต้องรัฐบาลเยียวยา โดยใช้งบกลางอยู่ดี ถ้าเกิดว่าเราแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม ซึ่งปัญหาน้ำท่วม มันมีวิธีป้องกันหรือลดความรุนแรงได้ ด้วยการสร้างเขื่อน เพราะการสร้างเขื่อนนั้นเป็นประโยชน์อย่างมากเลย เวลาฝนตกมาเก็บน้ำไว้ เพื่อไม่ให้น้ำท่วม รองรับน้ำไว้พอถึงฤดูแล้ง เราก็เอาน้ำในเขื่อนไปปล่อยให้พี่น้องเกษตรกรหรือชาวบ้านได้ใช้

กรมชลประทานตั้งมา 108 ปี ได้แค่ 35 ล้าน ได้ที่เหลืออีก 100 กว่าล้านไร่ เราจะต้องใช้เวลาอีกกี่ปี ถึงจะได้ครบพื้นที่ถ้าเราจัดงบประมาณแบบเดิม ๆ ไม่มียุทธศาสตร์แบบนี้ กรมชลประทานปีนี้ ของบมา 237,594 ล้านบาท แต่ได้รับบรรจุในร่างงบประมาณปีนี้ 75,879 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าหน่วยงานเขาขอมาเยอะ แต่ว่าเราไม่มีงบประมาณที่จะพอที่จะมาทำให้เขาได้ 

จากสถิติพบว่าเกษตรกรแต่ที่อยู่ในระบบชลประทานมีรายได้มากกว่าเกษตรกรที่อยู่นอกระบบชลประทาน 3-4 เท่า น้ำมีความสำคัญและยกระดับให้เกษตรกรมีรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น อีกกรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำคือกรมทรัพยากรน้ำปีนี้เขาเสนอมาอยู่ 505 โครงการเป็นเงินอยู่ 10,700 ล้านบาทแต่ว่าปีนี้เขาได้รับงบประมาณแค่ 7,200 ล้านบาทจะเห็นได้ว่าหน่วยงานเค้ามีความพร้อมทั้งพื้นที่ทั้งอะไรแต่ว่าเราไม่มีงบประมาณให้เขา ก็ขอให้ทางรัฐบาลช่วยดูให้หน่อยว่าน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นในการที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกรดีขึ้น

เรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ ที่ตามที่นโยบายของทางพรรคเพื่อไทย เขาให้ไว้ว่า แต่มีหน่วยหลายหน่วยงานรับผิดชอบ ประปานครหลวง ซึ่งดูแลในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนไปปีนี้ ในร่าง 29.1 ล้านบาท มีประปาส่วนภูมิภาคอีก ได้รับจัดสรรอยู่ 3,352.8 ล้านบาท เห็นว่า 2 หน่วยงานนี้ เขาบริหารจัดการไม่มีปัญหาเพียงแต่ว่าเวลาพี่น้องประชาชน อยากขยายมันไม่มีกำลังเงินที่จะไปขยาย ทั้งที่เขาบริหารจัดการได้ดี 

แต่ที่น่าเป็นห่วงที่ทั้งประเทศเรามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่มีจำนวนที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ 69,014 ที่นั้น ใช้การไม่ได้เลยประมาณ 2,000 แห่ง แล้ว 60,000 กว่าแห่ง ใช้การได้แต่ไม่ได้มาตรฐานอีก 20,000 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภาระมาก ต้องดูแลน้ำประปาถึง 60,000 กว่าแห่ง แต่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเราได้รับงบประมาณจากส่วนกลาง 29.1% เท่านั้น ทั้งๆ ที่ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีมากมายไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้าและอื่นๆ อีก โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับโครงการที่ถ่ายโอนจากส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องผลักดันงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ถึง 35% สักที

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว เป็นคนที่ดูแลพี่น้องชาวไทยเรามาตลอด แต่กลับถูกตัดงบประมาณถึง 9,500 ล้านบาท ฝากให้รัฐบาลตอนแปรญัตติวาระ 2 ลองดูเพิ่มให้กระทรวงเกษตรด้วย เพราะว่าเขาต้องดูแลพี่น้องประชาชนแล้วเขาต้องการที่จะให้ไปพัฒนาให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น