Monday, 29 April 2024
INFO

เปิดหน้า 13 ส.ว. โหวตให้ 'พิธา'

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค.66) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังผลการลงคะแนนไม่เห็นชอบ ให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ ด้วยคะแนนเห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง ซึ่งถือว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่งนั้น ปรากฏว่า ส.ว.ที่เห็นชอบจำนวน 13 คน ได้แก่ 

1. นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ 
2. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา 
3. นายเฉลา คงมาลัย 
4. นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล 
5. พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง 
6. นายพิศาล มาณวพัฒน์ 
7. นายพีระศักดิ์ พอจิต 
8. นายมณเทียร บุญตัน 
9. นายวันชัย สอนศิริ 
10. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ 
11. นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ 
12. นพ.อำพล จินดาวัฒนะ 
13. นางประภาศรี สุฉันทบุตร          

ขณะที่ นายนพดล มาตรศรี ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา ลงมติเห็นชอบ ตอนหลังเมื่อการลงมติเสร็จสิ้น ประธานรัฐสภา ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกที่ยังไม่ได้ลงมติ ได้ลงมติ โดยนายพดล ได้ขอเปลี่ยนมติจากเห็นชอบ เป็นงดออกเสียง 

ทำให้นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ทักท้วงว่า เรื่องการเปลี่ยนมติ ตนเข้าใจว่าประธานฯ อาจจะใช้เหตุผลว่ายังไม่ได้ปิดการลงคะแนนซึ่งถูกต้อง แต่ด้วยกระบวนการสิ่งที่เราทำกันคือการลงมติ ได้ลงมติไปแล้ว และขานผลของตัวเองไปแล้วเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง แต่มากลับมติ น่าจะทำให้ประเพณีปฏิบัติที่เราทำมาให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งไม่เคยทำ และเราก็รู้กันอยู่ว่าการลงมติสำคัญเช่นนี้ มีกลไก วิธีการ การกดดัน อะไรอีกมากมายแล้วมาเปลี่ยนในตอนท้าย ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า เหตุใดจึงเปลี่ยนการลงมติ อยากถามประธานฯ ว่าจะเดินเส้นทางนี้ตลอดไปหรือเป็นประเพณีที่เราจะต้องดำเนินต่อไปใน 4 ปีข้างหน้าหรือไม่ และไม่มีข้อบังคับไหนบอกให้เปลี่ยนมติของตนได้ ซึ่งในข้อบังคับข้อที่ 59 ระบุว่าสมาชิกรัฐสภาซึ่งเข้ามาในที่ประชุม ระหว่างการออกเสียงลงคะแนน ออกเสียงลงคะแนนได้ หมายความถึงคนที่ยังไม่ใช้สิทธิ์ ไม่ได้หมายความว่าคนใช้สิทธิ์ไปแล้วอยากจะเปลี่ยนการลงมติของตน อย่างนี้ถ้าคะแนนปริ่มกัน 1-2 คะแนน แล้วมาเปลี่ยนอย่างนี้ ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ เราเดินต่อไม่ได้

หยุดเข้าใจผิด เรื่องลุงตู่ไม่ยอมเปิดเผยทรัพย์สิน

📌หยุดเข้าใจผิด เรื่องลุงตู่ไม่ยอมเปิดเผยทรัพย์สิน 

#ลุงตู่ยื่นบัญชีทรัพย์สินมาแล้ว 2 ครั้ง และจะยื่นอีกหลังพ้นตำแหน่ง รวม 3 ครั้ง ยื่นเยอะกว่ากฎหมายกำหนด

#แล้วจะเห็นบัญชีทรัพย์สินเมื่อไร? มีคำตอบ

✅มาตรฐานทั่วไปในการยื่นบัญชีทรัพย์สินของนายกฯ กฎหมายกำหนดให้ยื่น 2 ครั้ง คือ
1️⃣เข้าดำรงตำแหน่ง
2️⃣พ้นจากตำแหน่ง 

แต่ ลุงตู่ #ยื่นมาแล้ว 2 ครั้ง และ #จะยื่นอีก 1 ครั้ง = ยื่น 3 ครั้ง (มาตรฐานสูงกว่า กม.กำหนด) 
1️⃣เข้าดำรงตำแหน่ง ปี 57 (ปปช. เผยแพร่แล้ว)
2️⃣ดำรงตำแหน่งเดิมต่อเนื่อง (ยื่นไว้เมื่อปี 62) ทั้งที่ กม.บอกไม่ต้องยื่น ซึ่ง
>>เลขา ปปช. ชี้แจงเมื่อ 14 พ.ย. 65 ว่า “นายกฯ ก็ยื่นมาทุกบัญชีอยู่แล้ว ซึ่งยื่นเกินมาด้วยซ้ำไป”
>>ปปช. จึงไม่เปิดเผย เพราะกฎหมายบอกไม่ต้องยื่น จึงไม่มีอำนาจให้เปิดเผย <<ลุงตู่ไม่ได้เป็นคนบอกห้ามเปิด
3️⃣ครั้งที่ 3 เมื่อพ้นจากตำแหน่งปี 66 นี้ อดใจรอนิด

ดังนั้นจึงเห็นว่า #โปร่งใสกว่ามาตรฐาน เพราะตัวกฎหมาย พรป.ปปช. 2561 มาตรา 105 วรรค 4 “ในกรณีตาม (1) ถ้าพ้นจากตําแหน่งและได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเดิมหรือตําแหน่งใหม่ ‘ภายในหนึ่งเดือน’ ผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตําแหน่งและกรณีเข้าดํารงตําแหน่งใหม่ แต่ต้องไม่ห้ามที่ผู้นั้นจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน” ระบุชัด

#แล้วใคร จะตรวจสอบทรัพย์สินของนายกลุงตู่ได้บ้าง??
✅เมื่อพ้นตำแหน่งฯ ปปช. จะเปิดเผย ซึ่ง #ทุกคน…ดูได้ ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นกติกาเดียวกับ ส.ส. และนักการเมืองทุกคน
✅ไม่ได้มีอภิสิทธิ์เหนือนักการเมืองอื่น มีการชี้แจงข้อเท็จจริงไปหลายครั้งแล้ว สามารถค้นหาได้
✅ไม่ได้ร่างกม.พิเศษขึ้นมาใหม่ เพื่อปกปิดบัญชีทรัพย์สินเพื่อไม่ให้ตรวจสอบได้ เพราะกฎมายที่เกี่ยวข้องร่างโดย ปปช. #ไม่ใช่คสช #ไม่ใช่นายกลุงตู่
✅เพราะ ปปช. ออก กม. เมื่อ ปี 2561 ยังไม่มีการเลือกตั้งปี 2562 เลย ซึ่ง ปปช. ไม่มีทางทราบได้ว่าใครจะเป็นนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อ ปปช. จึงไม่ได้ออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ใครเป็นพิเศษ
✅และการตรวจสอบทุจริตของ #นายกลุงตู่ ที่ผ่านมา #ไม่พบการทุจริตใด ๆ ทั้งสิ้น

❌การบิดเบือนข้อมูลให้ผู้อื่นหลงเชื่อ เป็นการกระทำที่ไม่เคารพผู้อื่น ผิดกฎหมาย อีกทั้งเป็นการเอาเปรียบจากความรู้ที่ไม่ทั่วถึงของผู้อื่น ซึ่งอาจจะมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พร้อมเชื่อข้อมูลผิด ๆ หรือ ไม่รู้วิธีการค้นหาความจริง หรือ ไม่มีเวลาตรวจสอบความจริง 

#แล้วเมื่อไหร่ จะดู/เปิดเผย บัญชีทรัพย์สินนายกลุงตู่ได้??
✅ซึ่งขณะนี้ #นายกลุงตู่ และครม. รักษาการจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่และได้ถวายสัตย์ (ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ) 
✅เมื่อหลังจากพ้นตำแหน่งนายก หลังมีนายกฯ คนใหม่ ปปช. จะดำเนินการภายในแล้ว 90 วัน (ทำไม 90 วัน ให้อ่านข้อ กม. ด้านล่าง)
✅ซึ่ง ปปช. กระทำไม่ต่างจาก ส.ส. หรือ ตำแหน่งอื่น ๆ ที่ต้องเปิดเผยทรัพย์สิน #ลุงตู่ไม่มีอภิสิทธิ์เกินกฎหมาย

#ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1️⃣หลังพ้นตำแหน่ง 90 วันจะได้เห็นทรัพย์สิน เพราะ >>> พรป.ปปช. 2561 มาตรา 105 วรรค 3 (1) กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ยื่นเมื่อเข้ารับตําแหน่ง และ พ้นจากตําแหน่ง และให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินภายใน 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน มาตรา 106 กำหนดให้เปิดเผยให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไปโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดต้องยื่นบัญชีดังกล่าว

2️⃣ หากใครสงสัยเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ขอให้อ่านเพิ่มเติมที่
https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/272064381bb8738ec9f96a7df8b40acc615b16d.pdf

ความแตกต่างระหว่าง ‘บริษัทเล็ก’ กับ ‘บริษัทใหญ่’

🔍 ชวนส่อง!! ความแตกต่างระหว่าง ‘บริษัทเล็ก’ กับ ‘บริษัทใหญ่’ มีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนที่จะใช่สำหรับเรา? มาดูกันเลย!!

ความแตกต่างระหว่าง 'ฟุตบอลไทย VS ฟุตบอลญี่ปุ่น' จากมุมมอง 'ชนาธิป สรงกระสินธ์'

‘เจ - ชนาธิป สรงกระสินธ์’ กองกลาง บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ชี้ชัด 3 ความแตกต่าง บอลไทย กับ บอลญี่ปุ่น หลังเล่นเจลีกมา 7 ปีเต็ม ว่า

"หลักๆ เลยร่างกายเขาดีมาโดยตลอด อาหารการกินเขาดีมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยสั่งสมมา สองเรื่องการฝึกที่ถูกต้องมาตั้งแต่เด็ก ที่ไม่ได้หนักเกินไป สังเกตไหม ทุกทีมเขาจะเล่นแบบเดียวกันหมด อาจมีโค้ชต่างชาติบางคนที่เข้ามาเสริมบางอย่างนิดหน่อย เวลาเล่นลูกนิ่งจะดูได้เลยว่า จะเข้ามากระจุกอยู่ตรงจุดเดียวกันหมดทุกทีม นักเตะญี่ปุ่นมีน้อยมากที่จะเลี้ยงบอลเก่ง แต่เขาจะเล่นแบบจับ ให้ วิ่ง ขยับ ยิ่งไปดูตัวคุมเกมแดนกลาง เหมือนกันหมด โดยสิ่งที่ผมไม่เคยเจอที่ญี่ปุ่นเลยคือการถูกเสียบตอนเลี้ยงผ่าน ไม่มีเลยสักครั้ง เขาเคารพนักฟุตบอลด้วยกัน เคารพกติกา เคารพกรรมการ"

‘เทคโนโลยี’ ที่มีผู้ใช้งาน ครบ 100 ล้านคน ใช้เวลานานแค่ไหน ?

ในยุคปัจจุบัน ‘เทคโนโลยี’ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธการใช้เทคโนโลยี 

ย้อนกลับไปสมัยที่ ‘โทรศัพท์’ เพิ่งถือกำเนิดขึ้น ต้องใช้เวลานานกว่า 75 ปี ถึงจะมีผู้ใช้งานครบ 100 ล้านคน ส่วนเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกิดตามมาก็ใช้เวลาน้อยลงเรื่อย ๆ และล่าสุด Threads ได้ทำสถิติใหม่ ภายใน 5 วันมีผู้ใช้งานครบ 100 ล้านคน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top