Wednesday, 26 June 2024
ฟีฟ่า

‘ฟีฟ่า’ ขู่ ตัดสัญญาณถ่ายสดบอลโลก หลังพบสัญญาณหลุดไปโผล่ประเทศอื่น

‘บิ๊กก้อง’ ส่งหนังสือถึง ‘กสทช.’ หลังได้รับคำเตือนจาก ‘ฟีฟ่า’ พบสัญญาณการถ่ายทอดสดศึกฟุตบอลโลก 2022 จากประเทศไทย รั่วไหลไปสู่ประเทศอื่นๆ พร้อมสั่งให้เร่งแก้ไขโดยด่วน ขู่ถ้าไม่ทำตามตัดสัญญาณ หรือ ‘จอดำ’ ทันที 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา ‘บิ๊กก้อง’ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในฐานะผู้ถือลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ได้ส่งหนังสือเรื่องขอความอนุเคราะห์แจ้งให้ดำเนินการเข้ารหัสสัญญาณให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation Internationale de Football Association – FIFA) หรือ ฟีฟ่า ไปยังเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ตามที่อ้างถึง การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ขอความอนุเคราะห์คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งขอความร่วมมือจากกลุ่มผู้ให้บริการวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ อันประกอบด้วย ผู้ให้บริการ Multiplexer DTT ทั้ง 5 MUX และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Cary (มัสต์ แครี) และผู้ให้บริการกล่อง STB คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) โดยเข้ารหัสสัญญาณและดำเนินการทำ OTA ของกล่องเครื่องรับระบบโทรทัศน์ดาวเทียม นั้น 

กกท. ได้รับแจ้งจากทางสหพันธ์ฟตุบอลนานาชาติ ว่า สัญญาณออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ในประเทศไทย ยังคงแพร่กระจายไปละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น นอกเหนือลิขสิทธิ์ที่ได้รับตามข้อกำหนดของสหพันธ์ฯ

ทั้งนี้ สหพันธ์ฯ ได้ขอให้ผู้ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดของประเทศไทย ดำเนินการแก้ไขการเข้ารหัสสัญญาณ (Encryption) ที่ส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานของสหพันธ์ฯ โดยด่วนที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาสัญญาณการออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ในประเทศไทย ไปละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น ตามที่สหพันธ์ฯ แจ้งมา

กกท. ใคร่ขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือจาก กสทช. ดำเนินการแจ้งผู้ให้บริการ Multiplexer DTT ทั้ง 5 MUX และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Cary และผู้ให้บริการกล่อง STB คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ให้ดำเนินการเข้ารหัส (Encryption) ในการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมตามมาตรฐานของ FIFA ซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ BISS CA Director หรือ Power/u

2. ในส่วนของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Carry และผู้ให้บริการกล่อง STB จะต้องเข้ารหัส โดยไม่ใช่การดำเนินการในลักษณะ BISS 1 Simultcrypt เหมือนที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

3. ในกรณีที่ผู้ให้บริการใด ไม่สามารถเข้ารหัสให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สหพันธ์ฯ กำหนด มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณที่จะส่งไปเผยแพร่ผ่านผู้บริการนั้น ซึ่งต้องดำเนินการในลักษณะส่งข้อความขี้แจงข้อกำหนดการเผยแพร่ตามข้อกำหนดลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยได้รับ (หรือตามที่ผู้รับชมทั่วไปจะเข้าใจในลักษณะการขึ้น ‘จอดำ’)

'ฟีฟ่า' ยันลูกประตูชัยทีมชาติญี่ปุ่น ยังไม่ออกหลัง ส่งผลให้ทีมแซงชนะ 2-1 พร้อมควบแชมป์กลุ่ม

‘สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ’ หรือ ‘ฟีฟ่า’ ได้ออกมาอธิบายว่าเหตุการณ์ที่ ‘ทีมชาติญี่ปุ่น’ ทำประตูเอาชนะ ‘ทีมชาติสเปน’ 2-1 จนเกิดข้อกังขาว่าลูกบอลออกหลังไปแล้วนั้น ทำให้พวกเขาต้องพิจารณาดูภาพช้าจากกล้องทุกมุมมองของ VAR และ จากภาพมุมสูงของกล้องจะเห็นว่ายังมีส่วนโค้งของลูกบอลอยู่บนเส้น จึงตัดสินให้ ญี่ปุ่น ได้ประตูชัยเหนือ สเปน พร้อมปาดหน้าเข้ารอบเป็นแชมป์กลุ่ม และได้เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในศึก ฟุตบอลโลก 2022 ต่อไป 

ประตูชัยของญี่ปุ่น ได้จาก ‘อาโอะ ทานากะ’ เริ่มจากจังหวะที่ คาโอรุ มิโตมะ เปิดบอลจากเส้นหลังกลับเข้ามาหน้าประตู ซึ่งหลังจากนั้นผู้ตัดสินในสนามใช้เวลาเช็ค VAR อยู่นาน จนตัดสินใจยืนยันให้เป็นประตู

อย่างไรก็ตาม จากภาพช้าที่ถูกฉายระหว่างเกม ทำให้การตัดสินดังกล่าวได้รับการตั้งข้อสงสัย โดย อัลลี่ แมคคอยส์ต กูรูฟุตบอลได้แสดงความเห็นต่อจังหวะนี้ว่า "ผมคิดว่าบอลออกหลังไปแล้ว แต่กรรมการให้เป็นประตู ซึ่งเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อจริง ๆ ตอนที่จังหวะนั้นเกิดขึ้น, ภาพช้าที่ปรากฏแสดงให้เราเห็นว่าบอลออกไปแล้ว

'ยูเครน' ซัดเดือด!! หลัง FIFA เมินฉายคลิป ‘เซเลนสกี’ ก่อนบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ ทั้งที่รัฐบาลกาตาร์หนุน

ทำเนียบประธานาธิบดียูเครนออกมาวิพากษ์วิจารณ์สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) หลังถูกปัดตกข้อเรียกร้องให้ฉายคลิปเรียกร้องสันติภาพของประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ก่อนศึกฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศเมื่อวานนี้ (18 ธ.ค.)

ทำเนียบ ปธน.ยูเครนระบุในคำแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรถึง CNN เมื่อวันเสาร์ (17) ว่า คลิปวิดีโอดังกล่าวซึ่งบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ มีจุดประสงค์เพื่อ 'เรียกร้องให้เกิดสันติภาพ'

“รัฐบาลกาตาร์สนับสนุนแนวคิดริเริ่มของประธานาธิบดี (เซเลนสกี) ทว่า FIFA ปิดกั้นมัน และไม่ยินยอมให้มีการเปิดคลิปคำแถลงของประธานาธิบดีก่อนการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ”

ทางการยูเครนยืนยันว่าจะยังคงเผยแพร่คลิปดังกล่าวผ่านช่องทางอื่น ๆ พร้อมเตือนว่าการที่ FIFA ไม่ยอมออกอากาศให้นั้นแสดงให้เห็นว่าองค์กรแห่งนี้ “สูญเสียความเข้าใจอันมีค่าของกีฬาฟุตบอล ซึ่งเป็นเกมที่หลอมรวมผู้คนเข้าด้วยกัน ไม่ใช่สนับสนุนให้เกิดความแตกแยก”

ทั้งนี้ FIFA พยายามใช้ทุกมาตรการเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่กาตาร์ถูกใช้เป็นเวทีแสดงจุดยืนทางการเมืองของฝ่ายใด ขณะที่รัฐบาลกาตาร์เองก็ไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของยูเครน

‘ฟีฟ่า’ ไฟเขียว ปรับรูปแบบการเตะ ‘เวิลด์ คัพ 2026’ ตารางแข่งแน่น 39 วัน - 48 ทีม - 104 แมตช์

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า เตรียมปฏิรูปการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งใหญ่ โดยจะเป็นรูปเเบบที่ใหญ่ที่สุดเเละแข่งกันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอล ซึ่งจะเริ่มใช้ทันทีในเวิลด์ คัพ 2026 ที่ 3 ชาติ โซนอเมริกาเหนือ ทั้ง สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และเม็กซิโก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

ตามการรายงานล่าสุดเปิดเผยว่า ‘ฟีฟ่า’ ไฟเขียวให้ศึกฟุตบอลโลก 2026 ซึ่งจะจัดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ ด้วยความร่วมมือกันของ 3 ชาติ อย่าง สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และเม็กซิโก จะเพิ่มทีมเข้าเเข่งขันจากเดิม 32 ทีมเป็น 48 ทีม นั้นทำให้การเเข่งขันจะเพิ่มจากเดิม 64 เเมตช์ไปเป็น 104 เเมตช์ตลอดทัวร์นาเมนต์ โดยแข่งกันแบบมาราธอนถึง 39 วัน จากเดิมที่เเข่งแค่ 28 วัน (ครั้งล่าสุดที่กาตาร์ ปี 2022)

ขณะเดียวกันรูปแบบที่ จานนี อินฟานติโน ประธานฟีฟ่าเคาะออกมา จะมีการเปลี่ยนเเปลงเล็กน้อยคือจากเดิมที่วางวิธีเเบ่งกลุ่มจาก 16 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ทีม เป็น 12 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม เพราะมองว่าถ้าเป็นแบบแรก เกมนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มจะลดความตื่นเต้นไปเยอะเนื่องจากบางทีมเข้ารอบไปแล้วและอาจเล่นไม่เต็มที่

สำหรับการชิงชัยในรอบแบ่งกลุ่มจะเอาแชมป์ และรองแชมป์ของแต่ละกลุ่ม (24 ทีม) ผ่านเข้ารอบต่อไปบวกกับอันดับ 3 ที่ดีที่สุดอีก 8 ทีม รวมเป็น 32 ทีมในรอบน็อกเอาต์ แข่งขันแบบนัดเดียวหาผู้ชนะ มีทั้งการต่อเวลาพิเศษ และยิงจุดโทษ

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของฟุตบอลโลก 2026 จะมีทั้งข้อดี เเละข้อเสีย โดยข้อเสียคือนักเตะจะต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ จะต้องเล่นรวมจนถึงรอบนั้น 8 เกมจากที่เดิมเล่นแค่ 7 เกม ส่วนข้อดีคือ ‘ฟีฟ่า’ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าลิขสิทธิ์คาดว่าจะสูงถึง 9,000 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 3.7 แสนล้านบาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top