นักศึกษาชาวจีนต่างเชื่อมั่นในระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเอกชนของประเทศไทย พากันสมัครอย่างหนาแน่น ด้านมหาวิทยาลัยเตรียมพร้อมเพิ่มมาตรการพิเศษ เปิดภาคเรียนในช่วงโควิด ป้องกันการระบาดอย่างเต็มที่

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 นอกจะส่งผลทั้งเศรษฐกิจ และ เศรษฐกิจแล้ว การศึกษาก็ยังได้รับผลกระทบเต็ม ๆ อีกด้วย แต่ในระบบการศึกษาของไทยนั้นก็ต้องมีการปรับตัวทั้งเนื้อหาการเรียนรวมไปถึงรูปแบบการสอนให้ดียิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยของเอกชนก็เช่นกัน ต้องมีการปรับรูปแบบการเรียน การสอน และมีการพัฒนาหลักสูตรให้มีเนื้อหาที่ดียิ่งขึ้นจนสามารถติดอันดับต้น ๆ ของประเทศได้ และด้วยสภาพแวดล้อม เอกลักษณ์และวัฒนธรรมเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติจนอยากที่จะมาศึกษาในประเทศไทย และได้มีการสมัครเข้ามาศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงนักศึกษาชาวจีนที่สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชนของประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม 

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรม และการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ได้เปิดเผยว่า “การระบาดของโควิด-19 ไม่ส่งผกระทบต่อนักศึกษาจีนที่มาเรียนที่ธุรกิจบัณฑิตย์ เพราะมีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ต่อเนื่อง และไม่พบนักศึกษาเดิมลาออกแต่อย่างใด เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในหลักสูตรการเรียนของมหาวิทยาลัย แม้จะเรียน และสอบผ่านออนไลน์ 100% ส่วนการเรียนภาคปฏิบัติ ใช้วิธีไปเรียนช่วงท้ายเทอมที่คาดว่าสถานการณ์การระบาดคลี่คลายแล้ว รวมไปถึงสอบรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด”

ส่วนคุณภาพการเรียนในสถานการณ์โควิด-19 นั้นต้องยอมรับว่ามีผลกระทบแน่นอน ทาง ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มธบ. จึงมีนโยบายว่าอาจารย์ต้องมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น หากนักศึกษามีปัญหาด้านการเรียน หรือปัญหาอื่นช่วงที่เรียนในมหาวิทยาลัย อาจารย์ควรแนะนำวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาอย่างรวดเร็ว และที่ผ่านมา มธบ.เตรียมเปิดการเรียนการสอนตามปกติ (onsite)

นอกจากนี้ มธบ.มีมาตรการพิเศษกำหนดจำนวนนักศึกษาต้องไม่เกิน 20 - 25 คนต่อคลาส อาจารย์แต่ละภาควิชาต้องตรวจเช็กการเข้าเรียนต่อเนื่อง ทำให้นักศึกษาจีนและไทยยังสนใจสมัครเรียนเพิ่ม โดยเฉพาะปีในปี พ.ศ.2564 ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน (เฉพาะนักศึกษาใหม่) 

“ด้วยคุณภาพการเรียนการสอน คุณภาพหลักสูตรที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรมมีการรับรองมาตรฐานแล้ว ทั้งการสร้างคน เราไม่ได้ให้แค่ความรู้เฉพาะทางแต่ให้ความรู้เพิ่มแบบที่ตลาดงานต้องการ เพื่อให้นักศึกษาเรียนจบแล้วมีงานทำทันที” ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าว

ดร.กัญจน์นิตา สุเชาว์อิน คณบดีวิทยาลัยนานาชาติจีน และรองผู้อำนวยการสถาบันไทย - จีนมหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวว่า “แม้จะสอนด้วยระบบออนไลน์ 100% อย่างเช่น เทอม 1 ปีการศึกษา 2564 ก็ยังมีนักศึกษาจีนเข้ามาสมัครเรียนประมาณกว่า 250 คน และในเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายนนี้ จะเปิดการเรียนการสอนปกติ และมีการวางแผนจัดตารางสำหรับนักศึกษาภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยยึดตามมาตรการของรัฐบาลในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในสถาบันการศึกษา”

ทางด้าน ดร.โอฬาร กาญจนากาศ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (BTU) ได้เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ.2564 มีนักศึกษาจีนสนใจสมัครเรียนมากขึ้น ทั้งในระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเฉพาะในสาขาบริหารการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่สมัครเข้ามาเรียนต่อ เพื่อปรับวิทยฐานะ โดย BTU มีนักศึกษาจีนรวมทั้งสิ้น 1,600 คน

 
นับได้ว่าเป็นเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่นักศึกษาต่างชาติต่างสนใจและเข้ามาสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าหลักสูตรการศึกษาของไทยสามารถเทียบเท่าระดับโลกได้ และการศึกษาของไทยก็สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องตามทันยุคสมัยใหม่ได้


ที่มา : https://www.prachachat.net/education/news-773941