แนะนำทักษะทางภาษา เรื่อง “Word Dissection” หรือการแยกคำในคำ

แนะนำทักษะทางภาษา เรื่อง Word Dissection หรือการแยกคำในคำ ที่จะช่วยขยายคลังคำศัพท์เราให้มากขึ้น (แนะนำการเรียนภาษา ของกระผมคนที่ไม่ได้จบทางด้านภาษาศาสตร์) 

จำสมัยเรียนภาษาไทยกันได้มั้ย เรื่อง การสมาสและการสนธิ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เข้าใจพวกคำจากรากบาลี สันสกฤต แต่ในภาษาตะวันตกอย่างอังกฤษก็มีเทคนิคคล้าย ๆ กัน ในเมื่อเค้าเอามาเชื่อมมาชนกันจนเป็นคำ เวลาเราจะดูว่าคืออะไร ก็ต้อง deconstruct หรือ dissect ส่วนประกอบของคำนั้นออกมา

“pneumonoultramicroscopicsilicovolcanoconiosis”

Pneumono (เกี่ยวกับปอด) + ultra (มาก ๆ ซึ่งตั้งแต่หน้า micro จริงใช้ขยายไมโคร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของ ขนาด) + micro (ขนาดเล็ก ประมาณ 10 ยกกำลัง -6) + scopic (ทัศนะ ที่แปลว่าการมองเห็น) + silico (เคมี silicon บนตารางธาตุ) + volcanon (ภูเขาไฟ) + osis (เป็น suffix ที่ใช้ลงท้าย พวกกระบวนการ อาการ หรือ condition ต่าง ๆ) 

ถ้าแปลเป็นคำอธิบาย ก็คือ "โรคฝุ่นจับปอดที่เกิดจากฝุ่นขี้เถ้าภูเขาไฟที่มีส่วนประกอบเป็นซิลิกาและมีขนาดเล็กมาก" (แต่น่าจะเห็นได้น้อยในไทยเพราะไม่มีภูเขาไฟที่ยังมีชีวิต) 

ข้างบนดูคำยากไปและไกลตัว แต่หากมาดูคำง่าย ๆ ที่คนไทยเจอบ่อย เช่น

Hypertension 
Hyper แปลว่า มากเกิน มากกว่าปกติ ซึ่งตรงข้ามกับ hypo ที่แปลว่า น้อยมาก น้อยกว่าปกติ กับคำว่า tension แปลว่า ความเครียด ความดึง ความดัน (ความหมายทางวิทยาศาสตร์น่ะ ซึ่งมีคุณลักษณะทางฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) ซึ่งถ้า tension ทางสัมคมศาสตร์ถูกใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน

รวม ๆ ก็ความดันที่มากกว่าปกติ ก็คือ ความดันสูง
ตรงข้ามกัน ก็คือ hypotension ความดันต่ำ

หรือหากในดูโพสต์ก่อนของเราพูดเรื่อง Ambiguous Genitalia คำนี้ถ้าใครแน่นภาษาอังกฤษแน่นแล้วยิ่งง่าย เพราะคำแรก แปลว่า คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ส่วนคำหลังเป็นคำที่มาจากที่สิ่งเราคุ้น ๆ กันดีคือ genital หรืออวัยวะเพศ (ตอนมัธยมหงุดหงิดมาก ครูสอนแต่ คำว่า penis กับ vagina แต่ไม่เคยได้ยิน genital) ดังนั้น กลุ่มอาการข้างต้น ก็คือเป็นการพูดถึง ลักษณะทาง physique ของอวัยวะเพศที่ไม่ครบ ไม่สมบูรณ์ คลุมเครือ (แปลจากคำตรง ๆ ยังไม่รวมทางเทคนิคใด ๆ ทั้งสิ้น เดี๋ยวพวกเพื่อนหมอมาตอแยว่า สาระแน) 

หากแยกผิดพลาดหรือการอธิบายทางเทคนิคที่ไม่ชัดเจนต้องขออภัย ไม่ได้เรียนอักษรและแพทยศาสตร์มาโดยตรง ดังนั้นทาง Technical ของทั้งสองศาสตร์อาจจะไม่ตรงเป๊ะ แต่พอจะมีความสามารถเข้าใจได้และแยกได้ประมาณนี้ 

ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วที่เคยไปหาหมอ แล้วเจอรังสี amazement ที่คุณหมอแผ่ใส่ เพราะว่า หมอพูดชื่อโรคบางอย่างออกมาเป็นศัพท์เฉพาะทาง (ไม่ใช้ชื่อโรคหรืออาการข้างต้น) แล้วก่อนที่หมอจะอธิบาย นี้ก็ถามว่า มันคือโรคประมาณนี้ใช่มั้ย (ตอนนั้นอาศัยการเดาล้วนๆ) แล้วการเดาชื่อโรค (ไม่ใช่การ diagnose น่ะ ไม่มีความสามารถในส่วนนั้น แค่เดาชื่อได้) ตอนนั้นก็ถูกไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ตอนนี้ ลองไปนั่งดูคำยาก ๆ หลายคำ ที่แปลไม่ออกเพราะแยกรากไม่ออก เพราะขาดความรู้ในส่วนของรากของทางกรีกและละตินไป 

*ทั้งนี้ ต่อให้รู้ชื่อรู้ที่มาของคำ ก็ยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ด้วย กล่าวคือ รู้ชื่อรู้อาการไม่ใช่ว่าจะรักษาได้ ยังต้องไปหาหมอให้หมอรักษา นอกจากนี้ อีกประเด็นคือ อยากให้หมอเข้าใจว่าในสังคมปัจจุบัน คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น แต่ก็เป็นข้อมูลผิวนอก ไม่ได้รู้ดี คนไข้แค่อ่านหนังสือออกและอ่านหนังสือเป็น คนไข้เลยสงสัย คนไข้เลยอยากรู้ คนไข้เลยอยากถาม เวลาคนไข้บังเอิญรู้จักอะไรแปลก ๆ ที่หมอพูด คนไข้อาจจะรู้จักแค่ชื่อแค่คำแปลหรือลักษณะคร่าว ๆ เท่านั้นแหละ หมออย่าเพิ่งเหวี่ยง มีหมอหลายคนที่นอกจากทักษะทางการรักษาแล้ว ยังมีทักษะเรื่องการควบคุม temper หมอเหล่านี้น่ารักมาก อธิบายดีมาก (แต่ก็เข้าใจหมอที่ทำงานหนักแล้วยังมาเจอเคสแบบนี้ ที่ทำให้บางครั้งแล้วควบคุม temper ของตัวเองไม่ได้เหมือนกัน แต่ก็อยากให้หายใจเข้า หายใจออก ทำใจเย็นๆ แล้วค่อยตอบ) เข้าใจว่าการเหวี่ยง การเล่นบทโหดมีอาจจะมีผลดีต่อคนไข้ แต่อยากให้เป็นไม้ตายสุดท้าย อย่าเพิ่งรีบเอามาใช้

หากถามว่าอีกเทคนิคหนึ่งในการฝึกภาษา คือ การถอดรากคำ แต่เทคนิคนี้อาจจะยากหน่อย แต่ถ้ารู้แล้ว มีประโยชน์มาก (แต่ในบางกรณี ต้องดู context ปัจจุบันนั้น ๆ ของคำด้วยว่ามันจะแปลเป็นภาษาคนปัจจุบันยังไง)


เขียนโดย คุณปอนด์ สุทธินันท์ ดวงภุมเมศร์ 
นักเรียนทุนรัฐบาล UIS ปริญญาโท Master of Public Administration, Cornell University, สหรัฐอเมริกา