Tuesday, 22 April 2025
วันขึ้นปีใหม่

เปิดประวัติที่มาของ ‘วันขึ้นปีใหม่’ ของชาวโลก | THE STATES TIMES STORY EP.100

เปิดประวัติที่มาของ ‘วันขึ้นปีใหม่’ ของชาวโลก

สู่การเปลี่ยนแปลงวันปีใหม่ของชาวไทยแบบดั้งเดิม

.

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

. #THESTATESTIMESPodcast #THESTATESTIMESStory #Podcast #happynewyear #วันขึ้นปีใหม่ #2023

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานกลอนปีใหม่รับปีงูใหญ่ 2567 ขอความสมบูรณ์พูนสุขเกิดแก่ประชาชาวไทยทุกผู้ทุกนาม

เมื่อไม่นานมานี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพรปีใหม่ 2567 แด่พสกนิกรชาวไทยทุกคนเพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิตใหม่ในปี ‘มะโรงงูใหญ่’ 2567 ความว่า

สวัสดีปีใหม่ 2567 ปีมะโรงงูใหญ่

“ปีมะโรงไทยว่าเป็นงูใหญ่ ฉันสงสัยว่าเป็นงูเหลือม งูหลาม
อาจจะเป็นพญานาคน่าครั่นคร้าม เป็นเรื่องตามเทพนิยายที่อ่านมา
คนจีนว่ามะโรงนี้ปีมังกร มีฤทธิอาจบินจรขึ้นเวหา
ขออำนาจนาคมังกรช่วยพารา ให้ฝนฟ้าสมบูรณ์พูนสุขเอย”

จากกลอนพระราชทาน ปีมะโรงงูใหญ่ จะเห็นตามคติความเชื่อของคนไทยคนจีน คำว่า งูใหญ่ อาจหมายรวมถึง พญานาค และ มังกร ที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจ และสามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลยังความสมบูรณ์พูนสุขให้เกิดแก่ประชาชาวไทยทุกผู้ทุกนาม จนมีแต่ความสุข สนุกสนานตลอดปีมะโรงงูใหญ่ พุทธศักราช 2567

นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานให้ร้านภูฟ้า อัญเชิญภาพวาดฝีพระหัตถ์ ‘มังกรบิน’ จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของขวัญของฝาก ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 อาทิ กระเป๋า เสื้อผ้า กระบอกน้ำ

24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ประเทศไทย ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม

รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ดังนั้นปี พ.ศ. 2483 จึงมีเพียง 9 เดือน

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย ในสมัยโบราณมาเราถือว่า วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ อันต้องด้วยในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี และในสมัยโบราณนั้น วันขึ้นปีใหม่ ได้นับถือคติของพราหมณ์ คือใช้วันที่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเป็นเช่นนั้นตลอดมา จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2432 แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้ก็เนื่องจากทางราชการได้นิยมใช้หลักทางสุริยคติ แต่ก็ยังคล้องต้องตามคติพราหมณ์อยู่นั่นเอง เพราะเดือน 5 ก็ตรงกับเดือนเมษายนเรื่อยมา

ต่อมาทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปฏิทิน พ.ศ.2483 และพระราชบัญญัตินั้นเริ่มใช้ได้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลจึงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 จึงมีเพียง 9 เดือนเท่านั้น คือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินของนานาประเทศ มีหนังสือประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของ ไทยอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และการใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก 

ทั้งนี้ประเทศไทยจึงถือเอาวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่ นั้นจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าวันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วยเช่นเดียวกัน

‘จิรายุ’ ชวนประชาชน สักการะ ‘พระเขี้ยวแก้ว’ มีกิจกรรม เจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา

(8 ธ.ค. 67) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพียงแค่สองวันที่เปิดให้ประชาชนได้เข้าสักการะพระเขี้ยวแก้ว พบว่ามี ประชาชนให้ความสนใจเดินทางมาสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ท้องสนามหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – จีน ปี 2568 อย่างเนืองแน่นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงวันหยุดนี้ ซึ่งภายในท้องสนามหลวง ยังมีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และมีการจัดกิจกรรมทุกวันอีกด้วย

ทั้งนี้ ขอแนะนำรายละเอียดและข้อปฎิบัติ สำหรับประชาชนที่เดินทางเข้าน้อมกราบพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว ดังนี้ ประตูเปิดให้เข้าตั้งแต่ เวลา 07.00 – 20.00 น. ของทุกวัน , แสดงบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือพาสปอร์ตต่อเจ้าหน้าที่ประตูทางเข้า เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้เข้า หากไม่มีบัตรแสดงตน, ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้าไปภายในบริเวณ, งดนำดอกไม้ พวงมาลัย พานบายศรี มาเอง, รัฐบาลจัดดอกบัวประดิษฐ์ไว้ภายใน เพื่อให้น้อมถวาย ผู้เข้าสักการะสามารถหยิบพร้อมบทสวดมนต์ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ, สามารถเดินน้อมสวดมนต์ เดินเวียนเทียนแล้ววางบริเวณจุดวางดอกบัวโดยรอบได้โดยไม่ต้องไปรอวางด้านข้างจุดแรกจุดเดียว, ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าภายในบริเวณมณฑลพิธี, แต่งกายสุภาพ ในลักษณะเข้าศาสนสถาน, ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดดำ เข้าบริเวณมณฑลพิธี, ไม่อนุญาตให้ใส่ขาสั้น สายเดี่ยว เกาะอก เสื้อบาง กางเกงยีนส์ขาด เข้าสักการะ, ห้ามนำวัตถุของมีคม วัตถุไวไฟ ไฟแช็ค มีด คัตเตอร์ เข้าไปภายในบริเวณมณฑลพิธี

นอกจากนี้ ยังมีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ในช่วงเวลา 10.00-12.00 น. และเวลา 16.00 น. เป็นต้นไป และพิธีเจริญจิตตภาวนา ทุกวันพระ โดยจะมีพิธีแสดงธรรมเทศนา 1 กันต์ (ในภาคเช้า) สำหรับในวันที่ 31 ธ.ค. 2567 จะมีกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี และกิจกรรมทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 ม.ค.2568

“ขอเชิญชวนเข้าสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งโอกาสที่หาได้ ไม่บ่อยนักที่จะได้สักการะพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศจีน ที่ประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทยจนถึงวันที่ 14 ก.พ. 2568 เวลา 07.00-20.00 น. ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และจะอัญเชิญกลับในวันที่ 15 ก.พ. 2568” โฆษกรัฐบาล กล่าวทิ้งท้าย

24 ธันวาคม 2483 ไทยประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตามสากล

24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศไทย แทนวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

ก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงนี้ ประเทศไทยเคยกำหนดวันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งในปฏิทินจันทรคติไทยมักเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่จะปรับมาใช้วันที่ 1 มกราคม ตามประกาศของรัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

รัฐบาลระบุเหตุผล 4 ประการที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้แก่ 1.สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา การนับวันเดือนและการเฉลิมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญไม่ขัดกับหลักธรรมทางศาสนา 2. ลดอิทธิพลลัทธิพราหมณ์ เลิกการใช้คติพราหมณ์ที่เคยมีบทบาทในการกำหนดวันสำคัญของชาติ 3. มาตรฐานสากล ให้ประเทศไทยใช้ปฏิทินเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลก เพื่อความสะดวกในการติดต่อระหว่างประเทศ 4. ฟื้นฟูวัฒนธรรมไทย สอดคล้องกับคตินิยมและจารีตประเพณีดั้งเดิมของชาติ

ประกาศระบุว่า “นานาอารยประเทศตลอดจนประเทศใหญ่ ๆ ทางตะวันออก ได้ใช้งานวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นต้นปีมานานกว่า 2,000 ปี การเปลี่ยนแปลงนี้มิได้เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา จารีตประเพณี หรือการเมืองของชาติใด แต่เป็นผลจากการคำนวณทางดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นานาประเทศยอมรับ”

นับตั้งแต่การประกาศดังกล่าว ประเทศไทยได้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่เรื่อยมา จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สำคัญในสังคมไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top