จับตา ครม. พิจาณา ATK 8.5 ล้านชุด หลังมีรายงานข่าว “บิ๊กตู่”ไฟเขียวจัดซื้อ ขณะที่กระทรวงยุติธรรม เตรียมเสนอชื่อ หมอไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ นั่ง อธิบดีดีเอสไอ “ลุ้นระทึก”ตัวแทนภัตตาคาร-ร้านอาหาร พบ ‘อนุทิน’ บ่ายนี้ขอผ่อนคลายมาตรการที่เป็นรายได้หลัก

ที่ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบ Video Conference 

โดยที่ประชุมครม. จะมีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปริมาณเตียงคงเหลือ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มอัตราการติดเขื้อที่ลดลง /การจัดการวัคซีน/ รวมไปถึงต้องจับตานายกรัฐมนตรีจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ โดยเฉพาะ Antigen Rapid Test Kit หรือ ATK ที่มีการสั่งการให้องค์การเภสัช หรือ อภ.จัดซื้อผ่านงบจองสปสช.จำนวน 8.5 ล้านชิ้น  หลังมีรายงานข่าวว่านายกรัฐมนตรี อนุมัติให้มีการจัดซื้อ ส่วนจะต้องผ่านการรับรององค์การอนามัยโลกหรือไม่นั้นต้องรอมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป

ขณะที่กระทรวงการคลัง จะเสนอพิจารณาคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7  หลังมติครม.วันที่ 25 สิงหาคม 2563 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564  ซึ่งใกล้จะครบกำหนดวันสิ้นสุดแล้ว

ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา การอุดหนุนค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษา  รวมไปถึงเสนอการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งมีรายงานว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เตรียมเสนอชื่อ  นายแพทย์ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แทน พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2564 นี้

อย่างไรก็ตาม บ่ายวันเดียวกันนี้ ที่ห้องชัยนาทนเรทร ตึกสป. กระทรวงสาธารณสุข สมาคม ภัตตาคารไทยโดยนางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย นำตัวแทนสมาคมและภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงตัวแทนผู้บริโภค อย่างนายสุชาติ ชวางกูร เข้าหารือกับ กับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอความชัดเจนในแนวทางการกลับมาประกอบธุรกิจอีกครั้ง หลังจากมีมาตรการล็อกดาวน์ และสั่งห้ามไม่ให้นั่งรับประทานอาหารที่ร้านตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารได้รับผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องปิดกิจการลง เพราะรายได้หลักของร้านอาหารกว่า 80% มาจากนั่งรับประทานที่ร้าน จากมูลค่าธุรกิจอาหารในไทยกว่า 1,400 ล้านบาทต่อวัน เมื่อเกิดการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ และไม่สามารถนั่งทานที่ร้านได้ เท่ากับยอดขายหายไป 80% คิดเป็นรายได้ที่ธุรกิจสูญเสียกว่า 1,100 ล้านบาทต่อวัน รวมช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาหายไปจากระบบเศรษฐกิจกว่า 34,100 ล้านบาท โดยประเด็นสำคัญคือการเปิดให้นั่งในร้านอาหาร ทั้งในและนอกห้างสรรพสินค้า ,วัคซีน สำหรับร้านค้า ทั่งคนไทยและต่างด้าว รวมทั้งมาตรการ ข้อเสนอ การทำ Restaurant Sandbox

สำหรับผู้แทน ที่ตะเจ้าพบนายอนุทิน บ่ายนี้ อาทิ นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ blackanyon นายชาญ เรืองรุ่ง แม่ศรีเรือน นายชุมพล แจ้งไพร Rharn นายเกษมสันต์ สัตยารักษ์ Copper Buffet นายบุญยง ตันสกุล Zen นายดุษฎี พลานุวัตร เพื่อนแท้ร้านอาหาร นางอนัญญา พลเยี่ยม เจ๊ญา ส้มตำเมืองทอง ดร.นิษฐา รัชไชยบุญ สีฟ้า นายนพพร วิทูรชาติ เมกกะบางนา สุชาติ ชวางกูร ผู้บริโภค คุณลินดา บูรณชนม์ ครัวเจ๊ง้อ คุณนันทภัส อัจมาลย์วรา waterside นายภูสิทธิ์ วิสุทธิธาดา สามเสนวิลล่า เป็นต้น