Wednesday, 3 July 2024
อดอาหาร

‘ลดอาหารที่ให้พลังงาน’ (Energy Reduction) VS ‘การอดอาหาร’ (Fasting) เลือกวิธีไหน? ถ้าอยากหุ่นเพรียว พร้อมสุขภาพดี

‘ลดอาหารที่ให้พลังงาน’ (Energy Reduction) VS ‘การอดอาหาร’ (Fasting) เลือกวิธีไหน? ถ้าอยากหุ่นเพรียว พร้อมสุขภาพดี

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยความรู้เรื่องเกี่ยวกับ ‘การอดอาหาร’ ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า ‘การลดอาหาร’ ผ่านเฟซบุ๊ก Dr.Winai Dahlan ว่า...

รู้ ๆ กันอยู่ว่าการบริโภคให้ร่างกายได้พลังงานน้อยลง ช่วยรักษาสุขภาพได้ดีกว่าการบริโภคอาหารมากเกินไป เพราะการบริโภค ทำให้ร่างกายสิ้นเปลืองพลังงานไปกับกลไกการย่อยอาหาร 

เพียงแต่ถกเถียงดังกล่าวยังไม่จบแค่ว่าการทำให้ร่างกายได้รับพลังงานน้อยลงนั้น จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดหรือไม่?

โดย รศ.ดร.วินัย ได้ระบุว่า ในปัจจุบันมีผลการศึกษาเกี่ยวกับ ‘การอดอาหาร’ (Fasting) มีการให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการ ‘ลดอาหาร’ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น...

• ไอเอฟ (Intermittent Fasting) โดยอดอาหารเป็นช่วง ใน 24 ชั่วโมง กำหนดช่วงอดอาหาร 16 ชั่วโมง กิน 8 ชั่วโมง
• แบบห้าต่อสองไดเอ็ต (5:2 Diet) ในหนึ่งสัปดาห์ กินอาหารตามปกติ 5 วัน อดอาหาร 2 วัน
• ปฏิบัติแบบมุสลิม ในเดือนรอมฎอน (Ramadan Fasting)

รศ.ดร.วินัย ยังได้หยิบยกผลวิจัยจาก ดร.ไฮดิ ปัก (Heidi H. Pak) แห่งคณะแพทยศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา กับทีมงาน ซึ่งร่วมกันทำวิจัยในสัตว์ทดลอง (หนู) ผ่านผลงานตีพิมพ์ในวารสาร Nat Metab เดือนตุลาคม 2021 ด้วยว่า… (ใครสนใจลองไปหาอ่านใน https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34663973/)

พับตำราอหิงสาวิธี เมื่อการอดประท้วงจนผ่ายผอม ต้องจำยอมมนุษย์บางจำพวกที่ 'ยิ่งอด - ยิ่งอ้วน'

"การอดอาหารประท้วง (Hunger Strike) เป็นหนึ่งวิถีการต่อสู้ซึ่งไร้ความรุนแรงที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงทางสังคม อีกนัยคือยุทธศาสตร์เคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจรัฐเกิดความละอาย และเรียกร้องให้สาธารณชนสนใจประเด็นปัญหาหรือความอยุติธรรมอันเกิดขึ้น โดยหวังผลให้สามารถสั่นคลอนรัฐ และผู้มีอำนาจ รวมทั้งปลุกกระแสสังคมได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในการต่อสู้ทั้งจากปัจเจกบุคคลและขบวนการเคลื่อนไหวทั่วโลก"

อาจเรียกได้ว่านั่นคือ คำจำกัดความของการอดอาหารประท้วง นิยามโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

การอดอาหารประท้วง ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในประวัติศาสตร์โลก เกิดขึ้นโดย 'มหาตมะ คานธี' (Mahatma Gandhi) ซึ่งอดอาหารประท้วงตลอดชีวิตรวม 18 ครั้ง เพื่อรณรงค์เคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และต่อสู้ขอคืนเอกราชของอินเดีย จากอาณานิคมปกครองอังกฤษ ตามแนวทางสันติวิธีที่รู้จักกันดีว่า 'อหิงสา' ซึ่งคานธีอดนานสุด 21 วัน

'อหิงสา' นับเป็นแนวทาง 'ต่อสู้' โดย 'ไม่ต่อสู้' คือ การต่อสู้เยี่ยงอารยชน เป็นการต่อสู้ที่เหนือกว่าการต่อสู้ทั้งปวง ผู้เจริญและฝึกฝนตนเองอย่างเคี่ยวกรำเท่านั้น จึงจะสู้ด้วยวิธีอหิงสานี้ได้

การอดอาหารประท้วงบนบริบทการเมืองไทยที่รับรู้อย่างแพร่หลาย คือ กรณีของ 'เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร' อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. ตราด - พรรคประชาปัตย์) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยครั้งแรกคุณฉลาดอดทั้งข้าวและน้ำเพื่อประท้วงรัฐบาล 'พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์' เรื่องทุจริตกักตุนน้ำมันในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ประท้วงรัฐบาล 'พลเอก เปรม ติณสูลานนท์' ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ (พ.ศ. 2526)

แต่การต่อสู้ซึ่งถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ของ 'ฉลาด วรฉัตร' คือ การอดอาหารเรียกร้องให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยร่วมขบวนขับไล่ 'พลเอก สุจินดา คราประยูร' จนเกิดเป็นชนวนเหตุการณ์อัปยศของชาติ 'พฤษภาทมิฬ' ในเวลาต่อมา

แม้กระทั่งรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ร.ต.ฉลาด ในวัย 71 ปี ก็ยังออกมาอดอาหารประท้วงที่หน้ารัฐสภา ตั้งแต่ค่ำวันดังกล่าว เพื่อต่อต้านกฎอัยการศึก และการทำรัฐประหารของกองทัพ โดยประทังชีวิตเพียงน้ำเปล่าและน้ำผึ้งอยู่นาน 45 วัน เจ้าของฉายา 'จอมอด' จำต้องยุติการประท้วงลง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปกติร่างกายของคนทั่วไปจะทนต่อภาวะขาดอาหารได้ 30 - 60 วัน อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 30 ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ยิ่งอายุน้อยความแข็งแรงของร่างกายจะมีมากกว่าคนอายุ 40 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้ ร่างกายคนปกติทั่วไปจะทนต่อภาวะขาดน้ำได้เพียง 3 - 7 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

‘ดร.นิว’ ท้า!! ‘ธนาธร-ปิยบุตร’ อดอาหารเป็นเพื่อน ‘แบม-ตะวัน’

(7 ก.พ. 66) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ 'ดร.นิว' นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Suphanat Aphinyan ระบุว่า "ถ้าธนาธรกับปิยบุตรกล้าอดอาหารเป็นเพื่อนกับ #ตะวันแบม เดี๋ยวผมอดด้วยครับ"

'ตะวัน' และ 'แบม' นักกิจกรรมอิสระ ได้ทำการประท้วงอดอาหารมาเป็นเวลากว่า 20 วันแล้ว เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง และข้อเรียกร้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การอดอาหารเป็นระยะเวลานานนั้น ส่งผลให้อาการของตะวันและแบมทรุดลงอย่างน่าวิตก อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนศาสตร์ประเมินแล้วพบว่า แบมและตะวัน มีภาวะเลือดเป็นกรด ค่าคีโตนสูง รวมถึงมีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย นอนไม่หลับ มีเลือดออกตามไรฟัน ระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะจากปลายนิ้วยังคงต่ำกว่าปกติ แพทย์ประเมินความเสี่ยงระดับสูงต่อการเกิดกลุ่มอาการหลังการได้รับสารอาหารหรือ refeeding syndrome ทั้งนี้ ทีมแพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ยังคงเฝ้าติดตามอาการของทั้งสองคนอย่างใกล้ชิด

ครอบครัว ‘ตะวัน-แฟรงค์’ ขอยื่นประกันตัวลูก วอนศาลเมตตา พร้อมสัญญาจะดูแลทั้งคู่ให้กลับตัวกลับใจ ทำแต่สิ่งดีๆ

(24 ก.พ. 67) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ความคืบหน้าคดีที่พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลดินแดน ได้ยื่นคำร้องฝากขัง นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ‘ตะวัน’ อายุ 22 ปี นักเคลื่อนไหวกลุ่มทะลุวัง และนายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือ ‘แฟรงค์’ อายุ 23 ปี ผู้ต้องหาที่ 1-2 ข้อหามาตรา 116, ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา และร่วมกันกระทำด้วยประการใดอันเป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ, ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร

กรณีเหตุการณ์ที่ น.ส.ทานตะวัน หรือ ‘ตะวัน’ ร่วมกับนายณัฐนนท์ หรือ ‘แฟรงค์’ นักเคลื่อนไหวกลุ่มทะลุวัง พยายามขับรถแซงขบวนเสด็จบนทางด่วน พร้อมบีบแตรรถยนต์ลากยาวระหว่างขบวนเสด็จผ่าน และใช้ถ้อยคำดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ฝากขังและไม่ให้ประกันในคดี

ล่าสุดช่วงเช้าวันนี้ นายสมหมาย ตัวตุลานนท์ พ่อของ น.ส.ทานตะวัน ได้มายื่นขอให้ศาลอาญาพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวทั้ง 2 คน

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก Friends Talk โพสต์คำร้องขอประกันตัวของทั้งคู่ ระบุว่า…

“ศาลที่เคารพ ขณะนี้ลูกสาวของผม นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ซึ่งถูกสั่งให้ขังอยู่ใต้ความควบคุมของเรือนจำ ป่วยหนัก ขอให้ศาลปล่อยลูกผมออกมา เพื่อให้ผมสามารถรักษาชีวิตของลูกไว้ด้วยครับ

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา ได้ทำการอดอาหาร และน้ำ จนมีอาการวิกฤตอยู่ขณะนี้ ทำให้เขาสามารถเสียชีวิตในเวลาอันใกล้ ซึ่งข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมเมื่อวาน (23/2/67) เขามีอาการซีด ผอม และทรมานมาก ข้าพเจ้าจึงขอให้ศาลโปรดเมตตาในการช่วยชีวิตบุตรีของข้าพเจ้า อีกทั้งจะให้เขาได้กลับตัว กลับใจ ทำในสิ่งดีดี เพื่อลบล้างสิ่งไม่ดีในอดีต

อนึ่งขอให้ศาลโปรดเมตตา น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ บุตรีของข้าพเจ้า เพื่อได้ออกมาสู้คดีอย่างยุติธรรม

ข้าพเจ้าให้สัญญาว่าจะดูแล น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ บุตรีของข้าพเจ้า ไม่ให้มีความประพฤติที่ไม่สมควรอีก และจะนำบุตรีของข้าพเจ้ามาตามนัดของเจ้าหน้าที่และศาลอย่างเคร่งครัด

ขอให้ท่านโปรดเมตตา”

ขณะที่คำร้องขอประกันนายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือ ‘แฟรงค์’ ระบุว่า…

“ศาลที่เคารพ ขณะนี้ นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร ผู้ซึ่งเป็นพนักงานของข้าพเจ้า และได้อยู่กับข้าพเจ้า เปรียบเสมือนบุตรอีกคนของข้าพเจ้า อยู่ใต้ความควบคุมของเรือนจำ ป่วยหนัก ขอให้ศาลปล่อยนายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร ให้ผมสามารถรักษาชีวิตของเขาได้

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา การที่นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร ได้ทำการอดอาหารจนอาการในขณะนี้มีวิกฤต ทำให้อาจทำให้เสียชีวิตได้ในไม่ช้า จึงขอความกรุณาจากศาลให้ท่านปล่อยตัวนายณัฐนนท์ ให้เขาได้ประพฤติตัว และแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด และทำความดีให้กับสังคมในครั้งต่อไป

ข้าพเจ้าขอให้สัญญาว่า จะอบรมสั่งสอนให้นายณัฐนนท์ไม่ให้มีความประพฤติที่ไม่สมควร และจะพามาพบเจ้าหน้าที่และศาลตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด”

‘บุ้ง ทะลุวัง’ อาการหนัก โพแทสเซียมต่ำ ตับอักเสบ หายใจลำบาก อาจตายได้ ตลอดเวลา

เมื่อวานนี้ (1 มี.ค. 67) เพจเฟซบุ๊ก 'ทะลุวัง – ThaluWang' โพสต์ข้อความระบุว่า บันทึกเยี่ยมทะลุวัง เมื่อวานบุ้งถูกส่งตัวกลับมาอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์หลังเยี่ยมทนาย มีอาการตาพร่า ตาเบลอ หายใจลำบาก แม้จะจิบน้ำบ้างแล้วแต่บุ้งยังคงอ้วกอยู่เรื่อยๆ ค่าต่างๆ ยังขึ้นๆ ลงๆ ไม่ปกติ และตับยังคงอักเสบอยู่ ตรวจค่าโพแทสเซียมได้อยู่ที่ 2.2 บุ้งกลับมาค่าโพแทสเซียมต่ำอีกครั้งเช่นเดียวกับครั้งที่แล้วที่อดอาหาร ต่อให้ได้รับน้ำเกลือ ค่าโพแทสเซียมก็ไม่ขึ้นแล้ว หมอบอกว่าค่าโพแทสเซียมส่งผลกับหัวใจ สามารถหยุดเต้นตอนไหนก็ได้

บุ้งบอกว่าอากาศข้างในร้อนมากๆ ทำให้หมดแรง หน้ามืดและวิงเวียนได้ตลอดเวลา บุ้งฝันถึงเพื่อนๆ  แต่เริ่มมีอาการ มึน เบลอ ไม่สามารถแยกความจริงกับความฝันได้ สับสนไปหมดว่าอะไรคือเรื่องจริงอะไรคือความฝัน บุ้งยังยืนยันที่จะอดอาหารต่อไป และยืนยันข้อเรียกร้องเช่นเดิม

'บัสบาส' ผู้ต้องขังคดี ม.112 เรือนจำเชียงราย เลิกอดอาหารแล้ว นิ่งหลังรู้ 'บุ้ง' เสียชีวิต คาดยังชั่งน้ำหนักว่าจะทำอย่างไรต่อไป

(16 พ.ค.67) นายพัศพงศ์ ใจคล่องแคล่ว ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเชียงราย ต.ดอยฮาง อ.เมืองเชียงราย เปิดเผยว่า นายมงคล ถิระโคตร หรือ ‘บัสบาส’ อายุ 30 ปี ชาว อ.พาน จ.เชียงราย ต้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และคดีเกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ต่างกรรมต่างวาระ มีโทษจำคุกรวมกันเป็นเวลา 55 ปี ซึ่งถือเป็นอัตราโทษที่สูง ถูกส่งตัวเข้าสู่เรือนจำกลางเชียงรายเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 หรือเป็นเวลา 4 เดือนกว่า

ขณะนี้เป็นผู้ต้องขังอยู่ในแดน 1 หรือแดนควบคุมพิเศษ เรือนจำกลางเชียงราย ซึ่งจะคุมขังรวมกับนักโทษคนอื่น ๆ รวมกันประมาณ 200 คน โดยใช้ชีวิตตามปกติ โดยยังอยู่ในระหว่างอุทธรณ์และฎีกาซึ่งถือว่ายังไม่ใช่นักโทษเด็ดขาด และทราบมาว่าทนายความของนายมงคลได้ยื่นประกันตัวเพื่อให้ออกไปสู้คดีอยู่

นายพัศพงศ์กล่าวว่า ระหว่างถูกคุมขังพบว่านายมงคลได้มีการอดอาหารเมื่อวันที่ 27 ก.พ. ก่อนจะยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 เม.ย. จากนั้นก็ใช้ชีวิตในแดน 1 ตามปกติ รับประทานอาหาร และปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจำ โดยระหว่างอดอาหารเป็นเวลา 1 เดือนกว่าก็ยังดื่มน้ำและเครื่องดื่มตามปกติ ซึ่งตนได้ให้เจ้าหน้าที่เรือนจำเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพและให้นักจิตวิทยาเข้าไปพูดคุยดูแลสภาพจิตใจรวมทั้งให้พยาบาลเข้าไปตรวจร่างกายทุกอาทิตย์ ยกเว้นมีอาการอ่อนแรงหรือใจสั่นก็จะให้พยาบาลเข้าไปตรวจเป็นกรณีพิเศษ

ทั้งนี้ เราได้บอกกับเขาว่าการอดอาหารจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารและได้รับผลกระทบแต่นายมงคลก็ยืนยันจะอดอาหารอยู่ เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลก็ไม่สามารถบังคับได้ ก็หันมาดูแลเรื่องสุขภาพทำให้ที่ผ่านมาไม่มีปัญหาใด ๆ โดยนายมงคลยังมีร่างกายที่แข็งแรงดีอยู่

สำหรับกรณี น.ส.บุ้ง ที่เสียชีวิตนั้น นายพัศพงศ์กล่าวว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่านายมงคลยังคงนิ่งเฉยและไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ รวมทั้งไม่ได้อดอาหาร คาดว่าอาจจะยังคงชั่งน้ำหนักว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะเขาเคลื่อนไหวในลักษณะเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ซึ่งนายมงคลได้คุยกับเจ้าหน้าที่เรือนจำว่าจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจำตามปกติ ในส่วนของการต่อสู้ก็ยังจะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หลังจากยกเลิกการอดอาหารครั้งดังกล่าวแล้ว

"ฝากประชาสัมพันธ์เรื่องผู้ต้องขังกรณีเจ็บไข้ เจ้าหน้าที่เรือนจำจะดูแลเรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง ฝากพี่น้องประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนโทษคดีที่สูง ๆ เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว กรมราชทัณฑ์เรามีหน้าที่ควบคุม แก้ไข ฟื้นฟู ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ สุขภาพ ตามหลักสิทธิมนุษยชนและระเบียบของทางราชการโดยเคร่งครัด จะเห็นได้ว่าแม้ป่วยตอนตี 1 ตี 2 ถ้าพยาบาลในเรือนจำดูแล้วไม่สามารถรักษาได้ก็จะเรียกรถ 1669 ให้ไปรับผู้ต้องขังเพื่อนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ซึ่งทางผู้บริหารระดับสูงได้เน้นยำให้ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเครงครัด" นายพัศพงศ์กล่าว

'อ.เจษฎา' เผย!! อันตรายหลังเลิกอดข้าว แล้วกลับมากินใหม่ เผื่อเป็นแนวทางในการดูแล 'ผู้ประสบเหตุ' ที่ต้องอดอาหาร

(17 พ.ค.67) จากการเสียชีวิตของ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ก่อนหน้านี้เคยอดอาหารประท้วงจนป่วย และกลับมาทานอาหารอีกครั้ง ก่อนจะเสียชีวิต เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ล่าสุด รศ. ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า

(note: โพสต์นี้เป็นการให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ไม่ได้โพสต์วิพากษ์วิจารณ์สังคม แต่อย่างไรนะครับ)

ระวัง ‘รีฟีดดิ้ง ซินโดรม (Refeeding Syndrome)’ อันตรายหลังเลิกอดข้าว แล้วกลับมากินใหม่

หลังจากมีข่าว คุณบุ้ง นักกิจกรรมทางการเมือง เสียชีวิตหลังจากที่เคยอดอาหารประท้วงจนป่วย และกลับมาทานอาหารอีกครั้ง (ภายใต้การดูแลของแพทย์) เลยทำให้นึกถึงคำเตือนสมัย ‘13 ทีมหมูป่า ติดถ้ำ’ เรื่อง ‘อย่ารีบกินอาหาร หลังจากอดข้าวมานานหลายวัน อาจเกิดภาวะ Refeeding Syndrome ได้’ ครับ

เลยอยากจะยกเรื่องนี้ ขึ้นมาทบทวนกันหน่อย เผื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ประท้วงอดอาหาร หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุใด ๆ จนต้องอดอาหารยาวนานหลายวัน

#ภาวะรีฟีดดิ้งซินโดรมคืออะไร

- จากกรณีนักฟุตบอลเยาวชน 13 ชีวิต ทีมหมูป่า อะคาเดมี่ ติดอยู่ในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย นานนับ 10 วัน มีแค่น้ำหยดให้กินเล็กน้อย ซึ่งทุกคนต้องอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร จึงมีคำเตือนจากกลุ่มโภชนาการ ให้ระวังภาวะ ‘รีฟีดดิ้ง ซินโดรม’ (Refeeding Syndrome) เวลาช่วยเหลือออกมาได้ โดยต้องระมัดระวังการให้น้ำและอาหาร

- การเกิดรีฟีดดิ้ง ซินโดรม นั้น เป็นภาวะที่มีความรุนแรง และค่อนข้างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานาน หากได้รับอาหารเข้าไปทันที ไม่ว่าจะเป็นจากน้ำเกลือ ที่มีน้ำตาลเด็กซโตส (Dextrose) , อาหารทางปาก , อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง , อาหารทางสาย หรืออาหารทางหลอดเลือดดำ  ก็เป็นอันตรายได้

- คนที่มีภาวะขาดสารอาหารมาก่อน สภาพร่างกายที่อดอาหารนาน ๆ จะมีการขาดแร่ธาตุ โพแทสเซียม ฟอสเฟต แมกนีเซียม และแคลเซียม ด้วย

- ดังนั้น เมื่อได้รับอาหารอีกครั้ง ร่างกายจะย่อยและดูดซึมอาหาร เพื่อให้มีการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน โดยร่างกายจะหลั่งสารอินซูลิน (Insulin) เพิ่มการสร้างไกลโคเจน (Glycogen) โดยมีวิตามินบี 1 เป็นตัวช่วย

-  ระหว่างการนำกลูโคสเข้าเซลล์ ก็จะมีการนำแร่ธาตุต่าง ๆ ดังกล่าว เข้าไปในเซลล์ด้วยเป็นจำนวนมาก

- เลยยิ่งส่งผลให้ร่างกาย เกิดภาวะแร่ธาตุในเลือดต่ำ ทำให้ระดับวิตามินบี 1 ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้เกิดภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ อย่างรุนแรง

- จะเกิดมีอาการเหนื่อย หอบ หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า ภาวะรีฟีดดิ้ง ซินโดรม

#แนวทางในการป้องกันภาวะรีฟีดดิ้งซินโดรม

- ก่อนจะให้อาหาร ควรให้วิตามินบี 1 ประมาณ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับวิตามินและแร่ธาตุรวม

- การเริ่มให้อาหาร จำเป็นต้องเริ่มอาหารอ่อน ในปริมาณน้อย ๆ

- ถ้าสามารถทำได้ ควรตรวจระดับโพแทสเซียม ฟอสเฟต แมกนีเซียม และแคลเซียม ในเลือดก่อน และแก้ไขหากมีระดับเกลือแร่ผิดปกติ และติดตามอาการทางคลินิกและการเปลี่ยนแปลงระดับแร่ธาตุเหล่านี้ในเลือดอย่างใกล้ชิด

- การกินวิตามิน ที่มีส่วนประกอบของวิตามินบี 1 มีหลักการ ดังนี้

1. ก่อนจะให้อาหาร ควรให้วิตามินบี 1 ในปริมาณ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับวิตามินแร่ธาตุรวม วันละครั้ง และควรให้ต่อเนื่องกัน อย่างน้อย 2 วัน หรืออาจให้ต่อไปจนถึง 10 วัน หรือจนกว่าจะได้รับพลังงาน วิตามินรวม และแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างครบถ้วนตามเป้าหมาย

2. เริ่มให้อาหาร พลังงานไม่เกิน 5-10 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวัน ขึ้นกับภาวะทุพโภชนาการ  ค่อยๆ เพิ่มปริมาณทีละนิดภายใน 4-7 วัน โดยใน 4 วันแรก ควรให้พลังงานประมาณ 5-10 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวัน จากนั้นค่อย ๆ ปรับเพิ่มพลังงานอย่างช้าๆ เช่น เพิ่มครั้งละ 5-10 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวัน จนถึงพลังงานเป้าหมายภายในเวลา 4-7 วัน

และ 3. ติดตามเป็นระยะทุกวัน โดยเฉพาะในช่วง 4-7 วันแรก ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top