ด้วยความเจริญของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การรักษาโรคภัยไข้เจ็บถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถหายได้อย่างรวดเร็ว แต่การรักษาในอดีตก็ยังสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้เหมือนกันอย่างการรักษาแบบ “โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy)”
การระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหนักในบ้านในเมืองของเราเวลานี้ การรักษาโดยกระบวนการทางการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียวคงจะไม่พอเพียงและทันต่อเหตุการณ์แล้ว การรักษาด้วยกระบวนการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) ด้วยวิธีการรักษาแบบผสมผสาน (Complementary Medicine) จึงเป็นทางเลือกอีกกระบวนการหนึ่งซึ่งน่าสนใจ และควรที่จะนำมาใช้ในการรักษาภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
National Center of Complementary and Alternative Medicine (NCCAM) ของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจำแนกตามกลุ่มของการแพทย์ทางเลือกออกเป็น 5 กลุ่ม
การแพทย์ทางเลือกที่นำไปใช้เสริมหรือใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เรียกว่า “Complementary Medicine” ส่วนการแพทย์ทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบันได้ โดยไม่ต้องอาศัยการแพทย์แผนปัจจุบัน เรียกว่า “Alternative Medicine” โดย ศูนย์สุขภาพเสริมและสุขภาพเชิงบูรณาการแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่กำกับดูแลการแพทย์ทางเลือก ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในชื่อว่า สำนักงานการแพทย์ทางเลือก (Office of Alternative Medicine : OAM) และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การแพทย์ผมผสานและการแพทย์ทางเลือก (National Center for Complementary and Alternative Medicine : NCCAM)
ก่อนที่จะได้รับชื่อปัจจุบันคือ ศูนย์สุขภาพเสริมและสุขภาพเชิงบูรณาการแห่งชาติ (The National Center for Complementary and Integrative Health : NCCIH) เป็นหนึ่งใน 27 ศูนย์และสถาบันที่ประกอบเป็น สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health : NIH) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ (Department of Health and Human Services) ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้จำแนกออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้
Alternative Medical Systems คือ การแพทย์ทางเลือกที่มีวิธีการตรวจรักษาวินิจฉัยและการบำบัดรักษาที่มีหลากหลายวิธีการ ทั้งด้านการให้ยา การใช้เครื่องมือมาช่วยในการบำบัดรักษาและหัตถการต่าง ๆ เช่น การแพทย์แผนโบราณของจีน (Traditional Chinese Medicine) การแพทย์แบบอายุรเวชของอินเดีย เป็นต้น
Mind-Body Interventions คือ วิธีการบำบัดรักษาแบบใช้กายและใจ เช่น การใช้สมาธิบำบัด โยคะ ชี่กง เป็นต้น
Biologically Based Therapies คือ วิธีการบำบัดรักษาโดยการใช้ สารชีวภาพ สารเคมีต่าง ๆ เช่น สมุนไพร วิตามิน Chelation Therapy Ozone Therapy หรือแม้กระทั่งอาหารสุขภาพ เป็นต้น โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) จัดอยู่ในอยู่ในกลุ่มนี้
Manipulative and Body-Based Methods คือ วิธีการบำบัดรักษาโดยการใช้ หัตถการต่าง ๆ เช่น การนวด การดัด การจัดกระดูก Osteopathy Chiropractic เป็นต้น
Energy Therapies คือ วิธีการบำบัดรักษาที่ใช้พลังงานในการบำบัดรักษาที่สามารถวัดได้และไม่สามารถวัดได้ในการบำบัดรักษา เช่น การสวดมนต์บำบัด พลังกายทิพย์ พลังจักรวาล เรกิ โยเร เป็นต้น
ในการพิจารณาเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก ต้องคำนึงถึงหลัก 4 ประการ คือ
ความน่าเชื่อถือ (Rational) โดยดูจากวิธีการหรือองค์ความรู้ด้านการแพทย์ทางเลือกชนิดนั้น ประเทศต้นกำเนิดให้การยอมรับหรือไม่ หรือมีการใช้แพร่หลายหรือไม่ ใช้มาเป็นเวลานานเพียงใด มีการบันทึกไว้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
ความปลอดภัย (Safety) เป็นเรื่องสำคัญมากว่า จะส่งผลกับสุขภาพของผู้ใช้อย่างไร การเป็นพิษแบบเฉียบพลันมีหรือไม่ พิษแบบเรื้อรังมีเพียงใด อันตรายที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวมีหรือไม่ หรือวิธีการนั้นทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ เป็นต้น
การมีประสิทธิผล (Efficacy) เป็นเรื่องที่จะต้องพิสูจน์หรือมีข้อพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถใช้ได้จริง มีข้อมูลยืนยันได้ว่าใช้แล้วได้ผล ซึ่งอาจต้องมีจำนวนมากพอหรือใช้มาเป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับจากการศึกษาวิจัยหลากหลายวิธีการ เป็นต้น
ความคุ้มค่า (Cost - Benefit - Effectiveness) โดยเทียบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดด้วยวิธีนั้น ๆ คุ้มค่ากับการรักษาโรคที่ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานหรือไม่ โดยอาจเทียบกับฐานะทางการเงินของผู้ป่วยแต่ละคน เป็นต้น
โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) เป็นการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2339 โดย Christian Friedrich Samuel Hahnemann แพทย์ชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งเชื่อว่าสารที่ทำให้เกิดอาการของโรคในคนที่มีสุขภาพดีสามารถรักษาอาการคล้ายคลึงกันในคนป่วย ความเชื่อพื้นฐานตามหลักการนี้เรียกว่า similia similibus curentur หรือ "เหมือนการรักษาเหมือน" (like cures like) หรืออาจจะเปรียบได้ว่า เป็นการรักษาแบบ “หนามยอกเอาหนามบ่ง” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สิ่งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยในคนที่มีสุขภาพดี สามารถรักษาด้วยการใช้เชื้อของโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกันได้ในขนาดที่เล็กมาก สิ่งนี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย การเตรียม Homeopathic เรียกว่าการเยียวยา และทำโดยการเจือจาง Homeopathic ในกระบวนการนี้ สารที่เลือกจะถูกเจือจางซ้ำ ๆ จนกว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายจะแยกไม่ออกจากตัวเจือจางทางเคมี มักไม่มีแม้แต่โมเลกุลเดียวของสารดั้งเดิมที่สามารถคาดหวังให้คงอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ ระหว่าง Homeopaths การเจือจางแต่ละครั้งอาจกระทบและ/หรือเขย่าผลิตภัณฑ์ โดยอ้างว่าสิ่งนี้ทำให้ตัวเจือจางจำสารเดิมได้หลังจากกำจัด
ทฤษฏีนี้กล่าวว่า การเตรียมการดังกล่าวเมื่อรับประทานเข้าไปสามารถรักษาหรือรักษาโรคได้ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ : หลักการโฮมีโอพาธีย์ในการผลิตยาปกติสำหรับบำบัด รักษาผู้ที่ได้รับความเจ็บป่วยในอาการเดียวกัน โดยใช้สารที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยในคนหนึ่งส่วนมาเจือจางกับน้ำหรือแอลกอฮอล์อีก 9 หรือ 99 ส่วน พร้อมทั้งเขย่าขึ้นลงในแนวตั้ง 10 หรือ 100 ครั้งตามสัดส่วนที่เจือจางซึ่งเรียก ขนาดความแรง เป็น 1D หรือ 1C จากนั้นนำสาร 1D หรือ 1C มาเจือจางต่ออีก 1:10 หรือ 1:100 พร้อมเขย่าเช่นเดิม 10 หรือ 100 ครั้ง จะเรียก ขนาดความแรง 2D หรือ 2C ทำไปเรื่อย ๆ จะมีความแรงในการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้นตามความแรงที่เพิ่มขึ้น อันที่จริง ยาเหล่านี้จำนวนมากไม่มีโมเลกุลของสารดั้งเดิมเหลืออยู่อีกต่อไป ยาโฮมีโอพาธีย์มีอยู่ในหลายรูปแบบลักษณะ เช่น ของเหลว ครีม เจล และยาเม็ด โดยระหว่างการรักษา แพทย์ Homeopathic (Homeopaths)จะถามคำถามหลายข้อเกี่ยวกับสุขภาพจิต อารมณ์ และร่างกายของคนไข้ เพื่อจะกำหนดวิธีการรักษาที่ตรงกับอาการของคนไข้มากที่สุด จากนั้นจะมีการปรับแต่งกระบวนการรักษาสำหรับคนไข้ตามแต่อาการเฉพาะราย
อาร์นิกา (ARNICA) เป็นสมุนไพร ดอกสีเหลือง มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรค และช่วยการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อ
ตัวอย่างเช่น หอมแดงทำให้ดวงตามีน้ำ นั่นเป็นเหตุผลที่ใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ทางชีวจิต การรักษาโรคอื่น ๆ ด้วยตัวยาจากไม้เลื้อยพิษ สารหนูสีขาว ผึ้งทั้งตัวบด และสมุนไพรที่เรียกว่า อาร์นิกา (ARNICA) เป็นดอกสีเหลือง มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรค และช่วยการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อ เป็นที่นิยมสำหรับบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากรอยฟกช้ำหรืออักเสบ นอกจากนั้นยังมีคนไข้สมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ (anti-aging) และช่วยลดอาการบวมอีกด้วย
การรักษาด้วยกระบวนการโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) สามารถแก้ปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย รวมถึงโรคเรื้อรังบางอย่าง
>> โรคภูมิแพ้
>> ไมเกรน
>> อาการซึมเศร้า
>> โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
>> ข้ออักเสบรูมาตอยด์
>> อาการลำไส้แปรปรวน
>> กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
นอกจากนี้ยังสามารถใช้สำหรับปัญหาเล็กน้อย เช่น รอยฟกช้ำ รอยถลอก ปวดฟัน ปวดหัว คลื่นไส้ ไอ และหวัด
ร้านขายยาสไตล์ละตินอเมริกันคาริเบียน (การแพทย์สเปนและโปรตุเกสแบบดั้งเดิม) ซึ่งอาจมีลักษณะเหมือนร้านขายยาที่มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ ความแตกต่างที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่ปรากฏ แต่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า ยามีผลต่อการรักษา
การทำงาน ? การวิจัยมีความหลากหลาย การศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยกระบวนการโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) มีประโยชน์ด้วยการรักษาที่การรักษาแบบอื่นไม่ทำกัน นักวิจารณ์กล่าวถึงประโยชน์ของยาหลอก นั่นคือเวลาที่อาการดีขึ้นเพราะคนไข้เชื่อว่าการรักษานั้นได้ผล ไม่ใช่เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ สิ่งนี้สามารถกระตุ้นสมองให้ปล่อยสารเคมีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออาการอื่น ๆ ได้ชั่วครู่ แต่ทฤษฎีบางอย่างที่โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) นำมาใช้อ้างอิงนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการของเคมีและฟิสิกส์ โดยเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์คือ ยาที่ไม่มีสารออกฤทธิ์ (ยาหลอก) ไม่ควรมีผลกับร่างกาย
ความเสี่ยงคืออะไร ? สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S Food & Drug Administration (FDA) ได้กำกับดูแลการรักษาด้วยกระบวนการโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) แต่จะไม่ตรวจสอบเพื่อดูว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วพบว่า ส่วนใหญ่รับยาและดื่มน้ำน้อยจนไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ แต่มีข้อยกเว้น กรณียาที่อาจมีสารออกฤทธิ์จำนวนมาก เช่น โลหะหนัก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ กรณีตัวอย่าง : ในปี พ.ศ. 2559 FDA ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการใช้ยาเม็ดและเจลสำหรับการรักษาตามกระบวนการโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) เนื่องจากความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับทารกและเด็ก หากคนไข้กำลังพิจารณาที่จะลองใช้วิธีการรักษาทางเลือกเหล่านี้ ต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน เพื่อความมั่นใจว่า ปลอดภัยและจะไม่มีผลต่อยาอื่น ๆ ที่คนไข้กำลังใช้อยู่
จากการศึกษาวิจัยด้านการแพทย์ทางเลือกในบ้านเราพบว่า ศาสตร์ที่คนไทยรู้จัก และให้ความศรัทธาและมีความนิยมใช้จำนวน 25 ศาสตร์ ดังนี้
1.) สมุนไพร 2.) การนวด 3.) สมาธิ/โยคะ 4.) การนวดศีรษะ 5.) การรำมวยจีน/ไทเก็ก 6.) พลังรังสีธรรม 7.) สมาธิหมุน 8.) ชีวจิต 9.) พลังจักรวาล/โยเร 10.) การฝังเข็ม 11.) การฟังดนตรี 12.) การสวดมนต์/ภาวนา 13.) อบสมุนไพร 14.) การใช้เครื่องหอม/ยาดม 15.) การใช้วิตามิน/เกลือแร่/อาหารปลอดสารพิษ 16.) ดื่มน้ำผัก/ผลไม้ 17.) การสวนล้างพิษ 18.) การดูหมอ/รดนำมนต์ 19.) ศิลปะบำบัด 20.) การผ่อนคลายแบบ Biofeedback 21.) การใช้คาถา/เวทมนต์ 22.) การเพ่งโดยการใช้แสง สี เสียง 23.) การเข้าทรงนั่งทางใน 24.) การใช้เก้าอี้แม่เหล็กไฟฟ้า 25.) การใช้วิชาธรรมจักร
นอกจากนี้ยังมีการนำศาสตร์การแพทย์ทางเลือกรูปแบบต่าง ๆ ไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังต่าง ๆ ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น มีการนำเอาการแพทย์ทางเลือกทั้งในรูปแบบของอาหารสุขภาพ การนั่งสมาธิ การใช้หินบำบัด ฯลฯ มาใช้ร่วมกันในการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเป็นต้น
ภาพรวมจากรายละเอียดและข้อมูลต่าง ๆ จะพบว่า การแพทย์ทางเลือกในบ้านเรามีอัตราการขยายตัวสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในสังคมเป็นอย่างยิ่ง ดังกระทรวงสาธารณสุขจึงมีภารกิจเร่งด่วนที่ต้องเร่งจัดการและทำการศึกษาองค์ความรู้ด้านการแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างถูกต้องแก่ประชาชนต่อไป โดยเฉพาะการระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหนักในบ้านเมืองของเราเวลานี้ จำเป็นต้องเร่งให้ทำการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรต่าง ๆ อาทิ ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว สมุนไพรต่าง ๆ ตลอดจนศาสตร์ทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งการรักษาด้วยกระบวนการโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) ด้วย ซึ่งต่อทำคู่ขนานกันไปในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ที่รับการรักษาด้วยวิธีการตามกระบวนการแพทย์ทางเลือกจะเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์มากที่สุดในอันที่จะพัฒนาต่อยอดการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อแนวทางการรักษาด้วยศาสตร์ของการแพทย์ทางเลือกต่อไป
เขียนโดย : ดร.โญธิน มานะบุญ นักวิชาการอิสระ