Saturday, 5 July 2025
NEWS FEED

สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่มีครูคนหนึ่งได้พาดพิงถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ด้วยข้อความเสียดสีเกลียดชัง โดยมีข้อความว่า

ตามที่ ได้มีการพาดพิงถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นั้น สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง ในฐานะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นอดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดังนี้

1.พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร โดยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ลงมติให้ท่านมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนศรี โดยเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน ยาวนานถึง 8 ปีเศษ และท่านได้ปฏิเสธการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคำว่า "ผมพอแล้ว" อันถือได้ว่าเป็นอมตวาจา ในสถาบันการเมืองของประเทศไทย

2. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นทหารนักประชาธิปไตย มิได้มีความคิดเป็นเผด็จการไม่ว่าในหนทางใด ๆ จะเห็นได้จากคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ในการนำผู้มีอุดมการณ์ในทางตรงกันข้ามกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้มาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กลับเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จวบจนปัจจุบัน

3.พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ดำรงตำแหน่ง องค์มนตรี และเป็นประธานองคมนตรี และเป็นรัฐบุรุษ ที่เป็นตัวอย่างแห่งความชื่อสัตย์ สุจริต ตลอดจนท่านถึงแก่อสัญกรรม

‘อลงกรณ์’ เผยบอร์ดเกลือเห็นชอบโครงการรักษาเสถียรภาพราคาเกลือ และโครงการสินเชื่อชะลอการขายเกลือปีการผลิต 2565/66 รองรับปริมาณเกลือทะเลปีหน้า 5 แสนตัน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 5/2565  ว่า ผลการดำเนินการการพัฒนาเกลือทะเลในปี2565 รวมถึงกิจกรรมการสืบทอดและฟื้นฟูประเพณีทำขวัญเกลือและพิธีแรกนาเกลือ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของเกลือทะเลไทยและเป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมSoft power ตลอดจนการคุ้มครองเกลือทะเลไทยจากการค้าระหว่างประเทศ การแสวงหาโอกาสในการส่งออก การพัฒนามาตรฐานเกลือ เพื่อเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค รวมทั้งการใช้ผลผลิตจากนาเกลือไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ขี้แดดนาเกลือเพื่อเป็นปุ๋ยให้กับพืช
 
ตลอดจนการแปรรูปเกลือเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เกลือ เช่น เกลือสปา สบู่เกลือ การให้ความสำคัญของการสร้างแบรนด์ การพัฒนานาเกลือเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว การช่วยเหลือเกษตรกรกรณีเกิดภัยพิบัติ การสนับสนุนแหล่งสินเชื่อเงินทุนให้กับเกษตรกร ฯลฯ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมและขอบคุณคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยและหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการการทำงานเชิงรุกจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ตลอดจนการสร้างระบบและโครงสร้างการพัฒนาเกลือทะเลไทยอย่างยั่งยืน มีการจัดตั้งสถาบันเกลือทะเลไทยซึ่งเป็นศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์AIC)ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกลือ ในการยกระดับการพัฒนาเกลือทะเลไทยสู่มาตรฐานสากล
 
   นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงาน (1) ผลการดำเนินงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) การคาดการณ์ปริมาณผลผลิตเกลือทะเล ปีการผลิต 2565/66 คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตเกลือทะเลรวม 7 จังหวัด จำนวน 531,201.87 ตัน โดยจังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดที่มีผลผลิตเกลือทะเลมากที่สุด จำนวน 219,292 ตัน คิดเป็นร้อยละ 41.27 รองลงมา ได้ สมุทรสาคร จำนวน 208,674.84 ตัน คิดเป็นร้อยละ 39.28 จังหวัดสมุทรสงคราม 93,840 ตัน จังหวัดชลบุรี 4,015.75 ตัน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2,520.27 ตัน จังหวัดปัตตานี 2,310.01 ตัน และจังหวัดจันทบุรี 549 ตัน  (3) ความก้าวหน้าการดำเนินงานการพัฒนาเกลือทะเลไทย สถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
 
สถาบันเกลือทะเลไทย ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเกลือทะเลไทยและการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ปี 2559 จนปัจจุบัน ยกระดับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 Kick off เป็น “ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center หรือ AIC)” ให้เป็นแหล่งบริการเกษตรกร ที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร สามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน สำหรับในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
 
(1) การสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ด้านแรงงานเพิ่มความสะดวก แม่นยำ และง่ายต่อการบริหารจัดการ ระบบจัดการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยรถขนเกลือรถกลิ้งนาเกลือไร้คนขับ (2) การสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปการวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ เกลือคุณภาพสูงน้ำแร่ เซรั่มบำรุงผิว สบู่ดอกเกลือ (3) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม เกษตรภูมิปัญญาและระบบบริหารสถานที่ท่องเที่ยวการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยท้องถิ่นสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว ตลอดจนบริหารจัดการเส้นทางและจำนวนนักท่องเที่ยวได้ด้วยตนเองบนเส้นทางสายเกลือ การยกระดับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น พิธีแรกนาเกลือทำขวัญเกลือ (4) การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้การวิจัยและฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบรวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น โมเดล Zero waste การใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือ ปุ๋ยอินทรีย์ขี้แดดนาเกลือสำหรับพืชผลต่าง ๆ เกลือน้ำทะเลเทียมเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 
 
ที่ประชุมได้พิจารณา (1) เห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อชะลอการขายเกลือ ปีการผลิต 2565/66โดยเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมในครั้งที่แล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอปริมาณเกลือทะเลไม่ให้ออกสู่ตลาดพร้อมกัน บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนาเกลือด้านค่าใช้จ่ายในครอบครัวและหนี้สิน ตลอดจนยกระดับราคาเกลือให้สูงขึ้นและรักษาราคาเกลือให้มีเสถียรภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานอื่น ๆ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
(2) แนวการพัฒนาความร่วมมือด้านการตลาดเกลือทะเลไทยในต่างประเทศ  โดยความร่วมมือจากทูตเกษตร (ประเทศเบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา อิตาลี ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น)  เพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือช่องทางการตลาดไปยังต่างประเทศ  เช่น ช่องทางการขยายตลาดไปต่างประเทศด้วยการตลาดออนไลน์ การให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศที่สามารถส่งออก มาตรการสินค้าเกษตรในแต่ละประเทศ ความรู้ทั้งกฎหมายการค้า ภาษี สถิตินำเข้าส่งออกที่น่าสนใจ รวมไปถึงเทคนิคที่สร้างสินค้าให้โดนใจ สามารถเข้าใจ Insight แต่ละประเทศได้ และการเจาะไปที่การตลาดที่เหมาะสมในแบบประเทศนั้น ๆ เป็นต้น เพื่อการสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาดใหม่ และลดผลกระทบกับภาคการเกษตรของไทยเพื่อให้การขับเคลื่อนการสร้างโอกาสในการลงทุนการขยายช่องทางการตลาดเกลือทะเลในต่างประเทศด้วย
 
(3) การใช้นิยามศัพท์ “นาเกลือสมุทร” และ “นาเกลือทะเล” โดยที่ประชุมมีมติใช้คำว่า “นาเกลือทะเล” ซึ่งมีความเหมาะสม และเข้าใจง่ายตรงตามความหมายการทำนาเกลือของเกษตรกร

‘ชัยวุฒิ’ ชวนเที่ยว ‘เทศกาลกินปลาเมืองสิงห์’ ของดีท้องถิ่นช่วยกระตุ้นท่องเที่ยว ‘สิงห์บุรี’

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เป็นประธานพิธีเปิดงานเทศกาลกินปลาของดีเมืองสิงห์ ครั้งที่ ๒๘ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในระหว่างวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ - ๒ มกราคม ๒๕๖๖ ณ บริเวณศูนย์ราชการ จังหวัดสิงห์บุรี ตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสิงห์บุรี และมีการจัดกิจกรรมและการจำหน่ายสินค้าตลอดการจัดงาน ซึ่งการจัดงาน เทศกาลกินปลาของดีเมืองสิงห์เป็นงานสำคัญที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี 

‘พลเอกเปรม ติณสูลานนท์’ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำคนไทยให้รู้จัก “ทดแทนคุณแผ่นดิน” 

จากเรื่องราวของครูสาวคนหนึ่งที่ให้ร้ายและบูลลี่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษและอดีตประธานองคมนตรี ผู้สร้างคุณประโยชน์นานัปการให้เกิดขึ้นกับแผ่นดินไทย ว่าเป็นผด็จการ (เผด็จการยังไง ? ) ปรักปรำเรื่องเพศสภาพ (ตามความเชื่อของครูคนนั้น)  และเรียกบ้านพักของท่านว่าเป็นฮาเร็ม (ซึ่งคุณเคยเข้าไปเห็นจริง ๆ เหรอ) เมื่อโดนกระแสก็ออกมาแก้ตัวว่าการสอนนี้เป็นไปตามหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการ ผมก็ไม่แน่ใจว่าหลักฐานและข้อมูลทางวิชาการของครูสาวท่านนี้เป็นอย่างไร ซึ่งก็อาจจะเป็นความจริงของเจ้าหล่อน แต่ความจริงของผมไม่เหมือนของคุณครูท่านนี้เลยแม้แต่น้อย และความจริงของคนที่เขาศึกษามาอย่างถูกต้องจริง ๆ ก็คงไม่เหมือนคุณครูท่านนั้นเช่นกัน เอาล่ะผมจะเล่าข้อมูลของผมในบทความชิ้นนี้ล่ะ

ผมเกิดที่จังหวัดนครราชสีมา บ้านของผมอยู่หลังศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาและตรงหลังศาลากลางมีอาคารหอประชุมอเนกประสงค์อาคารหนึ่งมีชื่อว่า “หอประชุม เปรม ติณสูลานนท์” ด้วยความเป็นเด็กขี้สงสัย ผมก็เริ่มสนใจชื่อของบุคคลท่านนี้ว่าเป็นใคร มีคุณูปการอะไรหนักหนาถึงได้นำชื่อมาตั้งเป็นอาคาร แล้วผมก็เริ่มหาข้อมูลที่ไม่ต้องรอใครมาสอนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ 

ผมเริ่มต้นจากข้อมูลทั่วไปที่ทุกคนทราบเหมือนกันคือ ท่านเกิดที่สงขลา นามสกุล “ติณสูลานนท์” ได้รับพระราชทานมาจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 บิดาของท่านรับราชการ ชั้นประถมท่านเรียนโรงเรียนวัด มัธยมท่านเรียนที่โรงเรียนมหาวชิราวุธแล้วมาจบที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนจะไปเรียนทหารเป็นนายร้อยเหล่า “ทหารม้า” เคยร่วมรบในสงครามอินโดจีน เคยรบในสมรภูมิเชียงตุง เติบโตในสายยานเกราะ จนติดยศ “พลตรี” ในตำแหน่ง ผบ. ศูนย์การทหารม้า ก่อนไปรับตำแหน่ง “แม่ทัพภาคที่ 2“  ดูแลภาคอีสาน ทหารที่เคยรับราชการเป็นลูกน้องของท่านจะรู้ว่าท่านมีความเด็ดขาด ชัดเจน เข้าขั้นดุ แต่ท่านรักลูกน้องของท่าน ดูแลกันเหมือนลูก ท่านแทนตัวท่านว่า “ป๋า” และเหล่าทหารก็เรียกท่านว่า “ป๋า” กันอย่างไม่กระดากปาก 

มาเรื่องการเมืองของ “ป๋า” กันบ้าง ท่านเข้าสู่การเมืองเพราะผู้บังคับบัญชาแท้ ๆ เพราะท่านเข้าสู่สภาตามตำแหน่งทางทหารในช่วง “เผด็จการ” แท้ ๆ อย่าง “จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์” และ “จอมพล ถนอม กิตติขจร” แล้วก็เข้าสู่วังวนแห่งการรัฐประหารอันมีปฐมเหตุมาจากการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวงในปี พ.ศ.2519 จาก "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ซึ่งครั้งนั้น “ป๋า” เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 และกระชับอำนาจอีกครั้งด้วยการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในปี พ.ศ.2520 จากคณะเดิม โดย “ป๋าเปรม” ดำรงตำแหน่ง "ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก" ซึ่งเอาจริง ๆ ท่านก็ไม่เกี่ยวกับการรัฐประหารโดยตรงเลย แต่ทุกครั้งท่านก็ต้องดำเนินตามยุทธการเพราะมันคือ “หน้าที่ตามสายบังคับบัญชา” ของท่าน (จะว่าผมเข้าข้างท่านก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ) 

ส่วนการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของท่าน เกิดขึ้นด้วยฉันทามติของสภาโดยแท้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจแต่อย่างใด ซึ่งผมก็เชื่ออีกแหละว่าคุณครูท่านนั้นก็ไม่ได้อ่านมา และไม่ได้สอนเด็ก ๆ ในเรื่องนี้แน่ ๆ ที่สำคัญ “การเมือง” ในสมัยก่อนนั้นมันเข้มข้นมาก จนคนที่ไม่เข้าใจบริบทของยุคนั้นจริง ๆ ก็เป็นได้แค่ “เหลือบวิชาการ” ที่เอาเรื่องการเมืองมา ปะติดปะต่อแล้วเอามา “เล่า” แบบมั่ว ๆ แล้วบอกว่านี่คือหลักฐานทางวิชาการที่ได้ค้นคว้ามา การเมืองยุคนี้ที่ว่าเผ็ดร้อน ยุคก่อนเผ็ดกว่านี้เป็น 100 เท่า 

“ป๋าเปรม” ได้รับการยอมรับจากฝ่ายการเมืองในขณะนั้นเป็นอย่างมาก จนได้รับโอกาสก้าวสู่ตำแหน่งหลังจากที่ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ลาออกจากตำแหน่งกลางสภาผู้แทน ฯ หลังจากโดนซักฟอกและโจมตีในกรณีเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามราคาตลาดโลก เมื่อวันที่  23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ก่อนที่จะมีการหยั่งเสียงจากสภาผู้แทนราษฏร โดยทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่าง “พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์” กับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยที่ประชุมรัฐสภาได้เลือก “พลเอกเปรม” เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ย้ำนะครับ “เลือกโดยที่ประชุมสภา” โดยได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (มันเผด็จการตรงไหนวะ ?) 

ของขวัญปีใหม่ กองทัพเรือ บริการตรวจสภาพรถยนต์ ฟรี 24 รายการ

กองทัพเรือ เปิดโครงการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเทศกาลปีใหม่ 2566 ให้แก่ประชาชน และกำลังพลกองทัพเรือ ตรวจสภาพรถฟรี 24 รายการ ระหว่างวันที่ 23 - 28 ธ.ค.65 เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนช่วงเทศกาลปีใหม่

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.65 พล.ร.อ.สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี เปิดโครงการตรวจสภาพรถยนต์ ก่อนเทศกาลปีใหม่ 2566 กับกองทัพเรือ โดยกรมการขนส่งทหารเรือ ซึ่งจัดให้มีการตรวจสภาพรถฟรี จำนวน 24 รายการ ให้กับประชาชน และกำลังพลกองทัพเรือ ระหว่างวันที่ 23 - 28 ธ.ค.65 ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถ และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ณ ลานจอดรถ กองรถยนต์ กรมการขนส่งทหารเรือ

ตามนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2566 ด้านกำลังพล ในการยกระดับคุณภาพชีวิต และสวัสดิการของกำลังพลกองทัพเรือ โดยให้จัดกิจกรรมที่เป็นการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับกำลังพล ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กองทัพเรือโดยกรมการขนส่งทหารเรือจึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้รถยนต์ของประชาชน ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ กองทัพเรือที่เข้ารับบริการ มีสภาพพร้อมใช้ ทำให้เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจัด ‘งานครบรอบ 117 ปี แห่งการพระราชทานนาม’

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงและถวายพานพุ่มพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันครบรอบ 117 ปี แห่งการพระราชทานนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โดยมีนายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะครู บุคลากรทางการศึกษา ภาคีเครือข่าย นักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และ ผู้มีเกียรติทุกเข้าร่วมงาน 

นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กล่าวว่าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นด้วยพระบรมราโชบายขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือกำเนิดเป็นโรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่หรือโรงเรียนรัฐบาลตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ ตั้งอยู่บริเวณที่ดินคุ้มหลวงของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งได้รับประทานที่ดินจากเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

และเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 ต่อมาได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พุทธศักราช 2448 และเป็นโรงเรียนในพระอุปภัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2532 เป็นต้นมา

กองทัพเรือ ส่งร่าง 2 กำลังพลเรือหลวงสุโขทัย กลับบ้านเกิด สุราษฎร์ธานี อย่างสมเกียรติ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 ธ.ค.65 ที่ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 1 ฟ๊อกเกอร์ mk 400 หมายเลข 2111 ลำเลียง ร่างกำลังพล เรือหลวงสุโขทัย จำนวน 2 นาย คือ จ.อ.จักรพงศ์ พูลผล จ่าปืน แผนกอาวุธและการเรือ เรือหลวงสุโขทัย หมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ และพลทหาร อัครเดช โพธิ์บัติ พลเรือ แผนกเดินเรือ เรือหลวงสุโขทัย ไปยังสนามบิน กองบิน 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนจะใช้รถยนต์ลำเลียงร่างไปยังวัดบ้านเกิดของแต่ละนาย โดยมีกองทหารเกียรติยศ ส่งอย่างสมเกียรติ ท่ามกลางคณะผู้บังคับบัญชา กำลังพลกองทัพเรือ ตลอดจน ประชาชน ในพื้นที่ 

พม. สมุทรปราการ จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อถวายพระพรชัยมงคล แด่เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

เมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา ณ อาคารเอนกประสงค์สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ โดยนางวรรณภา สุขคง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อถวายพระพรชัยมงคล ด้วยหัวใจแห่งความจงรักภักดีแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว พร้อมด้วย หัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ One Home พม.สมุทรปราการ / เคหะจังหวัดสมุทรปราการ / สถานธนานุเคราะห์ 33 จังหวัดสมุทรปราการ / หน่วยงานเครือข่าย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ /โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี / สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ และผู้แทนคนพิการ เข้าร่วมพิธีฯ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

รมว.พิพัฒน์ เปิดแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาภาคใต้ และสายมูเตลู กระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ‘แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาของภาคใต้ และสายมูเตลู เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่’ โดยมี ดร.นาที รัชกิจประการ ประธานคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมพิธีเปิดงาน ณ วัดเขาพระทอง ตําบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้การต้อนรับ

‘ดร.วินัย’ ชี้ เหตุผลที่การอยู่เมืองไทยดีกว่าหลายประเทศ ‘สงบปลอดภัย - ศก.มั่นคง' ขัดแย้งบ้างแต่ค่อนข้างต่ำ

(24 ธ.ค. 65) ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ เกี่ยวกับสุขภาพกับชีวิตในกรุงเทพฯ ว่า…

เคยใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปตะวันตกต่อเนื่องนานห้าปี เดือนธันวาคมใกล้คริสตมาสเป็นช่วงอากาศหนาวถึงหนาวจัดแม้ไม่สาหัสเท่าเดือนมกราคมก็ตาม จำไม่ได้ว่าเป็นปีไหน อากาศเดือนธันวาคมในบรัสเซลส์ลดต่ำเกิน -30 องศา แย่ที่สุดเวลานั้นคือการต้องไปตลาดเช้าย่านแซงค์จิลส์ใกล้บ้าน หนาวจัดถึงขนาดต้องเอาผ้าพันคอปิดหน้าเหลือเฉพาะลูกตา มือสวมถุงมือหนังแล้วยังไม่กล้าดึงออกจากกระเป๋าเสื้อโคท หนาวจนนิ้วแทบหลุด เทียบไม่ได้เลยกับเดือนธันวาคมในปีที่หนาวที่สุดของเมืองไทย

ธันวาคมปีนี้ กรุงเทพฯ อากาศดีที่สุดในรอบหลายปี เช้านี้ 22 องศา หนาวกว่าออฟฟิศติดแอร์เสียอีก ผมตื่นตามปกติคือตีสาม หลังละหมาดเช้าตอนตีห้า ลงมาเดินหน้าบ้านซึ่งเป็นถนนภายในกว้าง 4-5 เมตรยาว 50 เมตร เดินเร็ววนไปมาสัก 45 นาทีได้ 5 พันก้าวก็หยุด ระหว่างเดินบางช่วงนำเวท 2.5 กก. มาสร้างกล้ามแขนเป็นพักๆ นี่คือการออกกำลังกายที่วงการแพทย์แนะนำให้ปฏิบัติ สำหรับผู้สูงอายุในวัยผมนั่นคือ 60-70 ปี อย่างที่เคยบอก ผมเดินวันละหมื่นก้าวทุกวัน ประโยชน์ที่ได้คือนอนหลับง่ายขึ้น ความดันโลหิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวล่างลดลง จังหวะการหายใจ การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอขึ้น เสริมด้วยการอดอาหารแบบไอเอฟสองวันต่อสัปดาห์หรือ 5:2 diet ซึ่งผมใช้การถือศีลอดแบบสุนนะฮฺ คืออดอาหารช่วงเวลาตื่น 13-14 ชม. ต่างจาก 16/8 IF ที่นิยมทำกัน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top