อดีตทูตฯ ยอมรับ!! เกาหลีใต้ สุดเทพด้าน Soft Power ยกกรณี 'ลิซ่า' ดัน Soft 2 ชาติ แบ่งกัน 'ภูมิใจ'

นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ว่า... 

มีพวกร่านที่ออกมาดีดดิ้นรับไม่ได้ที่ ลิซ่า ได้รับความนิยมติดอันดับโลก จาก Single เพลง Lalisa ที่มีการสอดแทรกความเป็นไทยที่เป็น “ต้นกำเนิด” ของลิซ่า ไว้ในฉากหนึ่ง และในเนื้อเพลงก็มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “From Thailand to Korea” 

พวกร่านพวกชังชาติจะดิ้นมากและออกมาบอกว่า อย่ามาอ้างความเป็นไทย เพราะมันไม่มี 

ฟังแล้วก็ได้แต่สมเพช คือ ถ้ามันไม่มีสิ่งที่สะท้อนความเป็นไทยที่เป็น “ต้นกำเนิด” ของลิซ่า เขาก็คงไม่ใส่คำว่า Thailand ลงในเนื้อเพลง และคงไม่ใส่ ฉากปราสาทหินพนมรุ้ง ฉากลิซ่าใส่รัดเกล้า ใส่ชุดไทยประยุกต์ที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์คนไทย ไว้ในคลิป หรือแม้แต่ ป้ายร้านอาหารที่เป็นภาษาไทยที่ปรากฏแว่บนึงในคลิปด้วย

ตอนที่ผมไปออกรายการของคุณต้น วรเทพ ช่อง Top News ผมก็ได้เล่าเบื้องหลังการทำการบ้านของ Korea ที่เก่งมากสามารถผลักดันเรื่อง Soft Power จนทำให้เกาหลีเป็นผู้นำทางด้านสื่อบันเทิงสมัยใหม่ได้ในระดับแถวหน้า 

ผมขอนำมาอธิบายตรงนี้อีกครั้ง เพราะตอนออกรายการเวลามันน้อย อาจจะอธิบายไม่หมด 

1.) เกาหลีเป็นประเทศที่ทำการบ้านทางด้านใช้ Soft Power เป็นตัวนำได้ดีที่สุดในโลก ในสายตาผม เก่งกว่าญี่ปุ่นด้วย เดี๋ยวจะอธิบายต่อไปว่าทำไม

2.) Soft Power ของเกาหลี สามารถทำให้สินค้าเกาหลีจากเมื่อ 20 กว่าปีก่อนเป็นสินค้าที่เมื่อเอ่ยชื่อคนยังไม่รู้จักดีพอ เช่น มือถือซัมซุง รถยนต์ฮุนได กลายเป็นแบรนด์ชั้นนำแนวหน้าได้ เพราะภาครัฐและภาคเอกชนเกาหลีเขามีส่วนช่วยกันผลักดันสร้าง Soft Power (ผ่านทางการดูแลขององค์กรที่ชื่อว่า Korea Foundation) อย่างเป็นระบบร่วมกันอย่างขันแข็ง

3.) ศิลปินเพลงแร็พร่วมสมัย หนังซีรีส์เกาหลี ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตผลที่ภาครัฐและเอกชนเกาหลีเขาบรรจงสร้างสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมาอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ครองใจคนทั้งโลก เริ่มจากในอดีตนักร้องดังอย่าง Rain ก็เป็นเหมือน “หุ่นยนต์” ที่ Korea Foundation เป็นผู้อยู่เบื้องหลังปั้นขึ้นมาจากเด็กหนุ่มโนเนมคนนึงจนกลายเป็นซูเปอร์สตาร์

4.) การที่ผมบอกว่าเกาหลีเก่งกว่าญี่ปุ่นในเรื่องการสร้าง Soft Power นั้น เพราะเกาหลีใช้เวลาน้อยกว่าญี่ปุ่น แต่สามารถผลักดันจนตอนนี้สื่อบันเทิงแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว 

5.) เกาหลีทำการบ้านล่วงหน้ามากกว่าญี่ปุ่นหลายสิบปี อย่างที่ผมเคยเกริ่น เคยเขียนลงใน FB และพูดในรายการคุณต้นไป ขอเล่าอีกทีคือ ทางเกาหลีเขาทำการบ้านอย่างระมัดระวัง และคิดล่วงหน้าไปไกลมาก เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว สมัยผมเป็น ผอ.กองการทูตวัฒนธรรม (ดูแลงานด้าน Soft Power ของไทยในต่างแดน) วันนึงก็ได้รับการติดต่อจากสถานทูตเกาหลีว่า อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านสารนิเทศ (ดูแลงานด้าน Soft Power) ขอมาพบผมที่ กต.เพื่อหารือเรื่อง Soft Power

6.) ตอนแรกผมก็แค่คิดว่าทางฝ่ายเกาหลีคงจะมาหารือในการจัดงานทางวัฒนธรรมของเกาหลีในไทย แต่เปล่าเลย ! สิ่งที่ฝ่ายเกาหลีมาพบและหารือผมคือ การที่ฝ่ายเกาหลีกังวลใจว่า ถ้าหากการเผยแพร่ Soft Power ของเกาหลีแต่ฝ่ายเดียวมากเกินไป อาจทำให้วันนึงอาจกลายเป็นผลที่ swing back ไปในทางตรงกันข้าม ผมยังจำได้ดีว่าฝ่ายเกาหลียกตัวอย่างที่ครั้งนึง (ช่วง 14 ตค. 16) ขบวนการนักศึกษาไทยมีการเดินขบวนต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และเริ่มลามไปยังประเทศต่าง ๆ (ถ้าใครอยู่ในยุคนั้นคงจำได้ ทางฝ่ายญี่ปุ่นตกใจมาก เลยแก้เกมด้วยการจัดตั้งโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ หรือ Nippon Maru ขึ้นมารองรับ โดยใช้เรือเป็นสื่อให้เยาวชนประเทศต่าง ๆ เกิดความนิยมญี่ปุ่นด้วยการใช้ชีวิตทำกิจกรรมบนเรือร่วมกัน ซึ่งปรากฏว่าได้ผล หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็มีการให้ทุน นศ.ไทยไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นอีกมากมาย)

7.) ฝ่ายเกาหลียกประเด็นนี้มาหารือกับผม เพราะเกรงว่าหาก Soft Power ของเกาหลีได้รับความนิยมมากจนเกินไป อาจกลายเป็นผลเสียได้ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่อาจคาดคิดได้ขึ้นมาเช่น กรณีที่เกิดกับญี่ปุ่น เลยอยากมาหารือขอความคิดเห็นในการสร้างประโยชน์ร่วมกัน

8.) ตอนนั้นจำได้ดีว่าผมได้แนะนำฝ่ายเกาหลีไปว่า เห็นด้วยที่ควรจะคิดป้องกันไว้ล่วงหน้า ถึงแม้ว่า Soft Power ด้านวัฒนธรรมจะเป็นสิ่งดีงาม แต่อะไรที่มากเกินไป หรือถูกยัดเยียดมากไป วันนึงอาจเกิดผลในทางตรงกันข้ามได้ ผมจึงแนะนำว่าควรดำเนินการเผยแพร่ Soft Power ในลักษณะที่ร่วมมือกัน หรือแลกเปลี่ยนกันเพื่อการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การแลกเปลี่ยนศิลปินดารานักร้อง / ครูอาจารย์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดผลงานร่วมกัน ทำให้เกิดความรู้สึก “ภูมิใจ” ร่วมกัน อันนี้จะช่วยมิให้เกิดการแอนตี้ Soft Power ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในอนาคตได้

9.) ฝ่ายเกาหลีเห็นด้วยและรับลูกในข้อแนะนำของผม บอกว่าเป็นไอเดียที่ดี และจะนำไปรายงานให้รัฐบาลเกาหลีทราบต่อไป

10.) เวลาผ่านไปได้สักพัก จนผมเริ่มลืมไปแล้ว ก็ปรากฏโครงการที่ฝ่ายเกาหลีเข้ามาคัดเลือกเยาวชนไทยทั้งชายและหญิงเข้าไปร่วมแสดงในงานบันเทิงต่าง ๆ ของเกาหลี เริ่มด้วยคุณ ณิชคุณ และคนอื่น ๆ อีกหลายคนจนมาถึงน้องลิซ่า วงแบล็คพิงค์

11.) ดังนั้น ที่ฝ่ายร่าน ฝ่ายชังชาติ บอกว่าอย่ามาอ้างความเป็นไทย เพราะมันไม่มี นั้น จึงไม่ถูกต้อง ! เพราะเรามีความเป็นไทย (Thainess) ที่ผ่านตัวแทนคือเยาวชนที่ได้รับคัดเลือกให้ไปร่วมแสดงวัฒนธรรมร่วมสมัยกับศิลปินเกาหลี แค่บอกว่าเยาวชนคนนี้มาจากประเทศไทยและมายืนตรงจุดนี้ได้ นั่นก็ถือเป็น Soft Power อย่างนึงแล้ว และยิ่งน้อง ลิซ่า สามารถสอดแทรก อารยธรรมต้นกำเนิดของน้องลิซ่าไว้ได้ในคลิป MV ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ทำให้คนไทยเกิดความ “ภูมิใจ” ร่วมกันไปด้วย 

12.) ถึงแม้ว่าเพลงของลิซ่าและต้นสังกัดนั้นเป็นของเกาหลี แต่นี่คือความสวยงามที่เกิดจากการรู้จักเรียนรู้ซึ่งกันและกันและนำมาซึ่งการผสมผสานถ่ายทอด Soft Power ร่วมกันระหว่างเกาหลีและไทย เป็นอะไรที่ win - win ทั้งคู่ เป็นตัวอย่างที่ดีด้วยซ้ำที่เราอาจนำมาประยุกต์ใช้กับงานเผยแพร่ Soft Power ของไทย กับ ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน (มีกรณีนึงที่ไทยเราเคยดึงเอาศิลปินดารานักร้องลาว เช่น อเล็กซานดรา บุญช่วย หรือ นักแสดงสังกัดช่อง 7 ที่ชื่อ ธันวา สุริยจักร ที่เป็นคนลาว มาแสดงละครทีวีในไทย นี่ก็เป็นความร่วมมือทาง Soft Power ที่ดีเช่นกัน)

ก็ไม่เข้าใจว่าฝ่ายร่านและฝ่ายชังชาติจะหาเรื่องเตะตัดขาสิ่งเหล่านี้ทำไม ?


ที่มา: https://www.facebook.com/100010403598013/posts/1489003811456391/