นับถอยหลัง อีกไม่นานประเทศไทยจะมีการขนส่งทางรางที่เชื่อมโยงการเดินทางของประชาชนได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างดังนี้
• ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กิโลเมตร ยกระดับการเดินทางและขนส่งด้วยระบบรางให้รวดเร็วตรงเวลายิ่งขึ้น
ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่
- รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. เปิดให้บริการปี 2562
- รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. เปิดให้บริการปี 2562
กำลังก่อสร้างอีก 5 เส้นทาง ได้แก่
- รถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากนํ้าโพ ระยะทาง 145 กม. ความก้าวหน้า 42.57%
- รถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. ความก้าวหน้า 62.91%
- รถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. ความก้าวหน้า 67.57%
- รถไฟทางคู่ช่วงมาบกระเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. ความก้าวหน้า 53.78%
- รถไฟทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. ความก้าวหน้า 54.91%
ทั้ง 5 โครงการคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 2566-2567
• ผลักดันโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่อีก 2 เส้นทาง
- รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม.
รถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม.
ระยะทางรวม 681 กิโลเมตร
• เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
เพื่อเติมเต็มการเดินทางจากปริมณฑลเข้าสู่ในกลางกรุงเทพมหานครและเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้ามหานคร
เส้นทางที่กำลังก่อสร้างขณะนี้ได้แก่
- โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทางรวม 15.26 กิโลเมตร 3 สถานี แล้วเสร็จปี 2564 ความก้าวหน้า 78.76%
- โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางรวม 26.30 กิโลเมตร 10สถานี แล้วเสร็จปี 2564 ความก้าวหน้า 81.72%
พร้อมก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ความก้าวหน้า 99.76%
• ส่วนต่อขยายในอนาคต อีก 3 ช่วง ได้แก่
- โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา
- โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และ บางซื่อ- หัวลำโพง (Missing Link)
โดยอยู่ระหว่างการรถไฟฯ ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการลงทุน PPP
• ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง
2 สายแรกของประเทศไทยเชื่อมโยงเมือง การเดินทาง และพัฒนาเมืองสำคัญในภูมิภาคเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุน ยกระดับรายได้ของประเทศ
• ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้าง 2 สายทางคือ
- รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวม 253 กม. 6 สถานี ขณะนี้เริ่มก่อสร้างงานโยธาแล้ว 2 สัญญา อีก 12 สัญญา อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2568
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. 9 สถานี เปิดพื้นที่การพัฒนาจากกรุงเทพฯ สู่ EEC ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมดำเนินการก่อสร้าง รื้อย้ายสิ่งกีดขวาง เวนคืนที่ดิน คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570
ที่มา : Thailand Future