การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๔ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕

วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา กองบัญชาการกองทัพไทย จัดการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๔ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ๑๙ (ศบค.) โดยมี พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ และเสนาธิการทหารอากาศ เข้าร่วมประชุม ณ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

การประชุมฯ ในครั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลที่สําคัญของกองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ดังนี้...

กองบัญชาการกองทัพไทย ได้นําเสนอการจัดการฝึกร่วมกองทัพไทย ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นการฝึกร่วม ตามแผนป้องกันประเทศ โดยบูรณาการการอํานวยการยุทธร่วม ด้วยการใช้กําลังทหารขนาดใหญ่ของกองทัพไทย รวมถึงบูรณาการการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพและพลเรือน อันเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทยให้มีความพร้อมในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ รวมถึง รักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงให้กับประเทศชาติและความสงบสุขของประชาชน

กองทัพบก ได้รายงานผลการปฏิบัติงานที่สําคัญให้ที่ประชุมได้รับทราบ จํานวน ๒ เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ ๑ การจัดการฝึกทหารใหม่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ตั้งแต่ กรรมวิธีการรับทหารใหม่ การเคลื่อนย้ายจนถึงหน่วยฝึกทหารใหม่ การกักตัวครูฝึก ผู้ช่วยครูฝึก และทหารใหม่ ภายใต้มาตรการ Bubble & Sealed และ เรื่องที่ ๒ การปฏิบัติภารกิจของอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ๑๔๕ (ฮ.ท.๑๔๕) ในการลําเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินร่วมกับทีมแพทย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบกในพื้นที่ และทีมแพทย์สกายดอกเตอร์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ซึ่งสามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอาการ วิกฤตให้รอดชีวิต ได้รับการตอบรับจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดียิ่ง

กองทัพเรือ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ได้เตรียมความพร้อมในการรองรับสงครามอาวุธที่มีอานุภาพ ทําลายล้างสูง ได้แก่ อาวุธเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ (คชรน.) ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านองค์บุคคล ระดับ นานาชาติ ด้านองค์วัตถุ ด้านองค์ยุทธวิธี โดยผลงานสําคัญที่ผ่านมา ได้แก่ การสนับสนุนความปลอดภัยของนักดําน้ํา โดยการตรวจสอบปริมาณก๊าซพิษและก๊าชออกซิเจนในภารกิจค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงเพื่อช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่า การนําขีดความสามารถด้านการป้องกันอาวุธชีวภาพมาใช้ในการควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ณ อาคารรับรองสัตหีบ ซึ่งเป็นสถานที่กักตัวของรัฐ และการนําเครื่องตรวจวิเคราะห์สารพิษ เทคโนโลยีสูงมาตรวจการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อม และสามารถรายงานผลได้อย่างแม่นยํา รวดเร็ว แบบ Real Time

กองทัพอากาศ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการพัฒนาขีดความสามารถด้านการข่าวกรองการเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน (ISR) โดยการพัฒนาระบบงานและคุณภาพบุคลากร การพัฒนาด้านยุทโธปกรณ์ การจัดหา อากาศยานไร้คนขับ (Dominator) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ GEOINT PORTAL เพื่อพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถด้านการข่าวกรองการเฝ้าตรวจและการลาดตระเวนสู่การมีข้อมูลและการข่าวที่มีคุณภาพ (Superior ISR)

สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้นําเสนอระบบ Biometrics ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสําหรับการเก็บข้อมูล คัดกรอง และสืบค้นอัตลักษณ์บุคคลในการเข้า-ออกประเทศทั้ง ด่านตรวจทางน้ํา ด่านตรวจทางบก และด่านตรวจ ทางอากาศ ซึ่งมีจํานวน ๑,๘๔๓ จุด ทั่วประเทศ โดยเป็นการใช้ข้อมูลจากลายพิมพ์นิ้วมือและภาพถ่ายใบหน้าในการ ยืนยันตัวตนที่มีความแม่นยํา มีประสิทธิภาพสูง มีการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ ทําให้กระบวนการสืบค้น ข้อมูลเพื่อนําไปสู่การจับกุมเป็นไปอย่างรวดเร็ว และแม่นยํามากขึ้น

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้กล่าวเน้นย้ำให้เหล่าทัพและสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ปฏิบัติตามนโยบาย ของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหมด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท และเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งให้ติดตามสถานการณ์ตามแนวชายแดนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเน้นย้ำให้กองกําลังตามแนวชายแดนเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรอง เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด และสินค้าผิดกฎหมายตามแนวชายแดนทั้งทางบกและทางน้ํา ตลอดจนให้เข้มงวด กวดขัน กําลังพล ในสังกัดให้ประพฤติปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รวมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาราชการ พร้อมปลูกฝังและเสริมสร้างอุดมการณ์ทางทหาร ความจงรักภักดีต่อสถาบัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ทั้งต่อตนเอง หน่วยงาน และประเทศชาติต่อไป