นายกฯ นำประชุมดิจิทัลฯ นัดแรกปี 64 พร้อมแต่งตั้งคณะที่ปรึกษารับรัฐมนตรีใหม่ และทบทวนยกเลิกขอรับเงินสนับสนุนเยียวยาโควิด 19 ‘ยอมรับ’การบริหารราชการแผ่นดินไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป 

วันที่ 24 มี.ค. 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 /2564 โดยกล่าวก่อนการประชุมว่านายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการประชุมว่าจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา ตนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาประเทศและการแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้มแข็ง ในการแก้ปัญหาต่างๆของประเทศ โครงสร้างดิจิทัลพื้นฐานเป็นส่วนสำคัญ 

 

ซึ่งวันนี้เดินหน้า ไปสู่ 5G ที่ผ่านมารัฐบาลวางโครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐทั่วประเทศ บางพื้นที่ต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะบางพื้นที่ใช้ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ และวันนี้ได้ออกกฎหมายกิจการอวกาศ  เป็นเรื่องของการใช้ดาวเทียมให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจด้านนี้และเตรียมความพร้อมปัญญาประดิษฐ์หุ่นยนต์ 

 

เพื่อสนับสนุนนโยบายเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานทุกภาคส่วน นำมาสู่การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์และดิจิทัลอาเซียนเต็มรูปแบบตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมกันนี้ ย้ำขอให้ทุกส่วนราชการร่วมกันผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ วันนี้รัฐบาลออกหลายมาตรการจำเป็นต้องมีข้อมูลขนาดใหญ่ที่ทันสมัย ครอบคลุมทุกมิติ แก้ปัญหาได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการพัฒนาประเทศในทุกมิติทั้ง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง สุขภาพและการศึกษา มุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป 

 

สำหรับการประชุมวันนี้ จะมีการพิจารณาร่างแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ ข้อมูลประเทศไทย และแผนปฎิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี ดิจิทัล ระยะที่ 1 ปี2564-2570 และร่างแผนปฎิบัติการด้านการสื่อสารแห่งชาติ สนับสนุนกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงทบทวนหลักการเพื่อขอยกเลิกการเปิดรับข้อเสนอโครงการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูโควิด 19  วงเงิน 400 ล้านบาท และแต่งตั้งที่ปรึกษาในคณะกรรมการเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ต้องจับตาดูรัฐมนตรีใหม่ นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์  ว่าที่ รมว. ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีดีกรีจบวิศวะ จุฬาลงกรณ์ จะมาผลักดันนโยบายด้านดิจิทัลอย่างไร