Wednesday, 4 October 2023
REGION

"ราชทัณฑ์" จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศต้นแบบ "เรือนจำจังหวัดนนทบุรีโมเดล"

วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศต้นแบบ "เรือนจำจังหวัดนนทบุรีโมเดล" เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตต้นแบบ "เรือนจำจังหวัดนนทบุรี" ด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ณ เรือนจำจังหวัดนนทบุรีโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตต้นแบบ "เรือนจำจังหวัดนนทบุรี"เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ กรมราชทัณฑ์ โดย เรือนจำจังหวัดนนทบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดย สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สถานีวิทยุ ม.ก. ด้วยการเปิดรับสมัครผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน เพื่อร่วมอบรมเกี่ยวกับการจัดกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

โดยมุ่งเน้นให้ผู้ต้องขังสูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง คลายความวิตกกังวลในขณะที่อยู่ภายในเรือนจำ มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะอาชีพ พัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมนำไปต่อยอดให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำรุ่นต่อไป ซึ่งจะช่วยเหลือผู้ต้องขังสูงวัยให้ดำรงตนอย่างมีคุณค่า  ทางสถานีวิทยุ ม.ก. จะให้การสนับสนุนการพัฒนาความรู้ เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ได้เข้าถึงองค์ความรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ อาทิ ความรู้ด้านกฎหมาย ๒,ด้านสุขภาพ ๓.ด้านโภชนาการ๔.ด้านเศรษฐกิจและสังคม ๕.ด้านพระพุทธศาสนา ๖.ด้านการใช้ภาษาและการสื่อสาร ๗.ด้านการออม และ ๘.การจัดกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงวัย ให้มีสุขภาพใจและร่างกายแข็งแรงสามารถสร้างผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ "Active Aging"

พร้อมต่อยอดถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ต้องขังสูงวัยในรุ่นต่อไป  ผ่านเครือข่ายสถานีวิทยุ ม.ก. โดยมีเนื้อหาหลักสูตรใน ๕ มิติ ได้แก่ ด้านร่างกาย เน้นในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ด้านจิตใจ เน้นการรู้จักบริหารสุขภาพจิต ด้านสังคม เน้นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย การเปลี่ยนแปลงของสังคม สิทธิและสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านเศรษฐกิจและกิจกรรมสันทนาการ การฝึกทักษะอาชีพ การให้ความรู้เรื่องการออมในผู้สูงวัย และด้านจิตปัญญา การส่งเสริมให้เข้าถึงธรรมชาติและสัจธรรมพร้อมกันนี้ ยังเป็นต้นแบบให้กับเรือนจำอื่น ๆ ในการต่อยอดองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้ต้องขังสูงอายุ

ตามมาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ โดยมีแนวทางและรูปแบบการให้การศึกษาผ่านทางเครือข่ายสถานีวิทยุ ม.ก. เป็นหลัก โดยออกอากาศ ทั้ง ๔ ภูมิภาค ในระบบ เอ.เอ็ม. สเตอริโอและผู้ต้องขังสูงอายุ ยังสามารถรับชม-รับฟัง ทั้งภาพและเสียงผ่านทางเครือข่ายของสถานีวิทยุ ม.ก. ณ สถานที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรีได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 30 คน ต้องติดตามรับฟังรายการวิทยุอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตร ๑ เดือน ๒ สัปดาห์ ออกอากาศเนื้อหาหลักสูตรเริ่มตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน - ๑๒ พฤษภาคม๒๕๖๔ รวม ๒๙ หลักสูตร จึงจะได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุโขทัยเขียนลายสังคโลกบนผืนผ้า งานอาร์ตเวิร์คช้อป สร้างรายได้แก่คนรักงานศิล์ปที่“บ้านปรีดาภิรมย์”

ถ้าเอ่ยคำว่า ‘ลายสังโลก’ หลายคนน่าจะนึกถึงเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เซรามิก เท่านั้น ที่สุโขทัยลายสังคโลกสวยๆ จากงานบรรจงฝีมือลงบนผืนผ้า ก็มีให้ชม ให้ใช้ ให้เลือกหา บ่งบอกถึงสุโขทัยเช่นกัน ‘ลายสังโลก’ ถือเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานจากเครื่องปั้นสังคโลก หรือจะเป็นลวดลายบนผืนผ้าที่เรานำมาใช้ประจำวัน เช่นเสื้อ หมวก ร่ม โคมไฟ  ย่าม กระเป๋า พัด กรอบภาพโชว์ และงานจากการสร้างขึ้นมาอื่น ๆ จากผ้า ที่มีความหมายสำคัญในชีวิตและวัฒนธรรมของสุโขทัย ‘ลายสังโลก’ก็ยังมีบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสุโขทัยและคนไทย โดยลวดลายที่ถูกเขียนลงบนผืนผ้าสามารถบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาได้ ในยุคหลายร้อยปี   

งานศิลปะไม่ใกล้ไม่ไกลจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในเขตชุมชนเมืองเก่า จ.สุโขทัย มีบ้านไม้หลังหนึ่ง รอให้ทุกคนได้มาสร้างสรรค์ลวดลายสังคโลกผ่านผืนผ้าที่ “บ้านปรีดาภิรมย์” ที่นี่เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบและความหมายของลวดลายสังคโลก ซึ่งถือเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยมาช้านาน โดยปกติแล้วเรามักจะเห็นลวดลายสังคโลกอยู่บนเซรามิก หรือเครื่องปั้นสังคโลก ที่เมืองเก่าแห่งนี้คือต้นกำเนิดของสุโขทัยทุกวันนี้ มีหญิงสาวท่านหนึ่งที่ถูกปลูกฝังในความเป็นคนสุโขทัยที่มีเอกลักษณ์และศิลปะในตัวเธอ คุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ “หรือฝน” ตัวเธอและครอบครัว และชาวบ้านชุมชนเมืองเก่าต้องการที่จะอนุรักษ์ สืบสานลวดลายบนเครื่องสังคโลกเอาไว้ไม่ให้หายไปตามกาลเวลา จึงเกิดเป็นกิจกรรมเวิร์คช้อปดี ๆ ให้นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมในการหัดเขียนลวดลายสังคโลก

คุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์  เอ่ยไว้น่าสนใจว่า การลงมือวาดลวดลายต่างๆ ของ‘ลายสังโลก’ ลงบนผืนผ้า เสื้อยืด กระเป๋าหรือโคมไฟ ไม่ว่าจะเป็น ลวดลายสัตว์ (ลายปลา ลายนกคุ้ม) ลวดลายพืชพรรณ (ลายดอกบัว ต้นไม้) และลวดลายเรขาคณิตแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สังคม ความเชื่อและรูปแบบศิลปะเฉพาะของสุโขทัย จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าของ “จิตวิญญาณของวัฒนธรรม” เมืองสุโขทัย และเข้าใจอัตลักษณ์ของความเป็นสุโขทัยมากขึ้น และผู้ที่มาเรียนรู้เพื่อขยายคนสร้างงานศิล ใจรัก หรือ ทำเป็นอาชีพเสริม อาชีพหลัก ก็ล้วนแล้วแต่ความชอบของแต่ละคนที่สนใจ ส่วนตัวฝนและครอบครัว ก็ยังใช้งานที่รักนี้มาเป็นงานสร้างรายได้ สร้างผลงาน เพิ่มความรู้และแบ่งปันความรู้สู่ผู้อื่นมาทั้งชีวิตเช่นกัน


ภาพ/ข่าว  สุริยา ด้วงมา (จ.สุโขทัย)

จับตาการเปิด 5 จุดผ่อนปรน การค้าชายแดนไทย-เมียนมาแม่ฮ่องสอน เพื่อบรรเทาผลกระทบ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าชายแดนฯ แต่ยังไม่อนุญาตให้บุคคลข้ามแดน

นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ลงนามในคำสั่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเปิดการใช้ช่องทาง ณ จุดผ่อนปรนการค้า หลังปิดไปตั้งแต่ 1 พ.ย. 63 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยผู้ว่าราชการได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.แม่ฮ่องสอน และคณะกรรมการศูนย์สั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านเมียนมา จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อหารือแนวทางในการเปิดจุดผ่อนปรนการค้า โดยในคำสั่งฉบับดังกล่าวได้อนุญาตให้มีการเปิดการใช้ช่องทาง ณ จุดผ่อนปรนการค้า เพื่อบรรเทาผลกระทบ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าชายแดนฯ โดยจะมีผลตั้งแต่วันนี้  1 เม.ย. 64 เป็นต้นไป ประกอบไปด้วย

1.) จุดผ่อนปรนการค้าช่องทางห้วยต้นนุ่นหมู่ที่ 4 ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม

2.) จุดผ่อนปรนการค้าช่องทางบ้านเสาหิน หมู่ที่ 6  ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง

3.) จุดผ่อนปรนการค้าของทางบ้านแม่สามแลบหมู่ที่ 9 ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย

4.) จุดผ่อนปรนการค้าของทางบ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยผา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

5.) จุดผ่อนปรนการค้าช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน หมู่ที่ 3 ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

ทั้งนี้  ให้ขนส่งเฉพาะการนำเข้า - ส่งออกสินค้าบริเวณจุดผ่อนปรนที่กำหนดเท่านั้น ยังไม่อนุญาตให้มีการเดินทางเข้า-ออก ของบุคคลทั้งชาวไทยและชาวเมียนมาผ่านช่องทางจุดผ่อนปรนการค้าทุกแห่งรวมทั้งช่องทางธรรมชาติ สินค้าทั่วไปอุปโภค บริโภค ผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำร้องต่อศุลกากร โดยให้ศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสินค้าเข้าออก ส่วนสินค้าเกี่ยวกับความมั่นคง และสินค้าที่นอกเหนือจากสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปให้ผู้ประกอบการยื่นคำร้องต่อศุลกากร และให้แจ้งเรื่องมายังศูนย์สั่งการชายแดนเพื่อพิจารณาประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและ  ให้ปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด-19 อย่างเคร่งครัด


ภาพ/ข่าว  สุกัลยา / ถาวร   (อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน) 

หลวงพ่อพัฒน์ (ปุญญกาโม) บริจาคเงินจำนวน 8,000,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และ รถพยาบาลVIP จำนวน 1 คัน มอบให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

วันนี้ 12.30 น.  หลวงพ่อพัฒน์ (ปุญญกาโม) และดร.เสมอ งิ้วงาม (ป๋อง สุพรรณ) บริจาคเงินจำนวน 8,000,000 บาท(แปดล้านบาทถ้วน) เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และรถพยาบาลVIP จำนวน 1 คัน มอบให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โดยมีนายแพทย์โชติ ภาวศุทธิกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รับมอบ ในพิธีมหาพุทธามังคลาภิเษกวัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ (ปุญฺญกาโม) รุ่น พยัคฆ์แสนล้านและรุ่น ราชาพยัคฆ์ ณ วัดธารทหาร (ห้วยด้วน) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ท่านที่ประสงค์จะทำบุญในโอกาสพิเศษต่างๆ ติดต่อได้ที่ ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลฯ 056-001555 และ 089-8584102 หรือโอนเงินธนาคารกรุงไทย เลขที่ 633-0-41531-5 ส่งหลักฐานที่ inbox เพจ Facebook โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


ภาพ/ข่าว  ตอริก (ปัตตานี)

จันทบุรี แถลงผลการจับกุมผู้กระทำผิดจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ และ ผู้ต้องหาลักทรัพย์ขโมยทุเรียนชาวสวนผลไม้ หลอกขายทุเรียนอ่อน สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ

วันนี้ (31 มี.ค.2564) นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย พล.ต.ต.จรัล จิตเจือจุน รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 รักษาราชการแทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันแถลงข่าวการดำเนินคดีเกี่ยวกับทุเรียนอ่อนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตามที่ชุดเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด จ.จันทบุรีบูรณาการความร่วมมือออกสุ่มตรวจจับกุมผู้กระทำผิด รวมพื้นที่ 4 อำเภอ  ประกอบด้วย  1.พื้นที่ สภ.ท่าใหม่ วันที่ 17 มี.ค.64 นายมนตรี ล้วนปิยะกุล ได้ซื้อทุเรียนพันธุ์กระดุมจากล้งซูเหมย หรือแผงชูเหมย ตลาดรับซื้อผลไม้เนินสูง ต.เขาวัว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี กับนายซูน เจงเจีย (Sun Gengjia) น้ำหนักทั้งหมด 181 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 185 บาท รวมเป็นเงิน 33,485 บาท ซึ่งทุเรียนดังกล่าวเป็นทุเรียนอ่อน  มีค่ามาตรฐานต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเพียง 24 เปอร์เซ็นต์

2.พื้นที่ สภ.เมืองจันทบุรี วันที่ 20 มี.ค.64 นายนิพนธ์ วิสุทธาภรณ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยป้องกันจังหวัดจันทบุรี ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากนางสาวเชาวนี วิเสโส ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี ว่าได้เข้าตรวจสอบโรงคัดบรรจุทุเรียน แผงน้องเอ ต.ท่าช้าง อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี พบทุเรียนพันธุ์กระดุมทองในโรงคัดบรรจุ จำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่1 น้ำหนักเนื้อแห้ง 28 (ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน) ตัวอย่างที่ 2 น้ำหนักเนื้อแห้ง 19 % ตัวอย่างที่ 3 น้ำหนักเนื้อแห้ง 18% (ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน) ซึ่งคุณภาพผลผลิตแยกตามสายพันธุ์นั้น ทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง น้ำหนักเนื้อแห้งขั้นต่ำต้องได้ 27% ซึ่งทุเรียนพันธุ์กระดุมทองไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด / ต่อมาเวลาประมาณ 17.30 น. ของวันเดียวกัน นายนิพนธ์ วิสุทธาภรณ์ กับพวก ได้เข้าไปในโรงคัดบรรจุทุเรียน แผงน้องเอ จากนั้นได้ตรวจยึดทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง จำนวน 40 ลูก จาก น.ส.เนตรนภา แปงพัว  ผู้แสดงตนเป็นผู้ครอบครอง ขณะบรรจุในกล่องกระดาษเพื่อเตรียมส่งออกไปขายประเทศจีน และได้นำทุเรียนดังกล่าวส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองจันทบุรี ร้องทุกข์กล่าวโทษ พนักงานสอบสวนได้รับไว้เป็นคดีอาญาที่ 660/2564 พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหา ให้มาพบในวันที่ 31 มี.ค.64 เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป หากผิดจริง จะถูกดำเนินคดีจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ

3.พื้นที่ สภ.นายายอามเมื่อวันที่ 28 มี.ค.64  มีเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง โดยนายนิพนธ์ วิสุทราภรณ์ ร่วมกับ เจ้าพนักงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายธัญสิทธิ์ ชาติวิริยะพงษ์กับพวกรวม 3 คน และ พ.ต.ต.ชนินท์วิชญ์ แสงสุวรรณ สวป.สภ.นายายอาม ได้ร่วมกันตรวจสอบโรงงานคัดแยกสินค้าเกษตร (ล้งมาโนช (ระยอง)) ต.วังโตนด อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ผลการตรวจสอบพบทุเรียนพันธุ์ชะนีด้อยคุณภาพ จำนวน 192 ลูก ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด คือ 20,28 เปอร์เซ็นต์ (มาตรฐานที่กำหนด 30 เปอร์เซ็นต์) พบนายสืบพงศ์ สำเร็จ ผู้จัดการล้งมาโนช (ระยอง) แสดงตัวเป็นผู้ครอบครองล้งมาโนช (ระยอง) และยินยอมให้ตรวจยึดอยู่ที่ล้งดังกล่าวต่อมาเมื่อวันที่ 30 มี.ค.64 นายสืบพงษ์ สำเร็จ ได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและรับทราบข้อกล่าวหา “พยายามขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้น อันเป็นเท็จ” นายสืบพงษ์ฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสำนวนการสอบสวนตามลำดับต่อไป

4.พื้นที่ สภ.มะขามเมื่อวันที่ 29 มี.ค.64 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.2 และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.มะขาม ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหา จำนวน 3 คน ดังนี้ 1.นายธวัชชัยร หรือแจ็ค เปรมปรีชา อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 224/3 หมู่ 1 ต.มะขาม อ.มะขามจ.จันทบุรี 2.นายนนทวัฒน์หรือวัต รุประมาณ อายุ 19 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36/19 หมู่ 5 ต.ปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี3.นายชยางกูรหรือแฟ้ม เปรมปรีชา อายุ 15 ปี อยู่บ้านเลขที่ 224/3 หมู่ 1 ต.มะขาม อ.มะขาม จ.จันทบุรี โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะหรือรับของโจร และเสพยาเสพติดโทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) โดยผิดกฎหมาย”พร้อมตรวจยึดของกลาง ประกอบด้วย

1.ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จำนวน 45 ลูก

2.ทุเรียนพันธุ์นวลทองจันทร์ จำนวน 10 ลูก

3.รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อยามาฮ่า สีน้ำตาล เลขทะเบียน ขจพ 531 จันทบุรี จำนวน 1 คัน

4.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ สีน้ำเงิน ทะเบียน บม 5280 จันทบุรี จำนวน 1 คัน

5.มีดตัดทุเรียน จำนวน 1 เล่ม

ผู้ต้องหาทั้ง 3 คน ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาพฤติการณ์แห่งคดี ก่อนเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งจากนายไชยา ศรีบุษญ์ เจ้าของสวนทุเรียนว่ามีคนร้ายลักลอบตัดทุเรียนในสวนเป็นประจำในช่วงเวลากลางคืน ต่อมาตามวันเวลาที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ไปตรวจสอบบริเวณเพิงพักไม่มีเลขที่ หมู่ 10 ต.ปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี พบผู้ต้องหาอยู่ในที่เกิดเหตุและมีลักษณะมั่วสุม จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่และขอทำการตรวจปัสสาวะ เบื้องต้นผลเป็นบวก และสอบถามเรื่องการลักลอบตัดทุเรียน ผู้ต้องหาทั้ง 3 คนให้การรับสารภาพว่าได้แอบลักลอบตัดทุเรียนจากสวนของนายไชยาฯจริงและรับว่าได้ทำการลักทรัพย์ทุเรียน มาจำนวน 5 ครั้งแล้ว และพาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปตรวจยึดทุเรียนของกลางที่ตัดแล้วไปซุกซ่อนบริเวณใกล้เคียง จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินตามกฎหมายต่อไป

คณะแพทยศาสตร์ มข. เปิดตัวแอพพลิเคชั่นครบ จบในที่เดียวตอบโจทย์ยุคไอที ที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทุกวัน สะดวก สบาย รวดเร็ว เพียงแค่ปลายนิ้ว

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 30 มี.ค.2564 ที่บริเวณชั้น 1 อาคารกัลยานิวัฒนานุสรณ์ รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย ศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ร่วมกันเปิดตัวแอพพลิเคชั่น "MDKKU CARE แอพเดียวจบ ครบทุกบริการ"  ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ มข. ได้จัดทำขึ้น ท่ามกลางความสนใจจากประชาชนที่มาขอรับบริการและประชาชนจำนวนมาก

รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มข. กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน  รพ.ศรีนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลทีมีผู้ป่วยมาใช้บริการจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งการรักษาพยาบาลในแต่ละรายก็มีความยากง่ายแตกต่างกัน และมีผู้ป่วยที่มารอเข้ารับบริการทางการแพทย์และธุรกรรมต่าง ๆ เป็นเวลานาน แอปพลิเคชั่น "MDKKU CARE" ที่ รพ.ฯ ได้จัดทำขึ้นนั้น จะช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น ทั้งในเรื่องการทำนัดตรวจกับแพทย์ การทำประวัติกับโรงพยาบาล การเช็คอินก่อนเข้าตรวจผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งข้อดีของแอปพลิเคชันนี้จะช่วยลดขั้นตอนและลดเวลาในการรอรับบริการต่าง ๆ รวมทั้งการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันและตู้ชำระเงินอัตโนมัติ ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ทำได้ง่าย สะดวกต่อการเข้ารับบริการของผู้ป่วย

" รพ.ฯ ได้รับความร่วมมืออันดีจากธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาแอปพลิเคชันร่วมกัน โดยมีความเชื่อมั่นว่าแอปพลิเคชัน MD KKU จะเป็นผู้ช่วยสำคัญในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางการแพทย์และธุรกรรมทางการเงินร่วมกันได้เป็นอย่างดี MDKKU CARE  จะอำนวยความสะดวก ในการเข้ารับบริการ ของ ประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีนครินทร์  ตอบโจทย์ life style คนรุ่นใหม่ มีฟังก์ชั่นต่างๆมากมาย ซึ่งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ได้ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) พัฒนาแอปพลิเคชันที่จะตอบโจทย์การทำธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมทางการแพทย์ ในแอปเดียว ภายใต้ชื่อ “MDKKU CARE”

รศ.นพ.อภิชาติ กล่าวต่ออีกว่า  MDKKU CARE นับว่านวัตกรรมครั้งสำคัญในโรงพยาบาล ที่สามารถทำธุรกรรมทางการแพทย์อย่าง นัดตรวจ เช็คอินก่อนพบแพทย์โดยไม่ต้องวางบัตร เลื่อนนัดด้วยตัวเอง ทำประวัติสร้างเวชระเบียนอย่างง่าย ผนวกกับการทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกันอย่าง การจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน และตู้ชำระเงินอัตโนมัติ ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นตลอดการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล

ขณะที่ นพ.ไพฑูรย์ ประฏิภาณวัตร  ผู้ช่วยฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์กลางบริการสุขภาพ รพ.ศรีนครินทร์ กล่าวว่า  แอพพลิเคชั่นดังกล่าว จะเป็นการอำนวยความสะดวก ในการเข้ารับบริการ ของ ประชาชนที่มารับบริการ ซึ่งมีฟังก์ชั่น ใช้แทนบัตรผู้ป่วยแสดงรายการนัดพร้อมการแจ้งเตือนและสามารถตั้งการแจ้งเตือนได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะเตือนล่วงหน้า 1 วันหรือ 1 สัปดาห์  เพื่อเพิ่มความสะดวกในการมารับบริการ และที่ห้องบัตรสามารถดูประวัติการรักษาครั้งล่าสุดและดูย้อนหลังได้ 6 เดือน แสดงรายการแพ้ยาที่บันทึกไว้ที่ รพ.ศรีนครินทร์ ระบบคิวห้องจ่ายยาจะแสดงบน แอพพลิเคชั่น  ตรวจสอบสิทธิการรักษาด้วยตนเอง เพื่อลดขั้นตอน และชำระค่าบริการผ่านแอพพลิเคชั่น โดยไม่ต้องรอคิวจ่ายเงิน ซึ่งเปิดให้ชำระได้ผ่านบัตรเครดิต ส่วนการชำระผ่านคิวอาร์โค้ด  และ โมบาย แบงค์กิ้ง กำลังอยู่ระหว่าง ขอเปิดบริการกับทางธนาคารอีกด้วย

สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัดเวทีสัมมนา EV 100 แสดงเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าอังกฤษ พร้อมอบรมเมืองอัจฉริยะมุ่งสู่เวที COP ครั้งที่ 26

ที่ โรงแรมสยามเบย์ชอร์ พัทยา จ.ชลบุรี นายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นายรณกิจ เอกสิงห์ รองนายกเมืองพัทยา นาย ริชาร์ด พอร์ทเตอร์ ที่ปรึกษาพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ อุปนายกฯ ฝ่ายวิชาการ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมเปิดงาน EV 100 Roadshow และการประชุมเชิงปฏิบัติการ UK-Thailand Smart City ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนเข้าร่วม

สำหรับงานงาน EV 100 Roadshow และการประชุมเชิงปฏิบัติการ UK-Thailand Smart City จัดขึ้นเพื่อขยายความร่วมมือและสร้างพันธมิตรเมืองอัจฉริยะระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย ตลอดจนแนะนำหนังสือ "คู่มือเมืองอัจฉริยะ” ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอภาพรวมของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย รวมถึงกรณีศึกษาและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของสหราชอาณาจักรที่อาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย

รวมทั้งผลักดันแคมเปญยานยนต์ไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ ร่วมกับการสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงต้องเกิดการพัฒนาเมืองแบบควบคู่กัน และนับเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดตัวแคมเปญ EV100 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยมุ่งส่งเสริมความร่วมมือกับเอกชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในด้านยานยนต์และโครงสร้างพื้นฐาน

นอกจากนี้ทางสถานทูตฯยังได้ร่วมกับบริษัทชั้นนำ เพื่อนำเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าจากสหราชอาณาจักร มาจัดแสดงให้กับผู้ร่วมงานได้ชมไม่ว่าจะเป็น รถยนต์จากัวร์ รถเอสยูวีพลังงานไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยม จักรยาน ยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นแอพลิเคชั่นเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่มีเป้าหมายจะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% ในอนาคต รวมถึงรถแท็กซี่สีน้ำเงินสุดคลาสสิคจาก ทาง Asia CABB รถต้นแบบ “ลอนดอนแท็กซี่” และสุดท้ายคือการผสานเทคโนโลยีแผ่นโซลาร์ยืดหยุ่นที่มีน้ำหนักเบาสำหรับรถตุ๊กตุ๊ก จากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดหนังสือคู่มือได้ที่ https://eu.eventscloud.com/ehome / index.php?eventid=200216484&


ภาพ/ข่าว อนันต์ สุขวัฒนะ / เอกชัย สุขวัฒนะ (ผู้สื่อข่าวภูมิภาค พัทยา จ.ชลบุรี)

ทหารพราน เริ่มทยอยส่งกลับผู้อพยพแล้วบางส่วน โดยห้ามสื่อมวลชนเข้าพื้นที่

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 มีรายงานข่าวว่า ชาวบ้านจากรัฐกะเหรี่ยง จำนวน 76 คน ได้อพยพมายังฝั่งไทย ก่อนถึงบ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยมี 16 ครอบครัว เป็นชาย 46 คน ผู้หญิง 30 คน ซึ่งเป็นเด็ก 15 คน  โดยทั้งหมดข้ามแม่น้ำสาละวิน มาถึงเวลาประมาณ 15.00 น.ของวันที่ 29 มีนาคม และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสาละวิน และผู้ใหญ่บ้าน เข้าไปตรวจสอบ โดยให้พักอยู่บริเวณจุดพักริมน้ำสาละวิน และมี อสม.เข้าไปคัดกรองโควิด-19 และจัดโซนที่พักอาศัยที่ปลอดภัยให้ไว้ชั่วคราว ก่อนมีนโยบายว่าดำเนินการอย่างไร

บรรดาสื่อมวลชนหลายสำนัก ทั้งสื่อไทยและต่างประเทศ ได้ลงพื้นที่เพื่อเข้าหาข้อเท็จจริงในจุดที่ชาวบ้านอพยพเข้ามาซึ่งต้องเดินทางโดยรถยนต์ผ่านบ้านแม่สามแลบ แต่ทหารพราน ทพ.36 ที่จุดตรวจบ้านแม่สามแลบ ไม่ให้สื่อมวลชนหรือบุคคลภายนอกเข้าไปในพื้นที่ โดยให้เหตุผลว่ายังมีสถานการณ์ความมั่นคงและสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีการปิดสถานที่ท่องเที่ยว จึงไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปได้ รวมทั้งมีคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูงยังไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ ทำให้บรรดาสื่อมวลชนต้องนั่งรอกันอยู่ที่บ้านแม่สามแลบ

มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสถานการณ์ผู้อพยพจากค่ายอิตูท่า ที่อพยพมายังฝั่งไทย ที่ห้วยแม่สะเกิบ และสบเแงะ ตั้งแต่วันที่ 27-28 มีนาคม จำนวนกว่า 3,000 คน และได้มีการผลักดันกลับไปฝั่งศูนย์พักพิงอิตูท่า รัฐกะเหรี่ยง ตั้งแต่เย็นวันที่ 29 มีนาคมนั้น ในช่วงเข้าวันนี้ยังคงมีการผลักดันชาวบ้านกลับอย่างต่อเนื่อง โดยผู้อพยพได้ถ่ายภาพยืนยันการถูกบังคับส่งกลับไว้ โดยกลุ่มผู้อพยพที่จุดสบแงะ จำนวนกว่า 300 คน ได้กลับไปยังศูนย์พักพิงอูแวโกลเมื่อเช้านี้ ส่วนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามอิตูท่า ได้ทยอยกลับไปเช่นกัน ในขณะที่เมื่อคืนกลุ่มที่กลับไปแล้ว ไม่กล้านอนในบ้าน เพราะยังหวาดกลัวเสียงระเบิดจากการโจมตีทางอากาศ จึงไปหลบอยู่ในป่ารอบ

ข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บจากการถูกโจมตีของทหารพม่า ที่หมู่บ้านเดปุนุ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของกองพล 5 KNU จำนวน 6 คน ตั้งแต่คืนวันที่ 27 มีนาคม ได้เดินทางมาถึงที่บ้านแม่นือท่า ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน แล้ว กำลังขออนุญาตทหารไทย ล่องเรือในแม่น้ำสาละวิน เพื่อนำตัวมารักษาที่โรงพยาบาลในฝั่งไทย โดยล่าสุด มีผู้ลี้ภัยที่ถูกกับระเบิด ได้รับบาดเจ็บเพิ่มอีก 1 คน รวมเป็น 7 คน กำลังประสานขอความช่วยเหลือในการนำมารักษาที่ฝั่งไทย ซึ่งมีสถานพยาบาลใกล้ที่สุด คือที่ โรงพยาบาลส่งเสริมส่วนตำบลแม่สามแลบ และมีท่าเรือนำส่ง และได้มีการประสานงานเพื่อขอความช่วยเหลือทางสาธารณสุขมาแล้ว

 


ภาพ/ข่าว  เกียรติศักดิ์  รักสัตย์ (ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน CR.ข้อมูล – ภาพจากสำนักข่าวชายขอบ)

กองทัพประชาชนปกป้องสถาบัน บุกศาลากลางจังหวัด พบผู้ว่าฯ เอาจริง กลุ่มจาบจ้วงสถาบัน พร้อมส่งบันทึกลับรายชื่อ 5 นักวิชาการชื่อดัง มข. หนุนหลังกลุ่มผู้ชุมนุมที่ขอนแก่น

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 มี.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณด้านหน้าศาลากลาง จ.ขอนแก่น ได้กลุ่มคนขอนแกนปกป้องสถาบันและกลุ่มกองทัพประชาชนปกป้องสถาบัน ในเขต จ.ขอนแก่น จำนวนมาก พร้อมใจกันใส่เสื้อสีเหลือง นำพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 รวมทั้งธงชาติไทย รวมตัวกันร่วมร้องเพลงสดุดีจอมราชา พร้อมทั้งยื่นหนังสือต่อนายสมศักดิ์  จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบ จำนวนมาก

น.ส.วรพรรณ  เบญจวรกุล แกนนำกลุ่มคนขอนแก่น ปกป้องสถาบัน กล่าวว่า การออกมารวมตัวกันครั้งนี้สำคัญที่สุดคือการยื่นจดหมายเปิดผลึกจากกองทัพประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และจากกลุ่มคนขอนแก่นปกป้องสถาบัน ในการให้ทางจังหวัดในฐานะกำกับปกครองพื้นที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและเข้มงวดกับการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมทุกกลุ่มที่แสดงออกถึงการใส่ร้าย จาบจ้วง ก้าวล่วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ชัดเจน จากการชุมนุมในหลายครั้งที่ผ่านมา

“ เรามีการเข้าพบกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยขอนแกนแล้วเพื่อให้ดำเนินการอย่างจริงจังกับกลุ่มบุคคลที่กระทำการดังกล่าว และวันนี้เรามาแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการต่อต้าน ไม่เห็นด้วยอย่างสันติวิธีในการที่กลุ่มคนดังกล่าว โดยเฉพาะนักวิชาการ เด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ชุมนุมที่ออกมาเคลื่อนไหวสร้างความแตกแยกและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทำให้เกิดการเข้าใจผิดอย่างมาก ถือเป็นบ่อนทำลายรากเหง้าทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของความเป็นไทย และเป็นปัญหาต่อความมั่นคงของชาติไทย "

ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ที่ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ขณะเดียวกันในการรวมตัวกันวันนี้ได้มีการส่งรายชื่อนักวิชาการ 5 คนที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนการกระทำการดังกล่าวให้กับทางจังหวัดได้ดำเนินการอย่างเข้มงวด ตามกรอบของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ขณะที่การที่กลุ่มผู้ชุมนุมมีการเปิดเผยว่า แนวร่วม นปช.และกลุ่มคนเสื้อแดง จะออกมาเคลื่อนไหวนั้น ยอมรับว่าขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินหน้าไปด้วยความลำบาก ดังนั้นเมื่อกลุ่มดังกล่าวออกมาจะแสดงถึงความรุนแรงและก้าวร้าวและหวั่นจะเกิดจราจลหรือเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำรอยซึ่งก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน”

ขณะที่นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขอบคุณทุกคนที่ออกมาปกป้องสถาบัน และร่วมแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเอกสารที่ได้รับนั้นจะดำเนินการตรวจสอบและดำเนินการตามระเบียบ ข้อบังคับ อย่างละเอียดต่อไป

Sukhothai Crafts and Folk Art “สังคโลกอาร์ต” แหล่งเรียนรู้การทำสังคโลกของคนรุ่นใหม่

สังคโลกของจังหวัดสุโขทัย ได้สืบทอดศิลปะและภูมิปัญญาการทำเครื่องสังคโลกมานานมากกว่า 700 ปี และยังเป็นสื่อของการบอกเล่าเรื่องราวในอดีต ถึงความเจริญและความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักรสุโขทัยที่รุ่งเรือง จวบจนทุกวันนี้ การตกแต่งลวดลายบนสังคโลกเฉพาะของสุโขทัยคือเป็นรูปปลากา กงจักร และดอกไม้ จะเป็นสีเขียวและสีคราม เป็นสีนิยมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอดีต ในสีของเครื่องสังคโลกของสุโขทัย

และคุณครูผู้รักการเขียนลายสังคโลกด้วยมือ และผลิตชิ้นงานสังคโลก เซรามิคที่ชำนาญงานในด้านศิลปะลวดลายสังคโลก งานปั้น ขึ้นรูป จากงานดิน “ครูสาว” จันทรา อ่วมพรม อดีตอาจารย์แผนกศิลปกรรมเซรามิค ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยมีลูกศิษย์มากมาย หลายต่อหลายรุ่น ที่ประสบความสำเร็จ เมื่อได้ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของร้าน "สังคโลกอาร์ต" อย่างเต็มตัวแทนการเป็นครูประจำ ด้วยความหลงไหลงานด้านศิลป์สังคโลกแบบลายโบราณ ก็ได้ประยุกต์ลวดลายที่สวยงาม วาดไว้บนชิ้นงานสังคโลก เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวและร้านค้า ที่มาเป็นลูกค้าของร้าน "สังคโลกอาร์ต"

“ครูสาว” กล่าวว่า “สังคโลกอาร์ต เรามีความชำนาญและความชื่นชอบในการปั้นและการวาดลวดลายสังคโลก มีนักท่องเที่ยว และลูกค้าให้ความสนใจ จึงได้จัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างหัตถศิลป์ด้วยตัวเอง โดยให้นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจงานศิลปะด้านนี้ ได้ร่วมกิจกรรมลงมือปั้นและวาดลวดลายเฉพาะของสุโขทัย ลงบนสังคโลก ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนกับกิจกรรมของทางร้าน 

และกิจกรรมการมีส่วนร่วมนี้ของนักท่องเที่ยว นักเรียน และผู้ที่สนใจ ทำให้ได้ร่วม อนุรักษ์ และสืบสานงานหัตถศิลป์ ให้คงอยู่สืบคู่สุโขทัย คนไทย เยาวชนและคนรุ่นใหม่ต่อไป และเรายังออกบูธกิจกรรม ออกร้าน เรียนรู้ทางกิจกรรมต่าง ๆ ของงานศิลป์และงานอีเวนท์ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านฝึกวิชาชีพตามงานสำคัญต่าง ๆ ด้วยเพื่อเผยแพร่งานศิลปะของงานช่างของของคนสุโขทัย”

ภาพ/ข่าว  เสนิศชนันต์ สุขกสิกร
 

อำเภอศรีสัชนาลัย เชิญชวนเที่ยวงานประเพณี ‘แห่ช้างบวชนาค ชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว ปีที่ 176’

ประชาชนชาวไทยพวนหาดเสี้ยวส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และนิยมบรรพชาอุปสมบทบุตรหลานของตน โดยการแห่นาคด้วยขบวนช้างซึ่งเป็นประเพณีที่มีการสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษแต่โบราณ ถือปฏิบัติกันมาถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 176 ตามคติความเชื่อเรื่องพระเวชสันดรชาดก โดยเรียกการบรรพชาอุปสมบทแห่นาคด้วยขบวนช้างหรือขี่ช้างแห่นาคว่า “บวชช้าง” อันหมายถึงการจัดงานบวชซึ่งเรียกว่า “นาคขี่คอช้าง” พร้อมด้วยญาติมิตรนำอัฐบริขารขี่บนหลังช้าง แห่เป็นริ้วขบวนของชาวไทยพวนหาดเสี้ยวนั่นเอง

อำเภอศรีสัชนาลัยและเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน จึงได้จัดงานประเพณีแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชน อีกทั้งเพื่อเป็น การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดสุโขทัยตลอดจนรวมไปถึงการสร้าง   การมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความสามัคคีของประชาชนในพื้นที่
นายนิรันดร์  พรมละ ปลัดอาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอศรสีชนาลัย จ.สุโขทัย เปิดเผยว่า งานประเพณีแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว ประจำปี 2564 กำหนดจัดขึ้น ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2564 นักท่องเที่ยว และประชาชนผู้เข้าร่วมชมงาน จะได้รับชมพิธีทำขวัญนาคแบบไทยพวนหาดเสี้ยว ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และการแสดงการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยพวน รวมถึงพิธีบวงสรวงศาลเจ้าวัด (เจ้าปู่กื้อ) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยพวนหาดเสี้ยวเคารพบูชา 


นอกจากนี้จะได้ชมริ้วขบวนแห่ช้างอันยิ่งใหญ่ตระการตา นำหน้าขบวนด้วยหญิงชายเต้นรำวงนำขบวนแตรวงหรือกลองยาว ถือเทียนเอก เทียนอนุศาสน์ กรวยอุปัชฌาย์ ผ้าไตร อัฐบริขาร และเครื่องไทยธรรม เดินนำหน้าขบวนช้าง และมีอาสาสมัครพี่เลี้ยงร่วมขบวน ทำหน้าที่พยาบาลคอยให้ความช่วยเหลือและบริการน้ำดื่มแก่ผู้ร่วมขบวน ซึ่งสะท้อนภาพให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่บ้านเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง 


อำเภอศรีสัชนาลัยจึงขอเชิญทุกท่านเที่ยวชมงาน ประเพณีแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวน   บ้านหาดเสี้ยว ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2564 ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ที่ทำการปกครองอำเภอศรีสัชนาลัยโทร. 0 - 5567 - 1466 


ภาพ/ข่าว  พงศ์เทพ สาคร (สุโขทัย)
 

ปราจีนบุรี “สาธิต” หนุน “แล็บชาวบ้าน” อภัยภูเบศรเสริมแกร่งเกษตรเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก

วันนี้ 29 มี.ค.64   ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ปราจีนบุรี  รายงานว่า  ดร.สาธิต ปิตุเตชะ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมาที่รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรเบื้องต้นได้รับการต้อนรับและแสดงความขอบคุณจากพยาบาล-แพทย์แผนไทยในการได้รับบรรจุเป็นข้าราชการช่วงสถานการณ์โควิด -19 กว่า 130 คน ก่อนเดินทางรับฟังเรื่องรัฐวิสหกิจชุมชน รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร  หนุนการสร้างแล็บชาวบ้าน   


ดร.สาธิต กล่าวถึงนโยบายสำคัญของรัฐบาล ในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันจากสินค้าเกษตร โดยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น ประเทศไทยได้รับการยอมรับถึงศักยภาพด้านการแพทย์เป็นอย่างมากในส่วนของสมุนไพรนั้นก็มีการศึกษาวิจัยฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพโดยเฉพาะสมุนไพรนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลตั้งเป้าในการพัฒนา เพราะจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศเป็นอย่างมาก   


ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการวิจัย สร้างความรู้จากประสบการณ์การใช้ของคนไทย และสร้างให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน ตั้งแต่การปลูก การผลิต การแปรรูปสมุนไพรขั้นต้นนั้น อันจะทำให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีมาตรฐาน และมีโอกาสแข่งขันในตลาดโลกได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศเกิดการพัฒนาได้ 

โดยการมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านสมุนไพรของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรครั้งนี้ ทางโรงพยาบาลได้นำเสนอโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ  โดยมีเป้าหมายในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตร ให้สามารถต่อยอดเพิ่มมูลค่าสมุนไพร และยังเป็นการช่วยส่งเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจด้านตลาดสมุนไพรไทยเติบโตได้”พญ.โศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า “ โปรเจ็กต์สร้างโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ ให้เป็น แล็บชาวบ้าน นั้นอภัยภูเบศรมีความตั้งใจอยากให้เกิดขึ้นโดยจะใช้ พื้นที่หาดยาง จ.ปราจีนบุรี ที่ได้รับงบประมาณมาส่วนหนึ่งแล้วเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรครบวงจร   เพื่อให้ชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ปลูกได้มาศึกษาพื้นฐานตั้งแต่ การปลูกสมุนไพรเบื้องต้น การจัดการ การผลิตและแปรรูปขั้นพื้นฐาน เป็นแนวทางในการช่วยเพิ่มมูลค่ากับสมุนไพร มากกว่าแค่ให้พวกเขาทำได้แค่การปลูกเท่านั้นแต่ยังต้องใช้งบประมาณอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้โครงการสมบูรณ์ ในอนาคตเราคิดว่าสมุนไพรจะเป็นคำตอบให้กับสังคม ทั้งในแง่ของการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร และบริการ จะสามารถช่วยสร้างเม็ดเงินและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ และการพัฒนาสมุนไพรให้ตอบโจทย์สังคมยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ยุคสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ มีสุขภาพดี 
โดยตั้งเป้าการส่งเสริมการพัฒนาสมุนไพรที่คิดว่าเกษตรกรมีศักยภาพ และสามารถต่อยอดเองได้ใน 5 กลุ่มด้วยกัน คือ สมุนไพรเพื่อสมองดี ด้วย บัวบก ตำรับกลีบบัวแดง สมุนไพรปรับสมดุลอารมณ์ เช่น กัญชา กัญชง สมุนไพรดูแลหัวใจดี คือ บัวหลวง สมุนไพรที่ดูแลกลุ่มกระดูกและข้อ เช่น ขมิ้นชัน เพชรสังฆาต และสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกันด้วยฟ้าทะลายโจร เป็นต้น โดยการพัฒนาสมุนไพรนี้เราไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ทางโรงพยาบาลได้ศึกษาวิจัยมาก่อนหน้าแล้วส่วนหนึ่ง ดังนั้นหากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ก็จะสามารถดำเนินการได้ภายในปี 65”


และในขณะนี้คือ  การผลิตน้ำมันกัญชาเพื่อการรักษาโรค , การส่งเสริมเศรษฐกิจด้านอาหาร  - เครื่องดื่ม  จากกัญชา ตลอดรวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชน...

ภาพ/ข่าว  ลักขณา สีนายกอง
 

ชุมพร ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-16.30 น. นายสุริยา น้ำเงิน โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร  เดินทางมาเป็นประธานในการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ถึงตำบลพุมเรียง อำเภอไชยำ จังหวัดสุราษฎร์ มีพี่น้องในพื้นทีเข้าร่วมจำนวน 60 คน ณ ศาลาประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ว่าการอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 


นายสุริยา น้ำเงิน  กล่าว่า ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง   เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  เป็นระยะทางยาวกว่า 3,148 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งทะเลอ่าวไทย   จำนวน 17 จังหวัด ความยาว 2,055 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด ความยาว 1,093 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หลากหลาย เช่น  เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่นันทนาการและการท่องเที่ยว การทำประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  เป็นต้น ดังนั้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ดี พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้แนวชายฝั่งมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งการตกตะกอนทับถมและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยในพื้นที่ศึกษาเองก็พบว่า มีแนวชายฝั่งที่ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะที่ดินชายฝั่งในหลายบริเวณ โดยตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา มีหน่วยงานราชการทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ตลอดจนเจ้าของที่ดินเอง  ได้ดำเนินการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งหากรูปแบบการ ป้องกันที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม หรือก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมแล้ว ก็จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การประชุมประชำสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  ถึงตำบลพุมเรียง อำเภอไชยำ จังหวัดสุราษฎร์

"อย่างไรก็ดี ทราบว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการกำหนดแนวทางการ จัดการชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด โดยการแบ่งพื้นที่ชายฝั่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ หรือเป็น  “กลุ่มหาด” โดยใช้หัวแหลม หัวเขา หรือปากแม่น้ำ มาเป็นตัวแบ่งขอบเขตของกลุ่มหาด  เพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินงานโครงการ ได้นำเอาแนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย “ระบบกลุ่มหาด” มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ที่ รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้ง  ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดย กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุม  เชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง โดยในครั้งนี้จะเป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์และขี้แจงโครงการ และนำเสนอ “ร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด” ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ มีศักยภาพ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อที่หน่วยงานจะได้นำแนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา และเกิดความยั่งยืนต่อไป ผมขอขอบคุณ กรมโยธาธิการและผังเมืองที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันนี้ และ  ขอขอบคุณหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน  สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เสียสละเวลามาร่วมประชุม " นายสุริยา น้ำเงิน  กล่าวเพิ่มเติม

ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี  (รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร) 
 

ศรีสะเกษ!! สั่งปิดสำนักสงฆ์สอนญาติโยมลามกเสพเมถุน ปฏิบัติธรรมสุดเพี้ยนมุดน้ำกลั้นหายใจสู่ทางบรรลุ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 29 มี.ค. ที่พักสงฆ์ป่าเนื้อนาบุญ ตโพธิ์ศรี อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ พล.ต.ต.ส้นติ เหล่าประทาย ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายเทเวศน์ มีศรี นายอำเภอปรางค์คู่ พ.ต.อ.พิทักษ์ จันทร์อบ ผกก.สภ.ปรางค์กู่ นางณภัค  เทียนชัย ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดศรีสะเกษ น่ากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เข้าทำการจับกุมตัว พระกรันยา ถาวรธมโม สังกัดวัดถ้ำสระพงษ์ ต.ปรือใหญ่ อ. ขุขันธ์  จ.ศรีสะเกษ

หลังคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุด  โดย พระวินัยเมธี) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุด) ออกแถลงการณ์การสอขอธิกรณ์ เรื่องการระงับอธิกรณ์ พระกวันยา ถาวรธมโม ที่พักสงฆ์เนื้อนาบุญ สอนผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัย ซึ่งค่าสอนที่ได้สั่งสอนอบรมสั่งสอน แก่ศิษยานุศิษย์นั้นเป็นศาสอนหรืออุบายธรรมที่ผิดเพี้ยนไป จากพระธรรมคำสอนที่ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว  ซึ่งพระกรันยา ถาวรธมโม ได้อบรมให้ศิษยานุศิษย์ด้วยการกล่าววาจาเทศนาให้น้อมไปในทางเสพกามคุณและการสอนศิษยานุศิษย์ ให้เชื่อว่าการปฏิบัติธรรมสมาธิด้วยการกลั้นลมหายใจดำน้ำในตุ่ม จะช่วยให้บรรลุมรรคผลได้ และคารใช้วาจาแนะนำบอกล่าวอุบายแก่ศิษยานุศิษย์ที่มาปฏิบัติธรรม ให้เป็นคู่รักกันได้ถ้าตนเองไม่มีคู่รัก

นอกจากนี้ยังสอนให้เชื่อว่าเมื่อบรรลุมรรคผลแล้วมีการร่วมกันจัดงานกิจกรรมการบันเทิ้งรื่นเริง ฟ้อนรำ ขับบรรเลงเพลงดนตรีภายในบริเวณอารามที่ถือว่าเป็นวัค จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ว่าพระกรันยา แนะนำสั่งสอนอบรมให้ศิษยานุศิษย์ได้เชื่อถือและปฏิบัติธรรมผิดเพี้ยนไปตามวาจาที่ตนได้สอนไว้และยังได้บันที่กลงไปในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ด้วย

ข่าว/ภาพ   บุญทัน  ศรีสะเกษ

ราษฎรเมียนมาอพยพหลบหนีเข้าเขตไทยด้านอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

โดยเมื่อ 28 มี.ค.2564  ได้ มีราษฎรเมียนมาเชื้อสายกะเหรี่ยงจากฝั่ง สหภาพเมียนมา ได้หลบหนีการสู้รบข้ามมายังฝั่งไทย ด้านอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน  3 จุด รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,900 คน ได้แก่

       1. จากพื้นที่ บ.เอเค อ.บือโส๊ะ จ.มือตรอ (จังหวัดจัดตั้ง KNU) รัฐกะเหรี่ยง ด้านตรงข้ามฝั่งไทย บริเวณ ฐานฯออเลาะ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยเข้าพักอาศัยบริเวณ ฝั่งไทย  ประมาณ 300 คน

       2.  จากพื้นที่ควบคุมผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมา ห้วยอูแวโกร ด้านตรงข้ามฝั่งไทยบริเวณ บ.แม่ดึ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียงฯ โดยเข้าพักอาศัยบริเวณ พิกัด  ประมาณ 300 คน

       3. จากพื้นที่ควบคุมผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเมียนมา ห้วยอีทูโกร ด้านตรงข้ามฝั่งไทยบริเวณ ฐานฯ แม่สะเกิบ บ.ห้วยกองแป ต.แม่คง อ.แม่สะเรียงฯ   โดยเข้าพักอาศัยบริเวณ   ห้วยอุมปะ ประมาณ 1,300 คน

       ทั้งนี้ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า ทมม. จะปฏิบัติการตอบโต้ โจมตีทางอากาศพื้นที่ควบคุม กองกำลังKNLA พล.น้อย  5 ของกลุ่ม KNU อีกทำให้ราษฎรหวาดกลัวและวิตกกังวลต่อความปลอดภัย จึงได้พากันอพยพหลบหนีเข้ามายังฝั่งไทย

นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยถึงสถานการณ์เกี่ยวกับผู้อพยพ ฯ ว่า สถานการณ์ในประเทศพม่า ได้เริ่มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้อพยพ หลบหนีเข้ามาอาศัยในไทย ล่าสุด จำนวน 2,194 คน และคาดว่าน่าจะมีการหลบหนีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามในตอนนี้ ทางจังหวัดจะต้องรอคำสั่งจากรัฐบาลในเรื่องการเข้าไปดูแลผู้ลี้ภัยกลุ่มดังกล่าว ซึ่งได้มีการวางแผนเตรียมพื้นที่รองรับไว้แล้ว ที่อำเภอขุนยวม แต่เป็นพื้นที่คนละจุดกัน ซึ่งตอนนี้ผู้อพยพดังกล่าว ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารพราน จากกรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง จัดกำลังเข้าไปควบคุมดูแลในเบื้องต้นแล้ว

ภาพ/ข่าว เกียรติศักดิ์  รักสัตย์ (ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top