มากกว่า 30 รายรหัสวิชาที่ต้องสอบ เพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไทย...มีอะไรบ้าง ที่ต้องรู้ ก่อนเลือกสมัครสอบตามคณะที่คาดหมาย

การเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขที่ไม่หยุดนิ่ง ทิ้งสิ่งที่เรียกว่าภาระเด็กไทย เข้ามหาวิทยาลัยสุดโหดได้อย่างไร?

จำนวนวิชาสอบที่สร้างความยุ่งยากซ้ำซ้อน กว่า 30 รายรหัสวิชาที่ต้องสอบเพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไทย...มีอะไรบ้าง ที่ต้องรู้ก่อนเลือกสมัครสอบตามคณะที่คาดหมาย ให้ครบถ้วนไม่ขาด

3 กลุ่มวิชาหลักที่ขาดไม่ได้ ในการใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)

1. O-NET
   O-NET (Ordinary National Educational Test) คือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

2. GAT PAT
    GAT/PAT คือการสอบความถนัดทั่วไป GAT ซึ่งย่อมาจากคำว่า (General Aptitude Test) หรือการทดสอบความถนัดทั่วไป ส่วน PAT คือการสอบความถนัดด้านวิชาการ (Professional A Aptitude Test) คือ การสอบวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย

3. 9 วิชาสามัญ
    9 วิชาสามัญ คือ ข้อสอบกลางที่จัดสอบโดย สทศ. เพื่อใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย  แต่เดิมจะสอบเพียง 7 วิชา แต่เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาของสายศิลป์ จึงเพิ่มอีก 2 วิชาเข้าไป รวมเป็น 9 วิชา ดังนี้

1.วิชาภาษาไทย
2.วิชาสังคมศึกษา
3.วิชาภาษาอังกฤษ
4.วิชาคณิตศาสตร์ 1
5.วิชาฟิสิกส์
6.วิชาเคมี
7.วิชาชีววิทยา
8.วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์)
9.วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (สายศิลป์)

5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GAT/PAT

1. GAT คืออะไร?
เป็นการสอบที่ดูว่า นักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อม ในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน โดยจะทำการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) ซึ่งก็คือเป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัย ให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 พาร์ทภาษาไทย คือ วัดความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา

ส่วนที่ 2 พาร์ทภาษาอังกฤษ คือ วัดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and /Conversation/Vocabulary/Structure and Writing/Reading Comprehension

รวมกันสองพาร์ทนี้ 300 คะแนน

2. PAT คืออะไร?
เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test)  การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม  มี 7 สาขาวิชาตามกลุ่มวิชาชีพดังนี้คือ

PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย

PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
PAT 7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

3. GAT PAT สำคัญต่อแอดมิชชั่นอย่างไร?
แอดมิชชั่นกลางนั้น GAT PAT รวมกันจะเป็นสัดส่วนถึง 50% และอีก 50% ที่เหลือก็มาจากสัดส่วนรวมกันของเกรด(GPAX) และคะแนน O-NET นั่นเอง นั่นหมายความว่า ถ้าไม่มี GAT PAT ก็จะไม่สามารถแอดมิชชั่นได้ นอกจากนี้การรับตรงในบางมหาลัยนั้นก็ใช้ GAT PAT เป็นเกณฑ์คัดเลือกสำคัญด้วย อาทิ รับตรงปกติ จุฬาฯ, รับตรง มธ.บางคณะ, รับตรงแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น

และรับตรงรอบแรกส่วนใหญ่ก็จะใช้ GAT PAT รอบแรกเท่านั้น เพราะรับตรงโครงการนั้นๆ จะเสร็จสิ้นก่อนจะสอบ GAT PAT จึงใช้ได้แค่รอบเดียว ดังนั้น เตือน ม.6 ถ้าถึงเวลาสมัครสอบแล้ว ก็อย่าลืมสมัครด้วยนะ จะได้ไม่เสียสิทธิ์รับตรง (ในบางคณะ)

4. คณะไหนใช้ PAT อะไรบ้าง
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์ กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ (ยื่นคะแนนรูปแบบที่1)

PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์

PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์

PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์

PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว(ยื่นคะแนนรูปแบบที่2) กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ (ยื่นคะแนนพื้นฐานศิลป์ รูปแบบ2)

5. ใครสอบได้บ้าง
สำหรับการสอบ GAT PAT ค่อนข้างจะอิสระพอสมควร เพราะทุกคนมีสิทธิในการสอบหมด ทั้ง ม.6 เด็กซิ่ว และ สายอาชีพ และจะสมัครกี่ครั้งก็ได้ เพราะการสมัครสอบสามารถดำเนินการสมัครได้ด้วยตนเอง ดังนั้นอยู่ที่ความรับผิดชอบของตัวเอง หากสมัครไม่ทัน ผลเสียก็ตกอยู่ที่ตัวเอง

อายุของคะแนนสอบ GAT PAT อยู่ได้ 2 ปี  นั่นหมายความว่า หาก ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้ โดยในการสมัครแอดมิชชั่นกลางจะมีระบุไว้ว่าใช้รอบใดได้บ้าง

วิชาสามัญ คือ ข้อสอบกลางที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่ใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาตร์ 1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ 2 และวิทยาศาสตร์ทั่วไป แต่ตอนนี้ลดการสอบซ้ำซ้อน โดย วิชาสามัญ จะสอบแค่ 7 วิชาหลัก จะไม่มีการสอบ คณิตศาสตร์ 1 และวิทยาศาสตร์ทั่วไป หากคณะ/สาขาใดใช้ 2 วิชานี้ ให้ใช้คะแนนจาก คณิตศาสตร์ O-NET และวิทยาศาสตร์ O-NET แทน วิชาสามัญจะเปิดรับสมัครสอบทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม 

วิชาสามัญ ใช้ใน TCAS รอบใด
คะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ในระบบ TCAS รอบ 2 โควตา รอบ 3 Admission 1 และรอบ 4 รับตรงเก็บตกสุดท้าย แต่น้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา เลือกสมัครเฉพาะวิชาที่ใช้ก็พอ แต่ปัญหาหลักคือ บางคนไม่รู้ว่าคณะที่จะเข้า ต้องใช้วิชาอะไรบ้าง

สรุปการใช้ วิชาสามัญ ของแต่ละคณะ
แต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย กำหนดเกณฑ์การใช้ วิชาสามัญ ไม่เหมือนกัน แต่สามารถแบ่งการใช้คะแนนตามกลุ่มคณะได้ดังนี้ เพื่อการเตรียมตัว น้อง ๆ ควรรู้ก่อนว่าคณะที่เราจะเข้า ใช้คะแนนอะไรบ้าง
 
1. กลุ่มสายวิทย์สุขภาพ ใช้ 7 วิชา
เช่น คณะแพทยศาสตร์ ทันตะ เภสัช สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาล สหเวชศาสตร์ กายภาพบำบัด
1. ภาษาไทย
2. สังคมศึกษา
3. ภาษาอังกฤษ
4. คณิตศาสตร์ 1
5. ฟิสิกส์
6. เคมี
7. ชีววิทยา

2. กลุ่มสายวิทยาศาสตร์ ใช้ 4 วิชา
เช่น คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
1. ฟิสิกส์
2. เคมี
3. ชีวิวิทยา
4. คณิตศาสตร์ 1

3. สายศิลป์คำนวณ ใช้ 4 วิชา
เช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ   คณะเศรษฐศาสตร์
1. ภาษาไทย
2. สังคมศึกษา
3. ภาษาอังกฤษ
4. คณิตศาสตร์ 1 หรือ คณิตศาสตร์ 2 (บางสาขา เช่น การท่องเที่ยวและโรงแรม)

4. กลุ่มสายศิลป์แบบใช้ 5 วิชา
เช่น คณะกลุ่มสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
1. ภาษาไทย
2. สังคมศึกษา
3. ภาษาอังกฤษ
4. คณิตศาสตร์ 2
5. วิทยาศาสตร์ทั่วไป

5. กลุ่มสายศิลป์แบบ ใช้ 3 วิชา
เช่น อักษรศาสตร์ นิติศาสตร์
1. ภาษาไทย
2. สังคมศึกษา
3. ภาษาอังกฤษ

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.6 ในปีการศึกษา 2564 ทำให้ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ต้องปรับรูปแบบ TCAS ในปีการศึกษา 2565 ทำให้รอบ Admission2 ที่ใช้คะแนน O-NET ในสัดส่วน 30% ต้องถูกยุติการใช้ใน TCAS65 และจะไม่ใช้คะแนนสอบอื่นมาทดแทน เพื่อลดภาระให้นักเรียน โดยจะเหลือการรับ 4 รูปแบบ 4 รอบการสมัคร ได้แก่ รอบ 1 แฟ้มสะสมผลงาน รอบ 2 โควต้า รอบ 3 แอดมิสชั่นส์ และรอบ 4 รับตรงอิสระ

การวางแผน ของนักเรียน มัธยมปลายรุ่นต่อๆ ไป ภาระอาจจะลดน้อยลง จากการกำหนดการสอบที่ลดน้อยลง แต่ปัญหาใหม่ในปีนี้ที่ผ่านมา ของนักเรียนรุ่นเข้ามหาวิทยาลัยรุ่นปี 2564 คือข้อสอบที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากแนวเก่าๆ เพราะหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลง และผู้ออกข้อสอบ โดย สสวท. ก็ทำให้นักเรียนรุ่นต่อไป ต้องรับศึกหนัก ข้อสอบที่ยากขึ้นมากสำหรับ คนที่อยู่ระดับล่างของการเรียนไทย การแข่งขันจะยิ่งทำให้ช่องว่าการศึกษาไทยยิ่งห่างกันอีกไกล

เตรียมตัวสอบวิชาอะไรบ้าง คณะอะไรที่จะเลือกใช้วิชาใดสอบ ยื่นรอบไหน ใช้อะไร เจอกันในบทความถัดไปครับ จะแนะนำวิธีการเลือกสอบ เลือกรอบยื่น และเลือกลำดับคณะมหาลัยที่เหมาะแต่ละคน

เว็ปไซต์ที่แนะนำติดตาม
https://www.niets.or.th/th/catalog/view/247
https://www.mytcas.com/


เขียน และรวบรวมข้อมูลโดย AodDekTai คุณพ่อผู้สนใจการศึกษาไทยและต่างประเทศ