การสัมผัสพื้นผิวดาวศุกร์ครั้งแรกของโลก จากการพุ่งชนของ ‘ยานเวเนรา 3’

วันนี้เมื่อ 56 ปีที่แล้ว ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509 ได้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งเกิดขึ้น กับ ‘ยานเวเนรา 3’ ยานอวกาศที่ถูกสร้างและปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยสหภาพโซเวียต เพื่อไปสำรวจพื้นผิวของดาวศุกร์ 

โดย ยานเวเนรา 3 นั้น ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 จาก Baikonur คาซัคสถาน

ซึ่งเป้าหมายในการออกไปนอกโลกในครั้งนี้ คือ ภารกิจลงจอดบนพื้นผิวของดาวศุกร์ โดยลำตัวมีระบบวิทยุสื่อสาร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แหล่งพลังงานไฟฟ้าและมีตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต

แต่ภารกิจในครั้งนี้กลับไม่เป็นไปตามอย่างที่วางแผนไว้ เมื่อยานอวกาศดังกล่าวลงสู่ดาวศุกร์ แต่กลับลงด้วยการชนกระแทก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509 และกลายเป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงอื่น 

ซึ่งด้านที่ตกนั้นเป็นดาวมืดของดาวศุกร์ ซึ่งพิกัดการลงจอดกระแทกน่าจะอยู่ที่พิกัด -20° to 20° N, 60° to 80° E อย่างไรก็ตาม ระบบสื่อสารของยานได้ล้มเหลวก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลใดๆ กลับมายังโลก

อีกทั้งดาวศุกร์ มีอุณหภูมิประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้การลงจอดของยานสำรวจเวเนรารุ่นต่อๆ ไป ก็ยังเป็นอุปสรรค จนกระทั่ง เวเนรา 7 ที่ลำตัวของยานเป็นไททาเนียม สามารถลงจอดที่พื้นผิวอย่างนุ่มนวลได้สำเร็จเป็นลำแรกและส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้ 23 นาที